ปฐมบรมราชโองการในพระมหากษัตริย์ไทย


พระราชพงศาวดารใน รัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ จดไว้ว่า ทั้ง ๔ รัชกาลทรงมีพระปฐมบรมราชโองการเหมือนกัน คือทรงมีพระราชดำรัสว่า


อันพรรณพฤกษชลธี แลสิ่งของในแผ่นดินทั่วทั้งพระราชอาณาเขต ซึ่งหาผู้หวงแหนมิได้นั้น ตามแต่สมณชีพราหมณ์จารย์ราษฎรจะปรารถนาเถิด”


---

จดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๖ นั้น ก็มิได้จดรายงานถึงพระปฐมบรมราชโองการ

จดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๗ จดพระบรมราชโองการ อันเป็นปฐมบรมราชโองการไว้ว่า

ดูกรพราหมณ์ บัดนี้เราทรงราชภาระ ครองแผ่นดินโดยธรรมสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและสุขแห่งมหาชน เราแผ่ราชอาณาเหนือท่านทั้งหลายกับโภคสมบัติ เป็นที่พึ่งจัดการปกครองป้องกันอันเป็นธรรมสืบไป ท่านทั้งหลายจงวางใจอยู่ตามสบาย เทอญ”

รัชกาลที ๘ ยังไม่ได้ทรงประกอบการพระราชพิธิบรมราชาภิเษก ตามโบราณราชประเพณี

พระปฐมบรมราชโองการของรัชกาลที่ ๙ คือ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”



หมายเลขบันทึก: 627196เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2017 09:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2017 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจมากเลยครับ

หายไปนานมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท