udansato
นาย ยูซุป ศรีอนุชาต จำนงค์

Community of Practice-COP


ชุมชนนักปฏิบัติ

<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

องค์ความรู้ที่มีขององค์กรจะถูกจัดเก็บไว้ในแฟ้มเอกสาร, เอกสารและสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์หลายรูปแบบ แต่กว่า 80% ขององค์ความรู้ในองค์กรจะถูกเก็บอยู่ในสมองคนลักษณะของประสบการณ์ แต่มีการแบ่งบันถ่ายโอนความรู้ดังกล่าวจากคนเพียง 20% ของวิธีการทั้งหมด     

 เมื่อความรู้ส่วนใหญ่อยู่ที่พนักงานที่มีประสบการณ์ องค์กรจึงหันมาสนใจการสร้างองค์ความรู้ในองค์กร โดยใช้ทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในองค์กรนั่นเอง มาสร้าง ถ่ายโอน จัดเก็บและนำความรู้ไปใช้ในงาน    

เครื่องมือที่ช่วยในการจัดการองค์ความรู้ที่นิยมใช้กันคือ การจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice-CoP) ที่สมาชิกแต่ละคนในชุมชนมีความสนใจ และมีวัตถุประสงค์ร่วมกันที่จะเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ผ่านทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งผ่านการพบปะกันหรือผ่านเครือข่ายอินทราเน็ต-อินเตอร์เน็ต และหากองค์กรสามารถเชื่อมโยง CoP เข้าด้วยกัน     คำว่า ปฏิบัติ หรือ practice ใน CoP ชี้จุดเน้นที่การเรียนรู้ซึ่งได้รับจากการทำงานเป็นหลัก เป็นแง่มุมเชิงปฏิบัติ ปัญหาประจำวัน เครื่องมือใหม่ๆ พัฒนาการในเรื่องงาน วิธีการทำงานที่ได้ผลและไม่ได้ผล     ดังตัวอย่างของบริษัทแอดวานซ์อินโฟร์เซอร์วิสที่ได้มีการดำเนินการแล้วอย่างเป็นรูปธรรม เป็นการสร้าง CoP ตามลักษณะงานที่คล้ายคลึงกันเป็นเครือข่ายทั่วประเทศ     สมาชิก CoP ที่มารวมกลุ่มกันอาจเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง กลุ่มที่สนใจเรื่องเดียวกัน หรือกลุ่มในลักษณะ Cross Functional ที่มีภารกิจหรือเป้าหมายร่วมกัน     ในช่วงเริ่มต้นของการก่อตั้ง CoP ควรเลือกจากกลุ่มปฏิบัติงานในฟังก์ชั่นหลักๆขององค์กรก่อน เพื่อจัดตั้งเป็นโครงการนำร่อง และควรเลือกสมาชิกที่มีทัศนคติเชิงบวกและสามารถถ่ายทอดได้ เช่น Mentor, Facilitator หรือ Trainer ในองค์กร     เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ เกิดจากความใกล้ชิด ความพอใจ และพื้นฐานที่ใกล้เคียงกัน ลักษณะที่ไม่เป็นทางการจะเอื้อต่อการเรียนรู้และการสร้างความรู้ใหม่ๆ มากกว่าโครงสร้างที่เป็นทางการ    

 องค์กรมีหน้าที่สร้างเวทีเชื่อมโยงระหว่างสมาชิก อาจจัดเป็นเวทีเสวนาพบปะสังสรรค์ (Face to Face) หรือผ่านทางเครือข่ายอินทราเน็ต (Virtual Community) เป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลและข่าวสาร เป็นแหล่งเชื่อมโยงระหว่างสารสนเทศกับผู้รู้ เพื่อก่อให้เกิดการต่อยอดทางความรู้ การแลกเปลี่ยน และการนำไปใช้ประโยชน์     เครือข่ายที่ไม่เป็นทางการซึ่งมีสมาชิกจากต่างหน่วยงานช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ดีกว่าการสื่อสารตามโครงสร้างที่เป็นทางการ

    

หากสามารถสร้างบรรยากาศการแบ่งปันความรู้ให้สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเป็นธรรมชาติ จะเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างอัตราการเรียนให้เร็วกว่าคนอื่น เร็วกว่าคู่แข่งได้

     CoP จะก้าวหน้าและยั่งยืนได้นั้น สาระสำคัญอยู่ที่ “คน
มากกว่าเทคโนโลยีหรือไอที โดยเป็นเรื่องของการปลูกฝังวัฒนธรรมของการแบ่งปันความรู้ เป็นการสร้างพลังร่วมกัน คำว่า “Knowledge Sharing in Power”

ที่มา <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">http://www.jobbkk.com/today/scientific/viewdetail.php?id=278&type=3&PHPSESSID=d71d7332bc0e036b25d89fa5d46c6784</p></span>

หมายเลขบันทึก: 63116เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2006 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท