ร่วมกับอพวช. จัดนิทรรศการวิทยาศาสตร์ “เรื่อง เล่น เล่น” ค้นหาวิทยาศาสตร์ที่ซ่อนอยู่ในของเล่น


องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)ร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดนิทรรศการวิทยาศาสตร์ ในหัวข้อ “เรื่อง เล่น เล่น” เพื่อนำเสนอความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ซ่อนอยู่ในของเล่นภูมิปัญญาไทย พร้อมนำเสนอนวัตกรรมที่นำของเล่นอย่างหุ่นยนต์มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดให้กับธุรกิจธนาคาร ซึ่งธนาคารฯ ได้ร่วมกับอพวช. จัดกิจกรรมสร้างสรรค์มาอย่างต่อเนื่อง ปีนี้เป็นปีที่ ๙ ณ พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่


นิทรรศการวิทยาศาสตร์ “เรื่อง เล่น เล่น” จัดแสดงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ซ่อนอยู่ในของเล่นภูมิปัญญาไทย เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในหลักการทางวิทยาศาสตร์และการทำงานของกลไกต่างที่อยู่ในของเล่น ซึ่งมีอิทธิพลต่อการส่งเสริมพัฒนาการทางความคิดของเยาวชนไทย ผ่านการ “เล่น เรียน รู้” มาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน พร้อมกระตุ้นให้เยาวชนไทยเล็งเห็นถึงคุณค่าของภูมิปัญญาไทย และนวัตกรรมของทรัพยากรท้องถิ่น ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาต่อยอดของเล่นให้สามารถทำประโยชน์ได้มากขึ้นในโลกยุคดิจิทัล แบ่งเป็น ๒โซน ประกอบด้วย


โซนที่ ๑ ของเล่นภูมิปัญญาไทย จัดแสดงของเล่นภูมิปัญญาไทย โดยผู้เข้าชมจะได้ทดลองเล่นและเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านของเล่นภูมิปัญญาต่างๆ ประกอบด้วย ๑) ประเภทลูกข่าง ๒) ของเล่นที่เกี่ยวกับความเฉื่อย ได้แก่ กำหมุนไม้ไผ่ กำหมุนกะลา ๓) ประเภทที่ใช้สปริง ได้แก่ หนอนดิน หนูกะลา๔) ประเภทเสียง ได้แก่ กบ จักจั่น ๕)ประเภทของเล่นที่เกี่ยวกับแรงและการเคลื่อนที่ ได้แก่ กำหมุนบิน คอปเตอร์ไม้ไผ่ ๖) ของเล่นที่เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง ได้แก่ นกบิน ปลาว่ายน้ำ ๗) เกมแก้ปัญหา ได้แก่ พญาลืมแลง พญาลืมงาย และ ๘) ของเล่นอาชีพ ได้แก่ คนตำข้าว นักยิมนาสติก พร้อมสื่อมัลติมีเดียอธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์ให้เข้าใจง่าย ผู้ชมจะสนุกสนานกับการทดลองเล่น เพื่อให้เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่น


โซนที่ ๒ โซนธนาคาร นำเสนอเรื่อง Innovation นวัตกรรมที่ต่อยอดมาจากภูมิปัญญา จัดแสดงนวัตกรรมที่พัฒนาต่อยอดความคิดสร้างสรรค์จากของเล่น ที่นำมาเป็นเครื่องมือทางการตลาดช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ในการให้บริการทางการเงินของธนาคารไทย คือ “หุ่นยนต์” ที่ไม่ได้เป็นแค่เพียงของเล่น แต่สามารถแนะนำผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ ของธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในโลกยุคดิจิทัล พร้อมเล่นเกม Lingo Jump จำลองการขายสินค้าออนไลน์ ปฏิบัติภารกิจในการรับคำสั่งซื้อสินค้า (order) และส่งของให้ผู้ซื้อสินค้าสำเร็จจึงจะได้รับเงินค่าสินค้า นอกจากผู้เข้าชมงานจะได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินจากการทดลองเล่นของเล่นภูมิปัญญา ค้นหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์ที่ซ่อนอยู่ในของเล่นต่างๆ ตลอดจนสนุกกับการประดิษฐ์ของเล่นที่ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์แล้ว ยังได้ร่วมกิจกรรม Science Walk Rally รับของที่ระลึกฟรี รวมทั้งชมการแสดงจากหุ่นยนต์ “SCB Robot” โดย SCB Innovation Center ที่นำหุ่นยนต์ซึ่งเป็นของเล่นมาเป็นเครื่องมือทางการตลาดในยุคดิจิทัล พลิกโฉมธุรกิจธนาคารไทยในปัจจุบัน จัดแสดงวันละ ๒ รอบ ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๖ และ ๒๖-๓๐ กันยายน เวลา ๑๑.๐๐-๑๓.๐๐ น. และ ๑๔.๓๐-๑๕.๓๐ น. นิทรรศการวิทยาศาสตร์ “เรื่อง เล่น เล่น” จัดแสดงถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙ เว้นวันหยุดธนาคาร เวลา๐๙.๓๐-๑๗.๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ โทร. ๐-๒๕๔๔-๓๘๕๘ หรือ
www.thaibankmuseum.or.th ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ภาพจากสายบริหารงานสื่อสารองค์กร SCB

หมายเลขบันทึก: 613790เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2016 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กันยายน 2016 15:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

-สวัสดีครับป้าใหญ่

-ของเล่นแบบภูมิปัญญาไทยๆ น่าสนใจและถือเป็นการส่งต่อภูมิปัญญาให้กับเด็ก ๆนะครับ

-ขอบคุณครับ

น่าสนใจมาก

มีของเล่นเยอะมาก

เหมือนบันทึกพี่ติด code มาครับ

ลองแก้ไขบันทึกลบ code ออกนะครับ

เยาวชนได้ไปชมคงมีความรู้และสร้างแรงบันดาลใจได้เยอะนะคะ และแม้แต่ผู้ใหญ่ด้วยนะคะคุณป้าใหญ่

ขอบคุณมากครับที่แวะไปอ่านบันทึก เรื่อง code ในบันทึกจะลองถามดร.จันทวรรณดูนะครับ

  • อ.นุ
  • ขจิต ฝอยทอง
  • ธนิตย์ สุวรรณเจริญ
  • P. Rinchakorn
  • เพชรน้ำหนึ่ง
  • ธิ
  • คนใต้โดยภรรยา
  • วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ (น.ม.)
  • สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากสำหรับกำลังใจ มอบแก่โครงการนี้ค่ะ
  • หลานเพชรน้ำหนึ่ง...ขอบคุณภาพเมนูอร่อยที่นำมาฝากกันค่ะ
  • น้องดร.ขจิต...ขออภัยค่ะ ได้พยายามแก้ไขแล้วไม่สำเร็จค่ะ
  • หลานทพญ.ธิรัมภา...ใช่เลยค่ะ เป็นกระบวยการสนับสนุนนวัตกรรมจากองค์ความรู้ของเล่นจกภูมิปัญญษไทยที่น่าสนับสนุนมากค่ะ
  • น้องดร.ขจิต...ขอบคุณมากค่ะที่ใส่ใจเรื่อง code สัญญลักษณ์ย่อหน้าในบันทึกของพี่ใหญ่ในช่วงหลังๆมานี้ จะรอคำแนะนำเพื่อแก้ไขค่ะ
  • อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/613790
  • พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท