ครูดีมีธรรมะ


ครูดีมีธรรมะ



ในยุคสมัยปัจจุบันจิตใจมนุษย์ได้ถูกครอบงำจากโมหะ โทสะ มากมาย จึงทำให้เกิดปัญหามากมายในภาพลักษณ์

ของครูอาทิ การทำร้ายร่างกาย การช่อโกง การทุจริต ซึ่งปัญหาเหล่านั้นได้กลายเป็นข่าวในหน้า 1 ในหนังสือพิมพ์

เผยแพร่กันในสังคมวงกว้าง สังคมออนไลน์ ที่กระจายข่าวได้เร็วติดจรวด ข่าวเสียหายเกี่ยวกับคุณครูนั้นมีให้เป็นระยะๆ

ทำให้ภาพลักษณ์ของครู เกิดความด่างพร้อยจากบุคคลเพียงส่วนน้อย ทำให้คนเป็นครูทั้งหลายก็ถูกผลกระทบ

ยิ่งทำให้หัวใจของคนที่เป็นครูช้ำใจ เนื่องจากข้อกำหนดของสังคมครูเป็นบุคคลที่สังคมไว้วางใจ ให้การยกย่องนับถือ

ต้องการให้ครูเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกหลานของบุคคลในสังคม การประพฤติตนที่มีปัญหาทั้งกับตัวเองกับลูกศิษย์

และกับสังคม ย่อมเป็นการทำลายคุณค่าในอาชีพครูและตัวครูเอง



ปัญหาทางด้านคุณธรรมเหล่านั้นจะน้อยลงหรือหมดไปได้ ถ้าหากครูมีคุณธรรมประจำใจ

ครูที่ดีจึงควรได้ศึกษาถึงคุณธรรมที่จะเป็นบ่อเกิดแห่งความสุขและความสำเร็จในชีวิตของการเป็นครู


“ครุธรรม” คือ ธรรมสำหรับครู

ครูกับคุณธรรมนั้นจะต้องเป็นของคู่กัน หากครูขาดคุณธรรมเมื่อใดก็เหมือนกับนักบวชที่ไร้ศีล

ครุธรรมเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับการดำเนินอาชีพครูอันเป็นอาชีพที่มีเกียรติเป็นอาชีพที่คนทั่วไปยกย่อง

ครูที่มีคุณธรรมนำจิตใจจะทำให้เป็นครูที่ปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น มีความสำเร็จในงานที่ทำ มีสติตั้งมั่น พึงระลึกถึง

จรรยาบรรณอยู่เสมอภายในจิตใจของครู สามารถเป็นแรงผลักดันให้ครูกระทำหน้าที่ของครูอย่างถูกต้องเหมาะสมได้

อย่างสมบูรณ์


คุณธรรมของครู

1. คุณธรรมทางสติปัญญา

คือ ครูมีความรู้ทางทฤษฎี และแนวทางในการปฏิบัติหน้ามุ่งมั่นให้ความรู้แก่ศิษย์ด้วยใจปรารถนาดี

มีการพิจารณาไตร่ตรองในทางที่ถูก มีสติปัญญาเฉียบแปลมรอบคอบ ในการตัดสินใจจากการเผชิญปัญหาต่างๆ

2. คุณธรรมทางศีลธรรม

คือ ครูมีจิตสำนึกในสิ่งที่ดีงาม มีคุณธรรมนำจิตใจ ตั้งมั่นในทางศีลธรรม รู้สึกผิดชอบชั่วดีในทางศีลธรรม

มีการวางตัววางใจเป็นกลาง ซึ่งคุณธรรมและศีลธรรมจะสะสมอยู่ภายในจิตใจของครู


คุณธรรมง่ายๆที่ครูควรยึดถือ

พรหมวิหาร 4 เป็นธรรมที่ค้ำจุนโลก

ครูจะต้องมีธรรมประจำใจอันประเสริฐนี้เพื่อเป็นหลักประพฤติปฏิบัติตนที่ดีงาม ได้แก่

1. เมตตา คือ ครูมีความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เด็กมีความสุข มีจิตใจที่ดีงาม ผู้ที่เป็นครูจะต้องมีเมตตาเป็นที่ตั้ง

2. กรุณา คือ ครูมีความสงสาร เอ็นดูศิษย์ พึงช่วยเหลือให้พ้นจากความทุกข์และความไม่รู้ ให้ความรู้แก่ศิษย์ด้วย

ความเต็มใจที่จะให้

3. มุทิตา คือ ความชื่นชมยินดีเมื่อศิษย์ได้ดี และยกย่องเชิดชูให้ปรากฏ อันเป็นการให้กำลังใจ ให้แรงเสริมแก่เด็ก

ช่วยให้เกิดความภูมิใจในตนเอง

4. อุเบกขา คือ การวางตัววางใจเป็น มีจิตเรียบตรงเพียงธรรมดุจตราชั่ง ไม่เอนเดียงด้วยรักหรือชัง พร้อมที่จะวินิจฉัย

และปฏิบัติไปตามธรรม พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลเมื่อผู้อื่นร้อนเป็นทุกข์


หากครูมีคุณธรรมนำจิตใจแล้วนั้น

สามารถเป็นแบบอย่างที่กับเด็ก ในเรื่องของความประพฤติปฏิบัติ

และสามารถชี้ทางให้เด็กมีคุณธรรมในการดำรงชีวิตในสังคมที่มีความโหดร้ายเพิ่มมากขึ้นได้

คุณธรรมช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นตามข่าวหน้า 1 ที่ทำให้ครูเสื่อมเสียชื่อเสียง

ดังนั้นครูจึงต้องตั้งมั่นในคุณธรรม

ประพฤติตนเป็นครูมืออาชีพ ไม่แต่ว่าตนมีอาชีพครู

หมายเลขบันทึก: 619865เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2016 20:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2016 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท