ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับบรูไนดารุสซาลาม


<p “=””>
</p>

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับบรูไนดารุสซาลาม

ภาพรวม

ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับบรูไนดารุสซาลาม เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2527 โดยเอกอัครราชทูต ณ บันดาร์ เสรีเบกาวัน คนปัจจุบัน คือ นายพีรวิช สรุวรรณประเทศ และเอกอัครราชทูตบรูไนประจำประเทศไทยคนปัจจุบัน คือ Haji Ismail bin Haji Abd Manap

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับบรูไนดารุสซาลาม

มีความใกล้ชิดและฉันมิตรโดยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับสูงอยู่เสมอ บรูไนดารุสซาลามเป็นพันธมิตรที่ดีของไทยต่อเรื่องต่าง ๆ ทั้งในกรอบอาเซียน และกรอบพหุภาคี (อาทิ OIC สหประชาชาติ เอเปค)

ปัจจุบัน มีกลไกกำกับความร่วมมือทวิภาคีที่สำคัญคือ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-บรูไนดารุสซาลาม (Joint Commission for Bilateral Cooperation - JCBC) ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 30-31 มีนาคม 2546 ที่กรุงเทพฯ

ด้านการเมือง

ไทยและบรูไนดารุสซาลาม มีทัศนะทางด้านการทหารและความมั่นคงที่สอดคล้องกัน ความร่วมมือทางการทหารดำเนินอย่างต่อเนื่อง โดยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้นำระดับสูงของกองทัพทั้งสองประเทศ และมีการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านการทหาร และการส่งบุคลากรทางทหารเข้าร่วมการอบรมหลักสูตรต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ

ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยและบรูไนดารุสซาลาม

ราบรื่นในทุกด้าน และมีการแลกเปลี่ยนระดับสูงของรัฐบาลและกองทัพอย่างต่อเนื่อง ทั้งบรูไนดารุสซาลามยังเป็นพันธมิตรที่ดีของไทยในเวทีระหว่างประเทศ และเป็นหุ้นส่วนที่อยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน

ไทยและบรูไนดารุสซาลาม มีกลไกความร่วมมือทวิภาคีระหว่างกัน คือคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-บรูไนดารุสซาลาม (Joint Commission Bilateral Cooperation : JCBC) ซึ่งมีประชุมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 30-31 มีนาคม 2546 ที่กรุงเทพฯ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การทหาร การค้า การลงทุน แรงงาน ความร่วมมือด้านวิชาการการท่องเที่ยว การสื่อสารและวัฒนธรรม

การค้า

บรูไน เป็นคู่ค้าของไทยลำดับที่ 9 ในอาเซียน และเป็นคู่ค้าของไทยลำดับที่ 71 ในระดับโลก ในปี 2553 การค้ารวมมีมูลค่า 269 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (8,150 ล้านบาท) ไทยส่งออกไปบรูไนมูลค่า 137 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (4,135ล้านบาท) และนำเข้าจากบรูไนดารุสซาลาม 132 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (4,015ล้านบาท) โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (120 ล้านบาท)

สินค้าที่ส่งออกไปบรูไนดารุสซาลาม ได้แก่ ข้าว หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ปูนซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์เซรามิกผลิตภัณฑ์ยาง กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เป็นต้น

สินค้านำเข้าจากบรูไนดารุสซาลาม ได้แก่ สินค้าเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์

ในปี 2555 (ระหว่างเดือน ม.ค. - พ.ย.) มีมูลค่าการค้ารวม 541.84 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยนำเข้า 360.13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 181.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ บรูไนดารุสซาลามเป็นคู่ค้าลำดับสุดท้ายของไทยในอาเซียน

การค้าระหว่างไทยกับบรูไนดารุสซาลามในแต่ละปีขยายตัวไม่มากนัก บรูไนเป็นคู่ค้าลำดับสุดท้ายของไทยคือลำดับที่ 9 ในอาเซียน ในปี 2556 (ม.ค.-พ.ย.) การค้ารวมมีมูลค่า 615.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออกไปบรูไนดารุสซาลาม มูลค่า 154.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าจากบรูไนดารุสซาลาม 460.81 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายเสียดุลการค้า 306.17 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ข้าว ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง น้ำตาล ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ปลาหมึกแห้ง สินค้าปศุสัตว์อื่นๆ และกล้วยไม้

สินค้าสำคัญที่นำเข้าจากบรูไนดารุสซาลาม ได้แก่ น้ำมันดิบ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์สิ่งทอ

การลงทุน

การลงทุนของบรูไนดารุสซาลามในไทยที่สำคัญ

คือ การลงทุนระหว่าง Brunei Investment Agency (BIA) และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุน (Matching Fund) ในชื่อกองทุนไทยทวีทุน 1 มูลค่าประมาณ 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2546 มีอายุกองทุน 8 ปี ทั้งนี้ กองทุนไทยทวีทุน 1 ได้หมดอายุลงเมื่อปี 2551 และเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2551 กบข. และ BIA จึงได้จัดตั้งกองทุนไทยทวีทุน 2 มูลค่าประมาณ 76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอายุกองทุน 10 ปี นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนภายใต้ BOI จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการเอเพ็กซ์ เซอร์คิต (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจจัดจำหน่ายแผงวงจรไฟฟ้า

การลงทุนหลักของนักธุรกิจไทยในบรูไนดารุสซาลาม

จะอยู่ในสาขารับเหมาก่อสร้าง/สถาปนิก ซึ่งมีบริษัทที่มีชื่อเสียงในบรูไนดารุสซาลาม คือบริษัทรับเหมาก่อสร้าง Brunei Construction และบริษัทสถาปนิก Booty Edwards & Rakan-Rakan (การประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติในบรูไนดารุสซาลาม จะต้องมีชาวบรูไนดารุสซาลามเป็นหุ้นส่วน ซึ่งรัฐบาลไม่ได้กำหนดอัตราการถือหุ้นส่วนอย่างตายตัว) นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจขนาดย่อม ได้แก่ ร้านขายของ ร้านอาหาร และอู่ซ่อมรถ เป็นต้น

การเยือนที่สำคัญ ฝ่ายไทย

พระราชวงศ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • เมื่อวันที่ 7-14 กันยายน 2534
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ เยือนบรูไนดารุสซาลาม
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
  • เมื่อวันที่ 4-6 ตุลาคม 2535
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จฯ แทนพระองค์เพื่อทรงร่วมพระราชพิธีรัชดาภิเษกของสมเด็จพระราชาธิบดี
  • เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2551
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ ทรงทำการบินโดยเครื่องบินพาณิชย์ของสายการบินไทยมายังบรูไนดารุสซาลาม

การเยือนที่สำคัญ ฝ่ายบรูไนดารุสซาลาม

พระราชวงศ์
สมเด็จพระราชาธิบดีฯ
  • เมื่อวันที่ 1-4 พฤศจิกายน 2531
    สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • เมื่อวันที่ 15-17 พฤษภาคม 2541
    สมเด็จพระราชาธิบดี เสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการในลักษณะ Working Visit
  • เมื่อวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2543
    สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการเพื่อร่วมประชุม ASEAN-UN Summit ซึ่งจัดขึ้นระหว่างการประชุม UNCTAD X
  • เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2546
    สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จฯ เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียน และผู้นำอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพ ที่กรุงเทพฯ
  • เมื่อวันที่ 20-21 ตุลาคม 2546
    สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จฯ เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 11
  • เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552
    สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนได้เสด็จมาร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
  • เมื่อวันที่ 10 -12 เมษายน 2552
    สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนเสด็จเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน + 3 ครั้งที่ 12 และการประชุดสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 4 ที่พัทยา
  • เมื่อวันที่ 23 - 25 ตุลาคม 2552
    สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 15 การประชุมสุดยอดอาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี) ครั้งที่ 12 และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) ครั้งที่ 4 ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
  • เมื่อวันที่ 30-2 มิถุนายน 2555
    สมเด็จพระราชาธิบดีฯ เสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการ
  • วันที่ 19-21 พฤษภาคม 2556
    สมเด็จพระราชาธิบดีฯ เสด็จเยือนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำด้านน้ำแห่งเอเชียแปซิฟิก ณ จังหวัดเชียงใหม่
มกุฎราชกุมารบรูไนดารุสซาลาม
  • เมื่อวันที่ 21-25 พฤษภาคม 2543
    มกุฎราชกุมารบรูไนดารุสซาลาม เสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระอาคันตุกะของรัฐบาลไทย
สมเด็จพระราชาธิบดี สมเด็จพระราชินี และพระมเหสีแห่งบรูไน
  • เมื่อวันที่ 26-28 สิงหาคม 2545
    สมเด็จพระราชาธิบดี สมเด็จพระราชินี และพระมเหสีแห่งบรูไนดารุสซาลาม เสด็จฯ เยือนไทยในฐานะพระราชอาคันตุกะ
สมเด็จพระราชาธิบดีและเจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  • เมื่อวันที่ 16-18 เมษายน 2548
    สมเด็จพระราชาธิบดีและเจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบรูไนดารุสซาลาม เสด็จฯ เยือนไทยเป็นการส่วนพระองค์ โดยเป็นแขกของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งบรูไนดารุสซาลาม
  • เมื่อวันที่ 11-14 มิถุนายน 2549
    สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งบรูไนดารุสซาลาม ได้เสด็จมาร่วมพิธีเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

<p “=”“>จะเห็นได้ว่าไทยและบรูไนฯ ทั้งสองประเทศยังมีทัศนคติที่ดีต่อกัน ไม่เคยมีความบาดหมางทางประวัติศาสตร์ มีทัศนะทางด้านการทหารและความมั่นคงที่สอดคล้องกัน ความร่วมมือทางด้านต่างๆอย่างต่อเนื่อง โดยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้นำระดับสูงของกองทัพ และมีการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านการทหารและการส่งบุคลากรทางทหารเข้าร่วมการอบรมหลักสูตรต่าง ๆ และมักเป็นพันธมิตรในเรื่องต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ นับเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอันดีที่ควรดำรงอยู่ และพัฒนาให้ยั่งยืนขึ้นไป </p> <p “=””>
</p>

*ผิดพลาดหรือผิดใจประการใดขออภัยอย่างสูงนะครับ


ขอขอบคุณความรู้ดีๆ....

บรรณานุกรม :

East asia watch. ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับบรูไนดารุสซาลาม [ออนไลน์] แหล่งที่มา :

http://www.eastasiawatch.in.th/th/relationship/36/

รอบรู้อาเซียน. ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับบรูไน [ออนไลน์] แหล่งที่มา :

http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=3591&fil...

apecthai. บรูไนดารุสซาลาม [ออนไลน์] แหล่งที่มา :

http://www.apecthai.org/index.php/%E0%B8%82%E0%B9%...

Asianfoodofthai. เนการาบรูไนดารุสซาลาม ความสัมพันธ์ระหว่างไทย [ออนไลน์] แหล่งที่มา :

https://asianfoodofthai.wordpress.com/%E0%B9%80%E0...

บรรณานุกรมรูปภาพ :

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%84%E0%B8%...

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%84%E0%B8%...

หมายเลขบันทึก: 627032เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2017 01:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2017 01:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท