กรณีศึกษาที่ 2 ข้อสอบ takehome examination


เคสวัย 40 ปี ที่เป็นหลอดเลือดสมองตีบมา 3 ปี เบื่อ และอยากลาออกจากการทำงานอาจารย์ที่หนักจนไม่มีเวลาพักผ่อน และเสี่ยงเป็นหลอดเลือดสมองตีบ ไม่ชอบออกกำลังกาย มีความสามารถเป็นพิธีกร ดีเจ และนักเขียน และกำลังเครียดเพราะเป็นเสาหลักเลี้ยงดูครอบครัวกว่า 3 คน และมีหนี้บ้านจากการผ่อนชำระเงินเดือนจากงานอาจารย์ประจำ

ประเมินเพิ่มเติมทางกิจกรรมบำบัด:

ทางด้านร่างกาย

  • ประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน โดยใช้แบบประเมิน FIM&FAM

ทางด้านจิตใจ

  • ประเมินความเครียด โดยใช้แบบประเมิน (Suanprung stress test: SPST-20)
  • ประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก (WHOQOL-BREF-THAI)
  • ประเมินการใช้เวลาในการทำกิจกรรม (habit)
  • ประเมินสภาพบ้าน และบริบทของสถานที่ทำงานของผู้รับบริการ

ทางด้านอื่นๆ

  • ประเมินการใช้เวลาในการทำกิจกรรม (habit)
  • ประเมินสภาพบ้าน และบริบทของสถานที่ทำงานของผู้รับบริการ

Job analysis: กิจกรรมสอนหนังสือนักศึกษา


Problem lists:

1. ผู้รับบริการมีความเครียด

2. ผู้รับบริการไม่มีเวลาพักผ่อน

3. ผู้รับบริการอยากที่จะลาออกจากงาน

Intervention plan:

1. ผู้รับบริการสามารถผ่อนคลายความเครียดของตนเองได้อย่างเหมาะสม ภายในระยะเวลา 1 อาทิตย์

Frame of referance: MOHO , Psychosocial Rehabilitation

Therapeutic media: Therapeutic use of self , Teaching and learning process และ Activity analysis

Approach: Relaxation techniques , Biofeedback

Therapeutic activity:

  • เริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ เข้าหาผู้รับบริการแบบ Active friendliness โดยการใช้ตนเองเป็นสื่อบำบัด เพื่อให้ผู้รับบริการเปิดใจเล่าถึงสิ่งที่กังวล มีการสะท้อนความรู้สึกของผู้รับบริการ โดยร่วมกันหาวิธีการจัดการกับความเครียดด้วยกัน โดยมีการสอบวิธีการจัดการกับความเครียดของผู้รับบริการ ว่าเคยทำวิธีการใด และช่วยได้อย่างไรบ้าง โดยก่อนเริ่มต้นการทำกิจกรรมมีการวัดค่า vital sign
  • จากนั้นให้ผู้รับบริการลองทำ และเปรียบเทียบกับวิธีการอื่นที่ผู้บำบัดเสนอเพิ่มเติมให้ เช่น กิจกรรมการฟังเพลง (music therapy) , กิจกรรมออกกำลังกาย เช่น โยคะ , ไทชิ ร่วมกับการฝึกการหายใจด้วย และกิจกรรมการเต้น ซึ่งการได้เคลื่อนไหวร่างกาย จะมีส่วนช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น เป็นต้น (Yvonne J-Lyn Khoo,2014)
  • มีการวัดค่า vital sign หลังจากการทำกิจกรรมอีกครั้ง เป็นตัว feedback ร่างกาย

2. ผู้รับบริการสามารถจัดการเวลาในชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างสมดุล ภายระยะเวลา 2 สัปดาห์

Frame of referance: MOHO , Transtheoretical Model

Therapeutic media: Therapeutic use of self , Teaching and learning process

Approach: Time management , Positive management

Therapeutic activity:

  • พูดคุยกับผู้รับบริการให้เห็นถึงความสำคัญในการจัดตารางเวลา และมีการสอบถามถึงตารางเวลาในการทำกิจกรรมเดิมของผู้รับบริการ และให้ผู้รับบริการระบุคะแนนความสำคัญ แต่ละกิจกรรมในแต่ละวัน
  • ให้ความรู้กับผู้รับบริการในการบริหารการจัดเวลาใน 1 วัน เพื่อให้ผู้รับบริการตระหนักถึงการจัดการเวลาให้มีคุณภาพ และสมดุลกับการดำเนินชีวิต ซึ่งจะช่วยลดปัญหาต่างๆ ได้ เช่น ลักษณะของเวลาที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมต่างๆในชิวิตประจำวัน
  • ADLs + IADLs + Rest & Sleep : ประมาณ 10 – 12 ชั่วโมง ( การนอนควรนอนวันละอย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมง)
  • Leisure : ประมาณ 3 – 5 ชั่วโมง
  • Work : ประมาณ 8 – 12 ชั่วโมง

ร่วมทั้งอธิบายถึงข้ออธิบายถึงข้อดี และข้อเสียของการที่ทำงานไม่เสร็จตามเป้าประสงค์เมื่อรู้สึกเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร

  • ให้ผู้รับบริการวางแผนการใช้เวลาของตนเองใหม่เพื่อให้มีความสมดุลมากขึ้น และมีการให้คะแนนความสำคัญในแต่ละกิจกรรม
  • ให้ผู้รับบริการลองนำตารางเวลาที่จัดใหม่ไปใช้ เพื่อดูความพึงพอใจในการทำกิจกรรมตามตารางเวลาที่จัด จากนั้นให้ผู้รับบริการมีการ feedback กับตนเอง ร่วมทั้งผู้บำบัดด้วย ถ้าผู้รับบริการสามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม และปรับเปลี่ยนได้อย่างเหมาะสม ก็มีการให้คำชม (positive feedback)

3. ผู้รับบริการสามารถปรับทัศนคติที่ดีในการทำงานบทบาทอาจารย์ เพื่อมีแรงจูงใจในการทำงาน ภายระยะเวลา 4 สัปดาห์

Frame of referance: MOHO , Psychosocial rehabilitation , Occupational adaptation , Behavioral FoR.

Therapeutic media: Therapeutic use of self , Teaching and learning process

Approach: Time management , Positive management

Therapeutic activity:

Work conditioning

  • Motivation interview โดยเริ่มต้นจากการพูดคุยกับผู้รับบริการในลักษณะคำถามปลายเปิด มีการสะท้อนความรู้สึกของผู้รับบริการร่วมด้วย จากนั้นให้ผู้รับบริการมองย้อนไปอดีตที่ผ่านมา เพื่อมองย้อนคุณค่าในชีวิตของตนเองที่ผ่าน และมองไปข้างหน้า เพื่อค้นหาเป้าหมาย และคุณค่าในชีวิตของตนเอง โดยให้ผู้รับบริการมีการให้คะแนนความสำคัญสิ่งที่เกิดขึ้น จากนั้นเตรียมพร้อมของการเปลี่ยนแปลง เช่น บทบาทการเป็นเสาหลักของครอบครัว ให้ผู้รับบริการตระหนักถึงความสำคัญ ควรที่จะทำงานในบทบาทเดิมก่อน แต่ก็สามารถที่จะทำร่วมกับกิจกรรมอื่นที่ผู้รับบริการมีความสนใจไปพร้อมกันได้ เช่น การเขียนหนังสือ เป็นต้น
  • ส่งเสริมการจัดตารางเวลาในชีวิตประจำวันได้อย่างสมดุล (work-life balance) ตามวิธีการที่ได้ให้ความรู้ และสอน โดยการจัดทำตารางเวลาด้วยตนเอง
  • ส่งเสริมการใช้เทคนิคผ่อนคลาย เพื่อลด หรือผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน โดยผ่านการทำกิจกรรมฟังเพลง , ออกกำลังกาย และฝึกการหายใจ เป็นต้น

Work hardening

  • แนะนำการทำงานจริงตามตารางการจัดการเวลาอันใหม่ และการจัดลำดับความสำคัญในการทำงาน ร่วมทั้งการใช้เทคนิคผ่อนคลายความเครียด เพื่อช่วยลดความล้าจากการทำงาน
  • การปรับงานให้เหมาะสมกับเวลาตามตารางการใช้เวลาการทำกิจกรรม โดยสามารถทำกิจกรรมสนใจร่วมกับการทำงานหลักได้
  • จัดสภาพแวดล้อมให้รู้สึกผ่อนคลาย เพื่อไม่เครียดจากการทำงาน เช่น อากาศถ่ายเท และอุณหภูมิเหมาะสม , มีต้นไม้ประดับ , แสงสว่างเพียงพอ (อย่างน้อยควรมีแสงไฟ 2 จุด เพื่อไม่เกิดเงา)
  • การสถานที่ทำงาน เช่น โต๊ะ ควรมีความสูงที่พอดีกับข้อศอก คือสามารถวางข้อศอกได้ 90 องศา หากโต๊ะมีขนาดเตี้ยเกินไป ควรถ้าที่สิ่งของมารองโน๊ตบุ๊คในการทำงานพิมพ์เอกสารการสอน หรือการเขียน เป็นต้น , ลักษณะของเก้า อี้ควรเป็นเก้าอี้มีล้อประมาณ 5 ล้อ เพื่อความมั่นคง มีที่พักแขน มีผนักพิง และมีเบาะรองบริเวณก้น และหลัง เพื่อลดแรงกดที่เกิดขึ้นจากการนั่งทำงานได้ , จัดสิ่งของบนให้อยู่ในระยะเอื้อมได้ไม่เกิน 10-15 นิ้ว เป็นต้น

Job Modification โดยมีการปรับงานดังนี้

การจัดสิ่งแวดล้อมตามหลัก Ergonomic

  • จัดสภาพแวดล้อมให้รู้สึกผ่อนคลาย เพื่อไม่เครียดจากการทำงาน เช่น อากาศถ่ายเท และอุณหภูมิเหมาะสม , มีต้นไม้ประดับ , แสงสว่างเพียงพอ (อย่างน้อยควรมีแสงไฟ 2 จุด เพื่อไม่เกิดเงา)
  • การสถานที่ทำงาน เช่น โต๊ะ ควรมีความสูงที่พอดีกับข้อศอก คือสามารถวางข้อศอกได้ 90 องศา หากโต๊ะมีขนาดเตี้ยเกินไป ควรถ้าที่สิ่งของมารองโน๊ตบุ๊คในการทำงานพิมพ์เอกสารการสอน หรือการเขียน เป็นต้น , ลักษณะของเก้า อี้ควรเป็นเก้าอี้มีล้อประมาณ 5 ล้อ เพื่อความมั่นคง มีที่พักแขน มีผนักพิง และมีเบาะรองบริเวณก้น และหลัง เพื่อลดแรงกดที่เกิดขึ้นจากการนั่งทำงานได้ , จัดสิ่งของบนให้อยู่ในระยะเอื้อมได้ไม่เกิน 10-15 นิ้ว เป็นต้น

Clinical resoning:

  • Narrative resoning "เครียด" และ "อยากออกจากงาน"
  • Procedural reasoning ได้จากการสอบถามผู้รับบริการ จากนั้นรวบรวมข้อมูลทำให้ทราบสาเหตุของความเครียดเกิดจากผู้รับบริการต้องทำหน้าที่เป็นเสาหลักครอบครัว และมีความต้องการออกจากการเป็นอาจารย์ และการเรื่องของการจัดการเวลา เพื่อช่วยบรรเทาความเครียดจากการทำงาน ร่วมทั้งการใช้วิธีการสร้างแรงจูงใจในการทำงานร่วมด้วย
  • Pragmatic reasoning จากการสืบค้นหลักฐานทางประจักษ์ การใช้ดนตรี สามารถช่วยบรรเทาความเครียดลดลงได้ และการใช้การสร้างแรงจูงใจ ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และความคิด ทำให้ผู้รับบริการสามารถที่จะกลับไปทำงานได้

Reference :

  1. Shinitzky HE, Kub J. The Art of Motivating Behavior Change: The Use of Motivational Interviewing to Promote Health. Public Health Nursing. 2001;18(3):178-85.
  2. A. Mofredj, MD, S. Alaya, MD, K. Tassaioust, MD, H. Bahloul, MD, A. Mrabet, MD. Music therapy, a review of the potential therapeutic benefits for the critically ill [Internet] 2016. [cited 2016 Sep 29]. Available from:http://www.psyneuen-journal.com/article/S0306-4530(15)00212-7/abstract.

เขียนโดย : ปิยวรรณ แซ่ซื้อ

</span>

หมายเลขบันทึก: 617017เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2016 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ตุลาคม 2016 21:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท