การศึกษางานนาฏกรรมในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์ทางสังคม


ในช่วง ๒-๓ ปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับงานนาฏกรรมของไทยในหลายเรื่อง หลายมิติ ชวนให้คิดว่า แท้จริงแล้ว งานนาฏกรรมไม่ได้ห่างหายไปจากชีวิตคนไทยเท่าใดนัก เมื่อมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น จึงออกแสดงความคิดเห็นกันอย่างถึงพริกถึงขิงในหลายแง่มุม

ยกตัวอย่างกรณีในระดับระหว่างประเทศ ที่ชาวกัมพูชาและไทยต่างถกเถียงกันว่าใครเป็นผู้เป็นเจ้าของ "โขน" ซึ่งอันที่จริงวิวาทะนี้ก็มีมาเนิ่นนานแล้ว และข้าพเจ้าก็ได้เคยเรียบเรียงลำดับเหตุการณ์ไว้ในบทความที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์ เรื่อง "ประวัติศาสตร์ไก่กับไข่ วิวาทะนาฏกรรมไทย-กัมพูชา" ซึ่งผลสรุปจากเรื่องนี้กลับกลายเป็นเรื่องของ "ความเข้าใจผิด" ที่คิดว่าการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในระดับโลกหมายถึงการจดลิขสิทธิ์ผลงาน และยังชวนให้เกิดมหาสงครามทางไซเบอร์ซัดสาดความคิดเห็นกันอย่างรุนแรง แต่ก็ทำให้เห็นได้ว่าชาวไทยเราเองนี่แลที่เข้าใจวัฒนธรรมและศิลปะของตัวเองอย่างแผ่วบางเหลือเกิน ซึ่งพูดแล้วเดี๋ยวจะะกลายเป็นว่าเราเอาใจเขมร

เรื่องโด่งดังทางนาฏกรรมต่อมาก็คือเรื่องในประเทศ กรณี "ทศกัณฐ์แคะขนมครก"


(บทความยังไม่สมบูรณ์)

หมายเลขบันทึก: 615930เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2016 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ธันวาคม 2016 00:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท