CMU 4.0 กับกระบวนทัศน์​ ๔.๐


ยุทธศาสตร์สู่ มช. ๔.๐ คือ กำหนดบทบาทหน้าที่ของตน ต่อการสร้างประเทศไทย ๔.๐ ให้ชัดในระดับคุณค่า จนเป็นวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) ของสมาชิก มช. ทุกคน แล้วทอนลงมาเป็นพันธกิจหรือ สิ่งที่จะต้องทำให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ลงมาถึงการสร้างสรรค์ชิ้นงานหรือผลงาน โดยเป้าหมายชิ้นงานต้องเลือก กำหนดที่ความสำคัญยิ่งยวด (critical issue)

CMU 4.0  กับกระบวนทัศน์ ๔.๐

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดการประชุมแบบ retreat ของผู้บริหารมหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๐   ตั้งคำถามว่า มช. จะปรับตัวเป็น มช. ๔.๐ เพื่อหนุนประเทศไทย ๔.๐ ได้อย่างไร 

ในฐานะกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิผมโชคดี ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมด้วย    แถมยังได้รับเชิญให้ร่วม วงอภิปรายกับกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิอีกสองท่าน คือ ศ. ดร. ปิยะวัติ บุญ-หลง และ ศ. นพ. สถทธิพร จิตรมิตรภาพ  ในหัวข้อ “สู่ Thailand 4.0 มช. พร้อมหรือยัง”   โดยมี ศ. นพ. ไพฑูรย์ ณรงค์ชัย เป็นผู้ดำเนินรายการ

 ผมเตรียมไปพูดเชิงยุทธศาสตร์    และแตะเรื่องเดียว คือเรื่อง “เตรียมความพร้อม”    เพราะผมเชื่อมาตั้งแต่หนุ่ม ว่าเราต้องไม่รอความพร้อม หรือใช้ความพร้อมเป็นเงื่อนไขให้ไม่ทำสิ่งที่เราไม่มีความพร้อม   หรือเรายังมีบางส่วนที่ไม่พร้อม    ความพร้อมมีไว้สร้าง  ไม่ใช่มีไว้รอ  

เรื่องสำคัญในระดับคอขาดบาดตาย พร้อมไม่พร้อมก็ต้องทำ

เหมือนเมื่อเกือบห้าสิบปีมาแล้ว ผมอยากแต่งงาน (กับสาวน้อยคนนี้แหละ) แต่ก็ไม่พร้อมสักอย่าง     ผมบอกตัวเองว่าแต่งก่อน แล้วค่อยไปสร้างความพร้อมเอาทีหลัง     ได้ผลดีมาจนทุกวันนี้

ผมเสนอความเห็นว่า    ยุทธศาสตร์สู่ มช. ๔.๐ คือ กำหนดบทบาทหน้าที่ของตน ต่อการสร้างประเทศไทย ๔.๐ ให้ชัดในระดับคุณค่า จนเป็นวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) ของสมาชิก มช. ทุกคน    แล้วทอนลงมาเป็นพันธกิจหรือ สิ่งที่จะต้องทำให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม    ลงมาถึงการสร้างสรรค์ชิ้นงานหรือผลงาน    โดยเป้าหมายชิ้นงานต้องเลือก กำหนดที่ความสำคัญยิ่งยวด (critical issue) 

ในกรณีเช่นนี้ ย่อมไม่มีความพร้อม 100% อยู่ภายใน มช.   ต้องทำงานแบบแสวงหา partner   ทั้งภาคีผู้ลงทุน ภาคีร่วมคิดร่วมเผชิญความท้าทาย  ภาคีที่มีความรู้หรือเทคโนโลยีบางอย่างที่ มช. ไม่มี    หรือมีแต่ก็ไม่ดีเท่า

หากวิธีคิดแบบนี้ใช้ได้   ก็หมายความว่าสิ่งสำคัญที่สุดของ มช. ๔.๐ คือกระบวนทัศน์ หรือ mindset ต่อการทำงานสร้างสรรค์ ที่เป็นงานใหญ่ มีความสำคัญยิ่งยวดต่อการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของสังคมไทย

มหาวิทยาลัยไทยที่ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยระดับโลก จะเป็นมหาวิทยาลัย ๔.๐ ได้ ต้องพัฒนา กระบวนทัศน์ ๔.๐ ของมหาวิทยาลัย ๔.๐    นี่คือการเตรียมความพร้อมสู่มหาวิทยาลัย ๔.๐     

ความพร้อมที่สำคัญที่สุดคือ ใจที่พร้อมจะฝ่าฟัน    ใจที่จะทำงานเป็นทีมฝ่าฟันร่วมหัวจมท้ายด้วยกัน

วิจารณ์ พานิช

๒๔ มิ.ย. ๖๐

 

หมายเลขบันทึก: 631453เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2017 05:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กรกฎาคม 2017 05:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ประศักดิ์ ถาวรยุติการต์

เห็นด้วยครับ ว่าใจสำคัญที่สุด จะต้องปลุกประชาคมทุกภาคส่วน และต้องลงมือทำ ไม่ใช่แค่คำพูด

For individuals, it is quite easy to 'just do it' and solve problems on the way as they come. But for organizations (including government departments/offices), there are rules and regulations to observe, authorization, funding and so on to get or barriers to remove. Things can be quite difficult with bureaucrats ('red tapes') ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท