สังคมผู้สูงอายุและการเตรียมตัวเข้าสู่วัยเกษียณ


สังคมผู้สูงอายุ คือคำที่ถูกใช้เรียกสภาวะสัดส่วนของจำนวนผู้สูงอายุที่มีอายู 60 ปีขึ้นไป มากกว่าจำนวนเด็กแรกเกิดหรือวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งในปัจจุบันเราจะได้เห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์หรือได้รับฟังข่าวสารทางโทรทัศน์กันบ่อยขึ้นในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา โดยจากข้อมูลของ United Nations World Population Ageing พบว่า หลังจากปี 2552 ประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิงได้แก่ เด็กและผู้สูงอายุ จะมีจำนวนมากกว่าประชากรในวัยแรงงาน และในปี 2560 จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประชากรเด็กน้อยกว่าผู้สูงอายุ สถานการณ์นี้เป็นผลมาจากการลดภาวะเจริญพันธ์อย่างรวดเร็ว และการลดลงอย่างต่อเนื่องของระดับการตายของประชากร ทำให้จำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุของไทย เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว


จากข้อมูลประชากรของประเทศไทยปี 2556 ประชากรไทยมีจำนวน 64.6 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุมากถึง 9.6 ล้านคน คาดว่าในปี 2573 จะมีจำนวนผู้สูงอายุ 17.6 ล้านคน (ร้อยละ 26.3) และปี 2583 จะมีจำนวนถึง 20.5 ล้านคน (ร้อยละ 32.1) ซึ่งหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ได้ร่วมกันดำเนินงานเพื่อคุ้มครอง ส่งเสริม และสนับสนุนสถานภาพ บทบาท และกิจกรรมของผู้สูงอายุซึ่งด้วยเหตุนี้ธุรกิจต่างๆที่กำลังจะเกิดขึ้น ต้องมีความตระหนักถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในด้านนี้เป็นส่วนมากเลยก็ว่าได้

ตอนนี้เราทุกคนที่มีอายุยังไม่เลยเลขสามก็อาจจะมองเรื่องนี้เป็นเรื่องไกลตัวแต่ในอนาคตเราทุกคนก็ต้องก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุหรือวัยเกษียณกันทุกคนอยู่แล้ววันนี้ เราจะมาลองเรียนรู้วิธีการก้าวเข้าสู่วัยเกษียณอย่างมีคุณภาพกันดีกว่านะครับ

วัยเกษียณหรือที่เรียกกันสั้นๆว่าวัยสูงอายุคือวัยที่บุคคลไม่มีรายได้หรือเกณฑ์ที่บริษัทกำหนดในพนักงานที่อยู่ในวัยนี้ต้องออกจากการทำงานแล้ว แน่นอนว่าใครหลายๆคนอาจจะคิดว่าเป็นช่วงที่เราจะได้มีเวลาพักผ่อนสบายๆไม่ต้องทำงานไม่ต้องรับผิดชอบอะไรกันแล้วแต่ เราก็อย่าลืมถึงปัญหาที่จะตามมาในวัยนี้นะครับหากไม่มีการเตรียมตัวเข้าสู่วัยเกษียณที่ดีพอ นั้นก็เนื่องมาจากปัจจัยหลายๆด้าน เช่น รายได้หลักของเราขาดหายไป , ร่างกายที่ชราภาพนำมาซึ่งสุขภาพไม่แข็งแรงโรคภัยไข้เจ็บที่ตามมาและการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นในช่วงวัยนี้ ซึ่งปัญหาต่างๆนั้นจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนแต่จะส่งผลมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับการเตรียมตัวที่ดีของท่านแต่ละคนวันนี้ผมก็มีเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆสำหรับเรื่องนี้มาฝากกันครับ

ในการเตรียมตัวนั้นเราจะแบ่งวิธีการออกเป็น 2 ด้านใหญ่ๆ ได้แก่

1. การเตรียมความพร้อมด้านร่างกายและจิตใจ

การเตรียมตัวด้านร่างกายและจิตใจที่ดีนั้นจะทำให้คนวัยเกษียณมีความมั่นใจในการใช้ชีวิตมากขึ้น

- พยายามรักษาสุขภาพและทานผักผลไม้ที่มีประโยช์นแก่ร่างกายเน้นผักผลไม้ที่มีกากใย ออกกำลังกายเบาๆเช่น การเดินช้า การทำงานบ้าน อย่างน้อยวันละ 30 นาที และควรพักผ่อนให้เพียงพอ

- การพัฒนาด้านจิตใจก็ควรเข้าวัดฟังคำสอนศาสนา หาพบปะญาตมิตรเพื่อนฝูงเพื่อไม่ให้ตัวเองรู้สึกเหมือนอยู่คนเดียวและอย่าปล่อยให้ชีวิตอยู่แบบไร้จุดดหมาย หางานอดิเรกทำบ้างเพื่อไม่ให้เราอยู่ว่างจนเกินไป

2. การเตรียมความพร้อมด้านการเงิน

ความพร้อมทางด้านการเงินนั้น เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากเรื่องหนึ่งที่จะต้องมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าก่อน ที่จะเกษียณอายุ การบริหารเงินให้พอใช้จ่ายและดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพได้นานที่สุดนั้น สิ่งสำคัญคือ การจัดสรรเงินลงทุนในยามเกษียณ เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และเป็นเงินสำรองยามฉุกเฉิน โดยเฉพาะเมื่อเจ็บป่วย แนะนำว่า เงินสภาพคล่องที่เก็บไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน ควรมีประมาณ 7.5 เท่าของค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน อาจเลือกเก็บในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือกองทุนรวมตลาดเงินซึ่งมีสภาพคล่องใกล้เคียงเงินฝากออมทรัพย์

โดยขั้นตอนในการเตรียมความพร้อมด้านการเงิน แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 กำหนดช่วงอายุที่เราจะมีชีวิตอยู่ให้แน่นอน คือ การประมาณอายุที่เราคิดว่าเราจะมีชีวิตก่อนจะจากโลกนี้ไปเพื่อให้ทราบว่าหลังเกษียณแล้วเราจะมีเวล่าในการใชชีวิตอีกนานแค่ไหน

ขั้นที่ 2 กำหนดเป้าหมายในชีวิตหลังเกษียณ คือการวางแผน หรือจะวา่เป็นการวาดฝันก็เป็นได้ว่าหลังจากคุรเกษียณแลวคุณอยากจะทำอะไร อยากจะใช้ชีวิตแบบไหนทั้งนี้ก็เพื่อจะได้รู็ว่าสิ่งที่คุณอย่ากทำหรืออยากมีนั้นต้องใช้เงินไหมหรือถ้าใช้ต้องใช้เงินเท่าไรถึงจะตอบสนองความต้องการได้

ขั้นที่ 3 กำหนดค่าใช้จ่ายหลังอายุเกษียณ คือ ต่อมาจากขั้นที่ 2 เมื่อคุณรู้เป้าหมายแล้วและรู้ว่าต้องใช้เงินเท่าไร เพือใ้สนองความต้องการให้เป็นไปได้มากที่สุด โดยส่วนมากนั้นค่าใช้จ่ายควรจะมีให้เพียงพอต่อความจำเป็นขัั้นพื้นฐานนั้นๆ

เป็นอย่างไรบ้างครับกับวิธีการเตรียมตัวเข้าสู๋วัยผู้สูงอายุและเกร็ดความรู้การเตรียมตัวเข้าสูงวัยเกษียณ ที่เอามาฝากกัน ทั้งนี้สิ่งที่ได้นำมาแนะนำก็เป็นเพียงแค่แนวทางให้ผู้คนนำไปดัดแปลง แต่จะเข้ากับใครนั้นก็ขึ้นอยู่กับแนวทางการใช้ชีวิตวัยเกษียณของแต่ละคนนะครับ สุดท้ายก็อยากจะฝากไว้ว่า "การเตรียมตัวที่ดีและเตรียมตัวได้ไวมีชัยไปกว่าครึ่ง" นะครับ

แหล่งที่มา

https://fopdev.or.th/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E...

http://49.231.196.184/knowledge/?p=251




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท