ชื่อโครงการวิจัย (ภาษาไทย) การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่น ตามหลักสุจริต 3 (ภาษาอังกฤษ) Strengthening the social responsibility of local politicians. 3 by faith.


(ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. ๒๕๕๗)

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ แบบ ว-๑ ด

แบบเสนอโครงการวิจัย (research project)

ประกอบการเสนอของบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามมติคณะรัฐมนตรี

------------------------------------

ชื่อโครงการวิจัย (ภาษาไทย) การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่น ตามหลักสุจริต 3

(ภาษาอังกฤษ) Strengthening the social responsibility of local politicians. 3 by faith.

ชื่อแผนงานวิจัย (ภาษาไทย) การวิเคราะห์นโยบาย และการปฎิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่น ตามหลักสุจริต 3

(ภาษาอังกฤษ) Policy Analysis And to perform the duties of a local politician 3 by faith.

ส่วน ก: ลักษณะโครงการวิจัย

โครงการวิจัยใหม่

โครงการวิจัยต่อเนื่องระยะเวลา๑ปี ปีนี้เป็นปีที่๑ รหัสโครงการวิจัย..…....….....…..

Iระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙)

โครงการวิจัยนี้ เมื่อใช้กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙) พบว่า[1] มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ข้อ ๑.๔ สังคมไทยเผชิญวิกฤตความเสื่อมถอยด้านคุณธรรม จริยธรรม มีการเปลี่ยนแปลงทาง วัฒนธรรมที่หลากหลาย และมีแนวโน้มเป็นสังคมปัจเจกมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วผ่านกระแส โลกาภิวัตน์และโลกไซเบอร์ ทำให้คนไทยมุ่งแสวงหาความสุขและสร้างอัตลักษณ์ส่วนตัวผ่านเครือข่ายสังคม ออนไลน์ เกิดเป็นวัฒนธรรมย่อยร่วมสมัยที่หลากหลายในรูปแบบการรวมกลุ่มของบุคคลที่สนใจเรื่องเดียวกัน ขณะเดียวกันมีการคำนึงถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องมากกว่าส่วนรวม ทั้งนี้ จากการจัดอันดับคะแนน ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นทั่วโลกบ่งชี้ถึงความไม่สมดุลของธรรมาภิบาลการปกครองและปัญหาคอร์รัปชั่น ในประเทศ โดยในปี ๒๕๕๒ ประเทศไทยได้รับคะแนนความโปร่งใส ไม่ทุจริต และคนในประเทศยอมรับไม่ได้ กับการทุจริตเพียง ๓.๔ คะแนน จากคะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน จัดอยู่ในลำดับที่ ๘๔ จาก ๑๘๐ ประเทศ และ อยู่ในลำดับที่ ๑๑ ของภูมิภาคเอเชีย ขณะที่ภาคส่วนต่างๆ ได้มีการส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่างๆ แต่การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ส่วนรวมยังอยู่ในระดับต่ำ โดยมีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มขององค์กร ไม่แสวงหากำไรและอาสาสมัครต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพียงร้อยละ ๑.๖ ในช่วงปี ๒๕๔๙-๒๕๕๑ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ ๔-๗ และเมื่อพิจารณาจากการสำรวจข้อมูล ความจำเป็นพื้นฐานด้านคนในครัวเรือนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมสาธารณะของหมู่บ้านชุมชน พบว่า เพิ่มขึ้นจาก ๗.๗ ล้านครัวเรือนในปี ๒๕๕๑ เป็น ๘.๒ ล้านครัวเรือนในปี ๒๕๕๒ คิดเป็นร้อยละ ๙๖.๐ และ ๙๘.๔ ของ ครัวเรือนทั้งหมดตามลำดับข้อ ๒.๒ การพัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง ข้อ ๒.๓ ความเสื่อมถอยทางคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมไทย ส่งผลให้สถาบันทางสังคมมี แนวโน้มอ่อนแอ คนในสังคมขาดความไว้เนื้อเชื่อใจและขาดการมีส่วนร่วมทางสังคม วิกฤตปัญหาด้าน คุณธรรม จริยธรรม เป็นความเสี่ยงที่จะส่งผลให้ประชาชนอยู่ร่วมกันยากลำบาก มีความถี่ในการใช้ความรุนแรง แก้ไขปัญหามากขึ้น ทั้งปัญหาในระดับครอบครัว และปัญหาความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง ประกอบกับ กระบวนการยุติธรรมแก้ไขปัญหาได้ไม่เต็มที่ ทำให้ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน นอกจากนี้ กระแสวัฒนธรรม เสมือนจริงที่แพร่เข้ามาผ่านโลกไซเบอร์ ทำให้มีการสร้างเครือข่ายทางสังคมมากขึ้น มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม และวิจารณญาณในการเลือกรับ-ปรับ-ใช้วัฒนธรรม ส่งผลให้ค่านิยมไทยมีการปรับเปลี่ยนไปตามวัฒนธรรม ที่รับมา เด็กและเยาวชนที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันที่ดีพอ หรือขาดการใช้วิจารณญาณกลั่นกรอง จะเสี่ยงต่อการรับ วัฒนธรรมที่ไม่ดีงามมาใช้โดยง่าย นอกจากนี้ ยังมีการใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมเสมือนจริงในเชิงของการ สร้างปัญหามากกว่าเชิงสร้างสรรค์ ทำให้ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง สร้างพื้นที่ส่วนตัวมากขึ้น นำไปสู่ ความแตกแยกในครอบครัวและการมีส่วนร่วมในสังคมลดลง ข้อ ๓.๑ คนไทยมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งในเรื่องการศึกษา ทักษะการ ทำงาน และการดำเนินชีวิต เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันสำคัญในการดำรงชีวิตและปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของ โลกในยุคศตวรรษที่ ๒๑ ข้อ ๓.๒ คนไทยตระหนักถึงคุณค่าวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย สร้างจิตสำนึกที่ดี มีค่านิยมที่พึงประสงค์ อยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน บนความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม เพื่อเป็น ฐานในการก้าวไปสู่สังคมที่มีความใส่ใจและแบ่งปันต่อผู้อื่น ตลอดจนนำไปสู่การสร้างและพัฒนานวัตกรรมและ ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่เชื่อมต่อกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศในอนาคต ข้อ ๓.๓ สถาบันทางสังคมมีความเข้มแข็ง ทำหน้าที่และบทบาทของตนเองได้อย่างเหมาะสมกับ สถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งสถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา และชุมชน ให้เป็นสถาบันหลักในการพัฒนาความรู้ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม

II ระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙)

โครงการวิจัยนี้ สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙) ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 5 [2]การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบและกลไกบริหารเป็นภูมิคุ้มกัน และสรางความมั่นคงของทองถิ่นและจังหวัดภาคเหนือ หลักการและเหตุผล : องคการบริหารสวนทองถิ่นเปนหนวยงานภาครัฐ ระดับใกลชิดกับชุมชน สถานการณและความเปลี่ยนแปลงที่ จะเกิดขึ้นในอนาคตยอมมี ผลกระทบตอศักยภาพของหนวยงานระดับทองถิ่นในการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการสรางภูมิคุมกันที่ดีที่สุดคือการเตรียมความพรอมใหกับองคการปกครองสวนทองถิ่นใหมี ความสามารถรับมือและสรางความมั่นคงอยางยั่งยืน

III ระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติรายประเด็น

โครงการวิจัยนี้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติในประเด็นด้านการวิจัยสนับสนุนการปรับปรุงโครงสรางการบริหาร การจัดการคลัง และการพัฒนาบุคลากรขององคการทองถิ่น เพื่อสนับสนุนบทบาท การจัดการ การแกไขปญหา การบริการที่ทันตอเหตุการณ กลยุทธการวิจัยที่ 1 การวิจัยเกี่ยวกับโครงสรางการบริหารและการ เปลี่ยนแปลงบทบาทการบริหารขององคการบริหารสวนทองถิ่นเพื่อการบริการสาธารณะ ประกอบดวยแผนงานวิจัย เชน 1) การวิจัยเกี่ยวกับโครงสรางองคการบริหารสวนทองถิ่นตอบทบาทการ สรางเครือขายชุมชนสนับสนุนการพัฒนาและการบริการสาธารณะ 2) การวิจัยดานการจัดการและแก้ไขปัญหาที่เปนผลกระทบตอประชาชน ดวยหลักบริการสาธารณะขององคการบริหารสวนทองถิ่น 3) การวิจัยและพัฒนาศูนยวิจัยทองถิ่น เพื่อเปนศูนยรวบรวมขอมูลและ องคความรูเพื่อการใชประโยชนในการบริหารจัดการและวางแผนพัฒนาทองถิ่น 4) การวิจัยและพัฒนาแนวทางและรูปแบบการจัดตั้งกองทุนการวิจัยของ องคการปกครองสวนทองถิ่น เพื่อสนับสนุนใหมีการวิจัยระดับทองถิ่น โดยนักวิจัยทองถิ่น และเพื่อชุมชนและทรัพยากรทองถิ่น กลยุทธการวิจัยที่ 2 การวิจัยเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสรางการคลังทองถิ่น และการกําหนดนโยบายทองถิ่นเพื่อการลงทุนในกิจการทองถิ่นขนาดใหญและสอดคลองกับ บทบาทและหนาที่ทองถิ่นในการบริการสาธารณะ เชน ระบบสหกรณและสวัสดิการทองถิ่น ประกอบดวยแผนงานวิจัย เชน 1) การวิจัยศักยภาพการลงทุนและการสนับสนุนการลงทุนขององคกร ภาคประชาชนโดยองคการปกครองสวนทองถิ่นในกิจการบริการสาธารณะ 2) การวิจัยและพัฒนาเพื่อผลักดันหรือสนับสนุนใหองคการบริหาร สวนทองถิ่นออกขอบัญญัติทองถิ่นบังคบใชเพื่อการสงวน ฟนฟูอนุรักษควบคุมและปองกัน ทรัพยากร วิถีชีวิตชุมชนที่เปนลักษณะเฉพาะของทองถิ่นนั้น รวมถึงการจัดการทรัพยากร ทองถิ่นแบบมีสวนรวมและเปนธรรม 3) การวิจัยและพัฒนารูปแบบการรณรงคและสื่อสารเพื่อเผยแพร นโยบายทองถิ่นที่เปนประโยชนตอชุมชนสูสาธารณะเพื่อผลักดันการบัญญัติเปนกฎหมาย เชน กฎหมายวาดวยผูกอมลพิษเปนผูจายภาษีผูใชประโยชนทรัพยากรดิน น้ำ ปาไมที่เปน การแสวงหาประโยชนเชิงเศรษฐกิจและนําประโยชนนั้นออกสูชุมชนตองมีการเก็บภาษีบํารุง ทองถิ่น เปนตน ยุทธศาสตร์การวิจัย (พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙) : ภาคเหนือ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 79 กลยุทธการวิจัยที่ 3 การวิจัยเกี่ยวกับโครงสรางการบริหารและการเสริมสราง สมรรถนะบุคลากรทองถิ่นรองรับการบริการสาธารณะที่เพิ่มขึ้น ประกอบดวยแผนงานวิจัย เชน 1) การวิจัยระบบการบริหารและการเสริมสรางสมรรถนะบุคลากรทองถิ่น ภายใตการเปลี่ยนแปลงและการปฏิรูปประเทศไทย 2) การวิจัยผลจากการกระจายอํานาจสูระบบกลไกการจัดการการเรียนรู การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของทองถิ่น ดวยฐานความรูจากการวิจัยที่นําไปสูความมั่นคง ทางอาหารและคุณภาพชีวิต 3) การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบฐานขอมูลการวิจัยที่รวบรวมองคความรูภูมิ ปญญาทองถิ่นภาคเหนือเพื่อการใชประโยชนของทองถิ่น

IV ระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับนโยบายรัฐบาล

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก : -

นโยบายระยะการบริหารราชการ ๔ ปี ของรัฐบาล : การวิจัยนี้ได้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ข้อ ๒.๗ นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต ดังนี้ [3]

นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

2.7.1 ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน 1) พัฒนาระบบราชการอย่างต่อเนื่อง เน้นการบริหารเชิงกลยุทธ์ใน ระดับชาติอย่างมีวิสัยทัศน์และมุ่งผลสัมฤทธิ์ น าเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนและตัดสินใจ ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้บทบาทและภารกิจของหน่วยงานภาครัฐมีความกระชับ มีประสิทธิภาพ มี ความคุ้มค่า เหมาะสมกับสถานการณ์ ทั้งการดูแลพื้นที่การปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ปกติและ การปฏิบัติราชการตามระเบียบวาระงานพิเศษพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และเกิดประโยชน์สูงสุดกับการ บริการประชาชน โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง 2) เสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบการบริหารงานแบบบูรณาการอย่าง ต่อเนื่อง ยกระดับสมรรถนะของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ พัฒนาและส่งเสริมรูปแบบโครงสร้าง และระบบการบริหารงานใหม่ที่มีความยืดหยุ่นคล่องตัวสูง และปรับปรุงระบบบริการประชาชนให้เป็น เชิงรุกมากขึ้น ทั้งในรูปแบบการเพิ่มศูนย์บริการครบวงจรที่ครอบคลุมการให้บริการที่หลากหลายขึ้น และการให้บริการถึงตัวบุคคลผ่านระบบศูนย์บริการร่วมและระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์แบบ มุ่งเน้นการจัดการความรู้และพัฒนาส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้มีการ สร้างนวัตกรรมในการท างานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ 3) พัฒนาและส่งเสริมระบบการบริหารงานบุคคลภาครัฐโดยยึดหลักการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีที่สามารถประเมินผลงานได้ด้วยระบบคุณธรรม และให้หลักประกันความ มั่นคงบนพื้นฐานของความรู้ความสามารถและผลงานสาธารณะ ตลอดจนปรับปรุงพัฒนาทัศนคติวิธีคิด และวิธีปฏิบัติงานของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ ประชาชน 4) พัฒนาสมรรถนะของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการและการส่งมอบบริการสาธารณะ โดยจะเน้นการพัฒนา ข้าราชการในตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศและสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงใน ระบบราชการ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ดีขึ้นเพื่อให้สามารถ ดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรีโดยเฉพาะข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับต้นซึ่งจะปรับค่าตอบแทนให้อยู่ ในระดับที่เพียงพอแก่การดำรงชีวิตดูแลครอบครัว และสามารถรักษาเกียรติศักดิ์ของการเป็นบุคลากร ภาครัฐ 5) เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลให้แก่ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และพัฒนาความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ พร้อม ทั้งป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างจริงจัง เพื่อให้ข้าราชการเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของประชาชน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม และชุมชน โดยปรับปรุงกฎหมายให้มีการเปิดเผยบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินของข้าราชการและ เจ้าหน้าที่ของรัฐตำแหน่งระดับสูงและตำแหน่งที่มีอำนาจมาก รวมทั้งบุคลากรขององค์กรอิสระต่อ สาธารณชน เพื่อความโปร่งใสของผู้ดำรงตำแหน่งเหล่านี้ และเปิดโอกาสให้สาธารณชนร่วมตรวจสอบ บุคลากรของภาครัฐเพิ่มขึ้น พัฒนาและนำมาตรการทางสังคมมาใช้ควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายเพื่อ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ตลอดจนสนับสนุนการสร้างค่านิยมของสังคมให้ ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ความเสมอภาคเท่าเทียมกันและความถูกต้องชอบธรรม 6) สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีระบบที่มี ประสิทธิภาพ โปร่งใส และสามารถให้บริการสาธารณะตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ตาม ความคาดหวัง รวมทั้งส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลาย ๆ แห่ง ร่วมกันจัดบริการสาธารณะ บางอย่าง ซึ่งโดยสภาพหรือเพื่อประสิทธิภาพ ควรที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต้องร่วมกันทำ โดย คำนึงถึงความจำเป็นและความเหมาะสมตามศักยภาพของท้องถิ่น ให้มีการเชื่อมโยงและบูรณาการภารกิจ กับแผนชุมชนและแผนระดับต่าง ๆ ในพื้นที่ เพื่อเป็นฐานสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตย ในท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ปรับปรุงการจัดระบบความสัมพันธ์ของราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และ ส่วนท้องถิ่นให้มีความเหมาะสม ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการงบประมาณและ บุคลากรของท้องถิ่น ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ที่เหมาะสม และมีระบบบริหารงานบุคคลที่มี ประสิทธิภาพพร้อมรองรับภารกิจและให้บริการที่ดีแก่ประชาชน ตลอดจนเสนอกฎหมายเกี่ยวกับการ สร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่บัญญัติเป็นหลักการไว้ในรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยหมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น 7) พัฒนาระบบราชการให้เป็นระบบที่โปร่งใสขึ้นโดยการวางระบบการ ตรวจสอบและประเมินผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรมความคุ้มค่า พัฒนากระบวนการ ติดตาม เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ปรับปรุงระบบการจัดซื้อจัดจ้างตลอดจนการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน ให้เกิดความสุจริตและมีประสิทธิภาพ 8) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยให้ ประชาชนมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น รวมทั้งให้ประชาชนมีโอกาสแสดงประชาทัศน์ในประเด็นสำคัญต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องโดยอาศัยเทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่บรรลุตามเป้าหมาย รวมทั้งสนับสนุนการมี ส่วนร่วมของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ร่วมเสนอความเห็น ปัญหา และแนวทางแก้ไข และมี ส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ 9) ส่งเสริมกระบวนการบริหารจัดการที่ดีในภาคเอกชนโดยเฉพาะระบบ การตรวจสอบกิจการที่โปร่งใส และสนับสนุนให้ภาคเอกชนยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อลูกค้า ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและเสริมสร้างความ เข้มแข็งให้สังคม โดยการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อสร้างความเป็นธรรม ตลอดจนป้องกันการผูกขาดตัดตอน ทั้งทางตรงและทางอ้อม

2.7.2 กฎหมายและการยุติธรรม 1) ปฏิรูประบบกฎหมายและพัฒนากระบวนการยุติธรรมทั้งระบบให้มี ความทันสมัย สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับหลักนิติ ธรรม เร่งรัดจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่ดำเนินการโดยอิสระตามบทบัญญัติ รัฐธรรมนูญ รวมถึงสนับสนุนคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายและองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการ ยุติธรรมให้สามารถดำเนินการตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญได้อย่างเป็นรูปธรรม ปฏิรูปกระบวนการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐทั้งหลายบังคับ ใช้กฎหมายอย่างยุติธรรม เสมอภาค เท่าเทียม โปร่งใส มีประสิทธิภาพถูกต้องตามหลักนิติธรรมและ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และให้ประเทศไทยมีระบบและกระบวนการอำนวยความยุติธรรม เป็นมาตรฐานเดียว ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนอันเป็นหัวใจสำคัญของระบบ เศรษฐกิจสมัยใหม่ 2) ปรับปรุงระบบการช่วยเหลือประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมด้วย มาตรการเชิงรุก ให้เข้าถึงความเป็นธรรมได้ง่าย รวดเร็ว ทั้งการช่วยเหลือด้านกฎหมาย ส่งเสริมกองทุน ยุติธรรมเพื่อการคุ้มครองช่วยเหลือคนจนและคนด้อยโอกาส การคุ้มครองดูแลรักษาสิทธิเสรีภาพของ ประชาชน การเยียวยาผู้บริสุทธิ์และผู้ได้รับผลกระทบที่เกี่ยวข้อง การกระจายโอกาสการเข้าถึงความ ยุติธรรมไปสู่ระดับจังหวัด การเสริมสร้างความเข้มแข็งและยุติธรรมระดับชุมชนและหมู่บ้าน การพัฒนา ทางเลือกของกระบวนการยุติธรรม 3) เพิ่มประสิทธิภาพการสืบสวนสอบสวน การป้องกัน และปราบปราม อาชญากรรม การน ามาตรการทางภาษีและการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้ในการดำเนินการ ต่อผู้กระทำผิด ดูแลแก้ไขและฟื้นฟูพัฒนาผู้กระทำความผิดให้เป็นคนดีสามารถกลับสู่สังคมได้ เพิ่ม ประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน การคุมประพฤติ การบังคับคดีและส่งเสริมความ ยุติธรรมและความเป็นธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4) ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมเชิงรุกโดยประชาชนมีส่วนร่วม จัดให้มีกลไกการบริหารจัดการแบบครบวงจร วิเคราะห์แนวโน้มของอาชญากรรมล่วงหน้า เพื่อป้องปราม และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ น าเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยมาใช้ในการควบคุมอาชญากรรมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งรณรงค์ให้ ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นพลังแผ่นดินในการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาอาชญากรรม โดยให้ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสนับสนุนในการจัดให้มีช่องทางการเข้าถึงและรับข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งรวมถึง กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์กิจการโทรคมนาคม และกิจการวิทยุโทรคมนาคม 2.7.3 ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากทางราชการ สื่อสารมวลชน และสื่อสาธารณะทุกประเภทได้อย่างกว้างขวางรวดเร็ว ถูกต้อง เป็นธรรม 1) ส่งเสริมและพัฒนาช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ด้วยการเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมที่ทันสมัยและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างสื่อสารมวลชนในประชาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสื่อสารมวลชนโลก 2) ส่งเสริมและพัฒนากิจการสื่อสารมวลชนทั้งทางด้านเทคโนโลยี เครือข่าย และปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการท าหน้าที่เพื่อให้สอดคล้องกับ วิวัฒนาการสมัยใหม่ และส่งเสริมให้สื่อมวลชนร่วมเป็นผู้นำในการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศโดยเพิ่ม รายการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา ศิลปะ วัฒนธรรม คุณธรรม นวัตกรรม การเตือนภัยกรณีภัยพิบัติต่าง ๆ หรืออื่นใดที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ โดยประสานความร่วมมือจาก ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน 3) ส่งเสริมให้สื่อสารมวลชนทุกประเภทมีอิสระและเสรีภาพในการเสนอ ข้อมูลข่าวสารอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและตระหนักต่อจรรยาบรรณของสถาบันสื่อสารมวลชนรวมทั้งส่งเสริมให้มีการสร้างดุลยภาพของข่าวสาร

ส่วน ข: องค์ประกอบในการจัดทำโครงการวิจัย

ที่ปรึกษางานวิจัย

๑. พระเทพญาณเวที รองอธิการบดีวิทยาเขตพะเยา

๒. พระสุนทรกิตติคุณ, ผศ. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร

๓. รศ.ดร. วันชัย พลเมืองดี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป

๔. พระมหาสุทิตย์อาภากโร, ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์

๑. ผู้รับผิดชอบ

๑. ผศ.คนอง วังฝายแก้ว อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์

๒. ผศ.จักรแก้ว นามเมือง อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาสังคมศึกษา

๓. นายวิศิษฐ์ ทวีสิงห์ นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

๒. ประเภทการวิจัย

การวิจัยประยุกต์ (applied research)

๓. สาขาวิชาและกลุ่มวิชาที่ทำการวิจัย

โครงการวิจัยนี้ สอดคล้องกับ สาขาวิชารัฐศาสตร์ วิชาเอกการปกครอง และกรอบแผนงานวิจัยที่ 1 : การวิจัยการเสริมสร้างและปลูกฝังจิตสำนึกคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมวัฒนธรรมสุจริตในสังคมไทย ดังนี้

๑) เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกและทัศนคติเพื่อส่วนบุคคลและเพื่อส่วนรวมในสังคมไทย

๒) เพื่อศึกษาบทบาท กลไก และหน้าที่ของหน่วยงานและสถาบันสังคมที่หล่อหลอมและปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมสุจริตและต่อต้านการทุจริต

๓) เพื่อศึกษาทุนทางสังคมและการสร้างชุมชน/ประชาคมและเครือข่ายต่อต้านการทุจริตที่เข้มแข็งและยั่งยืน

๔)เพื่อศึกษาความเสี่ยง (corruption risks) ในค่านิยม (values) และหลักคุณธรรมจริยธรรม(vitues) ในสังคมไทย

๕) เพื่อศึกษายุทธศาสตร์ นโยบาย หลักการ และแนวทางการเสริมสร้างและปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมสุจริตในกลุ่มสังคมต่าง ๆ

๔. คำสำคัญ (keywords) ของโครงการวิจัย

การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา ด้วยความดูแลใส่ใจต่อผู้มีส่วนได้เสียเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างมีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณตลอดจนมีธรรมาภิบาลเป็นเครื่องกำกับให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ
สุจริต 3 หมายถึง ความประพฤติชอบ 3 ประการ ได้แก่ กายสุจริต ได้แก่ ความประพฤติชอบทางกาย วจีสุจริต ได้แก่ ความประพฤติชอบทางวาจา และมโนสุจริต ได้แก่ ความประพฤติชอบทางใจ

นักการเมืองท้องถิ่น หมายถึง คณะผู้บริหารองค์กรท้องถิ่นในระดับเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา จำนวน ๑๔ แห่ง

๕. ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย

ปัจจุบันแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม หลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใส รวมถึงความเป็นธรรมในการบริหารองค์กรต่าง ๆ ได้รับการยอมรับและนำไปสู่การปฏิบัติทั้งในมิติของการดำเนินการตามกฎหมายและจริยธรรมที่องค์กรพึงมีต่อสังคม ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ ปรับแนวคิด บทบาทการดำเนินกิจกรรมของตนเองให้มีความเป็นธรรมาภิบาลและร่วมรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ในบรรดาภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมนั้น องค์กรภาคธุรกิจเป็นภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจทั้ง การค้าขาย การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ การผลิตอุตสาหกรรม การให้บริการซึ่งเป็นภาคส่วนที่มีกระบวนการทางเศรษฐกิจที่สัมพันธ์การพัฒนาประเทศอย่างเป็นระบบ ฉะนั้น การเป็นบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมองค์กรธุรกิจ บริษัทเอกชน และกิจการธุรกิจ (G๐๐d Corporate Social Responsibility) ซึ่งมีความสำคัญมากขึ้นในแง่ของการเป็น “แนวคิด” “กลไก” และ”เครื่องมือ” ที่สำคัญของการพัฒนาองค์กรธุรกิจ การพัฒนาสังคม และสิ่งแวดล้อมของโลกอย่างยั่งยืนการดำเนินแนวคิดและกลักการความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ CSR ซึ่งมีหลักการที่สำคัญ เช่น การใช้หลักธรรมาภิบาล การใส่ใจต่อผู้บริโภค การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน แรงงาน การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน การพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงการเสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคม เป็นต้น มาใช้เป็นการสร้าง “คุณค่า” ให้กับองค์กรธุรกิจ เพราะ “มูลค่า” ทางธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ และการสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาทางสังคมที่เต็มไปด้วย “ความเก่ง” และ “ความดี” ถือเป็นการเสริมดุลยภาพการพัฒนาในโลกสมัยใหม่ที่สำคัญ[4]

แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (Corporate Social Responsibility = CSR) มุ่งเน้นให้องค์กรธุรกิจดำเนินการทางธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมโดยส่วนรวมโดยมีลักษณะทั้งการมีการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทางการค้าและการลงทุนเพื่อชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่และการสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับชุมชน การสร้างเสริมรายได้ การเสริมสร้างกิจกรรมสุขภาพของคนในท้องถิ่น เป็นต้น โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจที่องค์กรดำเนินการและเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กรที่นอกเหนือจากการสนับสนุนกิจกรรมและงบประมาณไปสู่ชุมชนเพื่อภาพลักษณ์ขององค์กร จึงกล่าวได้ว่าแนวคิด CSR เป็นการดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกขององค์กรธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมต่าง ๆ ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรธุรกิจหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กรเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งและการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข

กระแสความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรต่าง ๆ นั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจและการดำเนินงานด้านสังคม สิ่งแวดล้อม ความโปร่งใส และจริยธรรมในการประกอบธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาสังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยเป็นการบริหารจัดการที่ใส่ใจผลกำไร การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสังคมไปพร้อม ๆ กันซึ่งกระแสเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสังคมเป็นประเด็นให้องค์กรธุรกิจต้องหันมาใส่ใจแต่ก็ยังคงต้องรักษาผลประโยชน์ขององค์กรไว้ การมีความรับผิดชอบต่อสังคมจึงเป็นทางที่จะประสานประโยชน์ขององค์กรธุรกิจและสังคมเข้าด้วยกันได้ ดังนั้น องค์กรธุรกิจที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล จังหันมาส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) กันอย่างแพร่หลาย

ความเป็นมาของ CSR จุดกำเนิดและปัจจัยผลักดันให้เกิด CSR อันที่จริงการทำ CSR นั้น มีมานานกว่า 200 ปีแล้ว แต่สมัยนั้นยังไม่มีบัญญัติคำว่า CSR ขึ้นใช้อย่างเป็นทางการ และการทำ CSR ขององค์กรในยุคนั้นโดยมากไม่ได้เกิดจากเจตนารมณ์ที่ดีขององค์กรที่จะทำสิ่งที่ดีตอบแทนสังคม แต่ทำเพราะเกิดปัญหาขึ้นในองค์กรทำ CSR เพื่อแก้ปัญหาและเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรให้ดีขึ้น

แนวคิดและขบวนการ CSR ในระดับโลกดังกล่าว จะเห็นได้ว่ามีความเคลื่อนไหวทั้งในรูปแบบของความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมของบรรษัทขนาดใหญ่ องค์กรระหว่างประเทศ และกลุ่มธุรกิจ รวมไปถึงมูลนิธิต่าง ๆ ที่ร่วมช่วยกันผลักดันให้เกิดมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ CSR

สำหรับประเทศไทย[5] หลังจากมีการนำแนวคิดธรรมาภิบาลและการกำหนดมาตรฐาน ISO ในด้านต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในภาครัฐและภาคเอกชน แนวคิดที่มีอยู่ดั้งเดิมของสังคม คือ “การช่วยเหลือแบ่งปัน” และ “การให้เพื่อพัฒนาสังคม” รวมไปถึง “การทำบุญให้ทาน” ก็เป็นสิ่งที่ปรากฎอย่างต่อเนื่องภายใต้แนวคิดวัฒนธรรมชุมชนและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้น ในช่วง 1 ทศวรรษที่ผ่านมา จึงได้มีกลุ่มธุรกิจและองค์กรต่างๆ ร่วมกันดำเนินการผลักดันแนวคิดและกระบวนการของ CSR ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรม มีการจัดตั้งเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม(Social Venture Network Asia = SVN (Thailand) เครือข่ายความรู้ (CSR) สถาบันไทยพัฒน์ (THai Corporate Social Responsibility)และสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม Corporate Social Responsibility Institute : CSRI) ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วยเห็นว่าแนวคิด CSR จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญเติบโตที่มีส่วนสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ภาคธุรกิจและการพัฒนาสังคม ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงกิจกรรมเพื่อสังคมของรัฐวิสาหกิจและกลุ่มบริษัทธุรกิจต่างๆ เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ปูนซีเมนต์ไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มูลนิธิไทยคมภายใต้กลุ่มชินคอร์ป กิจกรรม CSR ของกลุ่มทรูคอร์เปอร์เรชั่น องค์กรธุรกิจด้านธนาคารและการสื่อสาร เป็นต้น ซึ่งได้ร่วมสร้างกระแสความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านการจัดกิจกรรมการพัฒนาในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ รวมไปถึงการโฆษณาในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรด้านความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นต้น

การเติบโตของกระแสแนวคิดและกระบวนการ CSR ดังกล่าว แสดงถึงความตั้งใจของกลุ่มธุรกิจและองค์กรต่างๆ ในการบริหารจัดการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีการพิจารณาถึงองค์ประกอบที่สำคัญของแนวคิด CSR เช่น การใช้หลักธรรมาภิบาล การผลิตสินค้า และบริการที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม การคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน แรงงานและความเท่าเทียมในสังคม การดำเนินการที่โปร่งใส มีความรับผิดชอบต่อการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทางการค้าและการลงทุนเพื่อชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ในพื้นที่ การพัฒนาสังคม การส่งเสริมการสร้างรายได้ การศึกษาและสุขภาพของคนในชุมชน เป็นต้น โดยได้ดำเนินการให้ความสอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจที่องค์กรดำเนินการและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กร ถึงแม้ว่ากระบวนการนำแนวคิด CSR ไปใช้ยังมีข้อจำกัด อีกทั้งถูกมองว่าเป็นไปเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรก็ตาม แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมสร้างสรรค์สังคมไปสู่แห่งความดีงาม

แม้ว่าจะมีการนำ CSR เข้ามาในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา แต่การทำ CSR ในพ.ศ.นี้ ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องที่ใหม่ต่อคนไทย โดยองค์กรที่ทำส่วนใหญ่มักเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และธุรกิจส่งออก อย่างไรก็ตาม Michael E. Porter ศาสตราจารย์ด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจ ได้กล่าวไว้ในนิตยสาร Harvard Business Review ฉบับเดือนธันวาคม 2006 ว่า “แนวโน้มธุรกิจในอนาคตข้างหน้าจะต้องให้ความสนใจ CSR เพราะต่อจากนี้ไป ประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจจะกลายเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่นำมาใช้เป็นเงื่อนไขในการทำการค้ากับหลายประเทศ”      
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า CSR เป็นการบริหารจัดการที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งองค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกันความสำคัญของ CSR แนวคิดและทฤษฎีทางธุรกิจที่ได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดสู่องค์กรโดยส่วนใหญ่ ล้วนมุ่งไปที่การพัฒนาให้เป็นองค์กรที่ “เก่ง” ตัวอย่างทฤษฎีที่รู้จักกันดี ได้แก่ SWOT Analysis (Ansoff 1965) สำหรับการกำหนดตำแหน่งและการสร้างความสำเร็จขององค์กร หรือ Boston Matrix (BCG 1970) สำหรับการกำหนดความสำคัญและการสร้างความสำเร็จในผลิตภัณฑ์ หรือ Five Forces (Porter 1980) และ Diamond Model (Porter 1990) สำหรับการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นต้น
สำหรับแนวคิดใน เรื่อง CSR จะมุ่งไปที่การสร้างให้องค์กรมีความ “ดี” ที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนของกิจการ เป็นแนวคิดที่มีรากฐานมาจากหลักคุณธรรม ดังนั้นในทางโลกธรรม มีต้นธรรมแห่งดอกผล CSR นั่นคือ สังคหะวัตถุ 4 หลักธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวบุคคล อันรวมถึงพลเมืองบรรษัท (Corporate Citizen) ให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างปกติสุข สังคหะวัตถุ 4 ถือว่าเป็นต้นธรรมที่ผลิดอกผลเป็น CSR ขององค์กรธุรกิจ

ส่วนนักการเมืองท้องถิ่นในฐานะผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรต้องให้ความสำคัญกับการดำรงบทบาทการเป็นผู้นำกระบวนการ (Process Leadership) ที่มีความต่อเนื่องเป็นกิจจะลักษณะมากกว่าบทบาทการเป็นผู้นำกิจกรรม (EventLeadership) ที่จัดเป็นครั้งๆตามโอกาสในเชิงสัญลักษณ์สิ่งสำคัญถัดมาคือการให้ความสำคัญกับเรื่อง CSR โดยชี้ให้เห็นถึงคุณค่าหรือประโยชน์ที่จะได้รับอย่างเป็นรูปธรรมได้

การแสดงความรับผิดชอบของนักการเมืองท้องถิ่นด้วยวิถีพุทธ เป็นการนำแนวคิดทางพระพุทธศาสนาเป็นกรรมในการดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ ที่มีต่อประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ เช่น การดำเนินการโดยใช้หลักพละ 4 ราชสังคหะวัตถุ 4 หรือหลักทศพิธราชธรรม เป็นต้น โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสงบสุขอย่างยั่งยืน

การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นการดำเนินที่เกี่ยวกับหลักธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติการบริหารงานในองค์กรของรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น การบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต บริสุทธิ์ใจ เสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีเมตตา การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมายใดๆ รวมทั้งการปฏิบัติราชการตามมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของหน่วยงานที่ตนเองสังกัดซึ่งมีสาระสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามกรอบรัฐธรรมนูญ การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมในการบริหารราชการของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ และพฤติกรรมการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้นำ[6]

ดังนั้นในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาในการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยวิถีพุทธของนักการเมืองในจังหวัดพะเยา เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ ของนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือประชาชนในเขตพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

๖.๑ เพื่อศึกษานโยบาย กลไก และ กระบวนการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต 3 ของนักการเมืองท้องถิ่น

๖.๒ เพื่อวิเคราะห์นโยบาย กลไก และการปฎิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นกับความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต 3

๖.๓ เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต 3

. ขอบเขตของโครงการวิจัย

คณะผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตในการวิจัย ดังนี้

๗.๑ ขอบเขตด้านเนื้อหา ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่ การศึกษาการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต ๓
๗.๒ ขอบเขตผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตผู้ให้ข้อมูล โดยศึกษาจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ศึกษาเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพะเยาจำนวน ๑๔ เทศบาล โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้านการสัมภาษณ์เจาะลึก (Indepth Interview) ได้แก่ พระภิกษุ 3 รูป ผู้บริหารปกครองท้องถิ่นจำนวน 3 คนคือ นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล และสมาชิกเทศบาลตำบล (สท.) จำนวน 12 คน รวมจำนวน 18 รูป/คน

๗.๓ ขอบเขตในด้านเวลา ๑ ปีงบประมาณ

๗.๔ ขอบเขตด้านพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา

๘. ทฤษฎี สมมติฐาน (ถ้ามี) และกรอบแนวคิดของโครงการวิจัย

จากแนวคิดและกระบวนการความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility – CSR) ในระดับโลกและในระดับประเทศ แสดงให้เห็นว่าแนวคิดและกระบวนการของ CSR มีความสำคัญมากขึ้นและจะเป็นประเด็นหลักในการดำเนินการทางธุรกิจขององค์กรธุรกิจและการพัฒนาของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการเชื่อมต่อกับกระบวนการพัฒนาสังคมที่องค์กรเหล่านั้นมีสถานที่ตั้งอยู่เพื่อให้องค์กรและชุมชนมีกิจกรรมการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นไปสู่ความยั่งยืน

8.1 ความหมายของความรับผิดชอบต่อสังคม

ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ หมายถึงการประกอบกิจการด้วยความดูแลใส่ใจต่อผู้มีส่วนได้เสียเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างมีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณตลอดจนมีธรรมาภิบาลเป็นเครื่องกำกับให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ เป็นไปด้วยความซื่อสัตย์สุจริตโปร่งใสและยุติธรรมมีความตระหนักถึงผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยพร้อมจะแก้ไขเพื่อลดผลกระทบดังกล่าวกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการให้เกิดการดำเนินกิจการเป็นการสร้างความสำเร็จและประโยชน์สุข[7]

ความรับผิดชอบต่อสังคม หมายถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร ซึ่งคือการดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี โดยรับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับใกล้และไกล อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน[8]

ความรับผิดชอบต่อสังคมหรือเรียกสั้นๆ ว่า CSR นั้นเป็นคำย่อมาจากภาษาอังกฤษที่ว่าCorporate Social Responsibility หมายถึงความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นการดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับใกล้และไกล ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข พิจารณาแยกเป็นรายคำศัพท์ คำ Corporate มุ่งหมายถึงกิจการหรือองค์กรภาคธุรกิจที่ดำเนินไปเพื่อแสวงหาผลกำไร ส่วยคำว่า Social ในที่นี้ มุ่งหมายถึงกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กันหรือมีวิถีร่วมกันทั้งโดยธรรมชาติหรือโดยเจตนา รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายรอบประกอบนี้สอดคล้องกับหลักยูเอ็นที่เรียกว่า UN Global Compact ประกอบด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงานสิ่งแวดล้อมและไม่ร่วมมือกับการติดสินบนหรือทุจริต[9] ส่วนคำว่า Responsibility มุ่งหมายถึงการยอมรับหรือสนองตอบต่อผลที่ไม่ดีและผลที่ดีในกิจการที่จะทำ กำลังดำเนินการได้ทำลงไป หรือที่อยู่ในความดูแลของกิจการนั้น ๆ ตลอดจนการรับภาระหรือเป็นธุระดำเนินการป้องกันและปรับปรุงแก้ไขผลที่ไม่ดี รวมถึงการสร้างสรรค์และบำรุงรักษาผลที่ดีซึ่งส่งกระทบไปถึงผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งสามารถแยกความรับผิดชอบออกเป็น 4 ประเด็นคือ

1) การไม่สร้างปัญหาความเดือดร้อนหรือการกระทำสิ่งที่เป็นโทษภัยต่อสังคม

2) การระมัดระวังปัญหาความเดือดร้อนหรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคม

3) ความพยายามในการสร้างประโยชน์สุขแก่สังคม

4) การรักษาประโยชน์สุขที่เกิดขึ้นแล้วแก่สังคม

แนวคิดและหลักการดังกล่าว มีความสอดคล้องกับทัศนะขององค์ทะไลลามะที่ตรัสถึงความรับผิดชอบว่า ”การเห็นชอบปฏิบัติชอบ” ในการที่จะผนวกระบบทุนนิยมเข้ากับหลักการทางพระพุทธศาสนาก็ต่อเมื่อมีการนำหลักการเห็นชอบปฏิบัติชอบเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ โดยท่านหวังว่า”ระบบทุนนิยม” จะแทนที่โดย “ระบบตลาดเสรีที่มีความรับผิดชอบ”[10]

องค์กร World Business Council For Sustainable Delelopment ซึ่งเกิดจากการรวมตัวขององค์กรธุรกิจจาก 170 แห่งทั่วโลกที่มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจที่มุ่งแสวงหาผลกำไรตามปกติ นิยามความหมายของ CSR ว่าเป็นความมุ่งมั่นหรือพันธสัญญาขององค์กรธุรกิจในการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยยึดหลักจริยธรรมในการบริหารองค์กร ทั้งการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน อันจะส่งผลดีต่อสวัสดิภาพโดยรวมของครอบครัวของผู้ใช้แรงงานรวมถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคมในวงกว้าง การปฎิบัติตามแนวคิดของ CSR จึงครอบคลุมทั้งการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมการสนับสนุนเสรีภาพของแรงงานและการเคารพหลักสิทธิมนุษยชน เป็นความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องขององค์กรธุรกิจที่มีจริยธรรม มีส่วนช่วยในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันก็พยายามปรับปรุงภาพชีวิตของพนักงาน ครอบครัวพนักงานตลอดจนชุมชนและสังคม คำจำกัดความนี้ ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความรับผิดชอบต่อสังคมต้องปรากฎอยู่ในกระบวนการหลักในการดำเนินธุรกิจขององค์กร ดังนั้น CSR จึงเป็นการกระทำที่มากเกินกว่าข้อกำหนดกฎหมาย และเป็นการกระทำที่สะท้อนให้เห็นถึงการที่บริษัทให้ความสำคัญต่อ”ความเป็นธรรม” (Fairness) ยิ่งกว่า “ความชอบธรรม” (Legimacy)

ส่วนเครือข่ายธุรกิจร่วมรับผิดชอบต่อสังคมไทย (Thai CSR) อธิบายความหมายของ CSR ไว้ว่า เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงบรรษัท หมายถึงการดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับใกล้และระดับไกล ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข พัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรที่ดีทั้งในแง่ของการเจริญเติบโตทางธุรกิจที่ต้อง “เก่ง” ขณะเดียวกันก็ต้องเป็นองค์กรที่”ดี” หมายถึงการมีคุณธรรมและจริยธรรมเชิงบรรษัท (CSR) และ SRI หรือการลงทุนแบบรับผิดชอบต่อ

ดังนั้น แนวคิด CSR ก็คือ การทำธุรกิจที่ไม่เอาเปรียบหรือเบียดเบียนผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมในสังคม ไม่ว่าจะเป็นใครหรือเมื่อใด ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึงหลักการของ CSR ไม่สนับสนุนการรีบเร่งสร้างความเติบโตของธุรกิจหรือการมุ่งแสวงหาผลกำไรสูงสุดโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อผู้อื่น แต่ CSR เป็นเครื่องมือในการบริหารที่ได้รับความเชื่อมั่นว่า จะสามารถช่วยให้องค์กรธุรกิจดำเนินกิจการให้เจริญเติบโตได้อย่างมั่นคงไปพร้อม ๆ กับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของผู้คน ชุมชน และความยั่งยืนของสังคม ซึ่งสอดคล้องกับทั้งหลักการเศรษฐกิจพอเพียงที่ปรากฏเด่นชัดขึ้นในประเทศไทย โดยเป็นทั้งกระบวนการและเป้าหมายที่จะทำให้เกิดดุลยภาพทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

8.2 หลักการแห่งความรับผิดชอบต่อสังคม

แนวคิดในเรื่อง CSR นั้น มุ่งเน้นการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรที่”ดี” เป็นแนวคิดที่มิได้มีจุดกำเนิดจากดินแดนตะวันตกในเชิงการบริหารจัดการเท่านั้น แต่เป็นภูมิปัญญาที่ฝังรากลึกในแนวคิด ปรัชญาของภูมิภาคเอเชียมาอย่างยาวนาน เนื่องจากปรัชญาของ CSR นั้น มีรากฐานมาจากหลักทางศาสนาที่มุ่งเน้นให้บุคคลและสังคมดำเนินกิจกรรมด้วยความดีงาม รับผิดชอบในส่วนของการกระทำทุกๆ การกระทำ เพื่อสร้างสังคมให้น่าอยู่ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญเติบโตและความยั่งยืนขององค์กร และความสัมพันธ์ของความเก่งและความดีที่องค์กรสร้างขึ้น ซึ่งสามารถพิจารณาได้ว่า การเจริญเติบโตของธุรกิจหนึ่ง ๆ มาจากการพัฒนาองค์กรให้มีความ”เก่ง” อยู่ในตัว ในขณะที่การพัฒนาองค์กรให้มีความ”ดี” อยู่ในตัว จะก่อให้เกิดความยั่งยืน (Sustainability) ขององค์กรหรือธุรกิจนั้นๆ ดังนั้น หลักการแห่งความรับผิดชอบต่อสังคมจึงมีแนวปฏิบัติหลายประการที่องค์กรต่างๆ จะต้องตระหนักถึงโดยมีหลักการที่สำคัญคือ

1) ความรับผิดชอบเกี่ยวกับผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Accountable) ในการดำเนินการกิจกรรมด้านธุรกิจ ต้องรับผิดชอบผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการตัดสินใจและการกระทำของตนทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ยอมรับการถูกตรวจสอบ และรับผิดชอบในการดำเนินการตามผลการตรวจสอบรวมทั้งสามารถที่ตอบคำถามจากผู้อื่นที่เกี่ยวข้องได้

2) ความโปร่งใสในการตัดสินใจและกิจกรรมที่ดำเนินการ (Transparent) การเปิดเผยเกี่ยวกับนโยบาย การตัดสินใจและการดำเนินการของตนอย่างชัดเจน เหมาะสม เพียงพอและเป็นจริง ตามขอบเขตของกฎระเบียบ/กฎหมาย

3) การมีคุณธรรม/จริยธรรม ในการดำเนินการ (Ethical Behavior) ความซื่อสัตย์ และความซื่อตรง กำหนดโครงสร้างเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลลดการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน หรือการมีส่วนได้ส่วนเสีย

4) การคำนึงถึงความสนใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Interrests of Stakeholders) มีการบ่งชี้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคำนึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

5) การปฏิบัติตามกฎหมาย (Rule of low) ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง มั่นใจว่าผู้ที่เกี่ยวข้อง (relationships) ปฏิบัติตามกรอบที่กฎหมายกำหนดด้วย

6) การให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชน (Human Rights) ดำเนินนโยบายและกิจกรรมที่สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และประการจากองค์กรระดับสากล

7) การเคารพต่อข้อกำหนดและแนวปฏิบัติระหว่างประเทศ(International Norms) มาตรฐานระหว่างประเทศ (Norms) ข้อตกลงที่เป็นที่ยอมรับ

ในขณะที่มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมตามมาตรฐานสากลของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรม (ISO 26000 Social Responsibility) ได้กำหนดหลักการอันเป็นแนวปฏิบัติขององค์กร เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน[11] โดยองค์กรต้องให้ความสำคัญกับหลักการ 7 ประการ คือ

1) หลักการความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Accountability) ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในสิ่งที่เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากองค์กร โดยองค์กรต้องยอมรรับการตรวจสอบและพร้อมที่จะรับผิดชอบในผลการตรวจสอบนั้น ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ ถือเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องตอบคำถามต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ขององค์กรหน่วยงาน ที่มีอำนาจตามกฎหมาย และชุมชนที่ได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจและกิจกรรมขององค์กร

2) หลักการความโปร่งใส (Transparency) ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต้องมีความโปร่งใจในการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมขององค์กรที่มีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต้องเปิดเผยนโยบาย การตัดสินใจ และการดำเนินกิจกรรมที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน ถูกต้อง และครบถ้วน โดยข้อมูลดังกล่าวต้องเตรียมพร้อมไว้สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมขององค์กร ให้สามารถที่จะเข้าถึงได้ข้อมูลดังกล่าวตามความเหมาะสมกับช่วงเวลา เป็นข้อเท็จจริง และชัดเจน

3) หลักการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม (Ethical Behavior) ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต้องปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม อยู่บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม โดยคำนึงถึง คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นไปที่ผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ประกอบการต้องมีการพัฒนาโครงสร้างธรรมาภิบาลที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม

4) หลักการยอมรับถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(Respect for stakeholder interests) ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต้องบ่งชี้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เคารพต่อผลประโยชน์และความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำนึกในสิทธิทางกฎหมายและผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมาย คำนึงถึงความสามารถของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการติดต่อและการเข้าไปดำเนินการร่วมกับองค์กร คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร

5) หลักการเคารพต่อหลักนิติธรรม (Respect for the rule of law) ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ต้องยอมรับในการปฏิบัติตามหลักนิติธรรมโดยผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมขององค์กร และอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติขององค์กรอย่างเหมาะสมเป็นธรรม พร้อมทั้งแจ้งข้อมูลตามภาระหน้าที่ตามกฎหมาย และทบทวนกฎหมายเป็นระยะ

6) หลักการเคารพต่อแนวปฏิบัติสากล (Respect for international norms of behavior) ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต้องเคารพ และยึดมั่นต่อแนวปฏิบัติสากลหลีกเลี่ยงการร่วมกังองค์กรอื่นในการดำเนินกิจกรรมที่ผิดต่อแนวทางปฏิบัติสากล ในกรณีสถานการณ์ที่ขัดกับแนวปฏิบัติสากล ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต้องพิจารณาความเหมาะสม ทบทวนการดำเนินกิจกรรมและความสัมพันธ์ภายใต้ขอบเขตอำนาจของกฎหมาย

7) หลักการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต้องเคารพต่อสิทธิมนุษยชนในระดับสากลที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ทุกประเทศ ทุกวัฒนธรรม และทุกสถานการณ์

สำหรับหลักการในการพัฒนาองค์กรทางธุรกิจในเชิง CSR นั้นควรเริ่มด้วยการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองทั้งในแง่ระดับปัจเจกบุคคลและสังคม โดยเปลี่ยนกระบวนทัศน์ระดับปัจเจกบุคคลจากการมุ่งเน้นการบริโภคเกินพอดีตามกระแสนิยม หรือวัตถุนิยม ไปสู่ความพอดีหรือความพอเพียง ควรมองในเชิงการบริโภคตามหลักเศรษฐศาสตร์แห่งความพอเพียง และการเกื้อกูลของการแบ่งปันทรัพยากรในระดับสังคมเปลี่ยนจากการแข่งขันและขัดแย้ง เป็นการร่วมมือกันหรือการมีส่วนร่วม และระดับในระดับสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติควรเปลี่ยนแปลงจากแนวคิดพึ่งพาอาศัย ประสานสอดคล้อง และกลมกลืนกับธรรมชาติแทนซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาองค์กรและสังคมที่ยั่งยืน โดยสรุปหลักการหรือคุณลักษณะของความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจหรือ CSR คือ

1) ไม่ทำสิ่งที่เป็นผลเสียต่อสังคมทั้งตรงและทาอ้อม

2) ทำสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ต่อสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม

3) พัฒนาตัวเองให้มีคุณธรรม คุณภาพ และประสิทธิภาพอย่างดีที่สุด

8.3 ความสำคัญและประโยชน์ของความรับผิดชอบต่อสังคม

การดำเนินกิจการให้ยั่งยืนไม่เพียงแต่หมายถึงการจัดหาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและดำเนินงานโดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมเท่านั้นแต่รวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในทุกๆส่วนทั้งภายในและภายนอกกิจการด้วยดังนั้นกิจการต้องให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมร่วมกันกิจการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบทั้งต่อเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมเนื่องจากเป็นวิถีทางสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริงซึ่งแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ต้องให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นผลมาจากความคาดหวังและความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องความรับผิดชอบต่อสังคมก่อให้เกิดประโยชน์ ดังนี้[12]

1. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการสร้างผลกำไรที่ดีที่สุด

2. ปรับปรุงความสัมพันธ์และสร้างมุมมองใหม่ๆกับผู้มีส่วนได้เสียรวมถึงติดต่อสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียที่แตกต่างกันได้ดีขึ้น

3. สร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดีรวมทั้งส่งเสริมให้ได้รับความไว้วางใจจากสาธารณชนเพิ่มขึ้น

4. ปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงเพื่อสร้างความน่าสนใจในการลงทุนมากขึ้น

5. ปรับปรุงความน่าเชื่อถือและความเป็นธรรมของธุรกรรมต่างๆผ่านการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างรับผิดชอบมีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมและปฏิเสธการคอร์รัปชั่น

6. ส่งเสริมให้เกิดการตัดสินใจเกี่ยวกับความคาดหวังของสังคมบนพื้นฐานของความเข้าใจที่ดีขึ้น

7. เพิ่มโอกาสแก้ไขและลดความเสี่ยงต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมและความเสี่ยงอื่นๆ

8. สร้างสรรค์ให้เกิดนวัตกรรมทั้งภายในและนอกกิจการก่อให้เกิดความเจริญเติบโตควบคู่กับผลกำไรสูงขึ้น

9. ช่วยสร้างความประหยัดแก่ระบบการผลิตเนื่องจากการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลและปริมาณของเสียที่ลดลง

10. ใช้เป็นแนวทางป้องกันหรือลดความขัดแย้งเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้บริโภค

11. สร้างความภักดีการมีส่วนร่วมและขวัญกำลังใจรวมถึงความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดีให้กับพนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย

12. ส่งผลในทางบวกต่อการสรรหาจูงใจและรักษาพนักงานเป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านทรัพยากรบุคคล

8.4 องค์ประกอบของความรับผิดชอบต่อสังคม CSR

ถึงแม้ว่าองค์ประกอบหลักของ CSR จะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อนและไม่มีมาตรฐานตายตัวว่าจะดำเนินการเสริมสร้างความรับผิดชอบในมิติใดบ้าง อย่างไรก็ตามในการประยุกต์แนวคิดCSR เข้ากับการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ หรือระหว่างประเทศหลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าควรดำเนินการใน 2 มิติคือ

1) มิติภายใน ซึ่งเป็นการดูแลกิจกรรมและกระบวนการต่าง ๆ ที่องค์กรธุรกิจนั้นดำเนินการอยู่และสามารถจัดการได้โดยตรง เช่น การจัดการแรงงานการใส่ใจในกระบวนการผลิต การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสังคมชุมชนโดยรอบ การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในลักษณะของหุ้น ส่วนการผลิต และกระบวนการพัฒนาองค์กรที่เอื้อต่อการพัฒนาบุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงหลักการของ CSR เช่น สิทธิมนุษยชน ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล การมีจริยธรรมกำกับกระบวนการทางธุรกิจ เป็นต้น ซึ่งการจัดการในมิติภายในองค์กรนั้นมีนัยและกระบวนการที่เกี่ยวข้องดังนี้

(1) การจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมองค์กรต่าง ๆ ปัจจุบันมีความท้าทายที่จะต้องดึงพนักงานที่มีความสามารถให้มาดำเนินการทางธุรกิจ ดังนั้น ธุรกิจจึงควรส่งเสริมการจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างมีความรับผิดชอบ เช่น ด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต การให้ข้อมูลที่โปร่งใสกับพนักงานในทุก ๆ ด้าน การให้ความสมดุลระหว่างงาน ชีวิตครอบครัว และการพักผ่อน การปฏิบัติอย่างเท่าเทียมทั้งด้าน การคัดเลือกเข้าทำงาน รายได้และความก้าวหน้าทางการงานโดยเฉพาะกับผู้หญิงและผู้พิการ

(2) สุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ถึงแม้ว่าจะมีกฎหมายควบคุมดูแลด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน แต่กระแสการกระจายงานไปสู่ Supplier ทำให้บริษัทควบคุมไปไม่ทั่วถึง จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจที่ควรจะช่วยกันดูแล หรือตั้งเป็นนโยบายขององค์กร ฯ เช่นเลือกร่วมทำธุรกิจ หรือเลือกใช้ Supplier ที่มีคุณธรรม จรรยาบรรณ ต่อพนักงานเพื่อเป็นการควบคุมดูแลอีกทางหนึ่งอีกทั้งยังเป็นการบีบให้บริษัทอื่น ๆ ที่ต้องการจะทำธุรกิจกับเราต้องพัฒนาตนเองตามไปด้วยเพราะมิเช่นนั้นหากเกิดผลร้ายจากการใช้ Supplier ที่ไม่ใส่ใจสุขภาพ และความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง เมื่อเกิดกรณี ขึ้นมาภาพลักษณ์ที่ไม่ดีก็จะกลับขึ้นมาถึงบริษัทแม่บริษัทผู้ว่าจ้างด้วย

(3) การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองการบริหารองค์กร ที่มีนโยบายที่จะรับผิดชอบพนักงานในกรณีที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมืองหรือแม้แต่การปรับโครงสร้างภายในขององค์กรเอง โดยเฉพาะการควบรวมกิจการต่าง ๆ ซึ่งจะมักนำมาสู่การเลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก ซึ่งไม่ส่งดีต่อองค์กรเอง นอกเสียจากจะสุดวิสัยจริงๆ เพราะทำให้เชื่อถือ ไว้วางใจ และความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับองค์กรต้องเสียไป ทั้งนี้ในช่วงที่เกิดวิกฤตในองค์กรนั้นๆ การปรึกษาหารือ และสร้างความร่วมมือในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทไม่ว่าจะเป็นนักลงทุน ผู้บริหาร พนักงาน หรือแม้แต่ลูกค้า ย่อมนำมาซึ่งการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากกว่า

(4) การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในองค์กร การลดการใช้ทรัพยากรและการปล่อยสารพิษ/ของเสียซึ่งเป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ย่อมเป็นผลดีต่อองค์กรนั้น ๆ เองในอันที่จะจัดการการผลิตสินค้า/บริการ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังเป็นการลดต้นทุนด้านพลังงาน และการจัดการของเสียต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งนำไปสู่ผลกำไรที่สูงขึ้นความสามารถในการแข่งขันในอนาคตที่เพิ่มขึ้น และที่สำคัญเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้กับบริษัท

(5) บรรษัทภิบาลและความโปร่งใสในการดำเนินกิจการ ปัจจุบันความเชื่อมั่นที่มีต่อบริษัทเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น ความโปร่งใจ และขั้นตอนการตัดสินใจต่างๆ ของบริษัทที่มีความชัดเจน ตรวจสอบได้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดทั้งต่อความมั่นคงของบริษัท

2) มิติภายนอก เป็นกระบวนการที่มีความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางธุรกิจที่บริษัทอาจจะควบคุมไม่ได้โดยตรง เช่น การดูแลลูกค้า การรับผิดชอบต่อคู่ค้า Supplier) และการสนับสนุนกิจกรรมด้านการพัฒนาสังคมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาและเป็นหุ้นส่วนของธุรกิจการเสริมสร้างความภาคีการพัฒนาขององค์กร เป็นต้น ในมิติควรมีแนวทางในการดำเนินการตามหลัก CSR ดังนี้

(1)การจัดการกับกลุ่มคู่ค้าและหุ้นส่วนทางธุรกิจ (Partners) ที่รับผิดชอบต่อสังคม การเลือกกลุ่มคู่ค้าและหุ้นส่วนทางธุรกิจ(Partners) ควรคำนึงถึงบทบาทการรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรนั้นๆ เพื่อเป็นการขยายความรับผิดชอบต่อสังคม จากองค์กรของตนไปสู่องค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและป้องกันปัญหาที่อาจจะตามจากความซับซ้อนของระบบธุรกิจสมัยใหม่ ที่ยากต่อการควบคุมให้ครอบคลุมไปทั้งระบบการค้าซึ่งอาจจะมีนโยบายหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมประเด็นเหล่านี้ อาทิ ส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่ๆ และกลุ่มองค์กรชุมชนที่จะเข้ามาเป็นคู่ค้าด้วยการส่งที่ปรึกษาไปช่วยพัฒนาระบบการทำงานให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นต้น

(2) การดูแลผู้บริโภค ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อสินค้าและบริการขององค์กรเป็นแหล่งที่มาของรายได้ ดังนั้น จึงต้องมีระบบการดูแลผู้บริโภคในทุกๆ กระบวนการของสินค้า/บริการ ตั้งแต่การผลิต การขาย ไปจนถึงการทิ้งให้ปลอดภัย มีประสิทธิภาพทั้งในเชิงคุณภาพและราคา และมีจริยธรรมนอกจากนั้น ยังสามารถแสดงความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคด้วยการเลือกผลิต/จำหน่าย สินค้า/บริการเฉพาะด้านให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้บริโภค

(3) ความรับผิดชอบต่อชุมชนใกล้เคียง (Local Communities) บริษัทฯต่างๆ ตามปกติจะให้ประโยชน์ต่อชุมชนอยู่แล้ว เช่น จ้างแรงงานชุมชน ซึ่งนำสู่รายได้สู่ชุมชน และรายได้ภาษีของพื้นที่ ซึ่งนำไปสู่ทุนสาธารณะที่สามารถนำมาสร้างประโยชน์แก่ชุมชนได้อีก นอกจากนั้น บริษัทฯยังต้องพึ่งชุมชนรอบข้องในรูปแบบของแรงงาน และอื่นๆ ดังนั้น บริษัทฯจึงควรมีส่วนช่วยเหลือทั้งด้านสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมชุมชน (และใกล้เคียง) ผ่านการบริจาคหรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ใดๆ ที่จะช่วยพัฒนาชุมชนและการนำไปสู่ความเข้มแข็งของขุมชนนั้น ๆ โดยการให้ชุมชนที่มีความสามารถเป็นส่วนหนึ่งของหุ้นส่วนทางธุรกิจ ซึ่งผลตอบแทนที่บริษัทจะได้รับ คือภาพลักษณ์ที่ดีนำไปสู่ความร่วมมือและพร้อมจะช่วยเหลือบริษัท

(4) ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม บริษัทต่างๆ ที่อยู่ในเมืองหรือบริษัทขนาดใหญ่ อาจไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับพื้นที่ในบริเวณนั้นๆ มากนัก ดังนั้น บริษัทเหล่านี้จึงควรแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง โดยการบริจาค ทำกิจกรรม หรือสนับสนุนในรูปแบบต่างๆ เพื่อแก้ไขและพัฒนาสังคม ซึ่งถือเป็นการแสดงบทบาทผู้นำทางธุรกิจต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อสังคม และควรมีการวางแผน การหาพันธมิตรในการปฏิบัติงานที่ดี ซึ่งจะนำมาสู่ภาพลักษณ์ที่ดีอันเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความไว้วางใจและคุณค่าของบริษัทในมุมมองของผู้บริโภคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(5) การรับผิดชอบต่อสังคมโลก ในมิติต่างๆ เช่น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสิทธิมนุษยชน การศึกษาและสาธารณสุข เป็นต้น ตามความเหมาะสมและศักยภาพขององค์กร โดยบริษัทสามารถร่วมมือกับ องค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล NGO สถาบันการศึกษา และองค์กรธุรกิจ

๘.5 ขอบเขตและกระบวนการดำเนินกิจกรรมของความรับผิดชอบต่อสังคม

ขอบเขตความรับผิดชอบต่อสังคม (Areas of Social Responsibility) มีทั้งหมด 7 ด้านโดยมีรายละเอียด ดังนี้

1)ด้านชุมชน (The Community) องค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจะต้องสร้างจุดเด่นขึ้นในชุมชน เช่น เป็นผู้นำในการช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้สังคมและสิ่งแวดล้อม

2) ด้านสุขภาพและสวัสดิการ (Health and welfare) องค์กรมีความเชื่อว่า การลงทุนในสุขภาพและการจัดสวัสดิการให้กับชุมชนเป็นความรับผิดชอบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีคุณค่าและจำเป็นสำหรับพนักงาน บริษัท และชุมชนขนาดใหญ่ ตัวอย่างโครงการด้านสุขภาพและสังคมจะสร้างค่านิยมในชุมชน ซึ่งจะทำให้บริษัทมีอิทธิพลต่อผู้ลงทุนและสร้างภาพที่ดีให้กับบริษัทด้วย

3)ด้านการศึกษา (Education) องค์กรจำนวนมากมีความสนใจต่อความรับผิดชอบด้านการศึกษา ผู้บริหารมีความตระหนักว่าจะต้องปรับปรุงการศึกษาทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยทั้งในด้านการบริจาคเงินด้านการศึกษา การประชาสัมพันธ์ และด้านอื่นๆ

4) ด้านสิทธิมนุษยชน (Human rights) บางองค์กรมุ่งความรับผิดชอบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในการรณรงค์สิทธิมนุษยชน เช่น ความเท่าเทียมกันของเพศชายและเพศหญิงในการได้รับการจ้างงาน

5) ด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (The natural environment) องค์กรจำนวนมากได้ตัดสินใจเลือก การแก้ปัญหาด้วยสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ การอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและการสร้างจิตสำนึกในการรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น การผลิตสินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การไม่ใช้สาร CFC เครื่องปรับอากาศและตู้เย็น

6) ด้านสิทธิของผู้บริโภค (Consumer rights) บางองค์กรได้เน้นในเรื่องของสิทธิผู้บริโภค โดยคำนึงถึงผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และการโฆษณาที่เป็นจริง

7) ด้านวัฒนธรรม (Culture) เป็นการเรียนรู้และการคิดร่วมกันตลอดจนการแสดงออกระหว่างกลุ่มบุคคลหรือสังคม ธุรกิจที่ให้การสนับสนุนด้านศิลปวัฒนธรรมเชื่อว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถส่งเสริมการรู้จักบริษัท ตลอดจนสร้างความรู้สึกและทัศนคติที่ดีให้เกิดกับบริษัทได้ แนวคิดทีให้การสนับสนุนเหตุการณ์ด้านวัฒนธรรมถือว่า เป็นการลงทุนด้านคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับลูกค้าชุมชนในท้องถิ่น บุคลากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กร ถือว่าสามารถสร้างวัฒนธรรมที่ดีให้กับกลุ่มเหล่านี้ได้

นอกจากนี้ อาจพิจารณาถึงขอบเขตของความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมใน 4 มิติ คือ

1) ความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ (Economic Responsibility) เพื่อผลิตสินค้าและบริการตามที่ประชาชนต้องการและนำมาขายเพื่อให้เกิดกำไรแก่เจ้าของกิจการ (ในกรณีที่เป็นองค์กรทำเพื่อกำไร) นับได้ว่าเป็นความรับผิดชอบหลักและความรับผิดชอบดั้งเดิมของการดำเนินการจนอาจกล่าวได้ว่า นอกจากความรับผิดชอบด้านเศรษฐกิจแล้ว ผู้บริหารในอดีตบางคนไม่เคยคำนึงถึงความรับผิดชอบในด้านอื่นเลย

2) ความรับผิดชอบด้านกฎหมาย (Legal Responsibility) เพื่อดำเนินกิจการไปตามครรลองของกฎหมายและกฎข้อบังคับต่าง ๆ อย่างไรก็ตามกฎหมายของกฎข้อบังคับไม่สามารถจะครอบคลุมการกระทำทุกอย่างที่องค์กรกระทำได้ การกระทำบางอย่างไม่ผิดกฎหมาย แต่องค์กรควรจะกระทำหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของผู้บริหารองค์กรนั้นๆ

3) ความรับผิดชอบทางจริยธรรม (Ethical Responsibility) การกระทำบางอย่างที่ไม่ใช่สิ่งที่กฎหมายบังคับ แต่ถ้าองค์กรไม่ทำก็ไม่ผิดกฎหมาย แต่องค์กรเลือกกระทำเพราะเห็นว่าเป็นความรับผิดชอบทางจริยธรรม เช่น การให้สวัสดิการด้านเสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย เงินกู้ยืม อาหารกลางวัน รถรับส่งพนักงาน การจัดนำเที่ยว เป็นต้น

4) ความรับผิดชอบในการใช้ดุลยพินิจ (Discretionary Responsibility) ความรับผิดชอบในระดับนี้เป็นความสมัครใจของผู้บริหารองค์กรโดยตรง และขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเลือกกระทำของผู้บริหารแต่ละคนความรับผิดชอบนี้ไม่ได้บังคับไว้เป็นกฎหมาย หรือเป็นสิ่งที่พนักงานคิดว่าควรได้รับตามหลักจริยธรรม เช่น ผู้บริหารไม่สนับสนุนให้พนักงานทำงานล่วงเวลาแต่กลับจ้างพนักงานเพิ่ม การเพิ่มเครื่องจักร การเพิ่มเงินเดือนทั้งนี้เพราะผู้บริหารพินิจพิเคราะห์อย่างสุขุมแล้วว่า การทำงานล่วงเวลาทำให้สุขภาพของพนักงานเสื่อมโทรม และเป็นการบั่นทอนคุณภาพชีวิต จะเห็นได้ว่าความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อาจแบ่งเป็นระดับขั้นได้ จากขั้นที่ 1 ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริหารหรือนักธุรกิจต้องทำเพื่อความอยู่รอดของตนเอง นั่นคือความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจแต่ผู้บริหารหรือนักธุรกิจบางคนอาจจะรับผิดชอบในขั้นสูงต่อไป คอ จะเลือกทำสิ่งที่ได้ผลประโยชน์ได้กำไร แต่ต้องไม่ผิดกฎหมาย ถ้ามีความรับผิดชอบขึ้นไปอีกก็จะเป็นความรับผิดชอบที่คำนึงถึงจริยธรรม หลังจากนั้นเป็นขั้นพินิจพิเคราะห์การกระทำเพื่อความรับผิดชอบอย่างสุขุมระมัดระวังอย่างจริงจังขึ้นไปมากกว่า การทำแค่เพียงว่าได้คำนึงถึงจริยธรรม และการที่ผู้บริหารหรือนักธุรกิจคนใดจะตัดสินใจดำเนินการโดยมีความรับผิดชอบมากน้อยประการใดย่อมขึ้นอยู่กับจริยธรรมของผู้บริหารหรือนักธุรกิจผู้นั้น สุดท้ายเป็นขั้นตอนของความรับผิดขอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

๘.6 ความสำคัญของความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)

กระแสความรับผิดชอบต่อสังคมที่กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆในอนาคต องค์กรธุรกิจคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพิจารณาการดำเนินกิจกรรมทาง CSR อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมที่จับต้องวัดผลได้ การผนวก CSR เข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อตอบสนองทั้งโจทย์ของสังคมและขององค์กรให้เป็นไปในลักษณะ win-win นั้น เป็นแนวโน้มสำคัญที่องค์กรหลายแห่งได้นำไปปฏิบัติใช้ องค์กรที่นำแนวคิด CSR ไปปฏิบัติ จะเกิดผลลัพธ์ ทั้งในส่วนรูปธรรมที่จับต้องได้ (Tangible) และในส่วนนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible) จากผู้ที่อยู่ในองค์กร ได้แก่ ผู้ถือหุ้นและพนักงานและจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรโดยตรงและโดยอ้อม กล่าวคือ องค์กรที่นำหลักความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ CSR มาใช้จะได้รับประโยชน์เป็นรูปธรรมและนามธรรมคือ

1) ในแง่ผู้ถือหุ้นหรือเจ่าของกิจการ ราคาหุ้นมีเสถียรภาพและมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในอัตราที่สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เนื่องจากเป็นที่ต้องการของนักลงทุนซึ่งปัจจุบันเม็ดเงินลงทุนในธุรกิจที่เรียกว่า CSR หรือ SRI (Social Responsibility Investment) มีมูลค่าเกิน 2 ล้านล้านเหรียญ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นโอกาสที่ธุรกิจจะเข้าถึงแหล่งทุนเพิ่มมากขึ้น และทำให้ต้นทุนทางการเงินมีแนวโน้มต่ำกว่าเกณฑ์ปกติของตลาด

2) ในแง่พนักงาน เกิดความภาคภูมิใจในการทำงานร่วมกับองค์กรได้รับความสุขจากการปฏิบัติงานในหน้าที่นอกเหนือจากค่าตอบแทนเป็นตัวเงิน ทำให้องค์กรสามารถรักษาพนักงานที่มีคุณภาพไว้กับองค์กรขณะเดียวกันก็สามารถชักชวนผู้มีความสามารถจากภายนอกให้เข้ามาร่วมงานกับองค์กรได้

3) องค์กรสามารถเพิ่มรายได้และส่วนแบ่งตลาด จากการที่ลูกค้าพิจารณาเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตจากองค์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยนำมาตรการส่งเสริมการขายมาใช้ เช่น การบริจาครายได้ส่วนหนึ่งต่อทุก ๆ การซื้อสินค้าแต่ละครั้ง ให้กับองค์กรที่ช่วยเหลือสังคม

1.7 การนำหลักการ CSR ไปสู่การปฏิบัติในระดับองค์กรและชุมชน

ปัจจุบันองค์กรธุรกิจมีการนำหลัก CSR ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสังคมอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น การให้ชุมชนเป็นหุ้นส่วนในการผลิตสินค้าและบริการ การกำหนดนโยบาย CSR ขององค์กร การตั้งกองทุนมูลนิธิเพื่อการพัฒนาสังคม การเป็นภาคีในการพัฒนาชุมชน เป็นต้น ซึ่งอานันท์ ปันยารชุน[13] ได้ระบุถึงการนำหลักการ CSR ไปประยุกต์ประยุกต์ใช้ในระดับองค์กรและชุมชนว่าจะต้องมีบันได 3 ขั้น ในการสร้างให้ธุรกิจแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมคือ

1) บันไดขั้นแรก ธุรกิจต้องพัฒนาตนเองเพื่อดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

ธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมนั้นต้องไม่เป็นธุรกิจที่เบียดเบียนสังคมและสิ่งแวดล้อม หากธุรกิจยังใช้ใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างสิ้นเปลืองโดยไม่เห็นความสำคัญ หรือโรงงานของเรายังคงปล่อยมลพิษที่เป็นอันตรายสู่สิ่งแวดล้อมและชุมชน ถึงแม้ว่าจะมีการใช้เงินมากมายในการดำเนินกิจกรรมต่อสังคมมากเพียงใด คงไม่สามารถกล่าวอ้างได้ว่า ธุรกิจนั้นเป็นธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง ดังนั้น จึงต้องเริ่มจากการมองเข้ามาสู่ภายในองค์กรก่อนว่า ทำอย่างไรจึงจะสามารถบูรณาการหลักการของความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าสู่กระบวนการทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสมเพื่อพัฒนาตัวเองให้กระบวนการทางธุรกิจขององค์กรเป็นไปบนพื้นฐานของความยั่งยืนทั้งในด้านธุรกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

2) บันไดขั้นที่สอง ธุรกิจต้องสร้างชุมชนน่าอยู่และสังคมเข้มแข็ง

ปัจจุบันหลายองค์กรโดยเฉพาะองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่ได้ก้าวข้ามผ่านบันไดขั้นแรก ซึ่งเป็นการพัฒนาตัวเองให้เป็นองค์กรที่อยู่ร่วมกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้อย่างสอดคล้องกลมกลืน โดยไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อชุมชนและสังคมแล้ว ในขณะเดียวกันองค์กรเหล่านี้ก็ได้มองออกไปสู่ภายนอกและประสานเชื่อมโยงองค์กรเข้าสู่ชุมชนและสังคมซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญของภาคธุรกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนบนพื้นฐานแนวคิดที่ว่าธุรกิจนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้

3) บันไดขั้นที่สาม คือการใช้สื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

นอกจากการดำเนินงานทั้งการปรับปรุงองค์กรและการเชื่อมโยงเข้าสู่ชุมชนแล้ว ในการใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์นั้นก็เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสื่อสารจากองค์กรไปสู่สังคม ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการเผยแพร่ข้อมูลการดำเนินงานขององค์กรและแสดงเจตจำนงในการรับผิดชอบต่อสังคมเท่านั้นยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเตือนให้สังคมหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคมให้มากขึ้นด้วย เนื่องจากการใช้สื่อโฆษณาที่สร้างสรรค์สังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรนั้น นับเป็นการบรรลุประโยชน์ทั้งสองทาง กล่าวคือ สามารถเป็นสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อตอบสนองเป้าหมายในเชิงธุรกิจเพื่อสร้างความนิยมในกลุ่มผู้บริโภคและสร้างความโดดเด่นเหนือคู่แข่ง แต่เมื่อพิจารณาอีกมุมหนึ่ง ยังเห็นได้ว่าสื่อโฆษณานั้นยังทำหน้าที่เป็นสื่อแห่งการเรียนรู้ที่เข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างแพร่หลายและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การสร้างสรรค์สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีคุณภาพจึงเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจในอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งสื่อสร้างสรรค์นั้น จะเป็นเสมือนการศึกษานอกโรงเรียนที่นำเสนอข้อมูลและปลูกฝังแนวความคิดที่ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างแนบเนียนซึ่งผลที่ตามในระยะยาวคือ กลุ่มผู้บริโภคมีความตระหนักมีจิตสำนึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

แนวคิดและกระบวนการของความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า แนวคิด CSR มาจากความปรารถนาขององค์กรธุรกิจที่จะร่วมสร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่ ถึงแม่ในช่วงแรกองค์กรธุรกิจจะดำเนินการภายใต้ความไม่พร้อมในขั้นตอนบางอย่างหรือดำเนินการตามที่ข้อกฎหมายกำหนดให้ดำเนินเท่านั้น แต่เมื่อกระแสของหลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้หลายองค์กรปรับบทบาทของตนเองในการทำงานเพื่อสังคม มิใช่กระทำเพียงเพื่อภาพลักษณ์ขององค์กรเท่านั้นแต่สามารถนำไปสู่การพัฒนาในลำดับขึ้นที่สูงขึ้นไป โดยการผสมผสานระหว่างความเก่งในการบริหารจัดการและความดีที่จะทำให้ชุมชนน่าอยู่และสังคมเข้มแข็ง กล่าวถึงเป็นการสร้าง”มูลค่า” และ”คุณค่า” ไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นจึงอาจจะกล่าวได้ว่าแนวคิด CSR เป็นเพียงแนวคิด กระบวกการและความท้าทายขององค์กรต่างที่จะพึงมีต่อบุคคลและสังคม โดยคำนึงถึงมาตรการต่าง ๆ เช่น แรงงาน สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ธรรมาภิบาล และความรับผิดชอบสากลที่ทุกคนทุกองค์กรไม่สามารถปฏิเสธการกระทำทุกการกระทำของตนเองได้เลย

ปัจจุบันแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม หลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใส รวมถึงความเป็นธรรมในการบริหารองค์กรต่างๆ ได้รับการยอมรับและนำไปสู่การปฏิบัติทั้งในมิติของการดำเนินการตามกฎหมายและจริยธรรมที่องค์กรพึงมีต่อสังคม ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ ปรับแนวคิด บทบาทการดำเนินกิจกรรมของตนเองให้มีความเป็นธรรมาภิบาลและร่วมรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ในบรรดาภาคส่วนต่างๆ ในสังคมนั้น องค์กรภาคธุรกิจภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ จากแนวคิดและหลักการของ CSR ในกระแสโลกดังกล่าวจะเห็นว่า แนวคิด CSR นั้น มิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ เป็นความรับผิดชอบและหลักจริยธรรมที่มีมานาน โดยมีความสอดคล้องกับหลักจริยธรรมเพื่อสังคมหลายประการ ดังที่ อนันตชัย ยูรประถม[14] ได้กล่าวถึงแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมไว้ในนิตยสารProductivity World (2007) ว่า ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 5 ประการ คือ[15]

1) หลักความชอบธรรมทางสังคม(Legitimacy Theory) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงอำนาจในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรบุคคลของบริษัทสำหรับการดำเนินธุรกิจว่าแท้ที่จริงแล้ว บริษัทได้รับสิทธิและอำนาจนั้นมาจากสังคมในลักษณะที่เป็นใบอนุญาตชั่วคราว ภายใต้เงื่อนไขในการดำเนินธุรกิจของบริษัทต้องตรงตามความคาดหวังของสังคมโดยรวม เช่น สินค้าและบริการสามารถตอบสนองความต้องการให้แก่สังคมได้หรือไม่ ในเชิงของ CSR ก็คงยังไม่เพียงพอต้องมีมองย้อนกลับถึงธรรมาภิบาลของบริษัท กระบวนการดำเนินธุรกิจมีผลกระทบทางลบต่อสังคมหรือไม่ มีการทำนุบำรุงสังคมในวงกว้างหรือไม่ ซึ่งสังคมจะทำการตรวจสอบอยู่อย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น ความเจริญก้าวหน้าหรือความอยู่รอดของบริษัทจึงอยู่ที่บริษัทได้ดำเนินการตรงตามสิ่งที่สังคมคาดหวังมากน้อยเพียงใด แนวคิดนี้เป็นแนวคิดพื้นฐานสำหรับบริษัทในการสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อเป็นแนวทางการทำ CSR เพราะเท่ากับทำให้บริษัทเปลี่ยนแปลงแนวคิดทั้งในเรื่องของการดำเนินธุรกิจหรือแม้แต่การดำเนินกิจกรรม CSR เองก็ตาม จากการที่บริษัทเป็นศูนย์กลาง เป็นผู้มุ่งเน้นว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร ไปสู่รูปแบบที่เป็นความต้องการหรือความคาดหวังของสังคมเป็นหลักเพื่อคงไว้ซึ่งสิทธิอันชอบธรรมในการคงอยู่ในสังคมต่อไป

2) ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ (Public Responsibility) บริษัทต้องระมัดระวังและใส่ใจถึงผลที่ตามมา (Outcome) จากการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่เกิดขึ้นในพื้นที่โดยตรงและพื้นที่ต่อเนื่องอื่นๆ นอกเหนือจากพื้นที่ภายในของตนเอง ซึ่งกลายเป็นประเด็นทางสังคม (Social Issues) ต่างๆ ทั้งนี้สังคมจะเป็นผู้กำหนดแนวทางการปฏิบัติให้บริษัทเองซึ่งต่อจากนั้นบริษัทมีหน้าที่จะต้องวางนโยบายและแนวทางการตัดสินใจให้ตรงตามวัตถุประสงค์และคุณค่าที่สังคมปรารถนา

3) แนวคิดการจัดการต่อผู้ที่มีส่วนได้เสียอย่างถูกต้องเหมาะสม (Stakeholder Theory) ทฤษฎีเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนี้มีเชื่อมโยงอย่างเหนียวแน่นกับเรื่องของความชอบธรรม (Legitimacy) โดยมุมมองจากแนวคิดนี้มุ่งไปยังนโยบายของบริษัทที่สร้างผลกระทบให้เกิดแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้น คู่ค้าคู่แข่ง ภาครัฐและชุมชน เป็นต้น โดยบริษัทมีภาระรับผิดชอบที่จะต้องตอบสนองความต้องการให้แก่กลุ่มผู้มีส่วนส่วนได้ส่วนเสียของตนเองหรืออีกนัยหนึ่งแนวคิดนี้เป็นเรื่องของการจัดการผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Management) ของบริษัทโดยพิจารณาถึงความต้องการ (Need) และความสนใจ (Interest) และผลกระทบ (Effect) ที่เกิดขึ้นจากนโยบายและการดำเนินงานของบริษัท เพราะการที่บริษัทจะสามารถดำรงอยู่ ดำเนินเจริญก้าวหน้าและล่มสลายถือเป็นความชอบธรรมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทเป็นผู้กำหนดนั่นเอง

4) หลักจริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics Theory) จริยธรรมทางธุรกิจของบริษัทจะเกี่ยวพันถึงทฤษฎีปทัสถานหรือ Norm Theory ซึ่งหมายถึงการที่ผู้นำของบริษัทที่เป็นผู้รับผิดชอบในการใช้ศีลธรรม (Moral) เป็นเครื่องมือตัดสินใจในการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ของบริษัทหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการมีผู้นำที่มีศีลธรรม (Moral leadership) เป็นผู้กำหนดแนวทางการปฏิบัติขององค์กรที่เกิดคุณค่ามากกว่าข้อกำหนดของบริษัทหรือตามความต้องการของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่ยังคำนึงถึงคุณค่าทางจริยธรรมอื่นๆ เช่น ความเสมอภาค เสรีภาพและความเป็นธรรมอีกด้วย

5) การเป็นผลเมืองที่ดีของสังคม (Corporate Citizenship) แนวความคิดนี้เราว่ามองบริษัทเป็นหน่วยหนึ่งเทียบเท่ากับบุคคล ดังนั้น บริษัทต้องมีหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดีของรัฐเช่นเดียวกัน จากแนวคิดของ Carrollและ Buchholz (1999) ความรับผิดชอบ 4 ประการของพลเมือง (Economic, Legal, Ethical และ Philanthropic Responsibilities) ก็คือความรับผิดชอบด้านมนุษยธรรม (Philanthropic Responsibility) เพื่อช่วยให้สังคมเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นการมองบริษัทในระดับเดียวกับบุคคลนั่นก็คือ การบริจาคโดยความสมัครใจเพื่อช่วยให้สังคมดีขึ้นอย่างยั่งยืนนั่นเอง

. ทฤษฎีและกรอบแนวคิด (Conceptual Framework)

ผู้วิจัยจะศึกษา แนวคิด/ทฤษฎีเกี่ยวกับการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต ๓ ของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา เพื่อวิเคราะห์และเสนอรูปแบบการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต ๓ ของนักการเมืองท้องถิ่น เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป และเพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามแนวหลักสุจริต ๓ โดยอาศัยแนวคิดกรอบประมวลคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณข้าราชการพลเรือนในการสนับสนุน การกระตุ้น และการช่วยเหลือเพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามแนววิถีแห่งพุทธ คือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ หรือหลักพุทธธรรม ได้แก่ หลักสุจริต 3 ดังแผนภาพต่อไปนี้

ความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต ๓ ของนักการเมืองท้องถิ่น

รูปแบบ

การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต ๓ ของนักการเมืองท้องถิ่น

การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต ๓ของนักการเมืองท้องถิ่น

การบูรณาการ

หลักพุทธธรรม


๑๐.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยวิถีพุทธของนักการเมืองท้องถิ่นมีความสำคัญและจำเป็นเร่งด่วนอย่างมากเพราะเป็นแนวแห่งการปฏิบัติหน้าที่ของผู้นำองค์กรปกครองท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งหมด ผู้วิจัยจึงได้นำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวกับการการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยวิถีพุทธขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังต่อไปนี้

ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล[16] ได้วิจัยเรื่อง “ความรู้สึกเชิงจริยธรรม ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบต่อสังคมของสมาชิกรัฐสภาไทย” ผลการวิจัยพบว่า ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองไทยมีค่าความเชื่อมั่น.07 สมาชิกรัฐสภาให้คุณค่าหรือเห็นความสำคัญของจริยธรรมความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบต่อสังคมแต่ไม่ได้เคร่งครัดในทางปฏิบัติส่วนสมาชิกรัฐสภา พึงพอใจต่อเงินเดือน ระยะเวลาสังกัดพรรคการเมือง และค่านิยมการทำงาน ส่วนตัวแปรระดับการศึกษา มีผลต่อระดับความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ แต่ไม่พบว่ามีผลต่อความรับผิดชอบต่อสังคมของสมาชิกรัฐสภา

ศันสนีย์ ชุมพลบัญชร[17] วิจัยเรื่อง “พัฒนาการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในมุมมองทางพระพุทธศาสนา” ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดซีเอสอาร์ในปัจจุบันมีรากฐานส่วนหนึ่งจากพระพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยพุทธกาลและพัฒนาโดยนักคิดนักวิชาการต่าง ๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในมุมมองทางพระพุทธศาสนามีลักษณะเป็นเศรษฐกิจแบบทางสายกลาง คือ พอดีโดยเกิดคุณภาพชีวิต และไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รวมถึงสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เมื่อแสวงหารายได้อย่างถูกต้องชอบธรรมแล้ว ให้รู้จักแบ่งปันกำไรคืนสู่สังคม เพื่อเกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วย เป็นการประสานประโยชน์สุขร่วมกันในสังคม นอกจากนี้การปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์ 8 ที่จัดรูปเป็นระบบบุญกิริยาจะทำให้การดำเนินธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคมได้ทั้งทางกาย วาจาและใจ ถือเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ควบคู่กับการพัฒนาจิตใจได้อย่างแท้จริง

สุดารัตน์ แผลวมัจฉะ และจำลอง โพธิ์บุญ[18] ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม : กรณีศึกษา กลุ่มบริษัทอูเบะ (ประเทศไทย) ผลการวิจัยพบว่า

1) กลุ่มบริษัทฯ มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม พ.ศ. 2552 ในทุกประเด็นหลัก ปัญหาที่พบในการดำเนินงาน CSR ได้แก่ การสื่อสารประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ CSR ทั้งกับภายในและภายนอกองค์กร การมีส่วนร่วมของพนักงาน การประเมินผลการดำเนินงาน CSR และการทบทวนความสอดคล้องตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม

2) ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินงาน CSR ในด้านบริบท ได้แก่ นโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนดจากภาครัฐ ผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่นและการปกครองส่วนท้องถิ่น/การเมืองท้องถิ่น สภาวะเศรษฐกิจ ทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรมประเพณี และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ปัจจัยนำเข้าที่มีผลต่อการดำเนินงาน CSR ได้แก่ การสนับสนุนของผู้บริหารและการมีส่วนร่วมของพนักงาน เงินทุนและงบประมาณ วิสัยทัศน์และวัฒนธรรมองค์กร วิธีการต้นแบบและกลยุทธ์ในการดำเนินงาน CSR มาตรฐานการดำเนินงานต่างๆ สำหรับปัจจัยด้านกระบวนการที่มีผลต่อการดำเนินงาน CSR ได้แก่ การจัดโครงสร้างการบริหารงาน CSR การสื่อสารประสานงาน การจัดกิจกรรมที่ครอบคลุมงาน CSR และสอดคล้องกับปัญหาความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

3) ผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการดำเนินงาน CSR ของกลุ่มบริษัทฯ คือ การลดค่าใช้จ่ายของบริษัท การเพิ่มความสามารถในการขายและการเพิ่มความแข็งแกร่งและการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน สำหรับผลที่พนักงานได้รับคือ การเป็นสถานที่ทำงานที่ดีและการสร้างความภาคภูมิใจให้กับพนักงาน

4) โดยภาพรวมชุมชนซึ่งตั้งอยู่ติดกับกลุ่มบริษัทฯ ได้รับผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบในด้านสังคมและเศรษฐกิจมากกว่าชุมชนที่อยู่ในรัศมี 1 และ 5 กิโลเมตรตามลำดับ แต่สำหรับผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยจากอันตรายร้ายแรง พบว่า ในภาพรวมชุมชนในรัศมี 5 กิโลเมตร มีความเห็นว่า ได้รับผลกระทบมากที่สุด รองลงมา คือชุมชนในรัศมี 1 กิโลเมตรและชุมชนที่ตั้งอยู่ติดกับกลุ่มบริษัทฯ ในด้านการได้รับความช่วยเหลือและการพัฒนาชุมชน พบว่า โดยรวมแล้วชุมชนที่ตั้งอยู่ติดกับกลุ่มบริษัทฯ ได้รับการช่วยเหลือและพัฒนามากที่สุดซึ่งไม่แตกต่างกันมากกับชุมชนในรัศมี 1 กิโลเมตร โดยชุมชนในรัศมี 5 กิโลเมตร มีความเห็นว่าได้รับความช่วยเหลือและพัฒนาน้อยกว่า 2 ชุมชนดังกล่าว สำหรับความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ ในด้านต่างๆ พบว่า ผู้อาศัยในชุมชนที่ติดกับกลุ่มบริษัทฯ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับค่อนข้างมาก รองลงมาคือชุมชนในรัศมี 1 กิโลเมตร และ 5 กิโลเมตร ตามลำดับ

วีระวัฒน์ ปันนิตามัย[19] ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

1. ความหมายความสำคัญและประโยชน์ของ CSR ผลการศึกษาพบว่านิยามของ CSR มีนักวิชาการและองค์การต่างๆให้ความหมายไว้อย่างมากมายที่ปรึกษาได้สรุปความหมายของ CSR ของภาครัฐโดยจำแนกออกเป็น 2 ระดับคือ 1) ระดับบุคคล: CSR หมายถึงจิตสานึก (จิตอาสา) ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่แสดงความรับผิดชอบเชิงพฤติกรรมต่อองค์การสังคมชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและ 2) ระดับองค์การ: CSR คือการจัดการอย่างมีความรับผิดชอบของหน่วยราชการที่คำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียสังคมชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ความสำคัญของการดาเนินการ CSR ต่อองค์การมี 4 ด้านคือ 1) CSR ช่วยเสริมสร้างผลกาไรในระยะยาวให้แก่องค์การ 2) CSR ช่วยให้การดาเนินการขององค์การเป็นไปอย่างราบรื่นเนื่องจาก CSR เป็นเครื่องมือในการบริหารความสัมพันธ์ของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียขององค์การให้ได้รับผลประโยชน์อย่างเท่าเทียม 3) CSR ช่วยให้องค์การดาเนินงานอย่างมีจริยธรรมและ 4) CSR ช่วยให้องค์การเป็นที่ยอมรับของสังคม

ส่วนประโยชน์จากการดาเนินการ CSR สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ 1) ระดับบุคคล CSR ช่วยสร้างจิตอาสาและส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมแก่พนักงาน 2) ระดับองค์การ CSR ช่วยสร้างประโยชน์ต่อองค์การในรูปตัวเงินและที่ไม่ใช่ตัวเงินเช่นความเชื่อมั่นของประชาชนการดึงดูดผู้มีวุฒิสามารถเข้ามาทางานและการเสริมสร้างภาพลักษณ์และแบรนด์ขององค์การและ 3) ระดับประเทศ CSR ช่วยลดปัญหาความยากจนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการเสริมสร้างธรรมาภิบาล

2. บทบาทของภาครัฐในการดาเนินการ CSR ในทวีปยุโรปภาครัฐมีบทบาทต่อการดาเนินการ CSR ใน 4 ลักษณะคือ 1) การดาเนินการ CSR ภายในหน่วยงานภาครัฐเอง 2) บทบาทของภาครัฐในการส่งเสริม CSR แก่ภาคธุรกิจ 3) บทบาทของภาครัฐในการดาเนินการ CSR เพื่อสังคมและ 4) การเป็นหุ้นส่วนกันของภาครัฐภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมในการดาเนินการCSR ส่วนธนาคารโลกได้แนะนาบทบาทของภาครัฐในประเทศกาลังพัฒนาที่มีต่อการดาเนินการ CSR ไว้ 4 ลักษณะคือ 1) การเป็นผู้ออกกฎ 2) การเป็นผู้อานวยความสะดวกในการดาเนินการ CSR 3) การเป็นหุ้นส่วนกับภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมในการดาเนินการ CSR และ 4) การเป็นผู้สนับสนุน

3. กรอบความคิดการส่งเสริมและการดำเนินการ CSR ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐโดยพิจารณาจากมิติต่างๆในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลทั้งในบริบทสากลและของประเทศไทย การศึกษาพบว่าในบริษัทชั้นนาระดับโลก 9 แห่งได้แก่ Alcoa, Bank of America, BASF, The Coca Cola Co., Eastman Kodak, Intel, Novartis AG, Royal Phillips และ Unilever มีการดาเนินการ CSR ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลใน 10 ประเด็นคือ 1) การพัฒนาภาวะผู้นา 2) การฝึกอบรมและพัฒนา 3) การบริหารความเปลี่ยนแปลง 4) การสร้างความร่วมมือและทีมงาน 5) การบริหารผู้มีวุฒิสามารถ 6) การคำนึงถึงความหลากหลายและพหุวัฒนธรรม 7) การสร้างจริยธรรมและธรรมาภิบาล 8) การสร้างค่านิยมร่วมแก่พนักงาน 9) การสร้างสุขอนามัยและความปลอดภัยและ 10) การสร้างความผูกพันของพนักงานการดาเนินการข้างต้นยึดถือระเบียบข้อบังคับและมาตรฐานการดาเนินการเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์การระหว่างประเทศต่างๆอาทิ ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work (1998), OHSAS 18001 Standard on Occupational Health and Safety, SA 8000 (1997, 2001) หรือ ISO 26000

4. หน่วยงานที่ดาเนินการ CSR ทั้งภาครัฐภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน บทนี้ได้นำเสนอตัวอย่างองค์การทั้งภาครัฐภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ดาเนินการ CSR จานวน 44 องค์การซึ่งพบว่าองค์การเหล่านี้มีการดาเนินการ CSR โดยจำแนกตามมิติของผู้มีส่วนได้เสียได้ 3 มิติคือ 1) การดาเนินการ CSR เพื่อตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียขององค์การ (organizational stakeholders) ได้แก่พนักงานผู้บริหารผู้ถือหุ้นและสหภาพแรงงาน 2) การดาเนินการ CSR เพื่อตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียเชิงเศรษฐกิจ (economic stakeholders) ได้แก่ลูกค้าผู้จัดส่งสินค้าและผู้จัดส่งวัตถุดิบและ 3) การดาเนินการ CSR เพื่อตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียเชิงสังคม (societal stakeholders) ได้แก่ชุมชนรัฐบาลและสิ่งแวดล้อมทั้งนี้การศึกษาพบว่าองค์การส่วนใหญ่ยังมุ่งเน้นกิจกรรม CSR เพื่อตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียเชิงสังคมมากที่สุดส่วนกิจกรรม CSR ในมิติผู้มีส่วนได้เสียขององค์การและเชิงเศรษฐกิจพบว่าองค์การต่างๆยังดำเนินการน้อย

5. Best Practices การดาเนินการ CSR ของหน่วยงานภาครัฐทั้งไทยและต่างประเทศ ตัวอย่างการปฏิบัติ CSR ที่ดีด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของหน่วยงานภาครัฐไทยได้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งบูรณาการ CSR กับกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลในประเด็นของ 1) การสรรหาและคัดเลือกที่ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของผู้สมัครซึ่งวัดจากแบบทดสอบความถนัดและการสัมภาษณ์ถึงพฤติกรรมจิตอาสาของผู้สมัคร 2) การปฐมนิเทศเพื่อปลูกฝังจิตสานึกด้าน CSR แก่พนักงานการแจกคู่มือประมวลจริยธรรมให้แก่พนักงานใหม่และการส่งเสริมให้พนักงานใหม่และพนักงานปัจจุบันมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ต่างๆโดยความสมัครใจ 3) การประเมินพนักงานโดยใช้แนวทาง Balanced Scorecard (BSC) มีการกำหนดตัวชี้วัดเกี่ยวกับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การของพนักงานและการมีจิตสานึกด้านคุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร 4) การสื่อสารภายในองค์การมีการแจกหนังสือพิมพ์เพื่อประชาสัมพันธ์การทา CSR ของพนักงานทุกวันและมีการเผยแพร่ภาพกิจกรรมการทา CSR ผ่านเว็บไซต์ขององค์การและ 5) การสร้างเครือข่ายด้าน CSR กับหน่วยงานภายนอกตัวอย่างการปฏิบัติ CSR ที่ดีของหน่วยงานภาครัฐต่างประเทศคือหน่วยงานตำรวจของประเทศสิงคโปร์ (The Singapore Police Force: SPF) โดย SPF ได้ให้ความหมายของ CSR ว่า CSR เป็นมากกว่าการปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับต่างๆที่กำหนดทั้งนี้เจ้าหน้าที่ของ SPF จะถูกกระตุ้นให้มีจิตสานึกในการรับใช้ประชาชนสังคมและประเทศชาติอย่างต่อเนื่องผ่านการร่วมทากิจกรรม CSR ใน 4 ด้านคือ 1) การพัฒนาองค์การและงานตำรวจ 2) การช่วยเหลือชุมชน 3) การส่งเสริมด้านกีฬาและสุขอนามัยของพนักงานและประชาชนและ 4) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

6. มิติเรื่อง CSR ที่ส่วนราชการควรดาเนินการ ที่ปรึกษาเสนอให้การดาเนินการ CSR ในส่วนราชการแบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ 1) ระดับยุทธศาสตร์เกี่ยวข้องกับหน่วยงานด้านนโยบายเช่นสานักงานก.พ. และสานักงานก.พ.ร. ในการกำหนดนโยบายวางแผนยุทธศาสตร์และการบูรณาการการดำเนินการ CSR ในภาครัฐให้สอดคล้องกับค่านิยมภาครัฐกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องและ 2) ระดับองค์การเกี่ยวข้องกับส่วนราชการในการกำหนดยุทธศาสตร์วิสัยทัศน์พันธะกิจนโยบายและแผนงาน CSR ที่สอดคล้องกับภารกิจหลัก (core business) ของหน่วยงานตลอดจนความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียของหน่วยงาน

7. ผลการประชุมสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิและการศึกษาดูงาน ผลการประชุมสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิและการศึกษาดูงานหน่วยงานที่มีแนวปฏิบัติที่ดีด้านการดำเนินการ CSR 3 แห่ง ได้แก่ บมจ.โทเทิ่ลแอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น บมจ.เครือซิเมนต์ไทย และบมจ.ปตท. ได้ข้อสรุปดังนี้ 1) การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายประเภทและแนวทางในการดาเนินการ CSR ที่ถูกต้องแก่ส่วนราชการรวมถึงการบูรณาการ CSR ให้สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) ส่วนราชการควรดาเนินการ CSR ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ “ภารกิจหลัก (core business)” ของหน่วยงานเช่นสำนักงาน ก.พ. มีภารกิจสำคัญเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐดังนั้นการดาเนินการ CSR ควรเน้นในประเด็นด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นต้น 3) การดาเนินการ CSR ในภาครัฐควรบูรณาการเข้ากับกระบวนการทางานปกติไม่ควรกำหนดเป็นประเด็นหรือภารกิจใหม่ที่เพิ่มภาระให้แก่ส่วนราชการ 4) ควรกำหนดหน่วยงานเจ้าภาพในการส่งเสริมการดาเนินการ CSR ในหน่วยงานภาครัฐ 5) การจัดทามาตรการจูงใจเพื่อส่งเสริมให้ส่วนราชการหันมาดาเนินการ CSR มากขึ้น 6) การ บูรณาการการดาเนินการ CSR ของภาครัฐร่วมกับแนวคิดต่างๆอาทิการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) การประเมินสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Scorecard) ค่านิยมสร้างสรรค์เจ้าหน้าที่รัฐมาตรฐานทางคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่ภาครัฐหรือสมรรถนะหลักของข้าราชการพลเรือนและ 7) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมในการดาเนินการ CSR

8. กระบวนการทำ CSR ของส่วนราชการ จากการทบทวนวรรณกรรมผลการประชุมสัมมนาและการศึกษาดูงานที่ปรึกษาได้จัดทากระบวนการในการส่งเสริมการดำเนินการ CSR ของส่วนราชการไว้ 8 ขั้นตอนคือ 1) การสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของ CSR ภายในส่วนราชการ 2) การจัดเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ CSR ภายในส่วนราชการ 3) การกำหนดยุทธศาสตร์การดาเนินการ CSR ของส่วนราชการ 4) การเตรียมการของส่วนราชการเพื่อรองรับการดำเนินการ CSR เช่นการให้ความรู้ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน 5) การดำเนินการ CSR ตามแผนงานหรือโครงการของส่วนราชการ 6) การประเมินความสำเร็จในการทากิจกรรม CSR และการรายงานผลความก้าวหน้าให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ 7) การทบทวนผลการดำเนินการ CSR และ 8) การปลูกฝังการดำเนินการ CSR อย่างถาวรให้คงอยู่กับหน่วยงานและพนักงาน

9. การสร้าง Model CSR ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล โมเดล CSR ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นข้อเสนอของที่ปรึกษาในการนาแนวคิด CSR ไปดาเนินการส่งเสริมการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐใน 10 มิติ ได้แก่ 1) การกำหนดยุทธศาสตร์ CSR ขององค์การซึ่งอาจกำหนดยุทธศาสตร์ CSR ตามแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งเน้นการเติบโตขององค์การใน 3 มิติได้แก่มิติที่ 1 การบริหารจัดการที่ดีเน้นการดาเนินการ CSR ภายในระบบงาน (CSR in process) ส่วนมิติที่ 2 การรักษาสิ่งแวดล้อมและมิติที่ 3 การพัฒนาสังคมเน้นการดาเนินการนอกเหนือจากระบบงาน (CSR after process) ทั้งนี้การดาเนินการ CSR ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลจะอยู่ในมิติที่ 1 2) การจัดทาคู่มือจรรยาบรรณของข้าราชการเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแจ้งพฤติกรรมที่องค์การคาดหวังแก่ข้าราชการคู่มือจรรยาบรรณที่ดีควรอ่านเข้าใจง่ายกระชับและเข้าถึงได้ง่าย 3) การกำหนดนโยบาย CSR ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยคำนึงถึงความต้องการของข้าราชการเป็นหลักภายใต้กรอบของกฎหมายและหลักมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล 4) การวางแผนกาลังคนการสรรหาและคัดเลือกเน้นการจัดเตรียมกาลังคนการสรรหาและการคัดเลือกบุคคลที่มีสมรรถนะสอดคล้องกับการดาเนินการ CSR เช่นการมีจิตสาธารณะการมีจริยธรรมการมีกระบวนการสรรหาและเลือกสรรที่โปร่งใสและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายรวมถึงการพัฒนาเครื่องมือในการคัดเลือกบุคคลที่มีสมรรถนะเหมาะสมกับการดาเนินการ CSR ขององค์การ 5) การปฐมนิเทศการฝึกอบรมและการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการ โดยเน้นการอธิบายความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ขององค์การกับการดำเนินการ CSR ขององค์การการแนะนำกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียขององค์การและตัวอย่างกิจกรรม CSR ของหน่วยงานให้แก่ข้าราชการใหม่ด้านการฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ (1) การฝึกอบรมและพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการที่จำเป็นต่อการดาเนินการ CSR และ (2) การจัดหลักสูตรฝึกอบรมและพัฒนาตามความต้องการที่หลากหลายของข้าราชการ 6) การจ่ายค่าตอบแทนการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งและการโอนย้าย ส่วนราชการอาจใช้ผลการปฏิบัติการเพื่อสังคมเป็นเกณฑ์หนึ่งในการพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งหรือการโอนย้ายในประเด็นของการจ่ายค่าตอบแทนอาจอยู่ในรูปตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินอาทิการเพิ่มจำนวนวันลาพักผ่อนการเสนอชั่วโมงการทางานที่ยืดหยุ่นการให้ประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติการให้โอกาสข้าราชการได้เข้าร่วมกิจกรรม CSR ในวันทางานปกติโดยไม่ถือเป็นวันลา เป็นต้น 7) การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของข้าราชการเช่นการคำนึงถึงความหลากหลายของข้าราชการการดูแลเรื่องสุขภาพและอนามัยการบริหารผู้มีวุฒิสามารถการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์หรือการจัดสรรผลประโยชน์แก่ข้าราชการตามความต้องการที่หลากหลาย เป็นต้น 8) การส่งเสริมให้ข้าราชการมีส่วนร่วมในการดาเนินการ CSR เริ่มจากการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด CSR แก่ข้าราชการการให้โอกาสข้าราชการมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR เช่นการเปิดโอกาสให้ข้าราชการรวมกลุ่มกันเพื่อเสนอโครงการช่วยเหลือสังคมตามความสนใจและการสร้างสิ่งจูงใจให้ข้าราชการเข้าไปมีส่วนร่วมในการดาเนินการ CSR ขององค์การ 9) การประเมินผลการปฏิบัติงานด้าน CSR ด้วยดัชนีและพฤติกรรมชี้วัดที่เป็นที่ยอมรับจากข้าราชการการให้รางวัลและการรายงานผลสำเร็จของการดาเนินการ CSR ผ่านช่องทางต่างๆ และ 10) การสร้างเครือข่ายการดาเนินการ CSR ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลกับหน่วยงานภายนอก

10. การประเมินความสำเร็จในการทา CSR ภาครัฐ จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าแนวทางการประเมินความสำเร็จของการทา CSR มี 6 แนวทางคือ 1) การวิเคราะห์เนื้อหาของรายงานประจาปีเช่นการตรวจสอบการทากิจกรรม CSR ที่องค์การต่างๆได้รายงานไว้ในรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งจัดทาขึ้นตามแนวทางของ Global Reporting Initiative (GRI) 2) การวัดความสำเร็จผ่านดัชนีชี้วัดมาตรฐานต่างๆเช่น The Pollution Control Index โดย The Council of Economic Priorities (CEP) ประเทศสหรัฐอเมริกา 3) การใช้เกณฑ์วัดระดับความมีชื่อเสียงของหน่วยงานเช่น Fortune Reputation Indicators Survey 4) การวัดความสำเร็จโดยองค์การวิชาชีพเช่น Kinder, Lydenberg, Domini, & Company (KLD) Social Rating Survey หรือรางวัลบริษัทจดทะเบียนดีเด่นด้าน CSR จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและวารสารการเงินธนาคาร 5) การวัดความสำเร็จจากการรับรู้ของบุคคลโดยใช้แบบสอบถามเช่นแบบวัด Perceived Role of Ethics & Social Responsibility (PRESOR) พัฒนาขึ้นโดยSinghapakdiและคณะหรือการวัดระดับความพึงพอใจของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเป็นต้นและ 6) การวัดความสำเร็จของการดาเนินการ CSR ผ่านโมเดลปฏิบัติการเพื่อสังคมเช่นการแบ่งการประเมินความสำเร็จของดาเนินการ CSR ออกเป็น 3 ระดับตามแนวทางของ Clarkson (1995) กล่าวคือ (1) ระดับสถาบันเน้นประเมินปฏิกิริยาขององค์การที่มีต่อประเด็นต่างๆของสังคม (2) ระดับองค์การเน้นประเมินความสามารถขององค์การในการตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียและ (3) ระดับบุคคลเน้นประเมินความสามารถของผู้บริหารองค์การในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่างๆขององค์การรวมถึงความสามารถในการบริหารการดาเนินการ CSR ขององค์การให้ประสบผลสำเร็จอย่างไรก็ตามส่วนราชการไม่ควรใช้แนวทางใดแนวทางหนึ่งในการประเมินความสำเร็จเพียงแนวทางเดียวเนื่องจากแนวทางการประเมินทั้ง 6 ด้านมีจุดเด่นและข้อจากัดแตกต่างกันดังนั้นในทางปฏิบัติส่วนราชการอาจประยุกต์แนวทางการวัดผลสำเร็จข้างต้นให้เหมาะสมกับมิติของการดาเนินการ CSR ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล

๑๑. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

๑๑.1 ได้ความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา

๑๑.2 ได้ทราบการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต ๓ของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา

๑๑.3 ได้ทราบรูปแบบการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต ๓ ของนักการเมืองท้องถิ่นเพื่อนำองค์ความรู้ในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต ๓ และรูปแบบการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามแนววิถีพุทธ ไปใช้ในการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบของการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

๑๒. แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมาย

ในช่วงไตรมาสที่ ๓-๔ (ระยะเวลา ๖ เดือน) ตามตารางแผนการดำเนินงาน จะได้นำองค์ความรู้ที่เรียบเรียง มาจัดสัมมนาและทำกิจกรรมถ่ายทอดสู่กลุ่มเป้าหมาย

๑๓. วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล

๑๓.๑ ตั้งคณะทำงาน ระดมความคิดเห็นปรึกษาหารือ การวางกรอบในการดำเนินการวิจัย ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

๑๓.๒ ศึกษาค้นคว้าเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาเป็นกรอบแนวคิดในการออกแบบงานวิจัยให้ครอบคลุมทุกประเด็นที่ต้องการศึกษา

๑๓.๓ ปฏิบัติการภาคสนาม โดยการจัดกิจกรรมการศึกษาตามแนวพระพุทธศาสนาสู่กลุ่มเป้าหมาย

๑๓.๔ เก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และรายงานผล

สถานที่ทำการวิจัย

-โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยพุทธศาสตร์ผญ๋าพยาว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ๕๖๖ หมู่ ๒ ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ๕๖๐๐๐

-เขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพะเยา

๑๔. ระยะเวลาทำการวิจัย และแผนการดำเนินงานตลอดโครงการวิจัย

แผนงาน/กิจกรรม

ระยะเวลา (รายเดือนที่)

๑๐

๑๑

๑๒

๑. การจัดประชุมคณะทำงาน คณะที่ปรึกษาเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และทิศทางการทำงานให้สอดคล้องกับพันธกิจและเป้าหมายของโครงการ

๒. การจัดประชุมคณะทำงานคณะผู้ติดตามและประเมินผลภายใน เพื่อทำความเข้าใจและหารือทิศทางการดำเนินงานเชิงยุทธศาสตร์และการบริหารจัดการ

๓. ดำเนินโครงการติดตามและประเมินผล

๔. จัดสัมมนาเชิงวิชาการ

๕. ค่าดำเนินการจัดพิมพ์ผลงาน หรือหนังสือชุดความรู้ขอโครงการ

๑๕. งบประมาณของโครงการวิจัย

รายการ

หน่วย

จำนวนเงิน

๑. งบบุคลากร

-ไม่มี-

-

-

๒. งบดำเนินงาน

๒.๑ ค่าตอบแทน

๑) ค่าตอบแทนคณะผู้วิจัย

-ค่าตอบแทนหัวหน้าโครงการวิจัย (๑ คน x ๑๐ เดือน x ๒,๕๐๐ บาท = ๒๕,๐๐๐ บาท)

-ค่าตอบแทนนักวิจัย (๒ คน x ๑๐ เดือน X ๑,๕๐๐ บาท = ๓๐,๐๐๐ บาท)

๕๕,๐๐๐

๒) ค่าตอบแทนทำงานล่วงเวลา

-จำนวน ๓ รูป/คน ๑๐ วัน (วันทำการปกติ) (๑๐๐ บาท x ๓ รูป/คน x ๑๐ วัน =๓,๐๐๐ บาท)

๓,๐๐๐

๓) ค่าตอบแทนอื่นๆ

-ไม่มี-

-

๒.๒ ค่าใช้สอย เช่น

๑) ค่าใช้จ่ายในการเดินทางประชุมสัมมนาจัดกิจกรรมตามโครงการ ปีละ ๒ ครั้ง

-) ค่าเบี้ยเลี้ยง

-) ค่าจ้างเหมารถรับจ้าง

(๗ รูป/คน x ๒ วัน x ๑๐๐ X บาท = ๑,๔๐๐ บาท)

(๒ วัน x ๑,๘๐๐ บาท = ๓,๖๐๐ บาท)

๕,๐๐๐

๒) ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม สัมมนา จำนวน ๒ ครั้ง ต่อปี

-ค่าวิทยากร (จำนวน ๒ รูป/คน คนละ ๒๐๐ บาท = ๔๐๐ บาท)

-ค่าอาหาร (จำนวน ๔๕๐ รูป/คน x ๒ วัน x ๒๕ บาท = ๒๒,๕๐๐ บาท)

-ค่าอาหารว่าง (จำนวน ๔๕๐ รูป/คน x ๒ วัน x ๕ บาท = ๔,๕๐๐ บาท)

-ค่าจัดทำเอกสารประกอบ (จำนวน ๔๕๐ เล่ม x เล่มละ ๑๐ บาท = ๔๕๐ บาท)

๒๗,๘๕๐

๓) ค่าจัดทำเล่มรายงานความก้าวหน้าและรายงานฉบับสมบูรณ์

-๑๐ เล่ม x ๒๐๐ บาท = ๒,๐๐๐ บาท)

๒,๐๐๐

๒.๓ ค่าวัสดุ เช่น

-วัสดุสำนักงาน

-วัสดุโฆษณาและเผยแพร่

-วัสดุคอมพิวเตอร์

-วัสดุอื่นๆ ฯลฯ

-ค่ากระดาษ ฯลฯ ๑,๐๐๐ บาท

-ค่าเอกสาร แผ่นพับ ๕๐๐ บาท

-ค่าหมึกพิมพ์ ๑,๐๐๐ บาท

-ค่าวัสดุอื่นๆ ๖๕๐ บาท

๒,๑๕๐

๒.๔ ค่าธรรมเนียมการอุดหนุนศูนย์วิจัยฯ ๕ %

-อุดหนุนการบริหารจัดการ ศูนย์วิจัยพุทธศาสตร์ผญ๋าพยาว วิทยาเขตพะเยา

๕,๐๐๐

รวมงบประมาณที่เสนอขอ

๑๐๐,๐๐๐

หมายเหตุขอถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

๑๖. ผลสำเร็จและความคุ้มค่าของการวิจัยที่คาดว่าจะได้รับ

๑๖.๑ ผลสำเร็จเบื้องต้น จะได้แนวทางในการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดพะเยาด้านนโยบายของรัฐตามแนวพระพุทธศาสนา โดยผ่านกระบวนการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเครือข่ายทางสังคม

๑๖.๒ ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ ได้รูปแบบการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต ๓ และแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต ๓

๑๗. คำชี้แจงอื่นๆ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการสร้างงานโดยอาศัยกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต ๓ เพื่อเสริมสร้างสุขความรับผิดชอบต่อหน้าที่และต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดพะเยา

(ลงชื่อ).........................................................หัวหน้าโครงการวิจัย

( ผู้ช่วยศาสตราจารย์คนอง วังฝายแก้ว )

อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์

๙ สิงหาคม ๒๕๕๙



[1] แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. art-culture.cmu.ac.th/images/uploadfile/depfile-150910140608.

[2] นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.www1.nrct.go.th › Contents › นโยบายและแนวทางการวิจัยของชาติ



[3] www.draeqa.up.ac.th/FrontOffice/researchco/rc_budget_gov58%20ผนวก%204.pdf.



[4] พระมหาสุทิตย์ อาภากโร,ดร. และคณะ. .CSR เชิงพุทธ. (นนทบุรี : ดีไซน์ ดีไลท์, 2557.) หน้า 2 - 4.

[5] เรื่องเดียวกัน. หน้า 10 – 11.

[6]วิรัช วิรัชนิภาวรรณ,หลักรัฐประศาสนศาสตร์ แนวคิดและกระบวนการ, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร : ธรรกมลการพิมพ์, 2551), หน้า 192-198.

[7] วีรวัฒน์ ปันนิตามัย. แนวทางการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล. (กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงาน ก.พ., 2553.) หน้า 17.

[8] CSR คือ ? สืบค้นใน < www.csrcom.com> 16 มกราคม 2558.

[9] โสภณ พรโชคชัย. CSR ที่แท้. (กรุงเทพฯ : มูลนิธิประเมินค่าทรัทพย์สินแห่งประเทศไทย, 2552.) หน้า 22-23.

[10] พระสมพงษ์ สนฺตจิตฺโต. “กระบวนการสร้างความรับผิดชอบสากล (ยูอาร์) ขององค์กรภาคธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม (ซีเอสอาร์) ด้วยการเปลี่ยนแปลงภายใน” รวมบทความสัมมนาทางวิชาการนานาชาติ (ภาษาไทย) เนื่องในงานประชุมวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ 8. (อยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2554.)

[11] สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.” แนวปฏิบัติ CSR : ในการดำเนินธุรกิจ” เอกสารประกอบการสัมมนาความสอดคล้องมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000) กับแนวคิด CSR. (กรุงเทพฯ : สถาบันไทยพัฒน์, 2553.) หน้า 5-11.

[12]เรื่องเดียวกัน. หน้า 23-25.

[13] บันได 3 ขั้น ในการสร้างธุรกิจแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม. สืบค้นใน 25 พฤษภาคม 2558.

[14]อนันตชัย ยูรประถม. CSR : พลังบริหารธุรกิจยุคใหม่หนทางสู่ความมั่งคั่งอย่างมีคุณธรรม. (กรุงเทพฯ : กองบรรณาธิการประชาชาติธุรกิจ สำนักพิมพ์มติชน, 2550.)

[15] พระมหาสุทิตย์ อาภากโร,ดร. (อบอุ่น) และคณะ. .CSR เชิงพุทธ.. (อยุธยา : สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์,มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2557.) หน้า 12-15.

[16]ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล, ความรู้สึกเชิงจริยธรรม ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบต่อสังคมของสมาชิกรัฐสภาไทย, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(สังคมวิทยา), (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2547).

[17]ศันสนีย์ ชุมพลบัญชร,“พัฒนาการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในมุมมองทางพระพุทธศาสนา”,วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2555).

[18]สุดารัตน์ แผลวมัจฉะ และจำลอง โพธิ์บุญ. “ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม : กรณีศึกษา กลุ่มบริษัทอูเบะ (ประเทศไทย)” วารสารร่มพฤกษ์. (ปีที่ 28 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2553.) หน้า 74.

[19] ผศ. ดร. วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. แนวทางส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล. (กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงาน ก.พ., 2553.) หน้า 1-6.

หมายเลขบันทึก: 617678เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2016 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ตุลาคม 2016 10:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท