Patho OTOP2 (17) : เมื่อ "ถั่วแดงหลวง" มีประโยชน์ต่อการวิเคราะห์โครโมโซม


น้องแจ้ว  พรรธิภา   เป็นตัวแทนจากทีม "ถั่วแดงเริงร่า"  มาเล่าเรื่องราวของ โครงการ "PHA สกัดจากถั่วแดงหลวง" 

 

red kidney bean (ภาพจาก google)

PHA (phytohaemagglutinin)  เป็นสารพวกโปรตีนที่สกัดได้จากพืชตระกูลถั่วต่างๆ   สารนี้มีคุณสมบัติกระตุ้นให้เซลล์เกิดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวน mitosis   ซึ่งจะนำไปใช้ในการตรวจวิเคราะห์โครโมโซมต่อไป     โดยปกติต้องสั่งซื้อสารนี้จากต่างประเทศ    ซึ่งมีราคาแพงและบางครั้งมีปัญหาการสั่งซื้อ   ทำให้ไม่มีใช้   

หน่วยพันธุศาสตร์ได้สกัด PHA จากถั่วแดงหลวง  มาใช้ทดแทนของที่สั่งซื้อจากต่างประเทศ   มาระยะหนึ่งแล้ว    เท่าที่ทดลองใช้ปรากฏว่าใช้ได้ผลดี   แต่ยังไม่มีการเก็บข้อมูลโดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

จึงถือโอกาสอันดี  ทำเป็นโครงการใน Patho OTOP2   โดยจะเปรียบเทียบ PHA ที่สกัดเอง   กับ PHA ที่สั่งซื้อจากต่างประเทศ   ในประเด็นของ

  • ราคา
  • คุณภาพของ PHA (ความสามารถในการชักนำให้เกิด
    mitosis เพื่อนำมาวิเคราะห์โครโมโซม)
  • ความสม่ำเสมอของปริมาณ PHA ที่สกัดได้ในแต่ละครั้ง (ดูปริมาณโปรตีน / มิลลิลิตร )
  • ศึกษา specific activity  ที่ทำให้เม็ดเลือดแดงตกตะกอน

โดยมีดัชนีชี้วัดความสำเร็จคือ

  • ราคา (ต้นทุน/ หน่วย)
  • mitosis index
  • ความถูกต้องของ karyotype  (ทั้งขนาดและจำนวน)
  • ประสิทธิภาพของ PHA (specific activity )

ผลปรากฏว่า   ในการสกัดแต่ละครั้งได้โปรตีนค่อนข้างสม่ำเสมอ  และ

  • ราคาต้นทุนต่อราย   สกัดเอง 2 บาท    ซื้อจากต่างประเทศ 16 บาท  (ถูกกว่า 8 เท่า)
  • mitosis index  ไม่แตกต่างกัน
  • ความถูกต้องของ karyotype ไม่ต่างกัน
  • PHA  ที่สกัดเอง   มีค่า specific activity  ต่ำกว่าที่สั่งซื้อจากต่างประเทศ    ฉะนั้นเวลาใช้งานจริงๆ  ต้องเพิ่มปริมาตรจาก 0.2 ml. เป็น 0.25 ml.  (แต่เมื่อคิดราคาต้นทุนแล้วก็ยังถูกกว่า)

จะเห็นได้ว่าคุณภาพของ  PHA ที่เตรียมเองนั้น    ไม่ด้อยกว่าที่สั่งซื้อจากต่างประเทศเลย    ส่วนวิธีการสกัดก็ทำได้ไม่ยุ่งยาก  โดยนำถั่วแดงหลวงแช่ในน้ำ  24 ชั่วโมง   แกะเปลือกออก   จากนั้นนำมาปั่นให้ละเอียดในน้ำเกลือ   แล้วกรองเอาส่วนน้ำใส(Crude extract) มาใช้

นอกจากผลงานชิ้นนี้จะนำมาใช้ได้ (ดีมาก)  ในหน่วยงานแล้ว    ทีมงานยังแอบหวังว่า....อาจจะผลิตเพื่อจำหน่ายให้ห้องแล็บอื่นๆ  ได้    

ยัง...ทีมนี้ไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้    แต่มีโครงการ (R2R)   ที่วางแผนว่าจะทำต่อคือ   ศึกษาอายุการใช้งานของ PHA ที่สกัดเอง   และปริมาณของ PHA เท่าใดที่กระตุ้นให้เกิด mitosis  ได้สูงสุด 


น้องแจ้ว...Young Blood Genetic


หมายเลขบันทึก: 62954เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2006 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • ในถั่วเขียว ถัวลันเตามีสารกระตุ้นให้เซลล์เกิดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวน mitosis   ไหมครับ
  • ชอบกินครับ
ถ้ามี  ครูอ้อยจะกินให้มากๆ  เพราะชอบเหมือนกันค่ะ  ถั่ว  แต่ตอนประกวด หรือส่งผลงาน จะไม่กินถั่วเพราะกลัวกรรมการตาถั่วค่ะ   พูดเล่น

PHA มีอยู่ในพวกพืชตระกูลถั่วค่ะ    แต่ทำไมต้องเลือกถั่วแดงหลวง.....จำไม่ได้แล้ว...เดี๋ยวไปถามเจ้าของโครงการก่อนค่ะ (น่าจะเกี่ยวข้องกับปริมาณโปรตีน)

ครูอ้อยคะ.
ถั่วแดงหลวงมีโปรตีนสูง  ไขมันต่ำ   เป็นอาหารลดความอ้วนได้ค่ะ 

 

บรรยายภาพเพิ่มเติมให้คุณ nidnoi ค่ะ
    คนซ้ายมือน่ะน้องแจ้ว ส่วนคนขวามือน่ะ น้องเม่ย ค่ะ (ฮา...เฮ...โฮ...เฮ้อ...เฮือก!)
  • ขออนุญาตคุณNidnoiนะครับ 
  • ใช่น้องเม่ยหรือครับ
  • ทำไมถ่ายรูปแล้วหน้าอ่อนทุกครั้ง
  • วัยรุ่นไม่เข้าใจเลย โอย วัยรุ่นเซ็ง
อ่านคห. แล้วมีอาการสะดุด(โดยเฉพาะ พี่เม่ย) ...ทำให้ผู้เขียนไม่ออกไปพักใหญ่ค่ะ วันนี้สงสัยจะไม่ได้ทำการบ้านตอนสองแหง ๆ เลย --555
อา...ลืมไปค่ะพี่เม่ยว่า    ท่านผู้ชมอาจสับสนได้ว่าคนไหนน้องแจ้ว   คนไหนพี่เม่ย...โทษฐานที่หน้าเด็ก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท