อรกิตติ์
นางสาว อรกิตติ์ พานิชยานุสนธิ์

เนื้อหา ในข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทย กับ Australia


เนื้อหาของข้อตกลงฉบับนี้ เป็นไปในกรอบขององค์การการค้าโลก (WTO) โดยประกอบไปด้วย 19 หัวข้อ

       -         Objectives and Definitions (ข้อ 101-104)ในหัวข้อแรกได้กล่าวถึงกรอบของการทำข้อตกลงว่าอยู่ในกรอบของ GATT วัตถุประสงค์ในการทำข้อตกลง คำนิยาม และอาณาเขตการบังคับใช้ (สังเกตุเห็นว่าใน Article 101 กำหนดให้ข้อตกลงการค้าเสรีฉบับนี้เป็นไปภายใต้ข้อตกลง GATT และ GATS เท่ากับว่า เป็นความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นสนธิสัญญา ทำให้มีผลผูกพัน ซึ่งจะขอกล่าวต่อไปในเรื่องผลผูกพัน)                       

            -         Trade in Goods (ข้อ 201-209)ในหัวข้อที่ 2 เป็นเรื่องของการค้าสินค้า โดยกล่าวถึงขอบเขตการค้า national treatment การยกเลิกอากรศุลกากร การเร่งยกเลิกภาษีศุลกากร กำหนดค่าธรรมเนียม anti-dumping มาตรการอุดหนุนและตอบโต้ การอุดหนุนส่งออกสินค้าเกษตร มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร 

           -         Custom Procedures (ข้อ 301-311)ในหัวข้อที่ 3 เป็นหัวข้อที่เกี่ยวกับ พิธีการทางศุลกากร โดยกำหนดขอบเขต การประเมินราคา การอำนวยความสะดวกทางศุลกากร การใช้ประโยชน์จากการจัดการร่วมกัน การทบทวนการอุทธรณ์ การแจ้งล่วงหน้า การปฏิบัติกับสินค้าที่มี certificate of origin การค้าไร้ตลาดและระบบอัตโนมัติ risk management หน่วยเผยแพร่ข่าวสารและสอบถาม  

            -         Rules of Origin (ข้อ 401-415)หัวข้อที่ 4 เป็นเรื่องกฎของแหล่งกำเนิดสินค้า การคำนวณสัดส่วนมูลค่าวัตถุดิบระหว่างประเทศ การบันทึกข้อมูลการผลิต การตราส่ง การจดทะเบียนผู้ส่งออก certificate of origin การลงโทษผู้ส่งออก การขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร การจัดเก็บข้อมูล การตรวจสอบแหล่งกำเนิด การระงับและการปฏิเสธสิทธิพิเศษ การทบทวนอุทธรณ์ และCommittee on Rules of Origin          สินค้าที่จะได้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลงฉบับนี้จะต้องเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศคู่สัญญา คือ ประเทศำทยและออสเตรเลีย โดยกฎเกณฑ์ที่นำมาพิจารณามีอยู่ 3 แบบคือ                กฎการผลิตของสินค้าที่ได้จากธรรมชาติ (Wholly Obtained Goods)          กฎการเปลี่ยนพิกัด (Change of Tariff Classification)กฎสัดส่วนมูลค่าวัตถุดิบภายในประเทศไทยและประเทศออสเตรเลีย (Regional Value Content: RVC)สำหรับสัดส่วน RVC ตามที่ประเทศไทยกับประเทศออสเตรเลียได้ตกลงกันนั้นอยู่ที่ 40 หรือ 45 ของราคาสินค้าส่งออก  

              -         Safeguards (ข้อ 501-509)ในหัวข้อที่ 5 เป็นเรื่องของการปกป้อง การใช้มาตรการปกป้องในช่วงปรับเปลี่ยน ขอบเขตการใช้และระยะเวลาของมาตรการ การไต่สวน มาตรการชั่วคราว การแจ้งการหารือ การชดเชยความเสียหาย มาตรการปกป้องทั่วไป มาตรการปกป้องพิเศษสำหรับสินค้าเกษตรอ่อนไหวและมาตรฐานของมาตรการ

                           -         Sanitary and Phytosanitary Measures and Food Standards (ข้อ 601-610)หัวข้อที่ 6 เป็นหัวข้อที่เกี่ยวกับ มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและมาตรฐานอาหาร ขอบเขตพันธกรณี การทำให้เกิดความกลมกลืน ความเท่าเทียมกัน วิธีการควบคุม การตรวจ การอนุญาต การแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือ เวทีในการปรึกษาหารือ การระงับข้อพิพาท  

                  -         Industrial Technical Barriers to Trade (ข้อ 701-707)หัวข้อที่ 7 เป็นเรื่องอุปสรรคทางเทคนิคของการค้าสินค้าอุตสาหกรรม ขอบเขตข้อผูกพัน แหล่งกำเนิดสินค้า ความกลมกลืนและเท่าเทียมกันของกฎระเบียบ วิธีการประเมินเพื่อรับรอง การร่วมมือทางเทคนิคและการประสานงาน 

                                    -         Trade in Services (ข้อ 801-816)ในหัวข้อที่ 8 เป็นเรื่องการค้าบริการ โดยกำหนดขอบเขต วัตถุประสงค์ การปฏิเสธผลประโยชน์ การชำระการโอนเงิน การยอมรับ สิทธิพันธกรณี ความร่วมมือ ข้อผูกพันเป็นการเฉพาะทั้ง การเข้าสู่ตลาด national treatment ข้อผูกพันเพิ่มเติม การทบทวนข้อผูกพัน ตารางข้อผูกพัน การแก้ไข การอ้างอิงและการสงวนสิทธิตาม GATT

หมายเลขบันทึก: 61422เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2006 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท