๕๔๐. อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป...


การซ้อมดนตรีก่อนเรียน..สมองจะแจ่มใส พร้อมที่จะเรียนรู้สาระวิชา..ซ้อมดนตรีหลังเรียน..จะช่วยผ่อนคลายให้เพลิดเพลิน..ผมสังเกตและประเมิน.พบมรรคผลเช่นนี้ทุกปี

ปีการศึกษานี้..ผมคงยังใช้โครงการดนตรีเพื่อคุณธรรมนำความรู้ ..อันเป็น”อัตลักษณ์”อย่างหนึ่งของโรงเรียน..ที่ต้องการฝึกวินัยและเสริมคุณธรรมจริยธรรม ขณะเดียวกันก็หวังให้ดนตรีเสริมพลังสมองให้นักเรียน..

ปีที่ผ่านมา..ไม่ได้หมดเงินเลยแม้แต่บาทเดียว..กับนโยบาย..ลอกเลียนฝรั่ง ที่ชื่อ..Bbl คือนอกจากไม่มีเงินแล้ว ก็ยังไม่มีเวลา และไม่มีคนทาสีโต๊ะเก้าอี้..ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ แล้วนำดนตรีเข้ามาเติมเต็ม ก็เห็นเด็กนิ่งและมีสมาธิ..ตั้งใจเรียน

ผมกลับคิดว่า..ในห้องเรียนที่ไม่มีสีฉูดฉาด เป็นข้อดี ที่ทำให้เด็กและครูสบายตา..ผมอาจคิดถูกก็ได้ เพราะเห็นปีนี้..Bbl นิ่งสนิท..โดยมี..PLC เข้ามาแทนที่..ให้ครูมีเวลาสอนน้อยลง..แต่เป้าหมาย ศธ..ยังต้องการผลสัมฤทธิ์..และผมคิดว่าคงทำได้ แต่การอ่านของเด็กน่าเป็นห่วง..

หากตราบใด..ที่นโยบายยังดึงครูออกนอกห้องเรียน สร้างงานให้ครูทำ..ทั้งที่ไม่ได้เป็นความต้องการของครู..อย่างแท้จริง..เวลาสอนอ่านย่อมน้อยลงไปเรื่อยๆ

นอกจากผมจะใช้ดนตรีในการเรียนการสอนและใช้เพื่อบำรุงสมองของเด็กแล้ว..ผมยังใช้สิ่งแวดล้อม ใช้สีเขียว..ของต้นไม้..ขับเคลื่อนอารมณ์ ความรู้สึกและความคิดสร้างสรรค์ออกมาจากตัวเด็ก..ดึงศักยภาพของเขาออกมา.

วันนี้..ขอพูดถึงดนตรีก่อน..อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป..ผมโชคดีที่ไม่ต้องบังคับนักเรียน มีนักเรียนชั้น ป.๓ – ป.๖ มาสมัครใจขอเรียนรู้ทุกคน..ผมต้องคัดเลือกนักเรียนที่มีใจรักจริงๆ และวางตัวให้เหมาะสม ตลอดจนมองที่จำนวนเครื่องดนตรีด้วย..

นักเรียนที่ดื้อและซุกซน..จะดูดีมีระเบียบเมื่อซ้อมดนตรี..นักเรียนที่ซ้อมดนตรี จะตรงเวลา และแน่วแน่กับตัวโน้ต..เสียงเพลง..ทำให้นักเรียนยิ้มแย้ม หน้าตาสดใสและร่าเริง

การซ้อมดนตรีก่อนเรียน..สมองจะแจ่มใส พร้อมที่จะเรียนรู้สาระวิชา..ซ้อมดนตรีหลังเรียน..จะช่วยผ่อนคลายให้เพลิดเพลิน..ผมสังเกตและประเมิน.พบมรรคผลเช่นนี้ทุกปี

ปีนี้..คิดว่าดนตรี..จะมีอุปสรรค..เพราะรุ่นพี่จบไปหลายคน..แต่ละคนที่จบไป..ล้วนสุดยอดฝีมือทั้งสิ้น..

แต่แล้วก็มีตัวแทนที่ไม่แตกต่าง ผมจึงแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มแรก..เป็นนักเรียน ป.๓ – ๔ ถือเป็นเด็กใหม่ทางดนตรี..ที่ต้องฝึกดนตรีขั้นพื้นฐาน เล่นโน้ตและเพลงง่ายๆ

ส่วน ป.๕ – ๖...ผมทดสอบเพลงเก่าทั้งหมด ปรากฏว่า..สอบผ่าน..ตั้งแต่เพลงชาติ ไปจนถึง เพลงรำวง(ไทยเดิม) และเพลงปลุกใจ..

เมื่อไม่มีรุ่นพี่ให้เป็นหลัก..ป.๖..จึงต้องพึ่งตัวเอง..ตั้งใจซ้อมและบรรเลงได้ไม่ผิดเพี้ยน ผมทบทวนให้ทีละคน ใช้เวลาไม่นาน..เหมือนดนตรีเข้าไปในสายเลือดของนักเรียนแล้ว..เมื่อบรรเลงเป็นวงพร้อมกัน..นักเรียนจึงรู้หน้าที่และมีความรับผิดชอบ...

ผมมอบให้ ป.๕ – ๖ ช่วยสอนน้องๆ..การเรียนรู้ร่วมกัน จากการที่พี่สอนน้อง..ช่วยสร้างให้เกิดความรักสามัคคี..ดนตรี..จึงสร้างบรรยากาศที่ดีงามให้โรงเรียนไม่น้อยเลย

“อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป..ย่อมใช้ได้ดั่งจินดาค่าบุรินทร์”

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐

หมายเลขบันทึก: 628603เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2017 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2017 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท