๔๓๙. วิธีคิด...พิชิตโอเน็ต


ผมจะมีจดหมายถึงผู้ปกครอง นักเรียนชั้น ป.๖ เพื่อบอกความสำคัญของการสอบโอเน็ตและรายงานผลการเรียนบุตรหลานของผู้ปกครองเป็นรายบุคคล ว่า เก่ง อ่อน ในด้านใดบ้าง ต้องพัฒนาและให้ความสนใจเป็นพิเศษ ในรายวิชาใดบ้าง

ผลงานวิจัย...ของ สทศ. ในประเด็นท้ายๆ ว่าทำไม ผลการสอบ โอเน็ต ชั้น ป.๖ ม.๓ และ ม.๖ จึงไม่สูงมาก และยังไม่เป็นที่น่าพอใจของหน่วยงานต้นสังกัด..ส่วนหนึ่งเกิดจาก...นักเรียนไม่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการสอบ นักเรียนบางคน ไม่มีการเตรียมตัวใดๆเลยด้วยซ้ำ ถึงเวลาก็ไปสอบ นั่งทำข้อสอบแบบไม่มีความกระตือรือร้น นั่งฆ่าเวลาให้หมดไป...เหมือนถูกบังคับให้ไปสอบ

นักเรียนอาจไม่ต้องคิดถึง ผลการทดสอบที่มีผลต่อภาพรวมของการศึกษาของชาติ เพียงแค่รับผิดชอบต่อตนเองก็พอ แต่ผลที่ออกมาเป็นรายบุคคล หาเป็นเช่นนั้นไม่...

นักเรียนบางคน..คิดว่า...ผลโอเน็ต..จะเป็นอย่างไรก็ช่าง...อย่างไรเสีย ก็ยังมีที่เรียน จาก ป.๖ ได้เรียนต่อ ม ๑ จบม.๓ อย่างไรก็ออก หรือไปเรียนสายอื่น ส่วน ม.๖ ก็ยังมี มหาวิทยาลัยเอกชนรองรับ...จนเมื่อปีการศึกษา ๒๕๕๗ ต้นสังกัด ต้องมีหนังสือสั่งการ ให้โรงเรียนกำชับให้นักเรียนทุกระดับตั้งใจทำข้อสอบ

ปีการศึกษานี้...ผมมีแนวทางที่จะพัฒนาคุณภาพผลสัมฤทธิ์โอเน็ตแล้ว เพราะว่าไหนๆ ก็หนีไม่พ้นการสอบแบบนี้ในทุกปีการศึกษา โดยได้มีการประชุมหารือและขอความร่วมมือผู้ปกครองไปเป็นที่เรียบร้อย ...เมื่อเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา จากนั้น ก็จะวางแผนสอนซ่อมเสริมตามรายวิชาที่จะต้องทดสอบ( ๕ วิชา)

ขั้นตอนต่อไป ผมจะมีจดหมายถึงผู้ปกครอง นักเรียนชั้น ป.๖ เพื่อบอกความสำคัญของการสอบโอเน็ตและรายงานผลการเรียนบุตรหลานของผู้ปกครองเป็นรายบุคคล ว่า เก่ง อ่อน ในด้านใดบ้าง ต้องพัฒนาและให้ความสนใจเป็นพิเศษ ในรายวิชาใดบ้าง

ข้อมูลเบื้องต้น..ผมทราบว่า..ผู้ปกครองสนับสนุนให้ลูกได้เรียนต่อ ม๑ ทุกคน อยู่แล้ว แต่ผมก็จะบอกว่า ถ้านักเรียนตั้งใจเรียนน้อย หรือ ผลการเรียนไม่เข้มข้น จะส่งผลให้การเรียนในระดับมัธยมไม่เข้มแข็ง จะบอกผู้ปกครองว่าการเรียนชั้น ป.๖ เป็นพื้นฐานที่สำคัญมาก ในการไปเรียนต่อได้อย่างมั่นคงในอนาคต ถ้าผู้ปกครองเชื่อมั่นในความคิดของครู...ก็จะส่งผลดีต่อโอเน็ตอย่างแน่นอน

วันนี้...ผมมีโอกาสได้พบนักเรียน ป.๖ ได้ทดสอบความรู้พื้นฐาน ก็พบว่า ยังต้องเร่งรัดพัฒนาอีกมากมาย โดย จะต้องศึกษา และวิเคราะห์ตามรายตัวชี้วัดที่เป็นปัญหา หรือ เนื้อหาที่นักเรียนยังมีผลสัมฤทธิ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน...

ยังมีเวลาอีก ๕ เดือน...ที่จะพิสูจน์วิธีคิดนี้...ครับ

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๙










หมายเลขบันทึก: 612595เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2016 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2016 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท