โลกปรัชญา 1



         ในโลกอันกว้างใหญ่ที่คนหลายเผ่าพันธุ์ได้อยู่อาศัยนี้มีอะไรให้ชวนคิดชวนสงสัยกันมากเมื่ออายุมากขึ้นผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายฤดูกาล  เงาแห่งความสงสัยยิ่งทอดยาวออกไปเรื่อย ๆ อย่างไร้จุดหมายเพียงเพื่อเปิดโลกทัศน์แห่งตนได้ค้นหาคำตอบซึ่งอาจจะผิดก็ได้ว่า      

กฎแห่งกรรมคือกฎสมดุลของการกระทำที่เที่ยงธรรม  นักปรัชญาคือคนที่ชอบคิดชอบสงสัยและค้นหาคำตอบอยู่เสมอ  เช่นการเห็นผลมะม่วงสีเหลืองอาจมองได้ 2 แง่คือ ภาพที่เรามองเห็นกับความจริงของสิ่งนั้น  แม้ความจริงเองก็ซับซ้อนคือมองเห็นความจริงโดยสมมุติหรือโดยปรมัตถ์

        สำหรับคนนั้นก็มีคุณสมบัติใหญ่ ๆ อยู่ 2 ส่วนคือ กายภาพและจิตภาพ

ด้านกายภาพนั้นเป็นวัตถุหรือสสารโดยเรามองเห็นรูปร่างหน้าตาท่าทางซึ่งจะมีปัญหาน้อยเพราะรู้ได้เร็วตามที่เห็นเหมือนคนใช้เท้าวิ่งใช้มือถือกระเป๋า

ด้านจิตภาพนั้นเป็นนามธรรมยากที่เราจะเห็นจะเข้าใจได้เพราะเป็นความคิด  อารมณ์  ความรู้สึก  อย่างใครกำลังคิดอะไรอยู่เราไม่รู้ได้ดอก

        ในสายวิชาปรัชญานั้นมีมุมมองหลายด้านเช่น อภิปรัชญา ( metaphysics ), ญาณวิทยา  ( epistemology ) , จริยศาสตร์  (  ethics ) เป็นต้น

         ด้านอภิปรัชญา ( metaphysics ) คือ  มุมคิดของคนทั้งปวงที่ต้องการบอกว่าอะไรคือความจริงแบบลุ่มลึกหรือเป็นแก่นแท้ของสิ่งนั้น ๆ ซึ่งความลุ่มลึกนี้ต้องใช้ดวงตาแห่งปัญญาเท่านั้นละในการมอง

          ด้านญาณวิทยา  ( epistemology )  ทำความเข้าใจเรื่อง ญาณ คือ การหยั่งรู้ความจริงที่ลึกซึ้งผ่านทางการปฏิบัติ ญาณวิทยามักถามปัญหาหลัก ๆ เช่น  สิ่งต่าง ๆ ที่คุณยืนยันนั้นคุณรู้ได้ยังไง..?  สิ่งที่คุณเชื่อว่าเป็นความจริงนั้นคุณมั่นใจได้อย่างไร..?  สิ่งที่คุณพูดถึงความจริงบ้างความเท็จบ้างนั้น  ความจริงคืออะไร  ความเท็จคืออะไร

        ปัญหาทางญาณวิทยาตั้งขึ้นมานั้นแท้จริงแล้วเพื่อถามอภิปรัชญาหรือจะกล่าวว่าคำตอบอยู่ที่อภิปรัชญา

        แง่คิดโลกแห่งแบบของเพลโต้นั้นก็ยังเป็นเพียงโลกในจินตนาการของเพลโต้เท่านั้นเอง

        เรื่องเกี่ยวกับคนนั้นชวนคิดว่า  คนเรานี้รู้อะไรได้บ้างและมีสิ่งใดที่อยู่เกินความสามารถของคนที่จะเข้าไปรู้ได้บ้าง

กรณีโลกแบนนั้นเป็นความเชื่อไม่มีที่สิ้นสุด  มองผ่านแว่นตาศาสนาเป็นสิ่งเฉพาะแต่ละชาติ  วัฒนธรรม  เป็นโลกส่วนตัว      เช่น เราลองมองด้านศาสนาฮินดูที่เชื่อว่าในตัวคนมีอัตตาคือวิญญาณอมตะ แต่ศาสนาพุทธเชื่อว่าไม่มีอัตตาอย่างนี้เป็นต้น  

แต่กรณีโลกกลมนั้นเป็นความรู้มีที่สิ้นสุด  มองผ่านแว่นตาปรัชญา  เป็นสิ่งสากล เป็นโลกไร้พรมแดน  เป็นโลกส่วนรวม

เช่น ศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธเห็นตรงกันว่าคนโลภมากนั้นไร้ความสุขสามารถพิสูจน์ได้

นั้นคือการที่ศาสนามีความเห็นแตกต่างกันมักเป็นด้านความเชื่อและอาจทะเลาะกันได้แต่จะไม่ทะเลาะกันเพราะด้านความรู้  ความรู้มีคุณสมบัติคือความจริง  ความจริงที่รับรองได้ด้วยประสาทสัมผัสนั้นคือข้อเท็จจริง

อะไรที่ยังชวนให้สงสัยได้ถือว่ายังไม่เป็นความรู้ 

        ด้านจริยศาสตร์  (  ethics )นั้นมักสนใจคน  สิ่งที่เกี่ยวข้องกับคนและที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้อื่นด้วย  จริยศาสตร์มักจะค้นหาว่าสิ่งดีที่สุดในชีวิตนี้คืออะไร  คนจะอยู่อย่างไรจึงคุ้มค่าที่เกิดมาในโลกนี้  สิ่งที่มีประโยชน์จำเป็นต้องดีด้วยหรือไม่อย่างไร..?  

หมายเลขบันทึก: 631444เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2017 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กรกฎาคม 2017 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท