​ย่ออภิธรรมพุทธ 4



ข้อคิด

6.เรียนรู้พุทธผ่านความจริง 2 แบบ

มองแง่ความขัดแย้งกัน ก. สอนว่าไม่มีตัวตนที่แท้จริง ข. สอนว่าการสั่งสมบุญย่อมนำสุขมาให้ สำหรับการศึกษาอภิธรรมมักเริ่มต้นด้วยคัมภีร์ชั้นสอง มี 2 เล่ม คือ 1. คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ อยู่ในชั้นอรรถกถาใช้อธิบายพระไตรปิฎก ผู้แต่งชื่อ พระอนุรุทธาจารย์ ว่าโดยปรมัตถ์มี 4 คือ จิตสื่อถึงวิญญาณขันธ์ เจตสิกสื่อถึง เวทนา สัญญา สังขารขันธ์ รูปสื่อถึงรูปขันธ์ นิพพานสื่อถึงอสังขตธรรม

2.คัมภีร์อภิธัมมัตถวิภาวินี อยู่ในชั้นฎีกาใช้อธิบายอรรถกถาอีกที

ก.ถามว่าปรมัตถธรรมคืออะไร ในวิภาวินีมองปรมัตถว่า

1 . คืออรรถอันยอดเยี่ยม

2. คืออรรถอันเป็นอารมณ์ของญาณที่ยอดเยี่ยมที่สุด

พุทธยุคแรกว่าจิตและเจตสิกถือเป็นปรากฎการณ์ที่เราสังเกตได้

ข.ถามว่าต้นรากปรมัตถธรรมอยู่ที่ไหน ตอบว่าคือคำสอนที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ในพระสูตรเพื่อโยงมาสู่ประสบการณ์ของคน ด้วยรูปคือสสาร จิตและเจตสิกคือปรากฏการณ์รับรู้ของคน นิพพานคือความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ แต่เมื่อจิต เจตสิก รูป นิพพาน มาถึงยุคอภิธรรมแล้วได้อธิบายบางส่วนพ้นจากการสังเกต

ค.ความจริงสมมติ

ความจริงในอริยสัจ 4 เป็นแบบอภิปรัชญา ( Reality ) มีคุณสมบัติเป็นสิ่งของ ( Thing )หรือญาณวิทยา ( Truth ) มีคุณสมบัติเป็นข้อความกันแน่ ...ด้วยสมมติสัจจะคือสิ่งที่ปรากฏแก่การรับรู้ตามธรรมดาของมนุษย์. ( น. 60 )

เราลองพิจารณาตัวอย่างนี้ว่า... การปั้นดินเป็นพระพุทธเจ้านั้นเป็นสมมติสัจจะแต่ก็ให้ผลแก่ชีวิตในทางที่เป็นกุศล. ( น. 62 ) การตั้งชื่อเมืองสุโขทัย เมืองอยุธยา ชื่อยังอยู่แต่เมืองเปลี่ยนไปนั้นคือความจริงข้อความไม่ใช่ความจริงของสิ่งของ ถามว่านาฬิกาเมื่อแยกชิ้นส่วนออกแล้วนาฬิกาหายไปเป็นความจริงแบบไหน..? ในมิลินทปัญหาคำว่า นาคเสน เมื่อแยกส่วนแล้วนาคเสนหายไปละ..? ...ในพระสูตรเราจึงพบว่าส่วนใหญ่ทรงแสดงหลักธรรมที่เป็นความจริงอย่างปรมัตถ์ด้วยภาษาสมมติ. ( น. 66 )

สรุปความคือสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้นเป็นเรื่องของความจริงเชิงปรมัตถ์เท่านั้น แต่ในการสอนอาจทรงใช้ภาษาสมมติเพื่อความสะดวกแก่การสื่อสาร. ( น. 67 )

7.การตรวจสอบความจริงปรมัตถ์

คำสอนหลักกรรม ไตรลักษณ์ ว่าด้วยความจริงปรมัตถ์ ความรู้ที่พุทธสอนไม่มีที่เป็นความรู้อย่างสมมติจะมีก็แต่ในวินัยเท่านั้น

ระบบความรู้พุทธ

1.เนื้อหาว่าด้วยความจริงเชิงปรมัตถ์

2.ภาษาบรรยายอาจใช้ภาษาสมมติได้

นั้นคือระบบความรู้พุทธอิงอยู่กับปรมัตถ์อยู่พ้นการตรวจสอบของคน

พระอภิธรรมกล่าวว่าจิตมนุษย์นั้นเกิดเป็นขณะแต่ละขณะนั้นยังแบ่งย่อยลงไปอีกเป็นสามช่วงคือ ช่วงเกิด ช่วงดำรงอยู่ และช่วงสลาย. ( น. 68 )

1 ขณะจิตที่ว่านี้เมื่อเทียบกับระบบเวลาที่เราใช้กันอยู่เวลานี้จะเท่ากับหนึ่งส่วนสี่ล้านล้านวินาที. ( น. 68 ) ในการทำงานรอบหนึ่ง จิตจะเกิดดับ 17 ขณะหรือครั้ง รูปธรรม ( ดิน น้ำ ไฟ ลม ) จะเกิดดับ 1 ครั้ง

แง่คิด...อภิธรรมนั้นได้ตัดขาดตัวเองจากรากฐานดั้งเดิมของพุทธศาสนาอันได้แก่การอิงความรู้ทุกอย่างของมนุษย์ไว้ที่ประสบการณ์. ( น. 73 )

............................................

บรรณานุกรม
สมภาร พรมทา. 2559. พุทธปรัชญาในอภิธรรมปิฎก. นนทบุรี : บริษัทปัญญ
ฉัตร์ บุ๊คส์ บายดิ้ง จำกัด.

หมายเลขบันทึก: 619963เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2016 17:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ธันวาคม 2016 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท