ภูมิปัญญาในชีวิต 2


การศึกษาจริยธรรมนั้นโดยเฉพาะจริยะและธรรมคำแรกมาจากภาษาบาลีส่วนคำหลังมาจากภาษาสันสกฤต ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากแนวความคิดทางปรัชญาและศาสนาของชาวภารตะในชมพูทวีปหรือประเทศอินเดียในปัจจุบัน ศัพท์ว่าจริยะ หมายถึงความประพฤติ ส่วนศัพท์ว่า ธรรมะ หมายถึงคำสอนในทางศาสนา เมื่อการใช้ชีวิตอยู่บนพื้นฐานคุณธรรมจริยธรรมนั้นจะก่อให้เกิดประโยชน์ด้านตนเองของผู้มีจริยธรรมคือ ทำให้เพื่อนมนุษย์ในสังคมต่างยอมรับนับถือว่าเป็นคนดีคือ

มีศีลธรรมนำคุณพระ ไม่เลยละศีลธรรมนำสั่งสอน

องค์สมเด็จพระบดินทร์ชินวร ทรงตรัสสอนชี้นำแต่กรรมดี

บุคคลนั้นก็จะได้รับความไว้วางใจ เพราะมนุษย์ที่ใช้ชีวิตอยู่บนพื้นฐานจริยธรรมที่ชาวโลกทุกศาสนาได้รับชี้นำสั่งสอนเหมือนหรือคล้ายกันคือการรักษาศีล 5 ประการ โดยตามกฎกติกาพื้นฐานสากลของผู้มีจริยธรรมข้อแรกคือการงดเว้นจากการฆ่าการเบียดเบียนกันนั้นแล.

สำหรับกฎกติกาของมนุษย์ในสังคมที่ควรมีไว้ประจำจิตใจนั้นคือศีล 5 ข้อดังนี้

ข้อที่ 1.บุคคลควรงดเว้นจากการฆ่าการเบียดเบียน

ข้อที่2.บุคคลควรงดเว้นจากการลักทรัพย์สินของผู้อื่น

ข้อที่3.บุคคลควรงดเว้นจากการประพฤติผิดในด้านกามคุณ

ข้อที่4.บุคคลควรงดเว้นจากการพูดโกหก

ข้อที่5.บุคคลควรงดเว้นจากการดื่มสิ่งเสพติดหรือน้ำเมาทั้งหลาย

ด้วยกฎกติกาดังกล่าวเป็นจริยธรรมพื้นฐานของชาวโลกเพื่อก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคมมนุษย์เป็นการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคน

อนึ่งการดำเนินชีวิตของมนุษย์ควรหลีกเว้นจากการนำพาตนเองเข้าไปสู่เส้นทางอบายมุข เพราะเส้นทางดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นเส้นทางแห่งความเสื่อมมี 6 ทางที่เปรียบเหมือนผี 6 ตัวดังนี้

ผีที่ 1 ชอบสุราเป็นอาจิณ ไม่ชอบกินข้าวปลาเป็นอาหาร

ผีที่ 2 ชอบเที่ยวยามวิกาล ไม่รักลูกรักบ้านรักเมียตน

ผีที่ 3 ชอบดูการละเล่น ไม่ละเว้นบาร์คลับละครโขน

ผีที่ 4 คบคนชั่วมั่วกับโจร หนีไม่พ้นอาญาตราแผ่นดิน

ผีที่ 5 ชอบเล่นม้ากีฬาบัตร สารพัดถั่วโปไฮโลสิ้น

ผีที่ 6 เกียจคร้านการทำกิน รวมทั้งสิ้น 6 ผีอัปรีย์..เอย.

3.เกี่ยวกับหลักการคิดของมนุษย์

สมดังคำโคลงโลกนิติที่ว่า

เว้นวิจารณ์ว่างเว้น สดับฟัง

เว้นที่ถามอันยัง ไป่รู้

เว้นเล่าลิขิตสังเกต ว่างเว้นนา

เว้นดั่งกล่าวว่าผู้ปราชญ์ได้ ฤามี.

ดังนั้นบุคคลจักต้องดูแลตนเองโดยใช้สติปัญญาความสามารถเพื่อการสร้างงานใหญ่ให้แก่ตน โดยปกติแล้วการเกิดมาเป็นมนุษย์ต้องดูแลตนเองและเป็นที่พึ่งแห่งตนให้ได้ดังคำพระว่า อัตตา หิ อัตตะโน นาโถ.ซึ่งแปลว่า ตนนั้นแลเป็นที่พึ่งแห่งตน ก็บุคคลอื่นใครกันเล่าที่จะเป็นที่พึ่งได้ ดังนั้นมนุษย์จึงสมควรแสวงหาแนวทางเพื่อเป็นหลักคิดในการดำเนินชีวิตเช่นคาถาบทหนึ่งที่ว่า สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตฺโต กะถัง โส ปัณฑิโต ภะเว. แปลว่าผู้เว้นจากการฟัง การคิด การถามและการเขียนแล้ว จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร

สำหรับหลักคิดในสองวัฒนธรรมคือฝ่ายตะวันออกกับฝ่ายตะวันตกนั้น จะมีฐานคิดคนละแบบกัน คือ ฐานคิดของชายทั้งสองอาจมีการถกเถียงกันกล่าวคือวัฒนธรรมทางเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือนั้นตั้งอยู่บนฐานเลข 0 จึงกล่าวสรุปได้ว่า ชาวเอเชียส่วนมากมีความเชื่อในสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ แม้แต่การตัดสินใจก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ เราจึงได้ยินคำว่าสุญญะตา อนัตตา จิตว่าง หรือแม้แต่คำว่าความมีในสิ่งที่ไม่มี เป็นต้น ส่วนวัฒนธรรมตะวันตกนั้นตั้งอยู่บนฐานเลขโรมันเพราะไม่มีเลข 0 เลย โดยถือกันว่าถ้าสิ่งใดพิสูจน์ไม่ได้ก็ถือว่าเป็นสิ่งไม่มีอยู่จริงและไม่ควรให้ความเคารพนับถือต่อสิ่งนั้น

ด้วยจิตใจมนุษย์นั้นเป็นสภาพที่มีจิตใจสูงส่งชอบเอื้อเฟื้อแผ่เมตตาปรารถนาดีมายังทุก ๆ ท่าน โดยทุกท่านสามารถฝึกฝนอบรมตนได้ และมนุษย์ทั้งมวลล้วนมีใจเพียงสองห้องคือใจห้องข้างซ้ายบรรจุอารมณ์ความรู้สึก แต่ใจห้องข้างขวานั้นบรรจุสติปัญญาชอบเป็นผู้หาเหตุผมอยู่เสมอ และการศึกษาเรียนรู้เพื่ออ่านใจห้องข้างซ้ายด้วยศาสตร์ทางจิตวิทยา และอ่านใจห้องข้างขวาด้วยวิชาปรัชญาและศาสนานั้นแล.

หมายเลขบันทึก: 626785เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2017 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2017 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท