แนวคิดทฤษฏีการวางเงื่อนไข


ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ

(Operant Conditioning Theory)

ประวัติ บี.เอฟ.สกินเนอร์

-เกิดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ.1940 ที่ มลรัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา

-จบปริญญาตรี ทางวรรณคดี ในอังกฤษ

-เข้าศึกษาต่อสาขาจิตวิทยาระดับปริญญาโทและเอก ณ. มหาวิทยาลัยฮาร์ดเวิร์ดปี คศ.1982 วิชาเอกพฤติกรรมศาสตร์

สกินเนอร์มีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของ Pavlov นั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov

หลักการและแนวคิดที่สำคัญขอ’สกินเนอร์
1. การวัดพฤติกรรมตอบสนอง

สกินเนอร์เห็นว่าการศึกษาจิตวิทยาควรจำกัดอยู่เฉพาะพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน และพฤติกรรมที่สังเกตได้นั้นสามารถวัดได้โดยพิจารณาจากความถี่ของการตอบสนองในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือพิจารณาจากอัตราการ ตอบสนอง (Response rate) นั่นเอง

2. อัตราการตอบสนองและการเสริมแรง

สกินเนอร์เชื่อว่าโดยปกติการพิจารณาว่าใครเกิดการเรียนรู้หรือไม่เพียงใดนั้นจะสรุปเอาจากการเปลี่ยนแปลงการตอบสนอง(หรือพูดกลับกันได้ว่าการที่อัตราการตอบสนองได้เปลี่ยนไปนั้นแสดงว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้ว)และการเปลี่ยนแปลงอัตราการตอบสนองจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการเสริมแรง(Reinforcement) นั้นเอง สิ่งเร้านี้สามารถทำให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนแปลง เราเรียกว่าตัวเสริมแรง (Reinforcer) สิ่งเร้าใดที่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการตอบสนองเราเรียกว่าไม่ใช่ตัวเสริมแรง(Nonreinforcer)
3. ประเภทของตัวเสริมแรง

ตัวเสริมแรงนั้นอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ อาจแบ่งเป็นตัวเสริมแรงบวกกับตัวเสริมแรงลบ หรืออาจแบ่งได้เป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิกับตัวเสริมแรงทุติยภูมิ
3.1 ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcer)หมายถึง สิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อได้รับหรือนำเข้ามาในสถานการณ์นั้นแล้วจะมีผลให้เกิดความพึงพอใจและทำให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะเข้มข้นขึ้น เช่นอาหาร คำชมเชยฯลฯ

3.2 ตัวเสริมแรงลบ (Negative Reinforcer) หมายถึง สิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อตัดออกไปจากสถานการณ์นั้นแล้ว จะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะเข้มข้นขึ้น เช่น เสียงดัง แสงสว่างจ้า คำตำหนิ ร้อนหรือเย็นเกินไป ฯลฯ

จากทฤษฏีข้างต้นสามารถนำมาประยุกต์กับนิทานชาดกในพระพุทธศาสนาเรื่อง “ลิงเจ้าปัญญา”

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ทรงปรารภพระเทวทัต ผู้พยายามปลงพระชนม์พระองค์ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาลิงมีรูปร่างใหญ่โตสวยงาม มีพละกำลังเท่าช้าง อาศัยอยู่ที่ราวป่า คุ้งแม่น้ำแห่งหนึ่ง ในแม่น้ำนั้นมีจระเข้สองผัวเมียอาศัยอยู่ วันหนึ่งจระเข้ตัวเมียเห็นร่างกายของพญาลิงแล้วเกิดแพ้ท้องอยากกินหัวใจลิงตัวนั้น

ภรรยา :พี่ช่วยนำมันมาให้น้องหน่อยนะจ๊ะ

สามี :น้องจ๋าเราเป็นสัตว์ในน้ำ ลิงเป็นสัตว์บนบก พี่จะจับลิงได้อย่างไรละจ๊ะ
เมียพูดด้วยความน้อยในว่า "พี่ต้องหาวิธีจับมันมาให้ได้ มิเช่นนั้นน้องขอตายดีกว่า"
สามีจึงพูดปลอบใจว่า "น้องจ๋า อย่างเพิ่งตายเลยจ๊ะ พี่จะไปจับมันมาเดี๋ยวนี้ละจ๊ะ"

ว่าแล้วก็ไปหาพญาลิงที่กำลังลงมาดื่มน้ำที่ฝั่งพอดี ร้องถามขึ้นว่า "ท่านลิง ท่านกินแต่กล้วยที่ฝั่งนี้ไม่เบื่อรึไง ไม่คิดอยากจะข้ามไปกินผลไม้ฝั่งโน้นบ้างหรือ"
ลิงตอบว่า "ท่านจระเข้ แม่น้ำนี้กว้างใหญ่ไพศาล เราจะข้ามไปได้อย่างไร"
จระเข้ ได้ทีจึงเสนอตัวว่า "ถ้าท่านจะไปจริง ๆ ก็ขึ้นบนหลังของเราไปก็ได้ เราอาสาจะไปส่ง"
ลิงเชื่อคำพูดของมันจึงได้กระโดดขึ้นบนหลังจระเข้ไง จระเข้พอพาลิงไปถึงกลางแม่น้ำก็มุดลงดำน้ำ ลิงร้องถามว่า "ท่านแกล้งเรา จะให้เราจมน้ำตายรึไง"
จระเข้ตอบว่า "เรามิได้คิดอาสาจะพาท่านไปฝั่งโน้นจริง ๆ หรอก เมียเราแพ้ท้องอยากกินหัวใจท่าน เราจะพาท่านไปให้เมียเรากินต่างหาก"
ลิงพูดขึ้นด้วยเล่ห์ว่า "เพื่อนเอ๋ย ท่านบอกมาก็ดีแล้ว หากหัวใจอยู่ในท้องเราเมื่อกระโดดไปมาบนต้นไม้ หัวใจเราก็แหลกหมดนะสิ หัวใจไม่ได้อยู่กับเรา"
จระเข้หลงกลถามไปว่า "แล้วท่านเอาหัวใจไปไว้ที่ไหนละ"
ลิงจึงชี้ไปที่ต้นมะเดื่อต้นหนึ่งที่ไม่ไกลนักมีผลสุกเป็นพวงอยู่ พร้อมกับพูดว่า "นั่นไง หัวใจของเราแขวนอยู่ที่ต้นมะเดื่อนั่นไง"
จระเข้พูดว่า "หากท่านให้หัวใจแก่เรา เราจะไม่ฆ่าท่าน"
ลิงพูดว่า "ถ้าเช่นนั้นท่านพาเราไปที่นั้นสิ เราจะให้หัวใจแก่ท่าน"

จระเข้จึงพาลิงไปส่งที่ต้นมะเดื่อนั้น ลิงกระโดดขึ้นต้นมะเดื่อไปแล้ว พร้อมกับพูดว่า
"เจ้าจระเข้หน้าโง่ หัวใจสัตว์ตัวไหนจะอยู่บนยอดไม้ เจ้าใหญ่แต่ตัวเสียเปล่าหามีปัญญาไม่" แล้วกล่าวเป็น

คาถาว่า
"เราไม่ต้องการด้วยผลมะม่วง ผลหว้า และผลขนุนที่ท่านเห็นฝั่งสมุทรโน้น ผลมะเดื่อของเราต้นนี้ดีกว่าร่างกายของท่านใหญ่โตเสียเปล่าแต่ปัญญาไม่สมกับร่างกายเลย จระเข้..ถูกเราลวงแล้วนัดนี้เจ้าจงไปตามสบายเถิด"

จระเข้พอทราบว่าหลงกลลิงแล้วก็เป็นทุกข์เสียใจซึมเซาเหมือนกับเสียพนัน มุดกลับยังถิ่นที่อยู่ของตนตามเดิม

จากทฤษฏีและนิทานชาดกข้างต้น จะทำให้เห็นว่าการวางเงื่อนไขในการในจะมีการใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน โดยจะใช้สิ่งเร้าหรือสิ่งที่กระตุ้นพฤติกรรมเพื่อให้เกิดการตอบสนองต่างๆตามที่เราต้องการ

หมายเลขบันทึก: 613551เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2016 12:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กันยายน 2016 12:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขออนุญาตเสนอแนะนะคะ

คุณ Jiraporn เขียนดีแล้ว ถ้าเพิ่มแหล่งอ้างอิงจะช่วยให้งานมีน้ำหนัก ได้มาตรฐาน และขอเพิ่มคำสำคัญเป็นชื่อทฤษฎีด้วยค่ะ ช่วยให้ค้นหาง่ายมากขึ้น

ขอบคุณนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท