การรับมือกับวิกฤตฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์


วิกฤตการเงินโลกในอนาคตมีแนวโน้มรุนแรงกว่าเดิมหรือไม่ เพราะอะไรจึงคิดเช่นนั้น? ดิฉันคิดว่าวิกฤตการเงินโลกในอนาคตคงไม่รุนแรงมากนักเพราะด้านเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีแต่ยังมีทิศทางที่ไม่แน่นอนนักลงทุนยังคงต้องติดตามคือเรื่องนโยบายเศรษฐกิจของทรัมป์ว่าดำเนินไปอย่างไรจะเหมือนหรือแตกต่างจากแนวนโยบายที่ทรัมป์เคยใช้ในการรณรงค์หาเสียงแต่ที่แน่ๆคือค่อนข้างแตกต่างจากรัฐบาลเดิมดังนั้นผลกระทบหลังการเลือกทรัมป์จึงเป็นประเด็นสำคัญที่อาจทำให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐที่ส่งผลให้ค่าเงินประเทศต่างๆอ่อนค่าในเชิงเปรียบเทียบรวมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมีแนวโน้มสูงขึ้นหลังนักลงทุนเทขายสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำมาเข้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นสหรัฐอย่างไรก็ดีประเทศฝั่งเอเชียถือว่าได้รับผลกระทบจากประเด็นกีดกันทางการค้าค่อนข้างจำกัดเนื่องจากมีการส่งออกไปสหรัฐเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับ GDP การรับมือกับวิกฤตฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ 1.ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ จะได้เพิ่มมูลค่าการก่อสร้าง หรือทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่จะขายสูงขึ้น

2. กำหนดวงเงินการวางดาวน์การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ขึ้นมาใหม่ให้เข้มข้นกว่าเดิม

3. กำหนดเพดานการปล่อยกู้ของสถาบันการเงิน

4. จำกัดวงการปล่อยกู้หรือเพิ่มหลักทรัพย์การค้ำประกันของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการกู้เงินจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นจากปกติ หรือมีการกำหนดฐานะการเงินมั่นคงและมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน

5. กำหนดกฎเกณฑ์ว่า ต้องมียอดขาย 30-40% จึงปล่อยเงินกู้ออกไป หรือมีการกำหนดเพดานดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เป็นการตีกรอบให้ทุกคนทำธุรกิจอย่างมีเหตุมีผล และคำนึงถึงสัดส่วนหนี้สินต่อทุน
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%81%E0%B8%...

หมายเลขบันทึก: 628184เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2017 13:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2017 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท