ออกกำลังสมอง - รู้คิดจิตกายใจ


ประทับใจในทีมนศ.กิจกรรมบำบัดที่มีจิตอาสาร่วมบันทึกเทปออกกำลังคิดจิตกายใจ...ฝึกสมองตื่นรู้ทุกส่วนให้อยู่ตัวหัวใจงามมีพลังปัญญาเมตตาสดชื่นเบิกบานกับทีมผู้สูงวัยด้วยความขอบพระคุณอย่างสูงพร้อมทีมรพสต.มหาสวัสดิ์และทีมอ.เนตรจากสถาบันสุขภาพอาเซียนกับทีมนิเทศศาสตร์แห่งหนึ่ง

ขอบพระคุณพลังสมาธิปัญญาเมตตาทำให้ทีมผู้นำชมรมผู้สูงอายุชุมชนมหาสวัสดิ์สร้างแรงบันดาลใจให้ความร่วมมือเป็นกลุ่มต้นแบบบันทึกสื่อการเรียนรู้ด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของท่านอ.เนตรและทีมสถาบันสุขภาพอาเซียน ที่เปิดโอกาสพื้นที่ฝึกทักษะการเป็นผู้นำกลุ่มพลวัติแก่นศ.ที่อาสาช่วยงานนี้ถึง 5 สาวในการนำความรู้จากคู่มือการดูแลระยะยาวในส่วนกิจกรรมบำบัดเพื่อผู้สูงวัยติดบ้านติดเตียงมาปรับประยุกต์เป็นกิจกรรมบำบัดเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงวัยด้วย "กิจกรรมการออกกำลังคิดจิตกายใจ" ประกอบด้วย 5 ชุดแบบฝึกหัดของการขับเคลื่อนร่างกายให้สุขภาพดี


ชุดหนึ่ง การออกกำลังสมองท้ายทอยมาสมองส่วนหน้า ก่อให้เกิดการบริหารกล้ามเนื้อเล็กๆบนใบหน้าทำให้เกิดการสื่อสารสีหน้าด้วยสมองอารมณ์บวกเกิดรอยยิ้ม ออกแรงเบาๆ รวม 3 รอบเพื่อให้เกิดคลื่นสมองแอลฟาเพื่อพักผ่อนนำพาให้กล้ามเนื้อเล็กๆผ่อนคลายแล้วเกิดความเชื่อมั่นในตัวเองที่ค่อยๆเรียนรู้ท่าการออกกำลังสมองที่ท้าทายแปลกใหม่

ชุดสอง การออกกำลังสมองซีกซ้ายไปขวา ก่อให้เกิดการบริหารกล้ามเนื้อเล็กสู่ใหญ่ของร่างกายช่วงบน คิดสั่งการเคลื่อนไหวเบาๆ พร้อมๆกระตุ้นข้อต่ออย่างช้าๆ ก่อนที่จะกระตุ้นการรับรู้ข้อต่อเคลื่อนไหวจากช้าๆไปเร็วๆ จากแยกส่วนข้อต่อไปรวมหลายๆข้อต่อ ทำให้ร่างกายตื่นตัวค่อยๆเรียนรู้การทรงท่าและการทรงตัวได้ดี

ชุดสาม การออกกำลังสมองซีกขวาไปซ้าย ก่อให้เกิดการบริหารกล้ามเนื้อข้อต่อและการรับรู้ร่างกายทุกๆส่วนอย่างสามัคคีพร้อมรับรู้ภาพ เสียง สัมผัส ที่สะท้อนให้ตื่นรู้อยู่ตัวพร้อมจินตนาการประสบการณ์ดีๆ เพิ่มศักยภาพ (ความสุขความสามารถ) ในการรับรู้คิดการมองเห็น การได้ยิน การสัมผัสเคลื่อนไหวทรงท่าและทรงตัวจากนั่ง ยืน เดิน อย่างน่าสนใจร่วมกับการผ่อนคลายสมองอารมณ์ ลดการคิดจำท่าทาง แต่เพิ่มการเรียนรู้ช้าๆ ซ้ำๆ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการระลึกจำนำท่าทางออกกำลังต่างๆ ไปปรับใช้ในกิจกรรมการดำเนินชีวิต

ชุดสี่ การออกกำลังสมองซีกขวาและซ้าย ก่อให้เกิดใจประสานใจในการทำงานรับรู้สึกนึกคิดจิตมุ่งมั่นมากขึ้นกับความรู้สึกยืดกล้ามเนื้อ การปรบมือ การเคลื่อนไหวสหสัมพันธ์ของตา มือ หู แขน ขา และจิตที่มั่นใจ ค่อยๆ ผ่อนคลายลมหายใจตลอดการออกกำลังอย่างช้าๆ ไม่ทำให้สมองตึงเครียดจนเกิดพอดี ซึ่งมีประโยชน์เหมาะสมต่อผู้สูงวัยมากกว่าการจัดออกกำลังกายเบาๆถึงหนักๆที่เคยทำมา

ชุดสุดท้าย การออกกำลังสมองส่วนหน้า ซึ่งสมองส่วนนี้เราใช้ไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ เพราะสมองส่วนหน้าจะค่อยๆบริหารจัดการสื่อสารสมองทุกๆส่วนจากท้ายทอย (รับรู้การมองเห็น) สองข้างกกหู (รับรู้สื่อสาร) กลางกระหม่อม (รับรู้เคลือนไหว) ร่วมกับสมองอารมณ์ (รับรู้อารมณ์บวก - สุขสงบสันติทำให้ร่างกายผ่อนคลายจริงๆ หรืออย่างน้อยเครียดเชิงบวก) แล้วหลั่งฮอร์โมนความสุขกับฮอร์โมนเพื่อสุขภาพต่างๆ เพื่อเรียนรู้ใหม่คิดสร้างสรรค์ประกอบด้วย "ตื่นรู้ อยู่ตัว หัวใจงาม" เน้นการทบทวนตนเองอย่างเงียบๆ ดึงประสบการณ์ดีงามมาแสดงศักยภาพด้วยความรู้สึกภาคภูมิใจด้วยสมาธิต่อด้วยเกิดพลังปัญญาเมตตาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกระบวนการพูดด้วยเสียงภายในตนเองหรือภาวนา เกิดสติสัมปชัญญะคิดแยกคาย คิดน้อยๆ รู้สึกดีมากๆ ทำให้เกิดวงจรพัฒนาโปรแกรมสมองที่เกิดประสบการณ์ใหม่ผสมผสานประสบการณ์เดิมขณะหายใจ ส่งเสียง และสื่อสารทุกๆส่วนของร่างกาย




คลิกเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่คลิปนี้ ขอบพระคุณ Youtube.com

คลิกชื่นชมตัวอย่างการออกกำลังกิจกรรมบำบัดได้ที่คลิปนี้ หรือคลิปนี้ ขอบพระคุณ Youtube.com

ปล. คำถามชวนคิดสะกิดใจ 5 ข้อ

1. การขยับคิ้ว ตา ปาก และใบหน้า ช่วยเรื่องอะไร

ก. ออกกำลังสมองส่วนหน้า

ข. ออกกำลังกล้ามเนื้อใบหน้า

ค. ออกกำลังสมองซีกซ้าย

ง. ออกกำลังสมองซีกขวา

2. การฝึกยิ้มกว้าง 3 ครั้ง ช่วยเรื่องอะไร

ก. กระตุ้นสมองให้ตื่นตัว

ข. กล้ามเนื้อใบหน้าเต่งตึง

ค. กล้ามเนื้อใบหน้าผ่อนคลาย

ง. สมองอารมณ์ลบตื่นตัว

3. การฝึกหายใจเข้าออกลึกๆ ไม่ตั้งใจมาก พร้องพูดในใจ สบาย ผ่อนคลาย ช่วยเรื่องอะไร

ก. เพิ่มกำลังใจให้ตัวเอง

ข. เพิ่มพลังอารมณ์บวก

ค. เพิ่มศรัทธาเกิดสมาธิ

ง. เพิ่มสติคิดคลายร่างกาย

4. การหายใจออกทางปากพร้อมส่งเสียง อา อู โอ ช่วยเรื่องอะไร

ก. เพิ่มกำลังใจให้ตัวเอง

ข. เพิ่มพลังอารมณ์บวก

ค. เพิ่มศรัทธาเกิดสมาธิ

ง. เพิ่มสติคิดคลายร่างกาย

5. การรำวงงามแสงเดือนร่วมกันเป็นกลุ่ม ช่วยออกกำลังอะไร

ก. ร่างกายให้แข็งแรง

ข. จิตใจให้เบิกบาน

ค. สมองสั่งจิตเรียนรู้

ง. จิตผ่องใส ใจเบิกบาน

จากศาลายาสู่สุขุมวิท...จิตอาสามาเยี่ยมบ้าน...ขอกราบขอบพระคุณคุณยายวัย 103 ปีมีภาวะพึ่งพิงติดเตียงใส่สายให้อาหารหน้าท้อง...ตาดูอ่อนเพลีย หายใจหอบมีเสียงหวีดดัง วัดอารมณ์ที่ศูนย์หัวร้อนมากด้วยความกลัว สอบถามต้องดูดเสมหะทั้งวันคืนไม่ได้นอน...เคสนี้น่าสนใจทำให้นึกถึงคุณยายของผม...ผมจึงตรวจประเมินทางกิจกรรมบำบัดพบกล้ามเนื้อกลืนลึกลีบเกร็งบีบรัดหลอดลมหลอดอาหารทำให้กลืนไม่ได้หายใจขัด..มีลิ้นบวมคับปาก...ลองนวดผ่อนคลายลิ้นวนช้าๆสามรอบ ใช้ไม้พันสำลีแตะกระตุ้นลิ้นไก่ช้าๆจนเสียงหวีดลดและคุณยายไอออกมา น้ำลายเออขึ้นมาดูเป็นแอ่งให้ดูดง่ายขึ้น หลังดูดก็เคาะอารมณ์ให้หายกลัวตามจุดต่างๆของต่อมน้ำเหลืองพร้อมใช้ที่ปิดตาแตะสั่นเบาๆให้ลดระบบตื่นตัวสมองจิต...ดีใจที่คุณยายออกเสียงได้แม้ความดันดูเหนื่อยขึ้น เมื่อพักสัก 15 นาที ชีพจรลดลงเรื่อยๆจาก 86 เป็น 79 และ 68 ครั้งต่อนาที เปิดดูตาหลับสบาย....ขอบพระคุณคุณยายที่เป็นครูฝึกการกลืนหายใจให้ผมพร้อมด้วยทีมพยาบาลที่เรียนรู้ช่วยคุณยายอย่างดีงาม

ท้ายสุด ลองมาดูเฉลยคำถามสะกิดใจ 5 ข้อกันนะครับผม

1. การขยับคิ้ว ตา ปาก และใบหน้า ช่วยเรื่องอะไร

ก. ออกกำลังสมองส่วนหน้า

2. การฝึกยิ้มกว้าง 3 ครั้ง ช่วยเรื่องอะไร

ค. กล้ามเนื้อใบหน้าผ่อนคลาย

3. การฝึกหายใจเข้าออกลึกๆ ไม่ตั้งใจมาก พร้องพูดในใจ สบาย ผ่อนคลาย ช่วยเรื่องอะไร

ง. เพิ่มสติคิดคลายร่างกาย

4. การหายใจออกทางปากพร้อมส่งเสียง อา อู โอ ช่วยเรื่องอะไร

ข. เพิ่มพลังอารมณ์บวก

5. การรำวงงามแสงเดือนร่วมกันเป็นกลุ่ม ช่วยออกกำลังอะไร

ค. สมองสั่งจิตเรียนรู้



หมายเลขบันทึก: 623789เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2017 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2017 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท