​1.7 การศึกษาไทย


1.7 การศึกษาไทย

การศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาและสร้างทักษะของบุคคลให้รู้จักดำเนินชีวิตอย่างสันติสุข มีพฤติกรรมใฝ่รู้ที่จะเป็นพลังปัญญาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีช่วยขัดเกลาให้คนละอายต่อบาป มีทักษะในการประกอบอาชีพ เคารพกฎหมาย รู้คุณค่าของศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของชาติ ตลอดจนสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ อีกทั้งสามารถช่วยสร้างสรรค์สังคมและพัฒนาประเทศชาติ ในการจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งมีปรัชญาที่นิยมนำมาจัดการศึกษาได้แก่ ลัทธินิรันตรนิยม (Perennialism) สารัตถนิยม (Essentialism) พัฒนาการนิยม (Pregressivism) บูรณาการนิยม (Reconstructionism) และอัตภาวะนิยม (Existentialism)

สำหรับปรัชญาการศึกษาไทยเป็นแบบผสมผสานระหว่างแนวคิดของชาติตะวันตกและอิงพุทธศาสนาประเทศไทยมีประวัติความเป็นมากับการศึกษาเป็นเวลาอันยาวนาน แบ่งการจัดการศึกษาได้แบ่งออกเป็น 4 ยุค กล่าวคือ

การศึกษาไทยในสมัยโบราณ (พ.ศ. 1781 – พ.ศ. 2411) ยังไม่มีโรงเรียนแก่เด็กไทยในสมัยนั้นสามารถหาความรู้ได้จากที่บ้าน สำนักสงฆ์ วิชาที่สอนไม่ได้ตายตัว มีความรู้สามัญเพื่ออ่านออกเขียนได้ วิชาชีพ วิชา จริยศึกษา และศิลปะป้องกันตัว

การศึกษาในสมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2412 – พ.ศ. 2475) ผลจากการเข้ามาของชาวตะวันตกและการเปิดประเทศค้าขายกับตะวันตกนั้น ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านการเมืองการปกครอง และการศึกษาจึงได้มีความสำคัญขึ้นเพื่อพัฒนาคนเข้ามารับ ราชการนำไปสู่การเปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัย จึงทำให้มีการจัดทำแผนแม่บทในการศึกษาเรียกว่าโครงการศึกษาฉบับแรกพ.ศ. 2441

การศึกษาสมัยปกครองตามระบอบ รัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน) การศึกษามีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากต้องการพัฒนาคนให้เข้าใจระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย อีกทั้งเป็นเรื่องของสิทธิของประชาชนในการเข้ารับการศึกษาเพื่อพัฒาประเทศ

การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญของฝ่ายปกครอง โครงการศึกษาได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2475 ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 ได้เปลี่ยนชื่อแผนการศึกษาชาติมาเป็นแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503 และมีพระราชบัญญัติศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 เพื่อมุ่งหวังว่าคนไทยสามารถปรับตัวได้เหมาะสมกับสถานการณ์โลกและu3626 สังคมที่เปลี่ยนแปลงและเพื่อนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพจึงได้จัดทำแผนการศึกษาระยะยาว 15 ปี เรียกว่า แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545-2559

ไทยอยู่ตรงไหนในการจัดอันดับคุณภาพการศึกษาโลก


เผยแพร่เมื่อ 13 พ.ค. 2015

เผยอันดับประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาดีที่สุดในโลกจาก OECD คุณภาพการศึกษาของไทยอยู่ตรงไหนเมื่อเทียบกับทั่วโลก โดยเฉพาะกับอาเซียน และคุณภาพการศึกษาสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างไร

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษาไทย
หมายเลขบันทึก: 618191เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2016 02:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2016 15:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท