วิชญธรรม
ผศ. ดร. สิริวิชญ์ เตชะเจษฎารังษี

อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ในอีกมุมมอง........


อัตตา หิ อัตตโน นาโถ

โก หิ นาโถ ปะโร สิยา

อัตตนา หิ สุทันเตนะ

นาถัง ละภะติ ทุลละภัง

หรือ

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ

โก หิ นาโถ ปโร สิยา

อตฺตนา หิ สุทนฺเตน

นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ

คำสอนหลวงปู่ เมื่อไม่นานมานี้...............

ทำให้เข้าใจอะไรได้กว้างขึ้นถึงวลีที่เข้าใจ หรือจำ มาเพียงส่วนเดียวมาโดยตลอด.........


อัตตา หิ อัตตโน นาโถ คือ ตนแลเป็นที่พึ่งของตน

ผมเข้าใจอย่างนี้มาตลอด.................

เมื่อได้ฟังหลวงปู่ขยายความส่วนที่เหลือต่อก็ทำให้เข้าใจอะไรได้ดีขึ้นกว่าเก่าว่า.......

.........การที่จะทำให้ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนได้สำเร็จนั้น มีองค์ประกอบอยู่!!!..............

อัตตา หิ อัตตโน นาโถ คือ ตนแลเป็นที่พึ่งของตน

โก หิ นาโถ ปะโร สิยา คือ บุคคลอื่นไรเล่าพึงเป็นที่พึ่งได้

อัตตนา หิ สุทันเตนะ คือ บุคคลที่ตนฝึกฝนดีแล้ว

นาถัง ละภะติ ทุลละภัง คือ ย่อมได้ที่พึ่งอันได้โดยยาก

......................... ตรงนี้ สำคัญ ............................

อัตตนา หิ สุทันเตนะ

นาถัง ละภะติ ทุลละภัง


บุคคลที่ฝึกฝนมาดีแล้ว............ ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้โดยยาก


สรุปได้อย่างหนึ่งคือ.............. ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน นั้นไม่ได้มีความหมายเพียงว่า ตนต้องเป็นที่พึ่งของตนอย่างเดียว เพราะ เราส่วนใหญ่ยังพึ่งตนเองไม่ได้เลย

เราจะพึ่งตนเองได้อย่างไร?......... เราจะพึ่งตนเองแล้วเดินไปในทางทึ่ชอบธรรมได้อย่างไร?.....

ถ้าเราไม่....... ฝึกฝนตนเอง ให้พร้อม ให้ดีก่อน............. :)


// มือใหม่ในธรรม ทำความเข้าใจ

หมายเลขบันทึก: 625843เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2017 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มีนาคม 2017 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ฝึกฝนต่อไป เมื่อไหร่หนอ !!!


ชอบคาถานี้ค่ะ

ในคาถาอันคำตรัสนั้น บางที่บอกภาวะที่ปรากฏจริง บางที่บอกเหตุ บางที่บอกผล บางที่บอกทั้งหมดในคาถาเดียว

อย่าง อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ หรือ โก หิ นาโถ ปโร สิยา เป็นสภาวธรรม บอกว่าธรรมที่ตรัสแสดงนั้น เราทั้งหลายต้องปฏิบัติด้วยตนเอง จึงจะพ้นทุกข์เอง ไม่มีใครมาช่วยเราได้ การพ้นทุกข์ไม่ได้มาจากการดลบันดาลหรือปาฏิหาริย์จากภายนอก

อตฺตนา หิ สุทนฺเตน แสดงถึงทั้งเหตุและผล เพราะมีการทำเหตุคือได้นำข้อฝึก มาฝึกที่ตน จนเกิดผลคือตนกลายเป็นตนที่ฝึกดีแล้ว

ก็ย่อมได้ที่พึ่งอันบุคคลได้โดยยาก บาทนี้จึงเป็นการแสดงทั้งผลการปฏิบัติและภาวะจริง

อนุโมทนากับอาจารย์ด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท