udansato
นาย ยูซุป ศรีอนุชาต จำนงค์

ตัวอย่างเครื่องมือในการจัดการความรู้


CoP (Community of Practice)
ชุมชนนักปฏิบัติ คือ ชุมชนที่มีการรวมตัวกัน หรือเชื่อมโยงกันอย่างไม่เป็นทางการ
โดยมีลักษณะดังนี้
  •        ประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน
  •        มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกันและกัน
  •        มีเป้าหมายร่วมกัน มีความมุ่งมั่นร่วมกัน ที่จะพัฒนาวิธีการทำงานได้ดีขึ้น
  •        วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือ และภาษาเดียวกัน
  •        มีความเชื่อ และยึดถือคุณค่าเดียวกัน
  •        มีบทบาทในการสร้าง และใช้ความรู้
  •        มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน อาจจะพบกันด้วยตัวจริง หรือผ่านเทคโนโลยี
  •        มีช่องทางเพื่อการไหลเวียนของความรู้ ทำให้ความรู้เข้าไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ได้ง่าย
  •        มีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาและเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเอง
  •        มีปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง มีวิธีการเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่สายในทางสังคม
แนวคิด
  •  CoP เป็นกลไกของการไขว่คว้าหาความรู้เข้าหาตัว มากกว่าการรวบรวมความรู้ เพื่อส่งมอบให้ผู้อื่น
  •  CoP เป็นเรื่องของการเรียนรู้ เพื่อเป็นคนทำงานที่เก่งขึ้น มิใช่แค่เรียนรู้ว่า จะทำงานอย่างไร หรือเรียนรู้แต่เรื่องที่เป็นนามธรรม
  •  การเป็นสมาชิกของ CoP คือ มีส่วนร่วมในชุมชนนั้น อย่างมีความหมาย
  •  CoP ควรเชื่อมโยงกับเป้าหมายหลักขององค์กร

กรมการปกครองเริ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้  (Cop)  นำร่องที่  วปค.   
             
จากการที่กรมการปกครองได้รับความไว้วางใจจากกระทรวงมหาดไทยและรัฐบาลมอบหมายให้เป็น ภาคส่วนหลักในการปฏิบัติภารกิจที่สำคัญระดับชาติต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น การรักษาความมั่นคงภายใน  การแก้ไขปัญหายาเสพติด การบูรณาการแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นต้น  แสดงถึงการมีบุคลากรที่เป็น “ทุนทางสังคม    อยู่เป็นพื้นฐานในองค์กร กรมการปกครองจึงได้ส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ เพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ  และเกิดประสิทธิผลในรูปของการจัดชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้น   โดยนำร่องที่วิทยาลัยการปกครองก่อนเรียกว่า 
โครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ ( CoP ) วิทยาลัยการปกครอง 
โดยมีวัตถุประสงค์ใหญ่ ๆ  3 ประการ คือ
               
(1)  นำทฤษฏีการจัดการองค์ความรู้ ( KM ) มาสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่การปฏิบัติงานจริง
(2)  เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารทั่วองค์กร ( Communication ) ด้านการจัดการองค์ความรู้                       
(3)   เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ การใช้เครื่องมือ CoPในกระบวนการ KM สำหรับแนวทางดำเนินการกำหนดไว้ดังนี้
     
                3.1  การประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร
                              
                3.2   ทำหนังสือเวียน เชิญชวน ข้าราชการ ลูกจ้าง ร่วมเป็นสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้
                      
                3.3   เชิญสมาชิกประชุมปรึกษาหารือ ร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้ตามหัวข้อที่อยู่ในความสนใจของสมาชิก
                             
                3.4   ประสานงานเรื่องสถานที่ประสานงานบุคคลและงานธุรการอื่นๆ
              
                3.5   จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ
                    
                3.6   จัดทำสรุปการเสวนาของ CoP เพื่อเผยแพร่ จัดกิจกรรม กระตุ้น ส่งเสริม เป็นระยะ ๆ
   
               3.7   ติดตามประเมินผลการดำเนินการและรายงาน
     

                 โครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ดังกล่าว จะต้องมีความอดทนและใช้เวลารวมถึงการกระตุ้นส่งเสริมและให้กำลังใจจากผู้บังคับบัญชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรก ๆ ก็คงจะต้องให้มีการดำเนินการในระยะเวลาหนึ่งแล้วติดตามประเมินผลเพื่อทำการศึกษาผลที่เกิดขึ้นต่อไป
 

ที่มา------>  http://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html

หมายเลขบันทึก: 63120เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2006 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 00:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท