ข้อเสนอ "โรงเรียนทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุ"


ผมนั่งดูรายการทางยูทูบ เดิมทีเดียวต้องการเข้าไปเปิดเพลง "ลมลวง" แต่เมื่อเปิดไปแล้ว ไม่ใช่เพลงที่ต้องการ เพราะเพลงที่ต้องการจริงๆคือเพลง "รักตรึงใจ" ในหนังไทยเรื่องไผ่สีทอง การต้องการเปิดเพลงนี้เพราะ เช้านี้มีเนื้อเพลงดังกล่าวปรากฎให้ผมต้องฮัมเพลงไปเรื่อยๆ แต่ฮัมไปไม่จบ จึงอยากฟังคลายอารมณ์ไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ผมก็เปิดเพลงลมลวงที่ร้องโดยคุณกี้จบ เพลงนี้ก็น่าฟังไม่น้อย ระหว่างฟังเพลงลมลวง ปรากฎมีรายการบ้านไม้ไผ่อยู่ในผัง เมื่อเปิดดูทำให้รู้สึกทึ่งกับการเอาไม้ไผ่มาทำโรงเรียนทางเลือก ความคิดหนึ่งผุดขึ้นมาว่า คนไทยจำนวนหนึ่งต้องให้ฝรั่งทำให้ดูจึงจะมั่นใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ ประเทศไทยมีไม้ไผ่เยอะ แต่เราก็ทำบ้านด้วยวัสดุอื่นและมองว่าบ้านไม้ไผ่เป็นความล้าหลัง การที่ฝรั่งใช้วิชาการสมัยใหม่มาปรับเปลี่ยนความล้าหลังอย่างไม้ไผ่ให้กลายเป็นความทันสมัย ผมมองเห็นรายละเอียดแล้วชื่นชมเป็นการส่วนตัว จริงอยู่ ไม้ไผ่อาจไม่ยั่งยืนหรืออายุของอาคารอาจไม่คงทนเท่าอาคารที่ทำจากวัสดุอื่น แต่เราสามารถซ่อมแซมได้ด้วยวัสดุรอบตัวโดยไม่ต้องลงทุนทรัพย์อะไร มีอยู่ข้อความหนึ่งที่เสนอออกมาคือ การทำไม้ไผ่ให้อยู่นานต้องนำไปแช่เกลือ ผมมีความคิดว่า ทางภาคใต้มีทะเล เรานำไม้ไผ่ไปแช่ในทะเลได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับอาคารไม้ไผ่ที่กล่าวถึงนี้ เป็นการเสนอบรรยากาศห้องเรียน สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนปัญญาเด่น ผมอยากรู้ว่าโรงเรียนดังกล่าวมีลักษณะแบบใด เพราะในรายการมีเด็กฝรั่งอยู่ด้วย ความคิดหนึ่งก็ผุดขึ้นมาว่า เออนะ ถ้าเด็กไทยได้เรียนร่วมกับเด็กฝรั่ง จะเป็นประโยชน์ไม่น้อยทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ฝรั่งในรายการมีต้นทุนดีคือเขาเป็นคนต่างชาติ และมาอยู่ในไทยนาน เขามีเครือข่ายต่างชาติ จึงสามารถดึงเด็กฝรั่งมาเรียนรู้โรงเรียนนี้ได้ อาจเป็นไปได้ที่โรงเรียนเด็กเล็กจะเชื่อมโยงกับโรงเรียนเด็กเล็กของฝรั่ง เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างที่หาข้อมูลอยู่นั้น ปรากฎว่า มีโรงเรียนทางเลือกนอกเหนือจากโรงเรียนปัญญาเด่นอยู่พอสมควร โรงเรียนเหล่านี้มักเป็นโรงเรียนปฐมวัยและวัยปฐม ทำให้ผมคิดไปว่า ระดับมหาวิทยาลัย จำนวนหนึ่งกำลังทำหลักสูตรเพื่อแย่งลูกค้า เพราะลูกค้าน่าจะหมายถึงเงินตรา ส่วนความรู้คือสินค้าของมหาวิทยาลัย บางสถาบันอุดมศึกษามีลูกค้าน้อย ก็สร้างความวิตกให้กับบุคลากรไม่น้อย "เราจะอยู่ได้หรือไม่ หรือว่าเราจะถูกยุบ" ผมเชื่อมโยงความคิดไปถึงว่า ยุคปัจจุบัน นักวิชาการยกให้เป็นยุคของผู้สูงอายุ ขณะที่ผู้สูงอายุต้องอยู่บ้านเพียงลำพัง ลูกๆ หลานๆ ออกไปทำงานในสังคมอุตสาหกรรม ต่อสู้กับความกดดันของสังคม โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ที่ต้องใช้ทั้งแรงกายและความกดดันภายในเป็นตัวแลกเปลี่ยนทรัพย์สินประทังชีวิตตนเองและครอบครัว ตลอดถึงการรักษาความสัมพันธ์ทางสังคมเช่น การช่วยงาน เป็นต้น เป็นไปได้ไหม ถ้าเราจะมีโรงเรียนทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุ โดยผมมีฐานคิดว่า ในวัยผู้สูงอายุเราควรจะเรียนรู้เรื่องอะไร ในเมื่อเด็กๆ เรียนรู้สิ่งต่างๆเพื่ออนาคต ผู้สูงอายุก็ต้องเรียนสิ่งต่างๆเพื่ออนาคตด้วยเช่นกัน ดังนั้น ในทุกวันที่ลูกหลานเดินออกจากบ้านไปทำงาน ส่งลูกส่งหลานไปโรงเรียนแล้ว ต้องส่งแม่ ส่งยาย ส่งตา ไปโรงเรียนด้วย เราจะจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุนี้อย่างไรให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของวัย

หมายเลขบันทึก: 618200เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2016 08:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2016 08:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Western societies are based on a premise of struggle (to survive) that drives (innovative) change and exploration. Easter societies are based on tradition (to remain) that keeps (innovative) change and exploration to minimum.

We are lucky that we live in highly diversified and highly generative environment - we don't have to struggle to survive. But those in sparse and limited environment have to.

;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท