นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

ผลจากการ AAR โรงเรียนในโครงการจัดการศึกษาตามแนว ศตวรรษที่ 21


​​ผู้บริหารโรงเรียน ส่วนใหญ่ แม้จะไม่สำเร็จ ยังมีความความประสงค์ ที่จะทำต่อไป


นิยาม : โรงเรียนใน โครงการจัดการศึกษาตามแนว ศตวรรษที่ 21 หมายถึง โรงเรียนที่ นำแนวคิด PLC , จิตศึกษา , PBL ไปใช้ในภาคเรียนที่ 1/2559

หลังจากผ่านมา 1 โรงเรียน ที่พวกเรา พัฒนา โรงเรียนด้วยการ ศึกษาดูงาน อบรมให้ความรู้ และลองลงมือทำ ความท้าทาย ของผู้นำ ในการบริหารโรงเรียน วันนี้ มี 10 โรงเรียนที่กลับมาหาเรา เพื่อทำ AAR (ไม่มา 3 โรงเรียน) และ มี โรงเรียนเพิ่มมาใหม่เพื่ออยากลองเรียนรู้ 10 โรงเรียน

อุปสรรคการนำสู่การปฏิบัติของผู้บริหาร

      • ครูยังไม่ยอมรับ และ ศรัทธา ในกระบวนการ
      • ครูไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงจากวิถี เดิม และ คิดว่า เป็นภาระ และ ยุ่งยาก
      • เมื่อลองทำไปสักพัก เกิดปัญหา ไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร ก็หยุด (ครูก็ไม่รู้ ผู้บริหารก็ขาดความชัดเจน)
      • สิ่งที่นำไปปฏิบัติได้ทันที คือ จิตศึกษา แต่การทำ PLC และ PBL ยังไม่สามารถทำได้
      • ผู้บริหารขาดการ PLC และ ยังไม่สามารถสร้างความเข้าใจ ได้ชัดเจนตรงกัน
      • บุคลากรน้อย
      • PBL เป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก ต้องวางแผนการสอน บูรณาการ // ครู และ ผู้บริหาร ยังไม่มีความรู้ด้านนี้ชัดเจน
      • นโยบายกระทรวง ที่มากมายและต้องสนองตอบ ทุกเรื่อง โดยเฉพาะการสอบ โอเน็ต
      • การให้ความสำคัญกับการสอบ O-net นำสู่การเชื่อมโยงในระบบ การย้าย ขั้นฯ ทำให้เสียกำลังใจ


    โรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จ ทำอย่างไร

    " โรงเรียนบึงสว่าง " สะท้อนว่าตนพอใจ ตามเป้าหมายเป้าหมายที่คาดหวัง คือ เกิดวิถี ในโรเงรียน ไม่ว่าจะเป็น PLC และ จิตศึกษา เครื่องมือ ที่ทำให้สำเร็จ คือ การทำ PLC ทุกสัปดาห์ และ การใช้เทคนิค การศึกษาชั้นเรียน

    " โรงเรียนกุดครอง" สะท้อนว่า เริ่มต้นจากมีครูแม่เหล็ก ทำตามที่เคยเข้าไปรับการพัฒนา และ อบรม มา จนเกิดแรงกระเพื่อม ให้เพื่อนครูลองทำตาม นักเรียนก็เริ่มเปลี่ยนแปลง นิ่ง จากที่เคยใช้เวลากับอินเทอร์เน็ต ก็เล่นน้อยลง

    "โรงเรียนนาขามฯ" สิ่งที่ทำได้ทันทีคือ จิตศึกษา เพราะเป็นเรื่องที่ทำและเข้าใจได้ง่าย ไม่ต้องลงทุน

    " โรงเรียนบึงไฮ" ปัจจุบันก็ทำ จิตศึกษาอยู่ตลอด ครูมีการทำความเข้าใจ และทำทั้งโรงเรียนอยู่แล้ว


    โอกาสการทำงานตามโครงการต่อเนื่อง

  • ผู้บริหารโรงเรียน ส่วนใหญ่ แม้จะไม่สำเร็จ ยังมีความความประสงค์ ที่จะทำต่อไป
  • มีเครือข่ายที่จะเข้ามาช่วย คือ โรงเรียนลำปลายมาศ กศจ.กาฬสินธุ์ และองค์กรเอกชน (Action Aids)
  • เขตพื้นที่การศึกษา ยังให้การสนับสนุนต่อเนื่อง
  • มีโรงเรียนอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้รับฟัง การ AAR แล้ว เกิดความรู้สึกท้าทาย อยากทำ เพื่่อหวังว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลง อยากเห็น Action Event ที่เกิดขึึ้น "ถ้าเราบริหาร จะเป็นเหมือนเขาไหม"

เมื่อวาน ได้ข้อสรุป ในใจหลายเรื่อง

- คณะ ศน. เองก็ขาดการนิเทศ ให้การช่วยเหลือ

- โรงเรียน ที่เห็นนทุกอย่างเป็นอุปสรรค ..ควรจะทำงาน ส่งเสริม ต่อไหม .หรือ ปล่อยเขาไป ..

- เป้าหมายเรา ยังไม่เปลี่ยน เป็น เจตนารมณ์ที่มุ่งมมั่น

- PBL Problem Based Learning เป็นเรื่องที่ครูต้องศึกษาตัวชี้วัด และ วางแผนทั้งภาคเรียน ตลอดแนว องค์ความรู้ ครู และ ผู้บริหาร ต้องเติมความรู้ เรื่องนี้ลงไป




คำสำคัญ (Tags): #aar#ศตวรรษที่ 21
หมายเลขบันทึก: 618757เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2016 06:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2016 06:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทำดีต่อไป ก็จักได้ดีครับ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท