​การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑



ปตท. ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา เขต ๑ ระยอง และโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ร่วมกันจัด “โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาผู้เรียน” ที่โรงเรียนวัดเนินกระปรอก อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๐ และเชิญผมไปบรรยายนำเรื่อง “การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑”


จึงนำ narrated ppt มา ลปรร. ที่นี่ [part One], [part Two]


โรงเรียนวัดเนินกระปรอก เป็นโรงเรียนประถมศึกษา มีนักเรียนชั้นอนุบาลถึงประถม ๖ จำนวนนักเรียน ๓๓๐ คน ครู ๑๘ คน ผู้อำนวยการชื่อนายสมเดช อ่างศิลา โรงเรียนนี้เข้าร่วมโครงการปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวทางของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา สนับสนุนโดยบริษัท ปตท. ระยอง โดยเริ่มการเปลี่ยนแปลงวิธีจัดการเรียนรู้เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ คือดำเนินการมาเต็ม ๑ ปีการศึกษา เห็นผลการพัฒนาผู้เรียนอย่างชัดเจน คือเด็กนิ่งขึ้น มีความรับผิดชอบ ตั้งใจเรียน และเคารพและเห็นอกเห็นใจเพื่อนๆ ที่สำคัญคือครูก็เปลี่ยนด้วย ครูคนหนึ่งเปลี่ยนจากครูที่ดุและเข้มงวด มาเป็นครูที่เห็นอกเห็นใจนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เห็นว่าศักยภาพในการเรียนรู้ของศิษย์มีมากกว่าที่ตนเคยคิด


แนวทางจัดการศึกษาของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาคือ ใช้ ๓ เครื่องมือ (๑) จิตศึกษา (๒) PBL (๓) PLC ผมไปเห็นการจัดห้องเรียนที่เอาโต๊ะเก้าอี้ของนักเรียนออกหมด นักเรียนนั่งล้อมวงเรียนกันที่พื้น ครูก็นั่งพื้นร่วมกับนักเรียน เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ของความสัมพันธ์แนวราบ


ที่สำคัญที่สุดคือ การสอนเป็นหน่วยการเรียนรู้ ไม่ใช่สอนเป็นรายวิชา ซึ่งทำให้ครูต้องคิดออกแบบหน่วยการเรียนรู้ แต่ละหน่วยการเรียนรู้เรียนหนึ่ง quarter ซึ่งเมื่อจบหนึ่ง quarter นักเรียนจะเขียน mindmap สรุปว่าตนได้เรียนรู้อะไรบ้าง เท่ากับนักเรียนต้องฝึกสะท้อนคิด และประเมินตนเอง ครูก็จะได้รู้ว่านักเรียนแต่ละคนจับประเด็นเรียนรู้ได้อย่างไรบ้าง


ในแต่ละเรื่องที่เรียน นักเรียนจะเขียนสรุปการเรียนรู้ของตนออกมา เอาผลงานติดไว้หน้าห้องเรียน ให้ผู้ปกครองได้เห็นและชื่นชม


ผมไปถึงโรงเรียนวัดเนินกระปรอกเวลาประมาณ ๘.๒๐ น. เดินชมบริเวณที่มีคำแสดงปณิธาณหรือความเชื่อด้านการเรียนรู้อยู่ทั่วไป รวมทั้งชื่นชมความร่มรื่นของต้นไม้ใหญ่ รวมทั้งเถาวัลย์งาม เห็นมีกลุ่มผู้หญิงสิบกว่าคนอยู่ที่มุมหนึ่ง ถามได้ความว่าเป็นผู้ปกครองนักเรียน ผมจึงเร่เข้าไปทักทาย และถือโอกาสไต่ถามผลลัพธ์ของการเรียนรู้แบบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีลูกคนโตที่เรียนจบไปแล้วด้วยวิธีสอนแบบเดิม กับมีลูกที่กำลังเรียน ผู้ปกครองเห็นชัดเจนว่า การสอนแบบใหม่ทำให้เด็กนิ่ง รู้จักคิด มีความรับผิดชอบ และเรียนได้ดีกว่าเดิม

วิจารณ์ พานิช

๑๗ มี.ค. ๖๐


[Part One]




[Part Two]





1 ส่วนหนึ่งของอาคารเรียนหลังใหญ่



2 บริเวณโรงเรียน ถ่ายจากชั้น ๒ ของอาคารหลังใหญ่



3 ต้นเถาวัลย์อันงดงาม



4 หลักการแนวใหม่



5 กลุ่มผู้ปกครองนักเรียน



6 ป้ายประกาศหลักการ



7


8


9


10


11


12


13 mindmap สรุปการเรียนรู้ภาษาไทยตลอดทั้งปี



14 สภาพห้องเรียน เต็มไปด้วยผลงานของนักเรียน



15 เวทีอภิปราย คนกลางคือ ผอ. สมเดช



16 ผู้ฟัง


หมายเลขบันทึก: 627835เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2017 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2019 07:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจมากเลยครับ

ตอนนี้ สพฐ ให้ครูทำ PLC

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท