อาคารพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น : คลังความรู้สุขภาพ


จากที่เขียนภาพสะท้อนคิดไว้ https://www.facebook.com/nipaporn.lakornwong/posts/1363364313711530

วันนี้ได้ review ดูว่าพื้นที่ที่มีปรากฏการณ์ของการสร้างสุขภาพแบบพึ่งตนเอง "สร้างนำซ่อม" ในอดีตมีที่ไหนบ้าง ทำให้นึกถึงโมเดลที่เป็นตำนานและเรื่องราวของชาว อ.กุดชุม จ.ยโสธร เมื่อมีการวางรากฐานของการนำต้นทุนที่มีอยู่ในชุมชมโดยเฉพาะเรื่องแพทย์ทางเลือก แพทย์สมุนไพร มาบูรณาการใช้ร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบัน

สร้างความเข้มแข็งให้เกิดกับพื้นที่โดยชาวบ้านเป็นผู้สร้างเครือข่ายนี้ขึ้นมาโดยได้รับการสนับสนุนจากท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาลในยุคสมัยนั้น (ย้อนหลังไป >18ปี) ก่อนที่จะมีการปฏิรูประบบสุขภาพเกิดขึ้น 

ปรากฏการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความคิดความเชื่อและความเป็นไปได้ของการสร้างพื้นที่เข้มแข็งทางด้านสุขภาพสอดคล้องกับฐานแนวคิดเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพ 

การขับเคลื่อนต่อเนื่องมาโดยมีสัญลักษณ์เป็น "อาคารพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น" ซึ่งเป็นคลังเก็บความรู้เรื่องราวตำรับยา (Knowledge Asset) สร้างขึ้นเมื่อปี 2539 แล้วเสร็จปี 2542 โดยพลังศรัทธาของเครือข่ายชุมชน และยังคงมีการใช้ฐานคิดนี้ให้บริการผสมผสานไปกับความเป็นไปในยุคปัจจุบัน 

บุกเบิกเดินเข้าป่าค้นหาสมุนไพร คุยกับชาวบ้าน ทำประชาคม ดึงพลังชุมชนสร้างเครือข่ายสุขภาพที่เข้มแข็งนี้ ก็คือ ท่าน อ.นพ.ชลอ ศานติวรางคนา Chalor Santiwarangkana ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผอ.สปสช.เขต 4 และยังคงสืบสานปณิธานแนวคิดนี้มาตลอด 


#Noteความคิด

#KMUC

#หลักประกันสุขภาพ





หมายเลขบันทึก: 630439เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2017 21:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กรกฎาคม 2017 13:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท