​ลีลาชีวิตคน 4



เป้าหมายของเจ้าชายสิทธัตถะนั้นวิเคราะห์ว่าคงเปลี่ยนไปตามการรับรู้สิ่งใหม่ ๆ จากประสบการณ์ในฐานะนักบวช การเกิดมาเป็นคนต้องเอาชนะชีวิตที่ธรรมชาติกำหนดให้นั้นถือว่าเป็นการค้นหายาวิเศษ ในสังคมสาธุหรือนักบวชในอินเดียถือว่าเราที่เขาออกแบบให้นั้นต้องกบฏต่อเขาคือร่างกายนี้เราต้องทรมานให้สาสมจนเกือบตาย เอ๊ะมันไม่ใช่นะ

เจ้าชายสิทธัตถะคงเกิดคำถามว่า เราทรมานตนไปเพื่ออะไร ต่อมานักบวชสิทธัตถะเลิกทรมานตนเพราะเห็นอะไรหรือเข้าใจอะไรกันนะ

ด้วยในสังคมอินเดียมีลัทธิทรมานตนอยู่ 2 สายใหญ่ ๆ คือ ลัทธิที่เชื่อพระเจ้าคือศาสนาฮินดูและลัทธิที่ไม่เชื่อพระเจ้าคือศาสนาเชน

ต่อข้อถามว่าทำไมนักบวชสิทธัตถะเลิกทรมานกาย คำตอบหนึ่งคืออาจชนะกายได้แต่ชนะผู้ออกแบบกายมาไม่ได้ แล้วแล้วนักบวชสิทธัตถะหันมาเดินทางสายกลาง มีคำถามว่าทำไมการทรมานกายจึงไม่ใช่หนทางที่ทำให้เราเป็นอิสระจากอำนาจที่ออกแบบเรามา

นี่คือที่มาของคำสอนว่าคนประกอบขึ้นด้วยขันธ์ห้า กายกับใจสามารถเป็นอิสระจากกัน และว่าเป็นความผิดผลาดที่ไปคิดว่าการทรมานกายโดยกล่าวหาว่ากายเป็นศัตรูกับใจตนเอง

หมายเลขบันทึก: 622168เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2017 22:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มกราคม 2017 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท