วิจัยหน้าเดียว


เรื่อง แก้ปัญหาพัฒนาการกระบวนการคิดวิเคราะห์เศรษฐกิจพอเพียงและปัจจัยการผลิต

ในฐานะครูสายผู้สอน รับผิดชอบงานสอนในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ต้องแก้ปัญหานักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 48 คน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O – NET) ผู้สอนได้ทดลองพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์เศรษฐกิจพอเพียงและปัจจัยการผลิตในสาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรใน การผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ ผู้สอนให้นักเรียนดูสถานการณ์จำลอง มีส่วนร่วมกันอภิปรายเศรษฐกิจพอเพียง ที่เป็นปรัชญาถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตของนักเรียน

จากการทดสอบก่อนเรียนพบว่าผู้เรียนอ่านแล้วตอบคำถามไม่ตรงประเด็น นำความเคยชินในชีวิตประจำวันมาเป็นคำตอบ จำเป็นที่ผู้สอนต้องปรับวิธีคิดเปลี่ยนวิธีสอน ด้วยการจำลองสถานการณ์ให้นักเรียนเป็นเจ้าของธุรกิจ มีความรู้ความเข้าใจปัจจัยการผลิต ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภท ดินป่าไม้ น้ำ แร่ธาตุ ทั้งที่อยู่บนดินและอยู่ใต้ดิน แรงงาน ทรัพยากรมนุษย์ ผู้ที่ทำงานให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจในการผลิตสินค้าหรือบริการ โดยอาศัยกำลังแรงกายและกำลังความคิด ทุน เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ สถานที่ใช้ในการผลิตสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อการผลิตสินค้าและบริการ ผู้ประกอบการ คือผู้ที่นำ ทีดิน ทุน แรงงาน มาร่วมดำเนินการผลิตสินค้าและบริการเพื่อสนองตอบความต้องการของผู้บริโภค ผู้ประกอบการที่ดีจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์ ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ จำเป็นที่ผู้สอนต้องปลูกฝังพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและปัจจัยการผลิตให้กับนักเรียนรู้จักวิเคราะห์คำถามตอบให้ตรงประเด็น ส่งผลให้นักเรียนรู้จักพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ที่ทำให้นักเรียนคิดวิเคราะห์อ่านคำถามแล้วตอบได้ตรงประเด็น เพราะการวางแผนของครู ด้วยการให้นักเรียนดูสถานการณ์จำลองเศรษฐกิจพอเพียงฝึกปฏิบัติในการคิดวิเคราะห์ปัจจัยการผลิต ส่งผลให้นักเรียนมี คะแนนผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O – NET) กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ในมาตรฐาน ส 3.1 มีคะแนนเฉลี่ย ( Mean) 76.67 สูงกว่าระดับโรงเรียน จังหวัด โรงเรียนในสังกัด โรงเรียนในภาคใต้และสูงกว่าระดับโรงเรียนในประเทศ


หมายเลขบันทึก: 627731เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2017 17:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 เมษายน 2017 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท