ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ วัยรุ่นไทยต้องเตรียมพร้อม


เครดิตภาพจาก: http://www.thaiseniormarket.com/article-detail/404

สังคมผู้สูงอายุ (Aging society)

ประเทศกำลังจะก้าวไปสู่ การเป็นสังคมผู้สูงอายุ หมายถึง องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้ให้นิยามกับสังคมผู้สูงอายุไว้ว่า ประชากรทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุมากกว่า 60ปีขึ้นไป ทั้งนี้ยังมีการแบ่งระดับ สังคมผู้สูงอายุเป็น 3 ระดับได้แก่

1. ระดับการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) คือ ประเทศที่มีประชากรอายุมากกว่า 60 ขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ 7 ของประเทศ

2.ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) คือ ประเทศที่มีประชากรอายุ60ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ20 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ14 ของประชากรทั้งประเทศ

3. ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) คือ ประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า ร้อยละ20 ของประชากรทั้งประเทศ



เครดิตภาพจาก: https://fopdev.or.th/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E...

ส่วนของประเทศไทย อยู่ในระดับที่ 1 (ข้อมูลสำรวจเมื่อปี 2557) ประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด 64.5 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป 10 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 14.9 ของประชากรทั้งหมด (ซึ่งตรงกับระดับที่ 1 ) ทั้งนี้ยังมีการคาดการณ์อีกว่า ภายในปี 2568 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู้ผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว หรือมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 14.4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด กล่าวได้ว่า ประชากร 5 คน จะมีผู้สูงอายุ 1 คน แต่ทั้งนี้ยังมีการรายงานข่าวของหนังสือพิมไทยรัฐ ผู้สูงอายุของประเทศไทย สุขภาพไม่ค่อยดี ล่าสุดมี 1 ล้านคน นอนติดเตียง

ทั้งนี้การเตรียมตัวควรทำอย่างไร

วัยรุ่นไทยควรเตรียมตัวอย่างไรเพื่อความพร้อมในการที่ประเทศจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

1. สุขภาพ เนื่องจาก เมื่อเราแก่ลงโรคต่างๆก็สามารถเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย เพราะฉะนั้นการมีสุขภาพที่ดีแข็งแรง ออกกำลังกายตั้งแต่ตอนนี้เพื่อให้เราแข็งแรงตลอดเวลา เมื่อถึงเวลาที่แรงเหลือน้อยจะได้ ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ

2. การเงิน สังคมไทยจะปลดวาระการทำงานที่อายุ 60 ปี นั้นแสดงว่ารายได้จากการทำงานนั้นจะลดลง หรือ อาจไม่ได้รับอีกเลย (ข้าราชการได้บำนาญ) การรู้จักเก็บออมทั้งแต่ตอนวัยรุ่น หรือวัยทำงานจะช่วยได้มากในวัยเกษียน วางแผนการลงทุนเพื่ออนาคตที่ดี และได้พักผ่อนอย่างสบายใจ

3. ครอบครัว เทคแคร์ครอบครัวของเราให้ดี เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีกับลูกหลานในอนาคต เพราะหากเมื่อเราแก่ลงเราเองก็อยากให้มีใครสักคนมาดูแล เพราะฉะนั้น เราควรทำให้ลูกหลานเห็นว่าเราใส่ใจผู้สูงอายุในครอบครัวเรา เพื่อให้เขาใส่ใจเราด้วย (ตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน)

4. บ้าน วันหนึ่ง เมื่อรู้ว่าเราจะแก่ลงอาจมีการปรับตกแต่งบ้านใหม่เพื่อให้เหมาะกับตัวเราที่สูงอายุมากขึ้น เช่น มีราวจับในบ้าน ห้องน้ำ ปูพรมที่พื่นเพื่อเพิ่มแรงเสียดทานลดการหกล้ม (คนแก้ส่วนใหญ่จะหกล้มที่พื้นกระเบื้อง) เป็นต้น

ทั้งนี้ ประเทศกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตัวเราเองก็ควรใส่ผู้สูงอายุในบ้านมากขึ้น เพราะผู้สูงอายุต้องการความรักมากกว่าสิ่งอื่นใด

คำสำคัญ (Tags): #ผู้สูงอายุ
หมายเลขบันทึก: 626634เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2017 23:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2017 23:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท