เครื่องคิดเลขอย่างง่ายตอน 2


สวัสดีตอนเช้าครับทุกท่าน มาต่อกันในหัวข้อ เครื่องคิดเลขอย่าคิดว่าง่ายตอน 2 กันครับ แค่เริ่มต้นก็ทำให้ท่านผู้อ่าน งง กันไปใหญ่แล้ว ตอน 1 อยู่อนุทิน ตอน 2 อยู่บันทึก เอ๊ะ ยังไง 555555+ ผมต้องขอประทานโทษด้วยนะครับ พอดีไม่ได้เข้า GotoKnow ประมาณ 6ปีได้ มั้งครับ เข้าเรื่องกันเลยครับ สืบเนื่องจากตอนที่ 1 ได้เล่าประสบการณ์ที่ประสบมา แล้วนำมาเล่าสู่กันฟังเห็นถึงปัญหาและเห็นแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการใช้เครื่องคิดเลข(Calculator) ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับเครื่องคิดเลขกันก่อนเลยครับ เครื่องคิดเลขมีทั้งหมด 4 ประเภท ครับ

ประเภทที่ 1 เครื่องคิดเลขพกพา

มีลักษณะเล็ก กะทัดรัด พกพาสะดวก สามารถใส่กระเป๋าเสื้อได้


ประเภทที่ 2 เครื่องคิดเลขตั้งโต๊ะ

เครื่องคิดเลขประเภทนี้คงเคยเห็นกันทั่วไปบ่อยๆบนโต๊ะทำงานตามหน่อวยงานต่างๆ ส่วนหน้าจอจะกระดกขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้อยู่ในระดับสายตา

ประเภทที่ 3 เครื่องคิดเลขพิมพ์กระดาษ

เครื่องคิดเลขชนิดนี้ มักจะพบเห็นกันส่วนมากกับหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับการนับเงินซะส่วนใหญ่ เพื่อเป็นการกระทบยอดเงิน


ประเภทที่ 4 เครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์

เครื่องคิดเลขประเภทนี้คนส่วนใหญ่เรียก เครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์ แต่ผมนั้นเรียกเครื่องคิดเลขประเภทนี้ว่า เครื่องคิดเลขอัจฉริยะ เพราะมันมีคุณสมบัติในการทำงานที่หลากหลาย และ ช่วยในการทำงานได้หลายรูปแบบ ตอบสนองความต้องการและทำให้การทำงานได้รวดเร็วขึ้น แบบว่ามีเครื่องนี้หายห่วงครับในเรื่องของการคำนวณ ผมจึงมีเครื่องคิดเลขประเภทนี้ติดตัวตลอดครับ

ตอนที่2 ขอจบไว้แค่ การทำความรู้จักกับประเภทของเครื่องคิดเลขก่อนนะครับ ตอนที่ 3 จะเข้าสู่โหมดของการ ใช้งานของฟังชั่นต่างๆของเครื่องคิดเลขครับผม หากท่านใด มีข้อเสนอแนะ ยินดีรับฟังและจะนำไปปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นไป ขอบคุณครับ

คำสำคัญ (Tags): #calculator
หมายเลขบันทึก: 617461เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2016 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2016 10:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท