​New (practical) Knowledge ! (๑)


โรงเรียนประถมในประเทศญี่ปุ่นจะทำ Kounai-Ken อย่างน้อยปีละ ๖ รอบ ต่อหนึ่งปีการศึกษาเพื่อนำทักษะความรู้ใหม่ (new practical skills) ที่ค้นพบนั้น กลับเข้าไปในระบบการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียน


ปีการศึกษา ๒๕๕๓

โรงเรียนเพลินพัฒนาเริ่มนำเอา Lesson Study เข้ามาเป็นกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มครู (PLC-professional learning community) ที่เรียนรู้ไปด้วยกันบนหน้างานจริง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการทำ Lesson Study คือการได้แผนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในการก่อการเรียนรู้ที่แท้จริง แต่ที่มากไปกว่านั้นคือ การยกระดับความรู้ของครูให้มีความเข้าใจในการเรียนรู้ของนักเรียน


วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๔

คณาจารย์ชาวญี่ปุ่น ๔ ท่าน ติดต่อขอเข้ามาเยี่ยมโรงเรียนเพลินพัฒนาและได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การจัดการเรียนการสอนในหน่วยวิชาคณิตศาสตร์ ห้อง ๒/๔

ในช่วงการสะท้อนหลังสอน Professor Nobuko TAKEDA จากมหาวิทยาลัย Musashi ได้กรุณาเสนอแนะคำถามสำหรับการสะท้อนหลังสอนที่ช่วยสะท้อนให้เห็นบทเรียนทั้งจากมุมของครูผู้สอนและจากมุมของผู้เรียน

นอกจากนี้ยังมีประเด็นดีๆ ที่ได้รับจากคณาจารย์ท่านอื่นๆ อีก เช่น การมองห้องเรียนจากโครงสร้างของบทเรียน การมองภาวะของครูและผู้เรียน และการมองหาจังหวะที่ผู้เรียนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ (engage the lesson)


วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๐

คณะดูงาน ๔ ท่าน นำโดย Professor Dr.Tadashi ASADA คณะ Human Sciences มหาวิทยาลัย Waseda และ Dr.Miho KAWAMURA คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย Saitama ได้เข้ามาขอเก็บข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการพัฒนาครูให้ได้ความรู้ ทักษะปฏิบัติ และความรู้จากประสบการณ์ (How to support school teachers to acquire practical skills / craft knowledge)

ทางคณะผู้วิจัยได้ประสานงานผ่านมาทางคุณโอฬาร คำจีน ผู้รับจัดสรรทุนวิจัยตามโครงการวิจัยประเด็นเร่งด่วนการปฏิรูปการศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดทำการวิจัย นำผลวิจัยมาแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นเร่งด่วน ว่า

“ We would like to visit some schools (elementary or secondary) and observe school-based teacher training/learning like lesson study and talk about it with school teachers.”

We focus on the in-service teacher program within school, so want to talk several teachers in each school, some are leaders and others are inexperienced teachers.

Leaders mean that they develop or initiate the in-service teacher training program within school, so we want to ask how they can facilitate or support inexperienced teachers’ professional learning, especially becoming skillful in teaching, and ask to experienced teachers about how they evaluate their Inset program.”


การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนั้นเริ่มต้นจากการอธิบายวงจรของ Kounai-Ken หรือ Research Lesson ที่ดำเนินการกันในประเทศญี่ปุ่นว่ามีองค์ประกอบอยู่ ๓ ส่วน ได้แก่

๑. Jizen-Ken คือขั้นการคุยเพื่อเตรียมแผนการสอน (discuss lesson plan)

๒. Teaching observation คือขั้นการสังเกตการสอน โดยตัวครูผู้สอน ร่วมกับผู้สังเกต จะมาช่วยกันระบุว่า การสอนมีปัญหาอะไรไหม นักเรียนเข้าใจหรือไม่ ฯลฯ ครูเองต้องบ่งชี้ปัญหานั้นขึ้นมา

๓. Jigo-Ken คือการถกปัญหาหรืออุปสรรคที่พบเจอในแผนการสอน จากนั้นก็หาวิธีการแก้ปัญหา ซึ่งตัวครูผู้สอนจะเป็นคนดึงปัญหาที่พบขึ้นมา และทีมจะจับประเด็นเพื่อนำไปสร้างแผนการสอนใหม่ ที่จะก่อให้เกิดการ create new practical skills

(*Kounai-Ken เป็นการวิจัยและพัฒนาแผนการสอน หรือเรียกว่า Research Lesson ไม่ใช่ Jugyo Kenkyo ซึ่งเป็นการเตรียมแผนการสอนในแต่ละคาบ หรือ Lesson study)


โรงเรียนประถมในประเทศญี่ปุ่นจะทำ Kounai-Ken อย่างน้อยปีละ ๖ รอบ ต่อหนึ่งปีการศึกษาเพื่อนำทักษะความรู้ใหม่ (new practical skills) ที่ค้นพบนั้น กลับเข้าไปในระบบการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียน


Key Success Factor

๑. แปลความหมาย / ตีความความหมายของทักษะความรู้ใหม่ที่ค้นพบนั้นให้เป็นที่เข้าใจร่วมกัน

๒. มี Knowledge Manager ช่วยแปลความหมาย ช่วยสร้างความรู้ในการปฏิบัติ สร้างปฏิสัมพันธ์ และสร้างกระบวนการในการนำเข้าสู่ระบบหลักสูตรและการเรียนการสอน

๓. ครูนำเข้าไปในระบบการเรียนการสอน และนำไปปฏิบัติจริงในชั้นเรียน (ขั้นนี้เป็นขั้นที่ยากที่สุด)



หมายเลขบันทึก: 622817เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2017 17:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2017 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท