​สถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข


สถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข

ดร.ถวิล อรัญเวศ
รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 4

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ได้ดำเนินการส่งเสริมให้สถานศึกษาในสังกัด ดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขมาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้แนวคิดและหลักการของ “๔ ประสาน ๒ ค้ำ” ซึ่ง ๔ ประสาน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาผู้แทนครู/อาจารย์ ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนนักเรียน/นักศึกษา ส่วน ๒ ค้ำ เดิมเป็นผู้แทนชุมชน แต่พื้นที่เสี่ยงเพิ่มมากขึ้น จึงได้กำหนดใหม่เพื่อให้มีบุคลากรสำคัญที่จะเข้ามาช่วยสถานศึกษาในการดาเนินงานสถานศึกษาสีขาว ได้แก่ตำรวจและพระสงฆ์ ซึ่งอยู่ในบริเวณท้องถิ่นและชุมชนทั้งนี้เพื่อช่วยสถานศึกษาให้มีมาตรการป้องกันและการป้องปรามติดตามผู้จำหน่ายและผู้เสพและมาตรการความปลอดภัยเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับคณะกรรมการสถานศึกษาสีขาวในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติดและแหล่งอบายมุขรอบสถานศึกษา ดังนั้นเพื่อให้สถานศึกษามีระบบการป้องกันที่เข้มแข็งและยั่งยืนจึงให้มีการดำเนินงานตาม ๕ มาตรการ ได้แก่มาตรการป้องกัน มาตรการค้นหา มาตรการรักษา มาตรการเฝ้าระวัง มาตรการบริหารจัดการ และกลยุทธ์ ๔ ต้อง ๒ ไม่ กลยุทธ์ ๔ ต้อง คือ สถานศึกษาต้องมียุทธศาสตร์ ต้องมีแผนงาน ต้องมีระบบข้อมูล ต้องมีเครือข่าย และกลยุทธ์ ๒ ไม่คือ สถานศึกษาไม่ปกปิดข้อมูลนักเรียนที่มีพฤติกรรมติดยาเสพติด สถานศึกษา ไม่ไล่นักเรียนที่ติดยาเสพติดออก เป็นแนวทางการดำเนินงาน โดยถือวาเป็นผู้ป่วยต้องนำไปบำบัดรักษาแล้วกลับมาเรียนได้

มาตรการ 5 มาตรการ

1. มาตรการป้องกัน

สถานศึกษาจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามกลุ่มสนใจ
เพื่อเสริมสร้างความตระหนักและ
ปลุกจิตสานึกไม่ให้นักเรียน นักศึกษา
ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด สถานศึกษาจัดระบบการ
คัดกรอง (RE-X-RAY) จำแนกกลุ่มนักเรียน
นักศึกษา ออกเป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มปลอด
กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพย์ กลุ่มติด และกลุ่มค้า


2. มาตรการค้นหา

สถานศึกษาจัดระบบการคัดกรอง
(RE-X-RAY) จำแนกกลุ่มนักเรียน นักศึกษา
ออกเป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มปลอด
กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพย์ กลุ่มติด และกลุ่มค้า


3. มาตรการรักษา

สถานศึกษาจัดระบบการส่งต่อกลุ่มเสพย์
กลุ่มติดเข้าสู่การบาบัดรักษา
ตามระบบสมัครใจ การนำเข้าสู่กระบวนการ
จิตสังคมบำบัดในสถานศึกษาและ
ค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

4. มาตรการเฝ้าระวัง

สถานศึกษาดำเนินการจัดให้มี นักเรียน นักศึกษาแกนนำ
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา เพื่อเฝ้าระวังไม่มี
การแพร่ระบาดของยาเสพติด จัดระเบียบพื้นที่เสี่ยงและ
มีการขจัดปัจจัยเสี่ยงพื้นที่อับโดยจัดสภาพสิ่งแวดล้อม
ที่ไม่ให้เอื้อต่อการไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด


5. มาตรการบริหารจัดการ

มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์
การดำเนินงาน มีแผนปฏิบัติการ และการอานวยการ กากับ ติดตาม ประเมิน

งานป้องกันปัญหายาเสพติดนี้ถือว่าเป็นงานบุญที่ได้สร้างคน
ให้สามารถหลุดพ้นปัญหายาเสพติด เพราะทรัพยากรบุคคล
เป็นทรัพยากรที่สำคัญมาก ถ้าคนในชาติเข้าไปติดยาเสพติด
จะบั่นทอนศักยภาพของคนทำให้คนอ่อนแอ มีพฤติกรรมที่
เป็นปัญหาต่อสังคม สมองเสื่อม สุขภาพจิตย่ำแย่ การที่จะทำ
คุณงามความดีก็ทำได้ยากเพราะใจหมกมุ่นในยาเสพติดแล้ว
ฉะนั้น ผู้บริหาร และครูในโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
จะต้องเข้ามามีส่วนในการช่วยกันรณรงค์ป้องกันปัญหายาเสพติด
ปลูกฝังคุณลักษณะนิสัยที่ดีงามให้กับนักเรียนเพราะเด็ก
ในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า ถ้าเด็กในวันนี้มีพฤติกรรมที่ดีงาม
ไม่ติดยาเสพติดก็จะทำให้มีคุณภาพในการพัฒนา
ประเทศชาติ สังคม บ้านเมืองต่อไป




หมายเลขบันทึก: 628871เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2017 01:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2017 01:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท