หลักสูตรที่นำไปใช้ ดีแล้วหรือยัง ?


หลักสูตรที่นำไปใช้ดีแล้วหรือยัง ?

หลักสูตรที่นำไปใช้ ดีแล้วหรือยัง ?

สิริรัตน์ นาคิน*

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการศึกษาของประเทศไทย อยู่ภายใต้ระบบการถูกลากไปมา ระหว่างนโยบาย ผู้บริหาร นักวิชาการ ที่นั่งอยู่บน

หอคอยงาช้าง แต่ไม่ใช่ "ครู" ผู้สอน หรือ ผู้ที่ใช้หลักสูตรอย่างแท้จริง ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยน บริหารจัดการสร้างหลักสูตรที่ดี (ตามบริบท) และสภาพปัญหาการใช้อย่างเหมาะสม เมื่อเป็นเฉกเช่นนี้แล้วการศึกษาก็ถอยหลังลงคลองไม่ต่างอะไร จากเดิม เพียงแค่ขาดความร่วมมือร่วมใจในการเขียน วิเคราะห์ และมอบนโยบายรายวันให้ครูประพฤติปฏิบัติไปตาม ๆ กัน อีกทั้งไม่มีประโยชน์อันใดเลยกับผู้เรียน

หากมองอีกด้านของประเทศอื่น ๆ ที่ก้าวตามหลังเรามา ยังวิ่งแซงหน้าได้ เท่านี้ก็คงตอบโจทย์ได้อย่างชัดเจนแล้วว่า เด็กไทยเรา

จะเป็นเช่นไรกัน.... เรียนเพื่อสอบ........ สอบเพื่อจบ ......จบเพื่อ"ตกงาน" เพราะไม่มี"สติ" และ"ปัญญา" หรือ "ทักษะ" "ใด ๆ ที่จะมาพัฒนาองค์ความรู้และความเจริญก้าวหน้าในชีวิต แม้กระทั่ง"จิตใจ"ที่ถูกกลืนกินไปภายใต้การเรียนการสอนในโรงเรียน ขาดจิตสำนึกในตนเอง แล้วจะออกมามีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างไรกัน นี่ต่างหากคือ สิ่งที่สะท้อนและอยากให้มองเห็นปัญหาของการเรียนการสอนที่เป้็นจริงในสถานศึกษาหลาย ๆ แห่ง "บ้างก็สอนแล้วก็ติวสอบ O-NET บ้างก็หวังผลสัมฤทธิ์สูงลิ่ว แต่เอาตัวไม่รอดในชีวิตจริง ต้องกล้ำกลืนฝืนทนเรียน เพื่อเกรดเฉลี่ย แม้ว่าจะเป็นค่านิยมในการนับถือคนจากการเรียนก็ตาม" หากแต่ลืมด้าน Affective ที่ควรจะมีอยู่ภายในจิตใจของทุกคนและ ความอดทน การมีระเบียบวินัย การเห็นคุณค่า ยอมรับนับถือ เคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน สิ่งเหล่านี้คือความสำคัญที่จะชวยประคับประคองเพื่อให้สังคมอยู่รอดได้ และอยากให้นักเรียนทุกคนสั่งสมประสบการณ์ ความรู้ ทักษะวิชา ควบคู่กับการเป็นคนดีเสียมากกว่าสิ่งอื่นใด อยากให้นักเรียน และปวงชนคนในประเทศเป็นแบบไหนก็ต้องใส่รายละเอียดพฤติกรรมที่วัดได้ แสดงออกให้เห็นชัดเจน รวมทั้งยังเป็นการบ่มเพาะจิตใจ สำนึกในมโนธรรมที่ดีอย่างยิงเสียด้วย "เมื่อเราเพ่งมองหาคนเก่งเราก็จะได้ คนเก่งแต่ขาดจิตใจที่เอื้อเฟื้อ เมื่อเราเพ่งหาคนดี เราก็จะได้คนดีที่ไร้ความเก่งความสามารถ แต่หากเรามองหาคนเก่งคนดีที่มีอยู่ในคน ๆ เดียวกัน" เราอาจจะเจอได้ไม่ยากนัก เพราะพฤติกรรมที่ดีเราต้องใช้เวลาในการสร้างเสริมให้เกิดพอ ๆ กับที่เราใช้เวลาในสร้างคนเก่งผ่านการสอน การติว กวดวิชา เสริมทักษะ ทางความรู้วิชาการ และก็คงไม่มีครูคนใดที่สอนคุณธรรมจริยธรรมแยกออกจากกัน แต่ในปัจจุบันกับมองว่าเราเพ่งเล็งและเห็นคุณค่า ให้ความสำคัญกับค่านิยม "ที่เน้นคนเก่ง จบจากหลักสูตรนี้ไปต้องสอบเข้ามหาลัยดี ๆได้....แต่ลืมบอกโจทย์ที่ใหญกว่านั้นว่า เมื่อเราสอบเข้าได้แล้วสิ่งสำคัญคือ การใช้ชีวิต ใชัทักษะ เรียนรู้เห็นอกเห็นใจเพื่อน รวมทั้งเข้าใจตนเอง ยามเมื่อต้องเผชิญปัญหารอบด้าน นี่คือความพร่องของหลักสูตร (ไทย) ในความหมายของผู้เขียน ยกตัวอย่าง ใกล้ตัวเวลาสอนตามหลักสูตร ครูเอาคุณลักษณะที่พึงประสงค์มาสอน และเขียนกำกับไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้เช่น อยากให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ด้านก็สอนกันไป แล้วสิ่งอื่น ๆ คุณไม่สนใจกันหรือ คุณธรรมจริยธรรม กว้างนัก ทำไมจึงสนใจเพียงแค่ 8 ตัวนี้ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน อยู่อย่างพอเพียง มีจิตสาธารณะ มีตัวใดบ้างที่สะท้อนออกมาได้ชัดเจน ถ้าไม่กำหนด หรือสอนในเนื้อหารายวิชา ความดีสอนแยกกันไม่ได้จากความเลวฉันใด ก็เหมือนกัน คุณธรรมจริยธรรมก็ไม่ควรสอนแยก ควรจะสอดแทรกลงไปในเนื้อหาวิชาที่สอนทุกครั้งไปในตัวของมันเอง อยู่แล้วด้วยซ้ำไป ถ้าเป็นแบบนี้นักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรที่จบมา ก็เปรียบเสมือนเหมือนเดินออกมาจาก "โรงงานผลิตคน"ในประเทศเดียวกัน อย่างนี้เสนอแนะว่า ควรเอาไปกำหนดเป็นนโยบายคนสร้างชาติยังดีเสียกว่า เพราะคนรุ่น เก่า ๆ จบออกมาแล้วก็มี หลายสิบปี คนที่ไม่ได้เรียนก็มี หากจะสร้างสิ่งใดลงในหลักสูตร ควรศึกษาบริบท และวิเคราะห์ สภาพและปัญหาของชุมชน สังคม วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ให้เหมาะสมกับคนในประเทศ ดีกว่าไหม "สิ่งใดก็ตามที่เราเห็นด้วยตาเปล่า บางครั้งลึกลงไปยังคงมีปัญหามากมายกว่าที่เราเห็นเสียด้วยซ้ำถ้าเราจะวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง" ...

ภายใต้ข้อดีของหลักสูตรที่เห็นว่าดีก็ยังคงมีอยู่บ้าง มิใช่แย่ไปเสียหมด แต่คงจะมองเห็นไม่หมด เพราะเอามาใช้ได้ไม่ทั่งถึง เช่น

การวัดประเมินผลของผู้เรียนที่เน้นการสอบ ก็ดีที่เป็นการวัดความรู้ความเข้าใจ แต่อยากสะท้อนอย่างหนึ่งว่าการวัดมีมากมาย ควรวัดให้รอบด้าน เิมให้เต็มในส่วนที่ขาดหาย วัดเพื่ออะไร วัดไปทำไม สอบเป็นการวัดความรู้ความจำ หรือว่าวัดความเข้าใจจากเนื้อหาที่เรียน แล้วเอาไปปฏิบัติอย่างไรได้บ้าง หลังจากการสอบเสร็จ ยกตัวอย่างเช่น การเรียนวิชางานบ้านในสมัยก่อนต้องซักผ้า พับผ้าได้ เอาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง เป็นต้น แล้วในปัจจุบันเรียนแล้วเอาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไรบ้าง ? นี่คือความท้าทายของระบบการศึกษาที่จัดการศึกษาอยู่ในปัจจุบัน มองทุกสิ่งให้มีความหมาย เห็นประโยชน์จากการเรียน รู้และเข้าใจการนำสิ่งที่ดี มีประโยชน์มาบูรณาการและนำไปใช้ได้จริง โลกเปลี่ยนไป...สิ่งหนึ่งที่ไม่เปลี่ยนคือ "คน" ...

สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือ ความคิดของมนุษย์ที่ยากจะเปลี่ยนแปลง... แต่ภายใต้ความเชื่อนั้น ผู้เขียนหวังว่า ครูทุกคน อยากให้เด็ก

พัฒนาได้ ไม่อยากให้หยุดนิ่ง หวังว่าจะเป้็นสิ่งที่ครูทุกคนควรมีในหัวใจ

"การเปลี่ยนแปลงไม่น่ากลัว ... แต่จงกลัวการหยุดนิ่ง" ...... ฝากไว้ให้คิดสำหรับครูทั้งหลาย วันนี้โลกเปลี่ยนไป


แต่ให้หัวใจเป็น ใจแห่งการศึกษาจะทำให้โอบอุ้มโลกใบนี้ไว้ได้ (New heart .. New world) โลกเปลี่ยนไปเมื่อใจเปลี่ยนแปลง

หมายเลขบันทึก: 616723เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2016 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2016 16:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท