สาเหตุของความขัดแย้ง


สมัยโบราณ

             1.เกิดจากการแย่งชิงดินแดนและที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำ อาหาร ทรัพย์สินและผู้คนเพื่อนำมาใช้เป็นกำลังแรงงาน

             2.การขัดแย้งในความเชื่อและศาสนา

            3.ความแตกต่างทางด้านอารยธรรม ระหว่างชนชาติใหญ่ที่เจริญรุ่งเรืองกับชนชาติอื่นๆที่ล้าหลังด้อยความเจริญ

สมัยใหม่

          เกิดขึ้นเมื่อมีการสำรวจทางทะเลในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมาสาเหตุ

*ความต้องการแหล่งวัตถุดิบและตลาดระบายสินค้า

*การเผยแพร่คริสต์ศาสนา

*ความต้องการสร้างชาติของตนให้ยิ่งใหญ่ตามแนวทางของลัทธิจักรวรรดินิยม

*ความเหนือกว่าด้านกำลังอาวุธและศักยภาพในการทำสงครามของชาติมหาอำนาจ

*ความเชื่อเรื่อง “ภาระของของผิวขาว” ถือว่าเป็นหน้าที่ของชนชาติตะวันตกซึ่งมีความเจริญอารยธรรมสูงกว่าจะต้องเข้าไปปกครองดินแดนที่ล้าหลังและช่วยพัฒนาประชาชนที่ด้อยความเจริญในภูมิภาคต่างๆ ของโลก

ความขัดแย้งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เกิดจากสาเหตุ

1) ความแตกต่างทางด้านสังคมและวัฒนธรรม หมายถึง ความรู้สึกแตกแยกหรือรังเกียจเดียดฉันท์ซึ่งกันและกันทางด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ภาษา และศาสนาและรวมทั้งความแตกต่างทางด้านอารยธรรม           

2) ความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจ             

3) การแข่งขันด้านอาวุธ            

4) ลัทธิชาตินิยม ( Nationalism)             

5) ความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ระหว่างชนชาติต่างๆ            

6) การต่อต้านบทบาทของชาติมหาอำนาจ 

  1.ความแตกต่างทางด้านสังคมและวัฒนธรรม

            1.1 ความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ หรือที่เรียกว่า “ลัทธิเผ่าพันธุ์นิยม” (Ethnicism) เป็นความรู้สึกของผู้คนในประเทศหนึ่งที่ผูกพันกับเผ่าพันธุ์เดิมของตน เกิดความคิดที่จะแบ่งแยกดินแดน  เพื่อตั้งเป็นประเทศเอกราชใหม่และเป็นที่อยู่อาศัยเฉพาะเผ่าพันธุ์ของตน

             ชาวโครแอต (Croat) ก่อตั้งประเทศโครเอเชีย ( Republic or Croatia) โดยแยกตัวออกจากสหพันธรัฐยูโกสลาเวีย เมื่อปี ค.ศ.1991

            ชาวสโลวัก ( Slovak) แยกตัวออกจากประเทศเชคโกสโลวาเกีย ก่อตั้งเป็นประเทศเอกราชใหม่ในนาม สาธารณรัฐสโลวัก ( Slovak Republic) เมื่อปี ค.ศ.1993

            1.2 ความขัดแย้งทางด้านศาสนา เช่น ความขัดแย้งระหว่าชาวฮินดูกับชาวมุสลิมในอินเดียหรือความขัดแย้งระหว่างผู้นับถือศาสนาเดียวกันแต่เป็นคนละนิกาย เช่น ผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนหนี่ (Sunni)กับนิกายชีอะห์ ( Shi’a) ในประเทศอิรัก

           1.3 ความแตกต่างทางด้านอารยธรรม ทำให้มนุษย์เกิดความไม่เข้าใจกันและกลายเป็นสาเหตุความขัดแย้งระหว่างประเทศได้ อารยธรรมที่สำคัญของโลกในปัจจุบัน เช่น  อารยธรรมตะวันตก อารยธรรมจีน อารยธรรมฮินดู และอารยธรรมของโลกอิสลาม

2.ความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจ

            2.1 อุดมการณ์ทางการเมือง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โลกมีความแตกต่างและความขัดแย้งในอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างชาติมหาอำนาจ 2 ค่าย

*ค่ายประชาธิปไตย มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ

*ค่ายคอมมิวนิสต์ มีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ 

           2.2 ระบบเศรษฐกิจ ประเทศต่างๆในโลกมีระบบเศรษฐกิจแตกต่างกันจึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดความ

ขัดแย้งระหว่างกันได้ ระบบเศรษฐกิจที่สำคัญจำแนกได้ 3 ระบบใหญ่ ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ซึ่งรู้จักกันในชื่อต่างๆ เช่น

*ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism) และระบบเศรษฐกิจแบบการตลาด  (Market Economic System) โดยให้เอกชนมีเสรีภาพในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รัฐจะไม่เข้าแทรกแซงหรือแทรกแซงแต่น้อย  

*ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialistic Economic System) หรือระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง (Central Planning System) โดยรัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตต่างๆ และเป็นผู้ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญเสียเองเช่น การธนาคาร การอุตสาหกรรม การสื่อสารและโทรคมนาคม และการสาธารณูปโภคอื่นๆ             

 *ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economic System) มีลักษณะผสมผสานระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมกับระบบสังคมนิยม โดยเอกชนยังคงมีเสรีภาพในการผลิตแต่รัฐจะผูกขาดดำเนินกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญบางอย่าง เช่น ไฟฟ้า ประปา การคมนาคม และสาธารณูปโภคอื่น

3. การแข่งขันด้านอาวุธการแข่งขันสะสมอาวุธร้ายแรงระหว่างชาติต่างๆ กลายเป็นสาเหตุทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศได้ ดังนี้

            3.1 การแข่งขันกันผลิตและสะสมอาวุธร้ายแรงของประเทศใดประเทศหนึ่ง เป็นสาเหตุทำให้ประเทศในภูมิภาคเดียวกันเกิดความหวาดระแวง และเร่งดำเนินการผลิตเพื่อเตรียมป้องกันตนเองทำให้เกิดการแข่งขันเป็นวัฏจักรการสะสมอาวุธระหว่างประเทศขึ้น

            3.2 ประเทศที่มีการสะสมขีปนาวุธร้ายแรง (นิวเคลียร์)ในปัจจุบัน ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งและความหวาดระแวงระหว่างประเทศในภูมิภาคเดียวกันหรือคู่กรณีที่เคยมีปัญหาความขัดแย้งกันมาก่อน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย อินเดีย ปากีสถาน จีน เกาหลีเหนือ และอิหร่าน เป็นต้น

4. ลัทธิชาตินิยม

             ลัทธิชาตินิยม (Nationalism) คือ ความจงรักภักดีต่อชาติของตนสูงสุดเหนือสิ่งอื่นใดคิดว่าชาติของตน

มีความสำคัญเหนือกว่าครอบครัว ท้องถิ่น หรือประชาชาติอื่น ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่าง

ประเทศและกลายเป็นสงครามประหัตถ์ประหารกันได้แนวความคิดชาตินิยมในทวีปเอเชียและแอฟริกา

เหตุการณ์สำคัญเริ่มปรากฏในคริสต์ศตวรรษที่ 20

             เมื่อญี่ปุ่นทำสงครามรบชนะรัสเซีย ในปี ค.ศ.1905 กระตุ้นให้ชาติเล็ก ๆ เชื่อว่าจะสามารถเอาชนะประเทศยุโรปได้

            พลังชาตินิยมปรากฏชัดเจนภายหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 เป็นต้นไป)

           เมื่อขบวนการชาตินิยมได้ต่อสู้เรียกร้องเอกราชจนประสบผลสำเร็จ ทำให้ประเทศของตนหลุดพ้นจากสภาพดินแดนอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตก

5.ความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ระหว่างชนชาติต่าง ๆ

            ประเทศที่อยู่ใกล้เคียงกันในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกที่เคยมีความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ถึงขั้นทำสงครามหรือรุกรานกัน

            ความรู้สึกบาดหมางไม่เป็นมิตรต่อกันย่อมยังคงมีอยู่ และอาจเป็นชนวนสาเหตุทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นใหม่ได้ ความรู้สึกบาดหมางไม่เป็นมิตรต่อกันย่อมยังคงมีอยู่ และอาจเป็นชนวนสาเหตุทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นใหม่ได้

            ตัวอย่างของประเทศที่เคยมีความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์มาก่อน เช่น กรณีความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น หรือจีนกับเกาหลีใต้ ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2หรือกรณีอิสราเอลกับปาเลสไตน์ เป็นต้น 6.การต่อต้านบทบาทของชาติมหาอำนาจ

บทบาทของสหรัฐอเมริกาในฐานะชาติมหาอำนาจของโลก

            ในปัจจุบัน ได้สร้างความไม่พอใจแก่ประเทศหรือกลุ่มองค์กรทางการเมืองอื่น ๆโดยเฉพาะการขยายอิทธิพลเข้าแทรกแซงประเทศอาหรับในตะวันออกกลางในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งความขัดแย้งทางด้านวัฒนธรรม จึงทำให้เกิดความคิดต่อต้านสหรัฐอเมริกาและอารยธรรมตะวันตก ซึ่งกลายเป็นปัญหาความขัดแย้งที่รุนแรงในเวลาต่อมา

            ลัทธิก่อการร้าย (Terrorism) เป็นปฏิกิริยาต่อต้านบทบาทของสหรัฐอเมริกาและอารยธรรมของโลกตะวันตก เช่น ขบวนการอัล เคดา หรืออัลกออิดะห์ (Al Qa’ida) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้ปฏิบัติการจึ้เครื่องบินโดยสารไปชนตึกเวิร์ดเทรด (World Trade Center) นครนิวยอร์กสหรัฐอเมริกา ในเหตุการณ์ วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 แสดงถึงผลร้ายของความขัดแย้งระหว่างมนุษยชาติ

หมายเลขบันทึก: 631728เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2017 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2017 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท