ปัญหาการนำหลักสูตรไปใช้ในสถานศึกษา


ปัญหาการนำหลักสูตรไปใช้ในสถานศึกษา

หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพัฒนาจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช๒๕๕๑โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพาของผู้เรียนให้เป็นคนเก่ง ดีมีความสุขมีสมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้นสามารถดำรงชีวิตกับผู้อื่นอย่างมีความสุขบนพื้นฐานของความเป็นไทยและความเป็นสากลรวมทั้งมีความสามารถในการประกอบอาชีพ หรือการศึกษาต่อตามความถนัดความสนใจ และความสามารถของแต่ละบุคคล

ผลจากการวิเคราะห์ปัญหาการนำหลักสูตรไปใช้ในสถานศึกษามีดังนี้

1.ด้านหลักสูตร

-องค์ประกอบของหลักสูตรมีไม่ครบถ้วน การจัดทำหลักสูตรขาดการวิเคราะห์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่มีส่วนในการจัดการจัดทำหลักสูตร

แนวทางแก้ไขและพัฒนาหลักสูตร ด้านหลักสูตร

- ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้มากขึ้น เพื่อเป็นการระดมสมองระหว่างผู้บริหาร ครู และชุมชน ในการจัดทำหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล และควรมีการติดตามประเมินผลการจัดทำหลักสูตรอย่างเป็นระบบ

2.ด้านครูผู้สอน

- ครูขาดความตระหนัก เจตคติ ขาดการทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายและโครงสร้างของหลักสูตร

- ขาดเทคนิค วิธีการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความพร้อมและสนใจในการเรียน

- ขาดการเตรียมการสอนด้วยการเขียนแผน

แนวทางแก้ไขและพัฒนาหลักสูตร ด้านครูผู้สอน

-ควรปรับปรุงเรื่องการทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายและโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน และการปรับกระบวนทัศน์ของครูผู้สอนเกี่ยวกับการเรียนรู้ใหม่ให้ทันต่อเหตุการณ์ ครูควรให้เวลากับการพัฒนาตนเอง ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาครู เช่น อบรมสัมมนา ศึกษาดูงาน ศึกษาค้นคว้าคว้าความรู้ใหม่ๆให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์

3.ด้านสื่อการเรียนการสอน

- ขาดสื่อเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอน

- ขาดวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนเช่น เครื่องดนตรีไทย พื้นบ้าน สากล

แนวทางแก้ไขและพัฒนาหลักสูตรด้านสื่อการเรียนการสอน

-ครูผู้สอนต้องมีการเตรียมความพร้อมในการจัดหาสื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน มีการเตรียมสื่อ เทคโนโลยีที่หลากหลาย

4.ด้านการจัดการเรียนการสอน

- ขาดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การเรียนรู้จากโครงงาน การเรียนรู้จากธรรมชาติ การเรียนรู้แบบปฏิบัติจริง

แนวทางแก้ไขและพัฒนาหลักสูตรด้านการจัดการเรียนการสอน

-ครูควรพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้สนองต่อความต้องการของผู้เรียน ควรจัดสัมมนาครูโรงเรียนในสังกัด

เพื่อให้ทุกโรงเรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ออกแบบและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ถือว่าเป็นสิ่งที่ครูผู้สอนพึงตระหนักและให้ความสำคัญ เพระจะส่งผลดีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สนองต่อความต้องการของผู้เรียนอย่างแท้จริง

หมายเลขบันทึก: 614845เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2016 07:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กันยายน 2016 07:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท