​มรณานุสติ ต้องประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ


มรณานุสติ ต้องประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ

........................................
จึงจะเป็นชีวิตที่ประกอบด้วย "ปัญญา" และ "กุศลกรรม"
**********************
เจตนาที่ดีของการใช้ชีวิตคือ การสร้าง "กุศลกรรม"
ทุกมิติของการดำเนินไปจึงต้องประกอบด้วย "กุศล"
ทั้งนี้ไม่เว้นแม้แต่ "มรณานุสติ" ที่ต้องพิจารณาตลอดเวลา

ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจจะเข้าใจยากสำหรับท่านที่ฝึกพิจารณาใหม่ๆ

ว่า จะพิจารณา "มรณานุสติ" ด้วยจิตเป็น "กุศล" ได้อย่างไร
------------------------------------------
การที่จะพิจารณา "มรณานุสติ" ให้เป็นกุศล ก็คือ.....

เริ่มต้นด้วย
..................................
ก. การเข้าใจว่า "การดับ" เป็นเรื่องธรรมดา (ธรรมตา) ที่คู่กับการเกิด
ที่มีอยู่ 3 แบบ คือ
1. ขนิกมรณะ (การดับใน "การเกิดดับ" ทุกขณะจิต)
2. สมมติมรณะ (การดับของกายหยาบ สิ้นลมหายใจ )
3. สมุทเฉทมรณะ (ดับขันธ์ สิ้นสุดการเกิดดับของจิต หรือ นิพพาน)
.................................
ข. ทำให้เราเข้าใจว่า ขณะนี้ กำลังเกิดอะไรขึ้นบ้างกับชีวิต อยู่ในสภาพไหน ทำอะไรได้บ้าง ที่ยังเป็น "กุศลกรรม" เพื่อนำพาไปสู่ "สุคติ" ต่อไป
....................................
และ

ค. เมื่อเข้าใจดังนั้นแล้ว เราควรตระหนักด้วย "ปัญญา" ถึงโอกาสและคุณค่าของการยังคงมีชีวิตอยู่ ว่าควรจะรีบทำอะไร อย่างไร เพื่ออะไรบ้าง เพื่อการดำเนินชีวิตที่ดี มีคุณค่า มีความหมายต่อตัวเรา สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งในปัจจุบัน ภพนี้ และภพหน้าๆๆๆๆๆ (ถ้ามี) ที่ดี มีคุณค่า มีโอกาส ที่พัฒนาชีวิตไปสู่สิ่งที่ดีกว่าๆๆๆๆ จนถึงขั้นสูงสุด เท่าที่จะทำได้ (ไม่ละ-ไม่เพียร) ก่อนที่จะ "ดับ" ไป
--------------------------------------
นี่คือ การพิจารณา "มรณานุสติ" ด้วย ปัญญา และนำพา ไปด้วย "กุศลกรรม"
+++++++++++++++++++++

หมายเลขบันทึก: 621067เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2017 08:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มกราคม 2017 07:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ชอบใจบันทึกอาจารย์ครับ

อาจารย์สบายดีนะครับ

-สวัสดีครับอาจารย์

-สาธุ..ครับ

May I suggest a correction?

From ประมวลศัพท์พุทธศาสตร์(ป.อ. ปยุตฺโต)

ทิฏฐิ: ความเห็น, ความเข้าใจ, ความเชื่อถือ, ทั้งนี้ มักมีคำขยายนำหน้า เช่น สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) แต่ถ้า ทิฏฐิ มาคำเดียวโดด มักมีนัยไม่ดี หมายถึง ความยึดถือตามความเห็น, ความถือมั่นที่จะให้เป็นไปตามความเชื่อถือหรือความเห็นของตน, การถือยุติเอาความเห็นเป็นความจริง, ความเห็นผิด, ความยึดติดทฤษฎี; ในภาษาไทยมักหมายถึงความดึงดื้อถือรั้นในความเห็น (พจนานุกรมเขียน ทิฐิ); (ข้อ ๔ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม, ข้อ ๓ ในอนุสัย ๗, ข้อ ๓ ในปปัญจะ ๓)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท