ประวัติปลาอานนท์(ฉบับพุทธ)จากชาดก


จาก ประวัติปลาอานนท์(ฉบับพุทธ)จากชาดก


(ที่มาจากนิทานซ้อนเรื่องที่๑ในมหาสุตโสมชาดก)อดีตกาลล่วงมาแล้วมีปลาใหญ่(ยักษ์)๖ตัวอยู่ในมหาสมุทร คือ ปลาอานนท์ ปลาอุปนนท์ ปลาอัชโชหาละทั้ง๓นี้กายยาวตัวละ ๕๐๐โยชน์(๘,๐๐๐กิโลเมตร) อีก ๓ ตัวคือ ปลาติมิงคละปลาติมิระมิงคละ ปลามหาติมิระมิงคละ ทั้ง๓นี้กายยาวตัวละ๑,๐๐๐โยชน์(๑๖,๐๐๐กิโลเมตร) ปลาทั้ง๖กินหิน(ช่วยย่อย?)และสาหร่ายปลาอานนท์อยู่ในจุดหนึ่งของมหาสมุทร มีพวกปลาเข้าไปหาเป็นอันมากวันหนึ่งปลาทั้งหลายจึงคิดกันว่า”พวกสัตว์๒เท้า๔เท้าทุกเหล่าย่อมมีราชา(๒เท้าคือ นก มีราชาคือหงส์ทองธตรัฐที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ๔เท้า คือสัตว์บกทั่วไปมีพวกมฤคเป็นต้น มีราชาคือไกรสรราชสีห์)แต่พวกเราไม่มีราชาจึงควรยกปลาอานนท์ขึ้นเป็นราชา” เมื่อคิดและมีความคิดเป็นมติเอกฉันท์แล้วจึงยกปลาอานนท์ขึ้นเป็นพญาแล้วพากันไปเฝ้าทุกเวลาเช้าเย็นวันหนึ่งปลาอานนท์กินก้อนหินและสาหร่ายอยู่ในภูเขา(ก้นทะเล)แห่งหนึ่งมีปลาตัวหนึ่งหลุดเข้าไปในปาก รู้สึกมีรสอร่อยมากจึงคายออกมาดูก็รู้ว่าเป็นเนื้อปลา จึงคิดว่า”เราอยู่มาตั้งนานไม่รู้จักกินของอร่อยเราควรหาอุบายกินปลาต่อไป” ตั้งแต่นั้นมาจึงจับปลากินวันละ๒ตัว เช้า-เย็นจนคิดว่าถ้าพวกปลารู้เข้าจะแตกหนีหมด จึงทำอย่างระมัดระวังจักกินปลาตัวที่ย่อคำนับแล้วกลับทีหลังปลาอื่นจากนั้นจึงทำตามที่คิดนั้นจนปลาทั้งหลายหมดไปโดยลำดับฝูงปลาเริ่มเกิดสงสัยไต่ถามกันไปมาว่าพวกเราหายไปไหนหนอจึงน้อยลงๆเช่นนี้มีปลาฉลาดตัวหนึ่งเกิดสงสัยปลาอานนท์จึงไปแอบอยู่ที่หูพญาปลาอานนท์ เมื่อเห็นหมู่ปลาที่ไปเฝ้าคำนับกลับแล้วเห็นปลาอานนท์จับปลาตัวหลังสุดกินเสียปลาฉลาดนั้นจึงไปบอกฝูงปลาทั้งหลายๆจึงพากันแตกหนีไปสิ้นเมื่อปลาอานนท์ไม่พบฝูงปลาก็เที่ยวตามหาจนไปพบภูเขาลูกหนึ่งจึงคิดว่าพวกปลาคงมาอาศัยอยู่ในภูเขานี้”เราจักโอบภูเขานี้”แล้วจึงโอบภูเขาเข้าด้วยหางและศีรษะ(พราหมณ์เอ๋ยพราหมณ์ฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียดโดยแท้)แต่พอเห็นหางตัวเองก็โกรธคิดว่าพวกปลาหลอกตน (ที่แกล้งโผล่หางมายั่วโทสะ?)จึงฮุบหางตัวเองไปซะ๕๐โยชน์แล้วเกิดทุกขเวทนามีเลือดนองไปตามมหาสมุทรถึงแก่ความตายในที่สุดปลาทั้งหลายจึงไปประชุมกันกินซากปลาอานนท์ตลอดถึงศีรษะกระดูกปลาอานนท์นั้นกองเหมือนภูเขาใหญ่มีดาบสปริพาชกผู้สำเร็จฌานสมาบัติเหาะไปพบเข้าจึงนำมาเล่าให้พวกมนุษย์ในชมพูทวีปฟังว่า”ข้าแต่มหาราช ปลาอานนท์เป็นผู้ติดรสของปลาทั้งหลายเมื่อไม่มีปลาที่จะกินจึงกินตนเองเข้าไปถึงแก่ความตาย”เรื่องนี้เล่าถวายพระเจ้าพรหมทัตผู้โปรดการกินเนื้อคน!

และจากประโยคนี้ คือ

จริงอยู่ คนคุยโตย่อมเป็นเหมือนปลาอานนท์. เล่ากันว่า ปลาอานนท์ (ชอบ) เอาหางอวดปลา (พวกอื่นและ) เอาศีรษะอวดงู ให้ (ปลาและงูเหล่านั้น) รู้ว่าเราเป็นเช่นกับพวกท่าน. บุคคลผู้คุยโตก็เช่นนั้นเหมือนกัน เข้าไปหานักพระสูตร หรือนักพระอภิธรรมใดๆ ย่อมกล่าวกะท่านนั้นๆ อย่างนี้ว่า ผมประพฤติประโยชน์เพื่อท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายต้องอนุเคราะห์ผม ผมจะไม่ทิ้งพวกท่านหรอกดังนี้.

ทำให้วิเคราะห์ได้ว่า ปลาอานนท์นั้น มีศีรษะเหมือนงู และมีหางเหมือนปลา เพราะทำให้ปลาและงูเห็นว่า เราเป็นเช่นกับพวกท่านได้(คือเหมือนปลาและงู)

ส่วนตำนานการหนุนโลกนั้น คาดว่า พราหมณ์เอาภาพขณะที่ปลาอานนท์กำลังลัดภูเขากัดหางตนเองไปเป็นแบบแน่นอน และทางพราหมณ์ไม่เคยกล่าวถึงลักษณะทางกายภาพของปลาอานนท์เลย จึงเป็นไปได้สูงว่า พราหมณ์รับความรู้เรื่องปลาอานนท์ไปจากพุทธ

อนึ่ง จากข้อมูลของปลาอานนท์ที่ได้รวบรวมไว้จากหลายที่ ทำให้ทราบว่า

๑.ปลามีขนาด ๕๐๐ โยชน์บ้าง ร่วมพันโยช์ขึ้นไปบ้าง แต่ในเรื่องนี้ ปลาอานนท์ที่มีขนาด ๕๐๐ โยชน์กลับได้รับเลือกเป็นราชา อาจเป็นด้วยว่าในยุคสมัยนั้น ปลาอานนท์ที่มีขนาดพันโยชน์ขึ้นไปอาจหาไม่ได้แล้ว(ถ้าไม่ใช่ว่าโตไปไม่ถึงขั้นนั้น ก็อาจด้วยว่าพวกที่ตัวโตจริงๆก็คงจำศีลไม่ออกมาพบปะใครเลยไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นราชา เพราะการเลือกราชานี้น่าจะเป็นการคัดจากความอาวุโสของอายุขัยด้วย เมื่อปลาอานนท์มีอายุยืนยาวจนมีขนาดตัวได้ ๕๐๐ โยชน์แล้วจึงเหมาะสมกับตำแหน่งราชานั่นเอง)

๒.รูปแบบการใช้ชีวิตอย่างสันโดษของปลาอานนท์ที่มีขนาดตัว ๕๐๐ โยชน์นั้น ระบุว่า ปลาอานนท์กินก้อนหินและสาหร่ายอยู่ในภูเขา(ก้นทะเล) ซึ่งหมายถึง ปลาอานนท์อาศัยอยู่ในภูเขา(ถ้ำ)ใต้มหาสมุทรและกินแร่ธาตุ(ก้อนหิน)กับสาหร่ายซึ่งงอกอยู่ในภูเขานั้นเป็นอาหาร จึงสามารถอยู่ได้โดยไม่กินเนื้อสิ่งมีชีวิตใดเลย(พวกหินแร่ที่กินนอกจากจะบำรุงกำลังแล้วยังอาจมีผลในการช่วยย่อยสาหร่ายที่กินเข้าไปด้วย)

จากข้อมูลในชุดนี้แสดงให้เห็นว่า สายพันธุ์ของปลาอานนท์นั้นรู้จักการใช้ปัญญาที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ในการล่าเป็นอย่างดี การใช้ปัญญาที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ในการล่านี้ เป็นความสามารถพิเศษที่พบได้ในสัตว์ที่มักมีอายุขัยยืนยาวผิดเผ่าพันธุ์ หรือสัตว์ที่เป็นเจ้าของสถิติโลกในหลายๆเรื่อง ความสามารถพิเศษที่สามารถพบได้ เช่น การหลอกล่อสัตว์ต่างๆเพื่อกินเป็นอาหารอย่างการที่นกกระยาง"บางตัว"รู้จักใช้ซากปลาตัวเล็กเพื่อล่อจับปลาตัวที่ใหญากว่า รึการใช้ซากปลาเพื่อล่อจับนกของวาฬเพชฌฆาต"บางตัว" เป็นต้น

ซึ่งเทคนิคการใช้ปัญญาปัญญาที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ในการล่าของปลาอานนท์นั้น คือการใช้หัวที่เหมือนกับงูและหางที่เหมือนกับปลาเพื่อหลอกจับสัตว์ทั้ง๒ชนิดนี้กินเป็นอาหารโดยไม่ต้องออกแรงล่าเองเลย แต่บางตัวที่มีปัญญาโดยสัญชาตญาณสูงมากเมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะรู้จักการถือสันโดษคือ เริ่มออกจำศีลตามถ้ำใต้ทะเลและกินแต่หินแร่กับพวกสาหร่ายเป็นอาหารจนอายุยืนยาวร่างกายแข็งแรงตัวยาวได้ถึง ๕๐๐ โยชน์ ซึ่งหากไม่กลับมาหลงติดในรสชาติของเนื้อเหมือนปลาอานนท์ในเรื่องตัวนี้และกินแต่หินแร่กับสาหร่ายต่อไปอายุของปลาอานนท์อาจยืนยาวจนตัวโตได้ถึงพันโยชน์เช่นกัน


ภาพร่างคร่าวๆตามข้อมูลของปลาอานนท์


คำสำคัญ (Tags): #ปลาอานนท์
หมายเลขบันทึก: 626983เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2017 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2017 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท