นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ไทย


สมาคมนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พฤษภาคม 2552 โดยพัฒนามาจากชมรมนักสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปและเครือข่ายนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ซึ่งได้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพกระจายกันอยู่ในสถานบริการสุขภาพระดับต่างๆทั่วประเทศทั้งในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร กองทัพ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานการกุศลและ องค์กรภาคเอกชน เป็นต้น มีที่ทำการสมาคมฯตั้งอยู่ที่ชั้น 5 อาคาร 3 สำนักบริหารสาธารณสุขภูมิภาค สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี โดยมีนางปิยะฉัตร ชื่นตระกูล นักสังคมสงเคราะห์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เป็นนายกสมาคมฯคนแรกและมีนางสาวมลฤดี จินดาอนันต์ยศ นักสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลสมุทรสาคร เป็นเลขาธิการคนแรก

เหตุผลของการจัดตั้งเป็นสมาคมฯสืบเนื่องมาจากสถานการณ์ต่างๆที่ชมรมและเครือข่ายนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ร่วมกันดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ได้เดินทางมาถึงจุดที่แสดงให้เห็นว่าการขับเคลื่อนและพัฒนาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์มีความจำเป็นที่ต้องจัดตั้งองค์กรกลางเพื่อเป็นหลักและเป็นพลังในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ซึ่งนับตั้งแต่ได้จดทะเบียนและได้มีการดำเนินงานมาแล้ว สมาคมนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ไทยได้มีความเจริญเติบโต งอกงาม มีความเป็นปึกแผ่น มีสมาชิกที่รวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น เสียสละ และได้ร่วมสร้างพลังในการขับเคลื่อนและพัฒนาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์อย่างต่อเนื่อง ทั้งงานด้านสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ งานต่างๆด้านวิชาชีพสังคมสงเคราะห์และงานสังคมสงเคราะห์เพื่อสังคมอื่นๆ
ปัจจุบันสมาคมนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ไทย มีสมาชิกประมาณ 500 คน

กิจกรรมบริการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์

  • งานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ก็คือ การให้ความช่วยเหลือหรือเอื้อประโยชน์ต่างๆแก่ผู้ป่วยและญาติ ในการเข้าถึงความช่วยเหลือทางการแพทย์ประเภทต่างๆ อาทิ การจัดหาสถานที่พักฟื้น การจัดการกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโดยสิทธิการรักษาพยาบาลประเภทต่างๆ เป็นต้น โดยผู้ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวถูกเรียกว่า นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ หรือ นักสังคมสงเคราะห์ทางคลินิก ซึ่งเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาทางด้านสังคมศาสตร์ (โดยมากมักเป็นวิชาเอกสังคมสงเคราะห์) และเข้ามาเรียนรู้ระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และปฏิบัติงานภายในโรงพยาบาลจัดเป็นส่วนหนึ่งในทีมผู้ให้การรักษาทางการแพทย์ จัดเป็นตัวจักรสำคัญในการประสานระหว่างทีมงานผู้รักษา องค์กรต่างๆ และผู้ป่วย ในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยด้านต่างๆ เช่น การให้การสงเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลด้วยสิทธิการรักษาพยาบาลประเภทต่างๆ การจัดหาที่พักฟื้น การประสานงานเพื่อการฟื้นฟูทางอาชีพ เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการ หรือผู้ป่วยที่สูญเสียสมรรถภาพทางกายโดยตรง จึงทำให้นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ต้องมีภาระหน้าที่เพิ่มเติมจากที่กล่าวมาข้างต้น โดยเกี่ยวโยงไปถึงการวางแผนการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยภายในโรงพยาบาล การวางแผนในการส่งต่อเพื่อพักฟื้นหรือฝึกอาชีพผู้พิการ การประสานงานเพื่อจัดหางานให้ผู้พิการ การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและปรับปรุงที่พักอาศัย การให้การสงเคราะห์ต่างๆ การติดต่อกับองค์กรการกุศล องค์กรผู้พิการ องค์กรกีฬาต่างๆ การจัดหาอุปกรณ์เครื่อวช่วยผู้พิการต่างๆ การจัดสถานศึกษาแก่เด็กพิการ การประสานงานกับองค์กรทางการแพทย์และองค์กรผู้พิการอื่นๆ นอกจากนั้นงานด้านจิตสังคม งานป้องกันและเผ้าระวังโรคทางสังคมอื่นๆที่กระทบต่อสุขภาวะ เป็นต้น
  • งานของนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ จัดเป็นงานที่สำคัญ และไม่ค่อยมีผู้รับรู้บทบาทเท่าใดนัก เนื่องจากมักเป็นผู้ทำงานอยู่เบื้องหลังความสำเร็จต่างๆในการเชื่อมโยง"ภายในองค์กรการแพทย์"กับ"องค์กรภายนอก" นักสังคมส่งเคราะห์ทางการแพทย์จะมีทักษะและความรู้ด้านสังคมแล้วงานในทีมสุขภาพก็มีความจำเป็นเพื่อเข้าใจ อธิบายสือสาร กับทีมและผู้รับบริการ รวมถึงเข้าใจผลกระทบและวางแนวทางป้องกัน แก้ไข ช่วยเหลือได้
  • ความรู้เฉพราะโรคในการทำงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์
  • ความรู้เฉพราะทางในการให้บริการของนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์
    • แผนกฉุกเฉิน
    • แผนกคลอด
    • แผนกแผนกกุมารเวชเด็กแรกเกิด
    • แผนกผู้ป่วยหนัก ICU
    • แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู
    แผนกไตเทียม
    • แผนกสูติ-นรีเวช
    • แผนกจิตเวช
    • แผนกดุลยภาพบำบัด
    • แผนกนิติเวช
    • แผนกประสาทศัลยศาสตร์
    • แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู
    • แผนกโสต ศอ นาสิก ลาริงซ์
    • ด้านอายุรกรรม
    - อายุรกรรมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาคลินิก
    - อายุรกรรมโรคไตศูนย์ไตเทียม
    - อายุรกรรมโรคติดเขื้อ
    • เอดส์
    • วัณโรค
    • กามโรค
    - อายุรกรรมเคมีบำบัด
    - อายุรกรรมสาขาโรคมะเร็ง
    - อายุรกรรมสาขาโรคเลือด ศูนย์หัวใจ
    - อายุรกรรมต่อมไร้ท่อ
    - อายุรกรรมทั่วไป
    - อายุรกรรมประสาทวิทยา
    • ศูนย์ต่างๆ
    • ศูนย์สุขภาพและอาชีวอนามัย
    • ศูนย์ทันตกรรม
    • ศูนย์โรคระบบการหายใจ
    • ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหาร
    • ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
    • ศูนย์ศัลยกรรมเด็ก
    • ศูนย์ศัลยกรรมเต้านม
    • ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่ง
    • ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป
    • ศูนย์ศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ
    • ศูนย์ศัลยกรรมระบบประสาท สมองและไขสันหลัง
    • ศูนย์ชีวาภิบาล" (Palliative Care Center)
หมายเลขบันทึก: 619864เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2016 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2016 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท