ประชาพิจารณ์ พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยนเรศวร


ท่านเห็นด้วยกับรูปแบบใด หรือมีแนวคิดเสนอรูปแบบอื่นๆ โปรดนำเสนอแนวคิด และ/หรือรูปแบบ เพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยนเรศวรของพวกเราทุกคน

                  วันพรุ่งนี้ (22 พ.ย. 49) สภาอาจารย์  มหาวิทยาลัยนเรศวร  จัดประชาพิจารณ์  ร่าง  พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร  ฉบับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ  ซึ่งมีประเด็นสำคัญ  ที่เป็นหลักการกลางในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับ 10 ประเด็น  แต่ที่ผมสนใจเป็นพิเศษคือ  ประเด็นสภามหาวิทยาลัยตามมาตรา 18 ว่าด้วย  โครงสร้างกรรมการสภามหาวิทยาลัยนเรศวร 

                  ทำไมผมจึงสนใจเป็นพิเศษ  เพราะว่ามหาวิทยาลัยในกำกับนั้นค่อนข้างมีอิสระในการบริหารจัดการ  ทั้งด้านบุคคล  วิชาการ  งบประมาณ  การจัดการ  และการกำกับตรวจสอบ  ซึ่งสภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรที่จะกำหนดทิศทางดังกล่าว  ทั้งด้านนโยบายและการบริหารจัดการ    การกำหนดโครงสร้างกรรมการสภามหาวิทยาลัยจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง  รูปแบบการบริหารองค์กรแบบมีส่วนร่วม  ที่เรียกว่า  ไตรภาคี  คือ  มีกรรมการจากภายนอกมหาวิทยาลัย  ซึ่งมาจากการแต่งตั้ง  และมีกรรมการภายในมหาวิทยาลัย  ซึ่งแยกเป็นตัวแทนฝ่ายบริหาร  เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง  และตัวแทนฝ่ายคณาจารย์/พนักงาน  เป็นกรรมการจากการเลือกตั้ง  ก่อนแสดงความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยนเรศวร  ผมขอเสนอตารางเปรียบเทียบโครงสร้างกรรมการสภามหาวิทยาลัย  ของมหาวิทยาลัยในกำกับ  ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง 3 แห่ง  ได้แก่  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี  สุรนารี  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  และอีก 1 แห่ง  คือ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  ที่เปลี่ยนฐานะจากมหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการ  เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ  รวมทั้ง ร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. 2533  ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน  ซึ่งได้วงเล็บ พ.ศ. ที่ประกาศใช้ตามกฎหมายไว้ด้วยแล้ว  ดังนี้

ตาราง 1  (โปรดคลิก) เปรียบเทียบโครงสร้างกรรมการสภามหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยในกำกับ

จากตาราง 1  จะพบว่า โครงสร้างคณะกรรมการซึ่งเป็นไตรภาคีมีดังนี้ (โปรดคลิก)

                  ข้อสังเกต

                  1.  ม.เทคโนโลยีสุรนารี  ม.วลัยลักษณ์  ม.แม่ฟ้าหลวง  และม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  มีสัดส่วนคณะกรรมการคิดเป็นร้อยละ 60 : 5 : 35, 63 : 6 : 31, 70 : 17 : 13 และ  65 : 13 : 22 ตามลำดับ  ส่วนร่าง พ.ร.บ.ม.นเรศวร  มีสัดส่วนคณะกรรมการคิดเป็นร้อยละ 76 : 5 : 19  มีกรรมการจากภายนอกมากกว่าทุกมหาวิทยาลัย  ในขณะที่ พ.ร.บ. ม.นเรศวร ปัจจุบันมีสัดส่วน  คิดเป็นร้อยละ 53 : 29 : 18                

                    2.  ม.แม่ฟ้าหลวง  และม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  ให้มีคณะกรรมการจากผู้แทนฝ่ายบริหาร  ในสัดส่วนใกล้เคียงกันกับผู้แทนอาจารย์  เช่นเดียวกับ พ.ร.บ. ม.นเรศวร  พ.ศ. 2533    ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน                 

                    3.  ไม่มี พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยใดให้อธิการบดีเป็นเลขานุการกรรมการสภามหาวิทยาลัยด้วย  แต่ให้รองอธิการบดีคนหนึ่งเป็นเลขานุการ

                หมายเหตุ  หลักการกลางกำหนดให้มีกรรมการสภามหาวิทยาลัยที่มาจากบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย  มากกว่าบุคคลภายในมหาวิทยาลัย

                ข้อควรพิจารณ์  พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยนเรศวร (ร่าง ม.ในกำกับ)

                 โครงสร้างกรรมการสภามหาวิทยาลัย  มีความเหมาะสมหรือไม่ ?  ในประเด็นต่อไปนี้

                  1.  การมีกรรมการสภาจากบุคคลภายนอก 16 คน (นายกสภาฯ  1, ประธานส่งเสริมฯ  1, ผู้ทรงคุณวุฒิฯ 14)  มีความเหมาะสมหรือไม่ ?  จะส่งผลต่อการบริหารมหาวิทยาลัยหรือไม่ ?  (กรณีองค์ประชุม, การประชุม,  การใช้อำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของมหาวิทยาลัย

                   2.  การมีผู้แทนจากผู้บริหาร 1 คน  คือ  อธิการบดี (ทำหน้าที่เลขานุการ) มีความเหมาะสมหรือไม่ ?  สามารถเสนอข้อคิดเห็นและข้อมูล  ตลอดจนข้อขัดข้องในการบริหารมหาวิทยาลัยหรือไม่ ?

                   3.  การมีผู้แทนคณาจารย์ 4 คน (ประธานสภาพนักงาน 1 คน  และตัวแทนอาจารย์ 3 คน) มีความเหมาะสมหรือไม่ ? สามารถเป็นตัวแทนของแต่ละกลุ่มวิชาและวิทยาเขตได้หรือไม่ ?

                   ข้อเสนอแก้ไข

                    การเสนอแก้ไขร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยนเรศวร  สามารถทำได้  โดยขอแปรญัตติในชั้นกรรมาธิการ  ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) 2549

                    ข้อเสนอเพื่อพิจารณ์

ตาราง 2  (โปรดคลิก) การกำหนดจำนวนกรรมการสภามหาวิทยาลัย  รูปแบบใดเหมาะสมกับภูมิหลังและบริบทของมหาวิทยาลัยนเรศวร

                   ท่านเห็นด้วยกับรูปแบบใด  หรือมีแนวคิดเสนอรูปแบบอื่นๆ  โปรดนำเสนอแนวคิด  และ/หรือรูปแบบ  เพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยนเรศวรของพวกเราทุกคน
หมายเลขบันทึก: 61844เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท