ปาริฉัตร
นางสาว ปาริฉัตร รัตนากาญจน์

ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม


การเข้ามาประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่เข้ามาประกอบธุรกิจภายในประเทศไทยก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมภายในประเทศไทย

                            ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ 

          การที่ผู้ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเข้ามาในประเทศไทยมีผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว  หลังจากการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี2540

              ด้านการลงทุน

             การเข้ามาประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว  ย่อมนำมาสู่การนำเม็ดเงินจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก  เพื่อนำมาลงทุนเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในการประกอบการ   การจ้างแรงงาน  การซื้อสินค้าเพื่อนำมาขาย   เป็นต้น  โดยพิจารณาจากงบเงินทุนที่มักเป็นการลงทุนในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง  โดยเป็นผลมาจากการเริ่มขยายสาขาเพิ่มมากขึ้น  ก่อให้เกิดการสร้างสินทรัพย์ถาวร  เงินลงทุนในระยะยาว  สัญญาจองการเช่าและสิทธิการเช่าและสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน  เป็นต้น  

(  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา  ,  การค้าปลีกของไทย;  (ผลกระทบของการแข่งขันจากผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่จากต่างประเทศ , กรุงเทพมหานคร : สถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาประเทศไทย ,  2545  )

                       ด้านประโยชน์ต่อผู้บริโภค

          1.  การขายสอนค้าที่ต่ำกว่าคู่แข่งมากๆ  (loss leading)  สำหรับสินค้าบางประเภทที่ผู้บริโภคนิยม  แม้มีกำไรเบื้องต้นในอัตราต่ำ  แต่เป็นการจูงใจให้ผู้บริโภคใช้จ่ายมากขึ้น  ส่งผลให้เกิดกำไรจากการที่มียอดจำหน่ายมากๆ   และส่งผลดีต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ

          2.  การขายสินค้าในราคาที่ต่ำมากๆนั้น  เมื่อมีการเพิ่มขึ้นของยอดจำหน่าย  จึงมีความจำเป็นต้องขยายสาขาอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้นทำให้ผู้ประกอบการต่างด้าวสามารถสั่งซื้อสินค้าได้ครั้งละมากๆซึ่งมีผลให้ได้ส่วนลดการค้าสูงขึ้น  และขายสินค้าได้ในราคาที่ถูกลงอีก

          3. การที่อำนาจซื้อสูงขึ้นทำให้สามารถต่อรองให้ผู้ผลิตร่วมแบกรับค่าใช้จ่ายบางอย่าง  ก่อเกิดผลดีทางเศรษฐกิจกล่าวคือ ผู้ผลิตที่สามารถจ่ายค่าแรกเข้าได้สูงสุดก็มีสิทธิที่จะนำสินค้าของตนไปวางขายได้ทำให้ขายสินค้าได้มากขึ้น  วิธีนี้ทำให้สินค้าที่วางขายต้องเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมจริงๆ    นอกจากนี้การขอให้  ร่วมรายการลดราคาบางส่วนก็เป็นผลดีในการเพิ่มยอดขาย  หากไม่เป็นการเพิ่มต้นทุนมากเกินไป

           4. ตราบใดที่ตลาดยังคงมีการแข่งขันดังเช่นประเทศไทย  ผู้ประกอบการต่างด้าวก็จะต้องส่งต่อส่วนลดต่างๆ  รวมทั้งค่าใช้จ่ายบางส่วนที่เจรจาเรียกร้องจากผู้ผลิตให้แก่ผู้บริโภคในรูปของราคาที่ต่ำลง  นับเป็นประโยชน์โดยตรงทั้งต่อทุกฝ่ายฝ่าย

          5.ผู้ประกอบการต่างด้าวมักมีการปรับปรุงระบบการกระจายสินค้า  โดยการขนส่งผ่าน  distribution center   ย่อมมีต้นทุนที่ต่ำกว่าระบบเดิมที่ผู้ผลิตต่างขนสินค้าไปส่งที่แต่ละสาขาของผู้ประกอบการ

                     ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี

               เนื่องจากผู้ผลิตในประเทศจำนวนมากยังมีขนาดเล็ก  และมีวิธีการบริหารธุรกิจแบบครอบครัว  ทำให้ไม่สามารถเพิ่มยอดการผลิตสนองความต้องการของผู้ประกอบการต่างด้าวได้  ดังนั้น  ผู้ประกอบการต่างด้าวจึงต้องเจรจาทำธุรกิจกับผู้ผลิตจำนวนมาก   และมีความพยายามในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผู้ผลิต

                    ด้านการสนับสนุนธุรกิจอื่น

                   เพื่อความสะดวกสบาย  และสามารถตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆ  เช่น สถานที่จอดรถ  ศูนย์อาหาร  ธนาคารรายย่อย  ธุรกิจความงาม  อุปกรณ์สื่อสาร  มารวมอยู่ในบริเวณเดียวกัน  ผู้ประกอบการค้าของไทยสามารถเข้าสู่ตลาดของต่างชาติได้        การเรียนรู้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการเป็นการเพิ่มมาตรฐานผู้ประกอบธุรกิจของไทยให้มีความทัดเทียมกับสินค้าที่มาจากต่างประเทศ  ทั้งยังเป็นการเปิดตลาดให้ผู้ประกอบการของไทยได้เข้าสู่ตลาดต่างประเทศ  ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องหลักการต่างตอบแทนด้วย  (  ประเทศไทยยอมรับหลักการต่างตอบแทนในการจัดตั้งวิสาหกิจข้ามชาติไว้ใน  พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว  พ.ศ.  2542  มาตรา  10  วรรค  2  )  เป็นการนำรายได้กลับเข้ามาในประเทศได้อีกทางหนึ่ง

                      ด้านการสนับสนุนการพัฒนาทักษะและความรู้ด้านธุรกิจ

                     ผู้ประกอบการต่างด้าว  เช่น   เทสโก้-โลตัส  ได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาทักษะความรู้ทางด้านธุรกิจค้าปลีกแก่ผู้ที่สนใจอย่างต่อเนื่อง  โดยจัดให้มีการเรียนรู้ประสบการณ์ในการทำงาน  โดยได้ร่วมกับทบวงมหาวิทยาลัย  และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  เป็นต้น

                    อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการใช้อำนาจซื้อของผู้ประกอบการต่างด้าวจะเกิดผลทางบวกในทางเศรษฐกิจ  แต่อาจเกิดผลเสียบางประการ  กล่าวคือ

                   1. ผู้ผลิตรายเล็กและกลางบางรายที่พึ่งการขายสินค้าจากผู้ประกอบธุรกิจต่างด้าว  ย่อมมีอำนาจต่อรองที่ต่ำกว่า  และอาจถูกเอารัดเอาเปรียบได้

                    2.  ผู้ประกอบการต่างด้าวบางรายพยายามทำข้อตกลงผูกขาดทางการค้ากับผู้ผลิต   เพื่อเป็นการกีดกัน  ทำลายคู่แข่งรายอื่น

                    3. ผู้ประกอบการต่างด้าวบางรายใช้วิธีการตัดราคาสินค้าจนต่ำกว่าต้นทุนเพื่อการทำลายคู่แข่ง  ซึ่งจะกลายเป็นการผูกขาดสินค้าและขึ้นราคาได้ตามอำเภอใจในภายหลัง

                     4.  ผู้ประกอบธุรกิจต่างด้าวอาจใช้อำนาจต่อรองตามตลาดบีบบังคับให้ผู้ผลิตรายใหญ่จำกัดประเภทสินค้าที่ขายให้คู่แข่งของตน  เพื่อตนจะสามารถขายสินค้าในราคาที่สูงขึ้นโดยไม่ต้องแข่งขันกับคู่แข่ง

 
     

 

หมายเลขบันทึก: 62731เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2006 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท