รูปแบบของธุรกิจ


เครดิตภาพจาก: https://sites.google.com/site/ganthurkic/home/apha...

กิจการเจ้าของคนเดียว คือ กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว ควบคุมการดำเนินเองทั้งหมด เมื่อกิจการประสบผลสำเร็จมีผลกำไร ก็จะได้รับผลประโยชน์เพียงคนเดียว ในขณะเดียวกันก็ยอมรับการเสี่ยงภัยจากการขาดทุนเพียงคนเดียวเช่นกัน กิจการประเภทนี้มีอยู่ทั่วประเทศจำนวนมาก ได้รับความนิยมสูงสุดและเป็นธุรกิจที่เก่าแก่ที่สุด การดำเนินงานไม่สลับซับซ้อน มีความคล่องตัวสูงในการตัดสินใจดำเนินงาน กิจการมีขนาดเล็กกว่า ธุรกิจ ประเภทอื่น ตัวอย่างกิจการประเภทนี้ เช่น หาบเร่แผงลอย ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง ร้านเสริมสวย ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า การทำไร่ การทำนา เป็นต้น

ห้างหุ้นส่วน (Partnership)

ห้างหุ้นส่วน เป็นรูปแบบของการประกอบธุรกิจที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และสามารถทำนิติกรรมตามกฎหมายได้ โดยการทำสัญญาด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรที่จะเข้าเป็นหุ้นส่วนกัน ซึ่งผู้เป็น

หุ้นส่วนจะต้องลงทุนร่วมกันด้วยเงินหรือแรงกาย เพื่อวัตถุประสงค์ในการแบ่งกำไรที่จะได้รับจากการดำเนินกิจการร่วมกัน ห้างหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

2.1ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership ) เป็นรูปแบบที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องรับผิดชอบในการ

ชำระหนี้สินร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ โดยมีวัตถุประสงค์จะแบ่งกำไรและขาดทุนที่เกิดจากการประกอบธุรกิจนั้น ในสัดส่วนเท่ากันตามจำนวนหุ้น ห้างหุ้นส่วนสามัญแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่

1)ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (จดทะเบียน) เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียน

ถูกต้องตามกฎหมาย หากมีการฟ้องร้องต้องฟ้องห้างหุ้นส่วน เมื่อทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนไม่พอชำระหนี้จึงจะฟ้องร้องจากหุ้นส่วนต่อไป

2)ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (ไม่จดทะเบียน) เป็นห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนให้

ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนกับห้างหุ้นส่วนจะไม่แยกจากกัน เจ้าหนี้สามารถฟ้องร้องบุคคลใดก็ได้

2.2ห้างหุ้นส่วนจำกัด (จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล) (Limited Partnership) เป็นรูปแบบห้างหุ้นส่วน

ที่จะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จึงมีผลทำให้กิจการนั้นเสมือนเป็นบุคคล และมีสิทธิดำเนินการต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1)หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ ผู้เป็นหุ้นส่วนจะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้

ซึ่งรับผิดชอบเพียงจำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น

2)หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ ผู้เป็นหุ้นส่วนจะมีคนเดียวหรือหลายคน

ก็ได้ ซึ่งรับผิดชอบในบรรดาหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน

บริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 บัญญัติว่า "บริษัทจำกัด คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ" จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้ การประกอบกิจการในรูปแบบ บริษัทจำกัดนี้เป็นที่นิยมมาก เพราะการประกอบธุรกิจส่วนใหญ่มักต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก การระดมเงินทุนกิจการในรูปแบบนี้จัดทำได้ง่ายและได้จำนวนมาก นอกจากเงินทุนที่ได้จะได้จากเจ้าของกิจการผู้เริ่มก่อตั้งแล้ว ยังมีการระดมเงินทุนจากบุคคลทั่วไปด้วย รวมทั้งการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ โดยผู้บริหาร ที่มีความสามารถร่วมกันดำเนินกิจการ ส่งผลให้เป็นกิจการที่มีความมั่นคงและน่าเชื่อถือมากประเภทหนึ่ง

ลักษณะของบริษัทจำกัด

ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 มาตรา 1096 ได้บัญญัติว่า บริษัทจำกัด คือ บริษัทประเภทที่จัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่า ๆ กัน ผู้ถือหุ้นต่างรับผิดชอบจำกัดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนส่งใช้ให้ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ

สหกรณ์ (Cooperative)

สหกรณ์ เป็นรูปแบบธุรกิจอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีคณะบุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ที่มีอาชีพความต้องการ ความสนใจที่คล้ายคลึงร่วมกันจัดตั้งขึ้น และจดทะเบียนถูกต้องตามพระราชบัญญัติ สหกรณ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพ การครองชีพของสมาชิกและครอบครัวให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ประโยชน์ทั้งต่อสมาชิกของสหกรณ์และต่อส่วนรวม

ในปัจจุบันสหกรณ์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท (ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511 มาตรา 7) ได้แก่

1)สหกรณ์จำกัด เป็นสหกรณ์ที่สมาชิกมีความรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนค่าหุ้นที่ยังใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ

2)สหกรณ์ไม่จำกัด เป็นสหกรณ์ที่สมาชิกทุกคนมีความรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อหนี้ทั้งปวงของสหกรณ์ไม่จำกัด

บริษัทมหาชนจำกัด ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2511 บริษัทมหาชนจำกัดมีโครงสร้างเหมือนกับบริษัทจำกัด คือ มีผู้ลงทุนเรียกว่า ผู้ถือหุ้น รับผิดชอบจำกัด ไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังไม่ชำระมีคณะกรรมการเป็นผู้บริหาร แต่มีลักษณะบางประการที่แตกต่างจากบริษัทจำกัด คือ

  1. มีกลุ่มผู้ก่อการเป็นบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป และมีกรรมการตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
  2. มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป โดยผู้ถือหุ้นคนหนึ่งถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 0.6 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายทั้งหมดรวมกัน และไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด ส่วนหุ้นจำนวนที่เหลือบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะถือไว้ได้รายละไม่เกินร้อยละ10
  3. ต้องมีทุนที่ชำระด้วยตัวเงินไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท โดยมีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กันและจะต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 20 บาท และไม่เกินหุ้นละ 100บาท

รัฐวิสาหกิจ (State Enterprise)

รัฐวิสาหกิจ เป็นองค์กรของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐบาลเป็นเจ้าของ รวมทั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 มีระบบการบริหารงานอยู่ระหว่างราชการและเอกชน โดยคำนึงถึงหลักสำคัญทางการบริหารให้เป็นไปตามขั้นตอน เพื่อป้องกันการทุจริต ตลอดจนความสงบสุขของประชาชนในประเทศเป็นหลักสำคัญ

วัตถุประสงค์ที่สำคัญในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจมีดังนี้

1)เพื่อความมั่นคงของประเทศ เพราะกิจการบางอย่างมีความจำเป็นที่ต้องใช้ในยามฉุกเฉิน เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

2)เพื่อประโยชน์ของสังคมในการให้บริการประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่

3)เพื่อหารายได้เข้ารัฐ เนื่องจากธุรกิจบางประเภทมีผลกำไรเป็นจำนวนมาก เช่น สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

4)เพื่อควบคุมสินค้าบางชนิดที่จะก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคม เช่น โรงงานสุรา โรงงานยาสูบ

5)เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศให้เป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศพร้อมกับเชิญชวนมาให้ท่องเที่ยวในประเทศไทย เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

รัฐวิสาหกิจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1.รัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคล เป็นองค์กรและหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีการดำเนินงานที่แยกออกจากผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของกิจการโดยเฉพาะ เช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย องค์การสวนสัตว์ธนาคารแห่งประเทศไทย บริษัทขนส่ง เป็นต้น

2.รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นนิติบุคคล เป็นกิจการบางอย่างของรัฐที่จัดตั้งขึ้นโดยใช้ทุนดำเนินการของรัฐทั้งหมด สังกัดหน่วยงานราชการที่เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล เช่นโรงงานยาสูบและสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่งสังกัดกระทรวงการคลัง เป็นต้น

ธุรกิจรูปแบบใหม่

ขายพื้นที่โฆษณาบนเสื้

เครดิตภาพจาก: https://thai.alibaba.com/product-detail/embroidere...

บริษัทชื่อว่า iwearyourshirt.com ซึ่งการทำโฆษณาจะเป็นการใส่เสื้อยืดตลอดทั้งวัน ถ่ายภาพ แล้วก็เขียนบล็อกเกี่ยวกับภาพเหล่านั้นจากนั้นก็นำภาพขึ้นไปวางไว้บนเว็บไซต์ Twitter, Facebook และ Youtube วิธีการคิดราคาค่าโฆษณาจะคิดเพิ่มเป็นรายวัน เช่น ในวันที่ 1 มกราคม คิดราคา 1 ดอลลาร์สหรัฐ ถ้าลูกค้าซื้อพื้นที่ไปเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ก็จะเป็นเงิน 365 ดอลลาร์สหรัฐอัตราค่าโฆษณาจะฟังดูไม่มากนัก แต่เมื่อรวมกันแล้วทั้งปี ก็จะมากถึง 66,795 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 2,200,000 บาท

คำสำคัญ (Tags): #ธุรกิจ
หมายเลขบันทึก: 626645เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2017 01:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2017 01:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท