กรณีศึกษาที่ 3 takehome examination


เคสวัย 70 ปีที่เป็นสมองเสื่อมมา 3 ปี ไม่อยากออกสังคม เงียบอยู่คนเดียว เดิมเป็นทนายความ และเครียดด้วยภาวะหนี้สินสะสมจากคดีความที่ไม่สำเร็จ แต่อยากช่วยครอบครัวทำงานแบบกิจกรรมยามว่าง ชอบปลูกต้นไม้ทานได้

ประเมินเพิ่มเติมทางกิจกรรมบำบัด:

ทางด้านร่างกาย

  • ประเมินการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต โดยใช้แบบประเมิน Routine task inventory-expanded (RTI-E)
  • ประเมินภาวะสมองเสื่อม โดยใช้แบบประเมิน (Mini-Mental State Examination: MMSE-Thai2002)
  • ประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ โดยใช้แบบประเมินวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ (Thai geriatric depression scale: TGDS-15)
  • ประเมินความเครียด โดยใช้แบบประเมิน (Suanprung stress test: SPST-20)
  • ประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก (WHOQOL-BREF-THAI)
  • ประเมินการใช้เวลาในผู้สูงอายุ

ทางด้านจิตใจ

  • ประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ โดยใช้แบบประเมินวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ (Thai geriatric depression scale: TGDS-15)
  • ประเมินความเครียด โดยใช้แบบประเมิน (Suanprung stress test: SPST-20)
  • ประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก (WHOQOL-BREF-THAI)

ทางด้านอื่นๆ

  • ประเมินการใช้เวลาในผู้สูงอายุ

Job analysis: ตัวอย่างกิจกรรมปลูกผักบุ้ง


Problem lists:

1. มีความเครียดในเนื่องจากหนี้สิน

2. ผู้รับบริการชอบอยู่คนเดียว และไม่ชอบเข้าสังคม

3. ผู้รับรับบริการมีความต้องการที่อยากช่วยครอบครัวทำงานโดยรูปแบบกิจกรรมยามว่าง

Intervention plan:

1. ผู้รับบริการสามารถผ่อนคลายความเครียดของตนเองได้อย่างเหมาะสม ภายในระยะเวลา 1 อาทิตย์

Frame of referance: MOHO , Psychosocial Rehabilitation

Therapeutic media: Therapeutic use of self , Teaching and learning process และ Activity analysis

Approach: Relaxation techniques , Biofeedback

Therapeutic activity:

  • จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้รับบริการรู้สึกสบาย ไม่อึดอัด เช่น การใช้แสงไฟสีนวล , ใช้กลิ่นธรรมชาติ (น้ำมันหอมระเหย) , ต้นไม้ และอากาศถ่ายเท เป็นต้น
  • เริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ เข้าหาผู้รับบริการแบบ Active friendliness โดยการใช้ตนเองเป็นสื่อบำบัด เพื่อให้ผู้รับบริการเปิดใจเล่าถึงสิ่งที่กังวล และมีการแสดงความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) ไม่เพิกเฉยต่อปัญหาของผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการเปิดใจกล้าที่จะแสดงออกความรู้สึกที่จะเล่าสิ่งที่กังวลจากความเครียดมากขึ้น จากนั้นมีการสอบถามผู้รับบริการว่าเมื่อเกิดความเครียดมีวิธีการจัดการกับเรื่องดังกล่าวอย่างไร
  • มีการวัด vital sign ของผู้รับบริการก่อนให้เทคนิคการผ่อนคลาย โดยถ้าผู้รับบริการเคยมีการใช้วิธีใดมาก่อนให้ผู้รับบริการได้ลองทำวิธีของตนเองก่อน
  • จากนั้นมีการแนะนำเทคนิคการผ่อนคลาย และการจัดการความเครียดเพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น
    • สอนวิธีการจัดการความเครียดโดยผ่านการทำกิจกรรม เช่น การให้โปรแกรม Happy antics program ซึ่งเป็นลักษณะโปรแกรมมีทั้ง physical exercise routines และ cognitive exercise คือ กิจกรรมออกกำลังกาย เช่น โยคะ , ไทชิ และกิจกรรมการเต้น เป็นต้น ซึ่งการออกำลังกายในลักษณะนี้จะร่วมกับการฝึกการกำหนดลมหายใจร่วมด้วย เนื่องจากการได้เคลื่อนไหวร่างกาย และการฝึกการหายใจในผู้รับบริการสมองเสื่อม จะสามารถช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายจากความล้า และความเครียดได้ (Yvonne J-Lyn Khoo,2014)
  • ผู้รับบริการลองทำดู และมีการให้ feedback กับตนเองว่าชอบวิธีการไหนมากที่สุด ร่วมทั้งวัด vital sign หลังจากการทำแต่ละเทคนิค เพื่อเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

2. ผู้รับบริการสามารถทำงานแบบกิจกรรมยามว่างที่สนใจได้ เช่น กิจกรรมปลูกผักบุ้งได้ด้วยตนเอง ภายในระยะเวลา 1 เดือน

Frame of referance: MOHO , Occupation adaptation , Behavioral and Physical Rehabilitation

Therapeutic media: Therapeutic use of self , Teaching and learning และ Activity analysis

Approach: Work conditioning , Work hardening , Job Modification and Reinforcement

Therapeutic activity:

  • Work conditioning: ส่งเสริมความสามารถที่ต้องใช้ในการทำกิจกรรมปลูกผักบุ้ง ดังนี้
  • Cognition ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจทางด้าน Memory , Attention , Thought , Sequencing , Visual perception , Calculation และ Orientation of place and time โดยผ่านการใช้เทคนิคต่างๆ ดังนี้
  • Reminiscence therapy คือ การระลึกความทรงจำของผู้รับบริการในอดีต เพื่อเป็นการกระตุ้นความคิดของผู้รับบริการ โดยผ่านการใช้สิ่งของที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน เช่น ถ้าผู้รับบริการแต่เดิมเป็นคนชอบปลูกต้นไม้อยู่แล้ว ก็ใช้อุปกรณ์ในการปลูกมาช่วยกระตุ้นความคิด เพื่อให้สามารถทำกิจกรรมได้ เนื่องจากลักษณะของกิจกรรมเป็นความจำระยะยาวที่ผู้รับบริการที่มีภาวะสมองเสื่อม หรือรูปถ่ายเหตุการณ์ตอนที่ผู้รับบริการเคยทำกิจกรรม เป็นต้น (Toshimichi Nakamae,2014)
  • การใช้ปฏิทินมาช่วยเตือนความจำ โดยติดปฏิทินหน้าประตูทางออก หรือบริเวณที่เด่นชัด จะทำให้ผู้รับบริการตระหนักสิ่งที่ตนต้องทำ และจดจำวันที่ได้
  • ฝึกให้ผู้รับบริการสามารถรับรู้เวลากลางวัน และกลางคืน
  • กระตุ้น short-term memory โดยการให้ผู้รับบริการบันทึกสิ่งที่ตนเองได้ทำทุกวัน โดยผ่านกิจกรรมเขียนไดอารี่ หรือบอกเล่าเรื่องราวสิ่งที่ตนเองได้กระทำ (Tracy Chippendale,2015)
  • Work hardending: ฝึกทำกิจกรรรมการปลูกผักบุ้งในสถานที่จำลอง (ห้องคลินิค) โดยนักกิจกรรมมีการให้ให้ภาพประกอบแต่ละขั้นตอนวิธีการทำ และคำอธิบายสั้นๆ เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถที่จะเรียนรู้การลองปลูกได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้อาจใช้วิธีการโดยให้ผู้บำบัดสาธิตวิธีการปลูก ร่วมกับการที่ผู้รับบริการทำตามไปด้วยพร้อมกันทีละขั้นตอน เมื่อจบกิจกรรมมีการสอบถามขั้นตอน หรือให้ผู้รับบริการลองทำให้ดูอีกครั้ง เพื่อเป็นการตรวจสอบความเข้าใจ นอกจากนี้ในการฝึกควรจะฝึกซ้ำๆ เป็นประจำเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และควรจัดสถานที่ให้ใกล้เคียงกับบริบทจริงๆของผู้รับบริการมากที่สุด เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย ร่วมทั้งมีการให้แรงเสริม เช่น คำชม , รูปถ่ายผลงาน เป็นต้น
  • Job modification: ถ้าผู้รับบริการไม่สามารถทำกิจกรรมดังกล่าวได้ ผู้บำบัดจึงต้องมีการปรับกิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับความสามารถ และบริบทของผู้รับบริการ
  • Graded up: เพิ่มจำนวนในการปลูก , เปลี่ยนจากการใช้น้ำเป็นใช้ดินในการปลูกแทน
  • Graded down: ลดจำนวนในการปลูกผักบุ้ง โดยเริ่มจากภาชนะที่มีขนาดเล็กก่อน จากนั้นค่อยเปลี่ยนภาชนะที่ใหญ่ขึ้น , มีรูปภาพ หรือเขียนวิธีการขั้นตอนการปลูกผักบุ้ง , ผู้ดูแลช่วยเตือนหรือบอกผู้รับบริการว่าผักบุ้งควรเก็บตอนไหน และผู้ดูแลช่วยกะปริมาณเมล็ดผักบุ้ง หรือปริมาณน้ำที่ใช้ในการปลูกให้

การจัดสิ่งแวดล้อมตามหลัก Ergonomic

  • บริเวณที่ปลูก เช่น ระเบียง ลักษณะของพื้นถ้าลื่น ควรมีแผ่นกันลื่น หรือสวมรองเท้าที่มีแรงเสียดทานกับพื้น เนื่องจากลักษณะการปลูกเป็นมีการใช้น้ำ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ และบริเวณที่ปลูกควรมีก๊อกน้ำบริเวณใกล้ด้วย เพื่อที่จะไม่ได้ยกน้ำมา ทำให้อาจเกิดการบาดเจ็บได้ เป็นต้น
  • การจัด work station: ให้อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมอยู่อยู่บนโต๊ะ โดยที่ความสูงของโต๊ะ และความสูงของถังที่ใส่น้ำ ความสูงรวมกันไม่ควรเกินระยะเอื้อมตาม Anthropometric หรือลักษณะของร่างกายต้องก้มมากเกินไป อาจทำให้ปวดหลังได้ นอกจากนี้จัดหาเก้าอี้นั่งทำกิจกรรม โดยลักษณะของเก้าอี้ถ้ามีล้อควรมีประมาณ 5 ล้อ เพื่อความมั่งคง มีที่พักแขน มีนักพิง และมีเบาะรองนั่งหรือบริเวณหลัง เพื่อลดแรงกด เมื่อต้องทำกิจกรรมเป็นระยะเวลานาน เป็นต้น ร่วมทั้งลักษณะของอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น ที่ตะกร้ามีรู ควรมีที่จับ หรือทำที่จับเพิ่มเผื่อสะดวกในการจับ และสามารถเคลื่อนย้ายตะกร้าหรือถังน้ำได้ง่าย

Reference :

1. Khoo YJL, van Schaik P, McKenna J. The Happy Antics programme: Holistic exercise for people with dementia. Journal of Bodywork and Movement Therapies. 2014;18(4):553-8.

2. Nakamae T, Yotsumoto K, Tatsumi E, Hashimoto T. Effects of Productive Activities with Reminiscence in Occupational Therapy for People with Dementia: A Pilot Randomized Controlled Study. Hong Kong Journal of Occupational Therapy. 2014;24(1):13-9.

3. Kumar P, Tiwari SC, Goel A, Sreenivas V, Kumar N, Tripathi RK, et al. Novel occupational therapy interventions may improve quality of life in older adults with dementia. International Archives of Medicine. 2014;7(1):1-7.

หมายเลขบันทึก: 617019เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2016 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ตุลาคม 2016 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท