การวิจัยในชั้นเรียนแบบรวมพลัง เป็นการวิจัยที่มีการดำเนินการโดยครูในโรงเรียนหลายคนหรือทุกคนมาร่วมมือร่วมใจกันทำการวิจัยเพื่อตอบปัญหา หรือเพื่อพัฒนาวิธีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาผู้เรียน ซึ่งเป้าหมายหลักของการวิจัยคือแสวงหาความรู้เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงาน ส่วนวัตถุประสงค์นั้นก็เพื่อศึกษาปัญหา หาสาเหตุและแนวทางแก้ปัญหา เพื่อศึกษาความคิดสะท้อนของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อสังเคราะห์ผลการดำเนินงานและเพื่อพัฒนาปรับปรุงงาน
ยกตัวอย่างเช่น โรงเรียนบ้านเพิก (รัฐประชาสามัคคี) สพท.นม.1 มีปัญหาเรื่องทักษะการคิดวิเคราะห์ โรงเรียนจึงร่วมมือกันทั้งโรงเรียนหาวิธีการที่จะแก้ปัญหานี้ และได้กำหนดให้มีการจัดการเรียนการสอนวิธีการที่หลากหลายเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้ครูเป็นดังนี้
1. ครูจัดกระบวนการเรียนรุ้แบบบุรณาการภายในสาระการเรียนรู้และข้ามสาระการเรียนรู้ โดยสอดแทรกทักษะการคิดวิเคราะห์
2. ครูจัดกระบวนการเรียนรู้เน้นการปฏิบัติจริง โดยใช้กระบวนการกลุ่ม ฝึกให้คิดเป็นทำเป็นและแก้ปัญหาเป็น 3. ครูจัดกระบวนการเรียนรู้เน้นให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน โดยเน้นทักษะการคิดวิเคราะห์และสร้างองค์ความรู้
4. ครูจะใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์ทุกสถานการณ์ นอกจากนั้นยังให้นักเรียนได้ฝึกการตั้งคำถามและตอบถามด้วย
นอกจากนั้นในทุกกิจกรรมของโครงการจะสอดแทรกทักษะการคิดวิเคราะห์ตามความเหมาะสม และที่เป็นจุดเน้นของโรงเรียนคือทุกห้องเรียนจะจัดให้มีกิจกรรมยามเช้า (ก่อนเข้าเรียนวิชาแรก) ครูจะจัดกิจกรรมฝึกให้นักเรียนได้คิด โดยมีสถานการณ์ให้แล้วให้นักเรียนฝึกคิดวิเคราะห์จากคำถาม และยังมีกิจกรรมฝึกคิด ฝึกเขียน ฝึกเรียนที่บ้าน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มอบหมายให้นักเรียนได้ฝึกคิดร่วมกับผุ้ปกครอง
ทั้งนี้ครุผุ้สอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย ถึงช่วงชั้นที่ 2 ได้ทดลองการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะนี้ทุกคน เพื่อแก้ปัญหาด้านการคิดวิเคราะห์ ซึ่งครุทุกคนจะมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นประจำเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
คุณขจิตคะ
ขอบคุณมากที่ท่านแวะให้การสนับสนุน อีกไม่ช้าจะมีสรุปผลการวิจัยในชั้นเรียนแบบรวมพลัง มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาว blog