หลักสูตร ผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 2 (PSU EXECUTIVE LEADERSHIP DEVELOPMENT PROGRAM FOR THE FUTURE) (ช่วงที่ 4 ระหว่างวันที่ 3-4 สิงหาคม 2559)


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ห้องเรียนผู้นำ

ขอต้อนรับลูกศิษย์หลักสูตร ผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 2 (PSU EXECUTIVE LEADERSHIP DEVELOPMENT PROGRAM FOR THE FUTURE) ทุกท่านอย่างเป็นทางการ

ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเป็นผู้จัดหลักสูตรเพื่อการพัฒนาผู้นำ ผู้บริหาร และคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

และขอใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ที่เราจะเรียนร่วมกันสำหรับช่วงที่ 4 ครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์


สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

วันที่ 3 สิงหาคม 2559

จากแนวคิดทางการตลาดสมัยใหม่..สู่การปรับใช้กับการทำงานของ ม.อ.

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

บรรยากาศทางการตลาด

ในมหาวิทยาลัย การเป็นลูกศิษย์เสมือนเป็นลูกค้า จึงควรต้องตามถึงนอกมหาวิทยาลัยด้วย

การตลาดสำคัญอย่างไร

เราต้องทำให้เขารู้จักเรา จะทำอย่างไร ? ควรเริ่มจากไอเดียทางการตลาดเล็ก ๆ ก่อน สมัยก่อนมหาวิทยาลัยมีความเสี่ยงเพราะยังไม่ค่อยสนใจเรื่องการตลาดเท่าที่ควร อาทิ ตอนที่มหาวิทยาลัยมีเงินเก็บไว้มาก ๆ ก็อาจเป็นปัญหาได้ ดังนั้นทางออกที่ดีคือเราต้องสามารถหาความสมดุลให้ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราจะค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน สิ่งที่เราต้องรู้คือต้องรู้ว่าเพื่อนบ้านเป็นอย่างไร

องค์ประกอบมหาวิทยาลัยมีเงื่อนไขที่เปลี่ยนไปสิ้นเชิง ถ้ามองให้ดีจะเป็นโอกาสสำหรับคนรุ่นใหม่ แต่อาจเป็นเรื่องยากสำหรับคนรุ่นเก่า

แนวคิดทางการตลาดสมัยใหม่

อาวุธทางปัญญาทางการตลาดเกี่ยวข้องกับทุกคณะอย่างไร

Marketing :

1. การตลาดเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และช่วยทำให้เราเหนื่อยน้อยลง การตลาดไม่เป็นธรรมชาติ ม.อ.ต้องนึกถึงว่าลูกศิษย์เป็นลูกค้า

2. Marketing เป็น Demand Focus จากแนวคิดที่ดร.สมคิดจะให้ประเทศไทย 4.0 คือ การทำในสิ่งที่เราเก่ง และการทำให้เหนื่อยน้อยลง

3. ส่วนที่ Breakthrough ต้องดูว่าคนที่ยุ่งกับเรามากคือลูกค้า หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder)

- ม.อ.ต้องปฏิรูปให้มหาวิทยาลัยอยู่รอดให้ได้มากกว่านี้ถึงเพราะกำลังจะก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ต้องเป็นหัวเรือใหญ่ที่ดี หลักการต่าง ๆ เหล่านี้สามารถใช้ได้หมด

1. รัฐบาล (Government) ที่เกี่ยวข้องกับ ม.อ. เช่น สำนักงบประมาณ

2. ประชาชน (General Public)

3. สื่อใหม่ (New Media) ถ้าถามว่าในอนาคต TV หรือ หนังสือพิมพ์อันไหนจะสูญเร็วมากกว่ากัน คำตอบคือ TV จะหายไป เพราะจะกลายเป็น Screaming ในมือถือ

บรรยากาศการเรียนในอนาคตของ ม.อ. ต้องเรียนไปด้วยกันผ่านสื่อที่ไม่รู้จักตัวตน มือถือในอนาคตจะยิ่งใหญ่มาก หาอะไรได้หมด

4. แหล่งเงินนอกงบประมาณ (Finance not budget) เช่น จากศิษย์เก่า จากงานวิจัย เป็นต้น ตัวอย่างคำว่า Demand focus ได้เปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานโดยสิ้นเชิง ดังนั้น Survivor ของมหาวิทยาลัยในอนาคตอยู่ที่คนต้อง Generate Income ให้ได้

5.NGOs เป็นกลุ่มคนที่คิดต่างจากผู้บริหาร ไม่จำเป็นต้องเป็นคนนอกมหาวิทยาลัย อาจเป็นคนในมหาวิทยาลัยได้ แม้คิดต่าง แต่คิดถูก ไอน์สไตล์กล่าวว่าถ้าอยากได้อะไรที่ต่างจากเดิมต้องทำต่างจากเดิม

ดังนั้น มหาวิทยาลัยถ้าต้องการปรับเปลี่ยน ต้องจัดระเบียบกบฏให้ได้ ให้มีเวทีให้ได้พูด ให้รวมหัวคุย และคิด Different ต้องสอนกบฏให้เป็นมวย

6. Peer หรือ Partner เช่น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ม.อ.อาจไปร่วมมือกันปรึกษาแนวทางทางการเงินร่วมกันได้ เป็นต้น ต้องมีการตั้ง Funding ขึ้นมา ดังนั้น ม.อ. ต้องมี Platform ทางด้านนี้

7. ผู้แทนสภาคณาจารย์และพนักงาน (Internal Public) ต้องเป็น Co-operator ในการสนับสนุนสภามหาวิทยาลัย ตัวอย่างคณบดีที่ดีจะต้องเกิดจากการมี Good leadership ซึ่งสามารถเรียนได้
สรุป ถ้ามหาวิทยาลัยแห่งไหนเข้าใจ Demand ของ Stakeholder จะสามารถทำแผนยุทธศาสตร์ที่ดีและตอบโจทย์ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย จะทำให้ได้คำตอบว่าจะทำอย่างไร

เครื่องมือทางการตลาด (Marketing Tools)

1. Business life cycle / Marketing life cycle คำว่า Business หมายถึง ม.อ. คือทุกอย่าง ทุกคณะจะมี Life cycle ซึ่งมหาวิทยาลัยมี 4 วัย ดร.สมคิดบอกว่าต้องมี 5 วัย

- Introduction stage วัยแรกเกิด วัยทารก คือ คณะที่อยู่ในช่วงนี้จะต้อง Invest ไม่ใช่ Harvest เป็นยุคที่ต้องสร้างอะไรใหม่ ๆ ต้องศึกษาเกี่ยวกับด้านการพัฒนาการ เป็นจุดเริ่มของความคิดดี ๆ ในมหาวิทยาลัย

- Growth stage คือ เป็นยุคที่ต้องเสียเงินเพื่อต้องคอยดูแล เป็นยุคที่คณะกำลังจะโตแต่ถ้าเลี้ยงไม่ดีจะกลายเป็นเอ๋อ ทั้ง ๆ ที่เป็น Genius

- Maturity stage คือ คณะที่โตเต็มที่ หรืออิ่มตัวแล้ว คณะต้องมีความสามารถพิเศษโดยความรู้สึกนึกคิดอยู่แล้ว มหาวิทยาลัย Innovation เกิดจาก Risk Taking คือได้ทำอะไรที่เสี่ยงมาแล้ว วิธีการคือให้หากบฏเยอะ ๆ

- Decline stage ตัวอย่างเช่น TV จะเปลี่ยนเป็น Digital stage การถ่ายกล้องหรือวีดิโอมาสามารถ Edit อย่างไร

- S Curve อย่างที่ ดร.สมคิดบอกว่าจะลดการ Decline ได้อย่างไรให้ประเทศไทยเป็น 4.0

สรุปคือ เป็นการเตือนให้เราวางแผนของแต่ละคณะและของแต่ละบุคคลที่มีไม่เท่ากัน จุดสำคัญคือจุดสุดท้ายต้องสามารถ Turn around เป็น S-Curve

Product ของ ม.อ. คือ Curriculum ระดับสูง แต่ End คือนักเรียน ในยุคนี้ของมหาวิทยาลัยคือยุค Introduction เช่นหลักสูตรใหม่ที่ทำเงิน หรือศูนย์กีฬา ซึ่งบางอย่างไม่ได้แค่ทำเงินแต่เป็น Social Benefit เป็นการทำเพื่อการเกษตร เพื่อสังคม เป็นต้น ดังนั้นมหาวิทยาลัยต้องกล้าลงไปในสิ่งที่ไม่ต้องของบประมาณหรือเขาไม่ให้งบประมาณ

ยกตัวอย่างด้านผลิตภัณฑ์ เช่น การเลือกสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เวลาเลือกจะดูสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในยุค Maturity stage ก่อน เช่น ถ้าเป็นสินค้าจะมองที่บริส หรือลักซ์ ของยูนิลีเวอร์ ส่วนที่ ม.อ. มีคณะที่เติบโตแล้วคือคณะอะไร แต่คณะเหล่านี้มี Trap คืออยู่ใน Comfort zone เคลื่อนที่ยาก ไม่ง่ายในการเปลี่ยนแปลง

แต่ละคณะต้องสามารถมี Portfolio ของตัวเองว่าอยู่ใน Stage อะไร เช่นเดียวกับภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยมีความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน เช่น ภาคใต้มีความเป็น Maturity stage ทางด้านกฎหมาย แต่ทางภาคอีสานยังเป็น Introduction stage ทางด้านกฎหมาย เป็นต้น

ยกตัวอย่างด้านการบริหารคน เช่น ฝ่ายบริหารที่ไม่ใช่สายวิชาการจะมีหน้าที่ในการบริหารคน วิธีการบริหารคนคือให้ลองเอา list ลูกน้องมาเรียงชื่อ แล้วให้ทำเป็น Portfolio ของคน ให้ดูว่าในคณะท่านว่าใครเป็นคนที่ใช้งานได้ตลอด คนนั้นจะอยู่ในช่วง Maturity stage แต่คนไหนที่เถียงตลอดเวลาหรือต้องอธิบายจะเป็น Future stage เป็น Star พวก Star จะเป็น Problem Server ทำงานได้ดีแต่พูดจาไม่เข้าหู ต้องขายไอเดีย ให้เข้าใจเป้าหมายก่อน แต่ไม่ต้องสอน เพราะเขาสามารถไปทำได้เอง แต่พวก Superstar เป็นพวกยอมรับมาทำงาน 10 โมงเช้ากลับบ่าย 3 โมงเย็น แต่ผลงานมากกว่าทั่วไป

สรุปคือ เครื่องมือที่ต้องมองทั้ง Product และ People ต้องจัดให้ได้ก่อนว่าอยู่ใน Stage อะไร

2. Target /Market ต้องทำ 3 Process

1. Segmentation ต้องถามก่อนว่าคนที่เขาฟังเรา เขามี Motivation อย่างไร

ตัวอย่าง Bio Informatics คือการพิสูจน์สารว่าเป็นอย่างไร เป็นการทดสอบยีนส์ของคนในวัยหนุ่มสาวแล้วตอนแก่จะเป็นอย่างไร หรือศูนย์ล้านนาศึกษา

Segmentation ของลูกค้าเป็นอย่างไร เช่น Starbuck มีจุดยืนว่าเป็นที่ที่ 3 สำหรับคนที่ไม่อยากกลับบ้านและไม่อยากไปมหาวิทยาลัยเป็นต้น ต้องตอบให้ได้ว่ามหาวิทยาลัยแต่ละคณะจะขายให้ใคร

2. Targeting แต่ละคณะต้องรวมหัวกันเพื่อคิดให้เป็น Multi Discipline คือสหวิทยาการ

ตัวอย่าง หาดใหญ่สมัยก่อน เป็น Sim City ปัจจุบันเป็น 7-eleven city

3. Positioning คือแต่ละคณะที่อยู่ในวัย (Stage) ต่างกันต้องถูกวัดโดย Balance Scorecard

- Customer Perspective เป็นอย่างไร มหาวิทยาลัย Serve Customer ได้หลากหลายได้อย่างไร

- Finance Perspective เช่น การจ่ายเงินอาจเปลี่ยนไปคือ งบประมาณจะจ่ายตาม Customer Opinion

- Internal Business System เช่น พนักงานที่ไม่อยู่ในสายข้าราชการเขามีความคิดเห็นว่าอย่างไร ต้อง Educate ในการประชุมด้วย เพราะถ้าพนักงานและอาจารย์ในมหาวิทยาลัยไม่ Happy มหาวิทยาลัยเหล่านั้นจะไม่มีจิตวิญญาณ (Soul) หรือ Heart

- Learning and Growth คือ เป็นเวลาที่ต้อง Change again ต้องเปลี่ยนก่อนถูกบังคับให้เปลี่ยน ถ้าไม่เปลี่ยนจะกลายเป็นตามสิ่งแวดล้อม เพราะ Asean จะบังคับให้เปลี่ยน

นอกจากนี้ทาง สกอ. มีการวัดตัวที่ 5 คือ Good Governance คือ

1. มีนโยบายหลัก ๆ อะไรบ้างที่เป็นหลักยึด (ต้องเลือกแบบพอดี ใส่สบาย ๆ ไม่เข้มงวดหรือน้อยเกินไป)

2. มีวิธีอะไรบ้างที่นโยบายนั้นถูกปฏิบัติสม่ำเสมอคือ เครื่องมือสภาฯ มี Auditing ถ้าทำได้จะมี Good Governance สูง และเครื่องมือกรรมการจะมี Risk Management ในการตรวจสอบ

3. Value Chain ห่วงโซ่แห่งคุณค่า

การทำงานต้องมีการรับช่วงอย่างต่อเนื่องแบบไม่มีรอยต่อ ตัวอย่างเช่นการทำเป็น Center ทั้งหมด ต้องเป็นงบประมาณที่สร้างเองไม่ใช่งบฯหลวง เช่น การทอดผ้าป่าสามัคคี เป็นต้น

เงินมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบมี 2 อย่างคือ 1. ค่าเงินเดือน 2. ค่าซ่อมแซม นอกจากนั้นไปหาเอง

Value Chain : Input – Process – Output

1. Input (ปัจจัยนำเข้า) ม.อ.ต้องสามารถดักคนที่เก่งเข้า ม.อ.ให้ได้

ตัวอย่าง คนรวยต้องการ Cultural ดังนั้น ต้องดูว่า ม.อ.เก่งอะไร

Michael Porter บอกว่าเมืองไทยเป็นครัวของโลก เป็น Detroit of Asia

2. Output (ปัจจัยขาออก) ให้ลองดูว่าใน ม.อ.มีคณะไหนที่เป็นคู่กัดกัน อาทิ ห้องสมุดกลาง ห้องสมุดย่อย คู่กัด มหาวิทยาลัยในอนาคตต้องเป็นอย่างไร เช่น Fit Schedule / Fit Curriculum ทุกอย่างที่ Simple สามารถสอนด้วยวิชาลูกทุ่งได้ เช่นที่ Khan Academy

ตัวอย่าง ที่ มธ.เจ๊งจากการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬานานาชาติ แต่ ม.วลัยลักษณ์กลับมีรายได้จากการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ตัวอย่างห้องสมุดของมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดที่ควรไปดูคือที่ Nanyang University ที่สิงคโปร์

ปัจจัยขาออกคือนักเรียน นักศึกษาต้องอึด อดทน เรียนดี เรียนเก่ง ดังนั้นการสอน Sideline ต้องมี Educate อย่างยิ่ง

อุปสรรค คือ New Comer

ตัวอย่าง Main Export ของสิงคโปร์คือ Learning Education ให้คนมาเรียนที่สิงคโปร์

4. PEST Analysis ก่อน Go International

เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ ดังนั้น Strategic Problem อาจถูกรบกวนด้วย PEST

PEST Control คือ

1. P-Politics เป็นอย่างไร เช่น ร้านส้มตำ มี 2 ร้านแข่งกันจะทำอย่างไรถ้าระดับปากซอยคุยกับตำรวจระดับปากซอย ถ้าระดับจังหวัดดูทางผู้ว่าฯ และศาลากลาง ถ้าระดับประเทศให้ดูแม่น้ำ 5 สาย สรุปคือ ให้ดูว่า Politics อยู่ที่ระดับไหนให้ไปหาทางแก้ไขตรงนั้น หรือระดับระหว่างประเทศก็ไปดูที่ Politics ก่อน International Market

2 E-Economic เป็นอย่างไร เช่น Export Market มีแรงจูงใจด้านการลดภาษีลงกี่เปอร์เซ็น BOI มีนโยบายว่าอย่างไร ตัวอย่างด้าน Economic Asset ได้แก่ Export ,FDI, Non Finance Asset

3. Social แต่ก่อนเรารวยแล้วช่วยสังคมเรียกว่า CSR-Corporate Social Responsibility แต่ในปัจจุบันต้องทำ CSR ทุกวัน เหตุที่คนไทยมีปัญหาเช่นทุกวันนี้เนื่องจากความเหลื่อมล้ำคือ Inequity

4.Technology คือคู่แข่งใช้เครื่องมืออะไรดีกว่าเรา ให้ดูเรื่อง Cost Saving ,Time Saving, New Knowledge ซึ่งเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยต้องมี Strategic Unit คอยกรองหลักสูตร ซึ่งถ้าไม่ใช่ 3 อย่างนี้ เทคโนโลยีอาจเป็นแค่ Consumption เราเป็นผู้เสพ ไม่ได้เป็นผู้สร้าง สิ่งที่จำเป็นต้องดูคือลดต้นทุนอย่างไร ลดระยะเวลาอย่างไร สร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้อย่างไร ไม่เช่นนั้นเราจะ Waste

5. SWOT Analysis

สิ่งที่เลือกบริหาร Project ให้ดูว่าเรื่องไหนใน PEST ที่เป็น Opportunities และ Threat ให้ใส่ตรงช่องนั้น เราเลือกที่จะหนี จะสู้ ให้ดูประโยชน์ที่ได้รับ ตัวอย่าง การพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยจะใช้ คนนอก สกอ.หรือ นอกมหาวิทยาลัยนั้น ได้มีการตกลงกันแล้วทั่วโลก ว่าจะใช้ระบบสภาฯอนุมัติ ถ้าอนุมัติแล้วจะผ่านทุกเรื่อง แต่บางที่อาจมีการตรวจสอบจาก สตง. เป็นต้น

Threat คือภาวะคุกคาม มีหลายส่วนที่สามารถเป็นโอกาส

1. กฎ ระเบียบ คืออุปสรรค ต้องมีการ Break the rule อย่างสง่างาม

2. Mindset มองปัญหาเป็นปัญหาแต่ไม่มองเป็นโอกาส เนื่องจากอยู่ใน Comfort Zone

3. Real Threat มากเกินไป ต้องเข้าใจ Risk Management

Opportunities ถ้าเห็นโอกาสให้ทำไปก่อน ไม่ใช่ให้คนอื่นทำไปก่อน ควรเน้นการ Learn Together และ Set the object อย่าทำให้ Opportunities เป็น Threat หรือ Strong กลายเป็น Weakness

สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

วันที่ 3 สิงหาคม 2559

Case Studies and Intensive Management

Workshop :PSU Positioning in Thailand and ASEAN+6

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

1. การรวมตัวเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน

2. บรรยากาศการค้าและการลงทุนเสรีมากขึ้น

3. มีเส้นทางคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงกันหมดในภูมิภาค

4. มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกที่เสมอภาค

5. มีการเชื่อมโยงกับประเทศภายนอกโดยเฉพาะประเทศคู่เจรจาของอาเซียน + 6

ปัจจัยที่ส่งเสริมความได้เปรียบของประเทศไทย

1. ที่ตั้งภูมิศาสตร์

2. ศักยภาพของอุตสาหกรรมและบริการ

3. ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน

4. ศักยภาพของแรงงานฝีมือ

5. ความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ

6. ศักยภาพด้านเกษตร

การขยายตัว FTA ของอาเซียน-อนาคต

CEPEA (Comprehensive Economic Partnership in East Asia) ASEAN+6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย)

EAFTA (East Asta FTA) ASEAN+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี)

………………………….

ASEAN 10 : ประชากร 600 ล้านคน GDP 1,865 พันล้าน USดอลล่าร์

EAFTA ASEAN+3 : ประชากร 2,117 ล้านคน GDP 14,216 พันล้านดอลล่าร์

CEPEA ASEAN+6 : ประชากร 3,334 ล้านคน GDP 17,226 พันล้านดอลล่าร์

การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

ให้ลองคิดดูว่าในอีก 10 ปี ไทยจะอยู่ในอาเซียนหรือไม่ ให้ลองศึกษาตัวอย่างจาก EU

1. ธนบัตรถ้าเป็นธนบัตรอาเซียน ไทยไม่น่าจะเอา

2. ต้องรับคนมุสลิมเข้าไปอยู่เพิ่มขึ้น

3. ต้องจ่ายเงินในการเข้าเป็นสมาชิก

แนวโน้มโอกาสของธุรกิจไทยใน AEC

1. ขยายช่องทางและโอกาสของสินค้าไทยในการเข้าถึงตลาดอาเซียน ปริมาณสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นหลากหลาย

2. Economy of Scale ทางเศรษฐกิจ ธุรกิจ การผลิต เพิ่มอำนาจการต่อรองกับคู่ค้า

3 ลดต้นทุนการผลิตจากการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางที่ใช้ในการผลิตได้หลายหลายมากขึ้น ในราคาที่ถูกลง

4. เสริมสร้างโอกาสการลงทุน เช่นการจัดตั้งกิจการ หรือย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น

5. การได้ประโยชน์จากการสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าภายในอาเซียน แล้วส่งออกไปยังประเทศที่ 3 ที่อาเซียนมี FTA ด้วย

6. เสริมสร้างอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีระหว่างประเทศ

7. เพิ่มการพัฒนาการธุรกิจอย่างต่อเนื่อง รวมถึงนวัตกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับสินค้าและบริการ

8. มีการพัฒนาบุคลากรและเพิ่มคุณภาพของคนงาน ลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ เพิ่มอำนาจการซื้อสินค้าและบริการ ส่งเสริมความมั่นคงของสังคม

ทฤษฎีจุดยืน - 4P’s

Position – เวลาจะขายของหรือไอเดียต้องนึก 4P’s

1.Product คือ Intermediate Product หลักสูตรและอาจารย์ ส่วน End product คือผลงานวิจัยและลูกศิษย์ ให้ดูว่า Product ของมหาวิทยาลัยชื่ออะไร

2. Price – มหาวิทยาลัยจะตั้งราคาเท่าไหร่ งบประมาณทุก ๆ ล้านบาทมาจากงบประมาณแผ่นดิน ค่าเล่าเรียน งบวิจัย ส่วนธุรกิจเท่าไหร่ ทำอย่างไรให้พัฒนาไปส่วนที่ท่านต้องการ

- งบประมาณแผ่นดินจะมาทำอะไร คณะไหนจะเก็บหน่วยกิตเท่าไหร่ R&D เป็นกี่เปอร์เซ็นทั้งหมด

3. Place – ในม.อ. 5 วิทยาเขตให้ดูว่าตรงไหนเป็น Asset ตรงไหนเป็น Liabilities ม.อ.จะสามารถ Match กับมหาวิทยาลัยในไทย และในต่างประเทศอะไร

4. Promotion – มี 2 ชนิด คือ Advertising และทำทุกอย่างให้เป็นข่าว ซึ่งเราไม่สามารถทำทุกอย่างให้เป็นข่าวได้ ทำไมไม่ไปอาศัยสนามบินหาดใหญ่ ดังนั้น Gateway ควรยึดตั้งแต่ที่สนามบินหาดใหญ่ สิ่งที่ได้คือเป็น Home base ของ PSU สร้าง Brand Awareness โดย สร้าง Expectation แล้วให้นำไปสู่ Experience สร้างให้ Why visit Hat Yai? และ Why visit PSU? ม.อ.จะเป็น University of First Choice ได้อย่างไร สงขลาเป็นอาณาจักรศรีวิชัย (The Songkla Empire) ต้องสร้างให้ชีวิตมีมิติ จากเดิมที่เป็น Flat ให้เป็นสามมิติ ต้องสร้างให้สงขลามีชีวิต สร้างเป็น The destination

Social Media คือ Alternative ตัวอย่างเช่น Justin Bieber และ Taylor Swift เป็นตัวอย่างของ ความดังที่ได้จาก Social Media

Gentleman /Lady ต้องเป็น Way of life ต้องมีทางเลือก is Really Thai in the future.

“Nature doesn’t need people but people need nature.” CNN

ให้แต่ละกลุ่มเลือกสถาบันที่เข้าเกณฑ์ 5 ประการว่าตอบโจทย์ Opportunities หรือ Threat อย่างไร อ่าน PEST อย่างไร ให้ดู Strength Opportunities Threat and Weakness อย่างไร จะสร้างBrand Awareness ได้อย่างไร จะสร้างคุณค่าของ Product ได้อย่างไร ท่านจะคิดว่าจำนวนคนเป็นเท่าไหร่ ต้องตอบคำถามว่าจะทำเท่าไหร่ ให้เขียน Mind Stone ทุก 3 เดือน ให้คิดว่าเราจะ Operate ใน 5 ปีข้างหน้าอย่างไร Your Market จะเป็น 60 % ของยุโรปอย่างไร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เสริมว่าการเปิดโลกทัศน์ต้องมีเรื่อง Plan and Action และต้องมี Asset Assessment ได้ยกตัวอย่างว่ามีเศรษฐีมากคนอยู่ที่ภาคใต้แต่เราไม่ได้ทำความรู้จักหรือสร้าง Networking เราควรเรียนรู้การสร้าง Strategy หรือ Tactics คณะผู้บริหารที่อยู่ในห้องนี้ต้องเป็นแก่นในการเชื่อมโยงข้อมูลด้วย ต้องสร้างการ Balance ระหว่าง Science และ Social Science อยากให้ทุกท่าน Stronger together

หลักสูตรนี้ต้องต่อเนื่อง และ Overcome difficulty โดยเฉพาะทางด้าน External แต่บางครั้งเมื่อมาเจอ Internal Culture อาจเกิดปัญหาทางด้านข้อเท็จจริง การ Bias การไม่ยอมรับทางสังคม การมอง I มากกว่า We การทำงานกับ ม.อ. ต้องมีแนวร่วมและกัดไม่ปล่อย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การเรียนรู้ที่ผ่านมาส่วนใหญ่พบว่าการคิดโครงการฯขึ้นมาใหม่ ๆ ทิ้งของเก่าแล้วไปหาของใหม่หมด จึงอยากให้ทุกท่านนำเรื่องที่มีอยู่แล้วมาทำ ทำให้เป็นเรื่องง่าย ๆ ให้นำเรื่องที่เรียน หรือที่เก็บอยู่ในลิ้นชักออกมาใช้

เรื่อง Marketing เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถนำมาช่วยในการหารายได้ว่าสามารถหารายได้จากไหนได้บ้าง อยากให้สิ่งที่ทำ Workshop ในวันนี้เก็บไว้เพื่อสามารถนำมาทำต่อในอนาคตได้

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

เสริมว่าอยากให้นำสิ่งที่ทำอยู่แล้วมาต่อยอด ให้ถามว่าก่อนออกนอกระบบมีความพร้อมที่จะเปลี่ยนหรือยัง มหาวิทยาลัยในอนาคตจะไม่ใช่ Faculty Base หรือ Curriculum Base แต่เป็น Project Base สิ่งที่ทำในวันนี้ จะเป็นสิ่งที่ Bank รุ่นใหม่จะดูข้อมูลว่าเหมาะสมที่จะให้กู้หรือไม่ให้กู้ ไม่ใช่นำที่ไปจำนอง เพราะจากวิกฤติในปี 40 ส่วนใหญ่แบงค์มีที่อยู่ในมือมากแล้ว ดังนั้นในอนาคตที่แบงค์จะดูจริง ๆ คือความเป็นไปได้ของโครงการฯ มีมากน้อยแค่ไหน


Workshop

1. ใน 10 ปีข้างหน้า กลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิด Positioning ใหม่ให้ PSU มีกลุ่มใดบ้าง ที่ควรจะพัฒนาโดยใช้แบบ Blue Ocean เป็นหลัก ทั้งการสอน งานวิจัย งานบริการทางวิชาการ

2. จุดแข็งของ PSU ในอนาคตคืออะไร เสนอโครงการที่เกี่ยวข้องกับจุดแข็งเหล่านั้น โดยเน้นความต้องการของผู้เรียน

3. New Positioning PSU จะสร้าง Brand Awareness ให้ผู้สนใจเพื่อสร้าง Brand Positioning อย่างไร

4. ในยุค Social Media ที่มาจะใช้ Social Media มาพัฒนา Positioning ของ PSU อย่างไร

5. อุปสรรคที่ไม่สามารถไปสู่ Positioning ที่สูงขึ้นของ PSU คืออะไร อธิบายและต้องแก้ปัญหาอย่างไรและทำ 3 ต.ได้อย่างไร


กลุ่มที่ 2 สร้างศูนย์บริการคอมพิวเตอร์

Motto คือ Your total solution

ศูนย์คอมพิวเตอร์ พัฒนา Software พัฒนา Network ระบบเครือข่าย มีในมหาวิทยาลัยอยู่แล้วใช้ระบ 3 G 4G ส่วนระบบ Software จะถูกบังคับใช้ ด้านบริการต้องทำให้ดีที่สุด

เรื่องการหารายได้ มุ่งที่บริการทางวิชาการเพื่อหารายได้

ขายบริการทางวิชาการให้กับบริษัทเอกชน บุคคลภายนอก และหน่วยงานราชการ ส่วนภายในทำอยู่แล้วไม่ต้องขาย

การทำงานแบบ Customer Based

ศูนย์คอมฯ ปกติบริการเฉพาะลูกค้าภายในเท่านั้น ได้มองว่ามีบุคลากรที่มีความรู้ องค์ความรู้ทาง IT จำนวนมาก คิดว่าน่าจะมีศักยภาพพอที่จะเป็น Consult ทางธุรกิจและบริการด้านนี้ได้ จึงคิดว่าจะสร้างรายได้ได้ โดยจะเป็นตัวเลือกในการให้คำปรึกษาทางด้าน IT

การสร้างความน่าเชื่อถือจะใช้หลัก Collaboration Leadership และจะใช้ระบบของ Offer ช่วยในการวางระบบให้ อบจ.ด้วย เน้นการประชาสัมพันธ์ คือให้สิ่งที่ดีไปเต็มที่ เขาบอกต่อแล้วสิ่งที่ดีจะกลับมาที่เรา

ด้านโฆษณา เมื่อเป็น IT จะไปซื้อพื้นที่ Facebook และอื่น ๆ มาด้วย จ่ายเพื่อสิ่งที่ดีเป็น Fundamental

แบบปากต่อปาก Word of mouth คนใช้จะเป็นกระบอกเสียงในการบอกต่อ

ไม่ใช่เป็นแค่ Agency แต่เป็น Consultant สามารถทำได้หมดในลักษณะ Your total Solution และทุกครั้งเมื่อมี Case จะให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเป็นลักษณะ Learning Organization เน้นการทำให้ได้จริง แล้วสร้างให้คนเห็นว่าเกิดขึ้นได้จริง จะเป็นการสร้าง Demand

เรื่อง Partnership จะไม่เน้นการสร้างการแข่งขัน แต่จะเน้นการสร้าง Partnership และเรียนรู้ร่วมกัน เน้นการทำ Collaboration ร่วมกัน

มองเรื่องการกระจายไปสู่ AEC หรือระดับโลกเพราะถ้า System ดีจะสามารถต่อไปได้ทั่วโลกเป็น Start up

จุดแข็ง คือทางกลุ่มมองว่าเป็นมหาวิทยาลัย ม.อ.ต้องรู้ว่าตอนนี้เรามีอะไร มีคณะบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ ถ้ารวมกันจะดีมาก ส่วนอีกเรื่องคือชื่อเสียงของ ม.อ.เป็นอันดับหนึ่งในภาคใต้

ในเรื่องความปลอดภัยจะมีหน่วยบริการสถานที่ดูแลให้ มีการมอบให้หน่วยงานที่ดูแลเรื่องระบบออนไลน์ไว้

ปัจจัยความสำเร็จจะทำอย่างไรไม่ให้เขามาแย่งลูกค้า แต่เน้นการทำงานร่วมกับเรา ทำอย่างไรให้เกิดความยั่งยืน สิ่งที่ทำคือจะเน้นการบริหารแบบ Win-Win และถ้าทำแบบ Partner จะมีการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกัน

ทั้งสองฝ่ายถ้ามีความตั้งใจและเข้าใจร่วมกันจะช่วยให้การสร้างความยั่งยืนได้ เน้นภาพลักษณ์ของม.อ.ที่ทำเพื่อ Social Responsibility เพราะ Win-Win เราได้เขาได้เช่นกัน มีบางอย่างไปแชร์และแลกเปลี่ยน

ต้องมีการตั้งเป้าหมายร่วมกัน และสร้างให้เกิดความ Comfort ทั้งสองฝ่าย แต่ถ้าล้ำเส้นอาจเกิดปัญหา

เริ่มต้นเป็นการสร้าง CSR แต่ต่อไปจะเป็นการสร้าง CSV เพื่อเน้นการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน เน้นการให้เขาไป แล้วท้ายที่สุดถ้าทำดีก็จะได้ดี

อนาคต IT จับจะเป็นตัวที่ยากมาก คาดว่าปีละ 5 – 10 ล้านต่อปี

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าเราต้องการลูกค้าแบบ Blue Ocean ใครก็พูดได้แต่ถ้าต้องการแบบ Mechanism แรก ๆ อาจไม่ได้มาเป็นลูกค้า แต่พอพูดถึงประโยชน์ของ ม.อ.ต้อง Process และ Internal Mechanism ต้องทำให้เกิด Incentive และจับมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำสักแห่งอย่าง MIT หรือ Stanford University ถ้าเราเดินไปแล้วเขาไม่จับมือกับเรา เราอาจต้องหาตัวละครมาช่วย สรุปคือทุกอย่างเป็นไปได้หมด แต่ถ้าไม่เดินร่วมกัน ไม่ปะทะกับความล้มเหลว ไป Take risk จะเกิดการปะทะกันเรื่อย ๆ Trend ของโลกในด้าน IT ก้าวหน้าไปมาก และใน ม.อ.มีหลายหน่วยงานที่ทำเรื่องนี้ แต่ปัญหาคือเขายังไม่รู้จัก ม.อ.เป็น Supply side เก่งในการสอนหนังสือ ทำวิทยานิพนธ์ แต่ยังไม่มีแบรนด์ Mindset ของคนก็ดี Incentive สำคัญมากเราต้อง Reward ให้ดี

เสริมว่าภายใน 5 ปี น่าจะมีรายได้ 100 ล้านบาท เน้นให้มี Ambition มากขึ้น

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

อยากให้กลุ่มนี้ไปเรียบเรียงแล้วใส่ไปใน Blog ในกลุ่มนี้คิดเป็น V ไม่ใช่แค่ I แล้วสิ่งที่มองอยู่เมื่อต้องการพัฒนากับเอกชนให้ได้สิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่ใหญ่มากขึ้น ตัวอย่างเช่น สหรัฐฯ ขาด Programmer หลายตำแหน่งมาก ส่วนอีกเรื่องคือ KM ศูนย์นี้จะเอา KM มาใช้ได้และเป็นประโยชน์ได้อย่างไร เสริมว่าน่าจะเป็นโครงการหนึ่งใน 5 โปรเจค

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เสริมว่ามีหนังสือเล่มหนึ่งบอกว่าประเทศที่จะขึ้นมาได้ต้องเป็นประเทศที่มีภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม เล่มนี้คนเขียนเป็นคนอินเดียที่เก่งเรื่อง Finance ถ้าเราเรียนรู้การใช้ภูมิศาสตร์ที่ดีจะช่วยได้มาก

กลุ่มที่ 5 Halal Consultant จัดตั้งโดยสถาบันฮาลาล ของ ม.อ.

ม.อ.น่าจะเป็นตัวแทนที่ปรึกษาของ ฮาลาล มองว่ากลุ่มมุสลิมที่จะบริโภคใหญ่มาก จำนวนมุสลิมมากขึ้น มีผลิตภัณฑ์ที่จะมีช่องว่างเยอะ แต่ยังไม่ได้การรับประกัน จึงจะใช้ Knowhow ที่มีอยู่เพื่อพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ได้รับการยอมรับและจะมองในเรื่อง Audit ด้วย

เราอยู่ในแง่ของพื้นที่ ที่อยู่จุดศูนย์กลางพอดี ข้างบนเป็น Non Muslim ข้างล่างเป็น Muslim จึงคิดว่าไทยเป็นศูนย์กลางพอดี คิดว่าคนที่จะมาขายสินค้าเป็นลูกค้าเรา ณ วันนี้จะเริ่มที่ภูมิภาคอาเซียนก่อน

การวิเคราะห์ตามสภาพแวดล้อมภายนอก PEST เราได้สังเกตเห็นเรื่อง Trust ภาระในวันนี้อยู่ที่ใครจะเป็นผู้ Issue ให้ ความน่าเชื่อถือ ความเป็นวิชาการและมีวิทยาเขตที่ปัตตานี ทำให้ความน่าเชื่อถือเกินร้อย แม้มีประเด็น Politics ก็ยังมองว่า ม.อ.เหมาะสม

จุดแข็งคือพื้นที่ และความเป็นวิชาการของ ม.อ. อย่างไรก็ตาม มาเลเซียและสิงคโปร์ก็อยากทำด้วยเช่นกัน จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเคยมีญี่ปุ่นมาถามว่าทำอย่างไรถึงได้ติดโลโก้ฮาลาล จึงคิดว่าการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งแล้ว ความเป็นไปได้น่าจะเป็นไปได้ มองว่าโอกาสเป็นของเรา

ด้านการออกผลิตภัณฑ์ สามารถมองด้านการ Design ระบบได้ มองได้ว่าอะไรควร หรือไม่ควร ทั้ง 1. การก่อตั้งและเริ่มต้นโรงงาน 0.5% 2. การพัฒนาปรับปรุงสามารถเป็นที่ปรึกษาให้ได้ 0.2 %3.บริษัทไหนต้องการขยายเพิ่มเติมก็สามารถช่วยได้เช่นกัน 0.3%

การทำอย่างไรให้ได้ลูกค้า คือ ต้องแสดงให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้จับต้องได้ ได้เลือก Roadshow ไปแสดงให้ลูกค้ารับทราบ และจะมี Showcase ถ้าเป็นลูกค้าช่วงต้น จะมีโปรโมชั่นพิเศษได้ ประเด็นคือต้องแสดงให้เห็นว่าทำได้จริง และเมื่อทำไปแล้วต้องมี Service และสร้างลูกค้าให้อยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างเป็น The first choice of Halal Consultant in South East Asia เน้นการทำงานร่วมกันระหว่างปัตตานีและหาดใหญ่

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าดูจุดแข็งของ ม.อ. คิดว่าโอกาสที่จะทำสูง และน่าจะเสนอเรื่องเหล่านี้เข้าไปในสภามหาวิทยาลัยด้วย อยากให้โปรเจคไปสู่การตัดสินใจของสภาฯได้เร็ว และเห็นด้วยว่า Trend ของ Muslim World ขยายแน่ และไม่ใช่แค่อาหาร แต่เป็นเรื่องสุขภาพด้วย ถ้า ม.อ. มีความสามารถในการเชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้ด้วยจะเป็นประโยชน์ ควรเน้นการทำให้เกิดผล และดีใจที่พูดถึงตัวเลขเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป

กลุ่ม 1 ศูนย์กีฬาและสุขภาพ

เป็นหน่วยงานใหม่ที่มหาวิทยาลัยเพิ่งตั้ง อยากให้มองเรื่องการพัฒนาบุคลากร และศูนย์ให้เป็นที่ประจักษ์สังคม การบริการการเรียนการสอน กับนักศึกษาและบุคลากรภายนอก

ด้าน IT ใช้ Website และ Facebook

งบประมาณปีละ 1,500,000 บาท ได้งบจากมหาวิทยาลัย และจะหาเงินมาจากข้างนอกได้เพิ่มเติม ที่ผ่านมาได้จากการหารายได้จากข้างนอก 4,000,000 บาท

จะเน้นการพัฒนาและปรับปรุงในอนาคต

ความสำคัญจะเน้นให้ลูกค้าเป็นหลัก การเรียนการสอนจะเอื้อต่อมหาวิทยาลัยอยู่ แต่ต้องกำหนดไม่ให้เลยเวลาราชการไม่เช่นนั้นลูกค้าจะหายไป

การเพิ่มรายได้ต้องใช้กลยุทธ์และวิชาการต่าง ๆ

ต้องประชาสัมพันธ์ให้เห็นว่าศูนย์กีฬามีความพร้อมในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ และการเรียนการสอนด้วย

มีการร่วมกับองค์กรภาคีต่าง ๆ มีการร่วมมือกับคณะศึกษาศาสตร์ คณะแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ และบริหารจัดการ ร่วมกับสมาคมกีฬาต่าง ๆ เพื่อฝึกสอนด้านกีฬา ทำอย่างไรให้มีการฝึกอบรมร่วมกับกีฬา มีการสอนว่ายน้ำ มีการทำการท่องเที่ยวผนวกกับสุขภาพ และการทำสปาฮาลาล มีการเชื่อมโยงทางวิชาการในฮาลาลและคณะแพทย์แผนไทย และคาดว่าจะเป็นสภาต้นแบบ ที่สามาถสนับสนุนไปเป็นตามกรอบ และจะทำให้ลูกค้าในอาเซียนเพิ่มเติมได้เช่นกัน โดยคาดว่าจะขยายไปยังตะวันออกกลาง

ใช้ศูนย์กีฬาของ ม.อ.เป็นฐานเพื่อทำให้มองเห็นภาพในการเชื่อมโยงในอนาคต ว่าถ้ามีการไปจัดกิจกรรมที่วิทยาเขตที่ไหนก็ตามจะแสดงให้เห็นถึงความพร้อม

การมองศูนย์กีฬาไม่ใช่มองแค่ตั้งรับ มีการเชื่อมโยงกับชมรมกีฬา สื่อสารให้รู้ว่าศูนย์กีฬามีอะไรบ้าง และสามารถเชื่อมไปยังภาคใต้

ด้านการประชาสัมพันธ์จะทำการเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่าง ๆ เราสามารถออกกำลังกายได้ที่ศูนย์กีฬามหาวิทยาลัย

งบประมาณส่วนหนึ่งจะมองที่ภาครัฐ มหาวิทยาลัยต้องประกาศตัวชัดเจนสามารถรองรับการกีฬาในอนาคตและการจัดการแข่งขันได้ อยากให้นึกถึงม.อ.ก่อน และเมื่อมีความพร้อมมากยิ่งขึ้นจะสามารถเสนอสถานที่เพิ่มเติมได้

นักศึกษา จะให้มหาวิทยาลัยจัดสรรให้นักศึกษาเล่นฟรี เน้นการส่งเสริมสุขภาพให้กับบุคลากร มีเรื่องการวิจัย จะทำงานร่วมกับคณะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการร่วมมือกับคณะแพทย์เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

สรุปคือด้านสุขภาพเป็นเรื่องที่ ม.อ.ควรให้ความสำคัญซึ่งจะสามารถเชื่อมไปที่อื่นได้

จุดยืน จะเป็นศูนย์กีฬาภาคใต้และอาเซียน เป็นหน้าที่ของศูนย์ที่ต้องสื่อสารองค์กร ปรับใหม่ ปรับเรื่องการสื่อสารให้มากสุด ให้สมาชิกเข้ามาใน Website แล้วเข้ามาที่ศูนย์คอมฯ ด้วย ทุกท่านสามารถติดต่อผ่านทางคอมพิวเตอร์ จ่ายเงินผ่านระบบได้

การลดจำนวนบุคลากรเพื่อลดค่าใช้จ่าย เน้นการใช้กล้อง CCTV และให้มีการเชื่อมต่อ

รายได้ที่คาดว่าภายใน 5 ปี คาดว่าจากปีละ 10 ล้านบาทอยากเพิ่มเป็น 100 ล้านบาท

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรื่องกีฬาดีสำหรับประเทศไทยในทุกเรื่อง เพียงแค่ว่า Facility ที่มีอยู่ที่ ม.อ. มีมาตรฐานหรือไม่ ขอยกตัวอย่างการจัด SEA Game ที่สงขลาและให้ ม.อ.มีบทบาทอย่างแท้จริง สิ่งที่ต้องทำคือการสร้างความร่วมมือและการสร้าง Networking กับหน่วยงานต่าง ๆ อีกเรื่องคือการเรียนการสอนด้านกีฬานั้นมีความสำคัญมาก ในอนาคตข้างหน้า กรรมการของไทยต้องพูดภาษาอังกฤษได้ จึงอยากให้ ม.อ.ได้สนใจในเรื่องเหล่านี้

อีกเรื่องคือ Sport Management อยากให้เสนอ Project เข้ามหาวิทยาลัยด้วย เสริมว่าในอนาคตข้างหน้าจะต้องดึงคนที่มีชื่อเสียงมาเรียนที่ ม.อ.มากขึ้น กีฬาเป็นเรื่องวินัยและภาวะผู้นำด้วย

กลุ่มที่ 3 Ready & Happy to use Eng. Instant Engineer

แนวคิด

PEST มองว่าปัจจุบัน วิศวะผลิตนักศึกษาออกไปอย่างน้อยต้องไปอยู่ในโรงงาน 6 เดือนขั้นต่ำ เลยมองว่าคุณภาพนักศึกษาต้อง Happy to use พร้อมที่จะใช้ ต้องเป็น Handy man และเทคโนโลยีต้องดึงเข้ามาในหลักสูตร ต้องดึงที่ Product life cycle อยู่ที่ Maturity แต่อาจารย์เริ่มจะไปที่ Decline ต้องสร้างหลักสูตรให้น่าตื่นเต้น เพื่อเพิ่ม S-Curve ถ้าปรับปรุงหลักสูตรจะเพิ่มอีก 10 % และมองว่าในอนาคตอุตสาหกรรมไทยน่าจะเกิด ประกาศว่าจะเป็นวิศวกรอุตสาหกรรมยางให้ชัดเจน ให้มีการติดตามข่าวอุตสาหกรรมยาง มาผลิตในไทย แต่ยังติดปัญหาเรื่องบุคลากร ปัญหาไทยเก่งเรื่องดีไซน์แต่การทำให้เป็นโปรดักส์ยังไม่ถึง

เพิ่มหลักสูตร Inter ในด้านวิศวกรรมศาสตร์ด้วย ให้นักศึกษามีใบ ก.ว.ต่อการรับรองวิศวกร

หลังจากวิเคราะห์ PEST แล้วหลักสูตร Inter น่าจะไปสอดคล้องแล้วผ่านเกณฑ์ แต่เดิม ถ้าวิศวกร Inter น่าจะไปสอบ APEC ได้

คณะวิศวะควรปรับปรุงหลักสูตรให้ Instant Engineer และ Inter สองหลักสูตร เน้นหลักสูตร 2 ภาษา มี ไทย อังกฤษ และจีน

สถานที่อยู่ที่วิศวะและวิทยาศาสตร์ ให้มีการเพิ่ม Entrepreneurship อยู่ในคณะวิทยาการจัดการด้วย

เรื่อง Price ขอเพิ่มแค่ 10 % ส่วน International จะ Charge ปีละ 100,000 บาทต่อคน พิจารณาจากหลักสูตรของ ม.อ.ที่มีอยู่ แต่ยังไม่ได้สำรวจตลาดสามาถขยับขึ้นได้

Media จะใช้ Youtube , Tedtalk , Facebook มีการจัด Roadshow ไปที่อุตสาหกรรมหลัก ให้นักศึกษาเปิดตัวได้เลย

จุดแข็งคือเรื่องคนที่เป็นจุดแข็ง จึงน่าจะมี Alumni เข้ามายืนยันความสำเร็จด้วยและน่าจะจุดประกายรุ่นใหม่ ๆ นำ Alumni มาโปรโมทคณะ คณาจารย์อาจร่วมมือกับ Consult ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ น่าจะมีการเปิดหลักสูตรเรื่องของยางในส่วนที่เกี่ยวข้อง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คณะวิศวกรรมเป็นคณะหลักของม.อ. การเป็นคณะที่ประสบความสำเร็จการปรับเปลี่ยนตัวเองจะทำได้ช้า สิ่งที่อยากแนะนำคือ Young PhD.ที่ได้เข้ามา ให้มีการเปลี่ยนแปลงกับทาง Leadership ด้วย อยากให้มีการลงทุนทางด้านคนด้วย แต่ก็ขึ้นอยู่กับผู้นำด้วยว่าจะคิดอย่างไร การเปลี่ยนแปลงของคณะวิศวกรรมที่จะ Rest fund มี Potential มหาศาล แต่ก็มีการต่อต้านด้วยเช่นกัน จะทำอย่างไรให้ Soft Skill Integrate ใน Hard Skill ต้องสร้างวิศวกรที่เข้าใจ Finance PEST และตัวละครในธุรกิจ หรือสภาอุตสาหกรรม ถ้ามีตัวแทนเหล่านี้ด้วยจะเป็นประโยชน์มาก

External Environment ที่กดดันมีอย่างแน่นอน แต่ Internal Environment เราต้องรีบสร้างAdvantage ให้ Thinking Outside the Box ถ้า ม.อ.มี Bureaucratic มากจะทำให้การบริหารจัดการมีปัญหา ดังนั้นสภามหาวิทยาลัยในอนาคต คนที่มี Power จริง ๆ คณบดีจะสามารถเสนอเรื่องผ่านไปที่สภาฯได้ และสภาฯจะมีบทบาทสูงมาก เพราะต้องผ่านขั้นตอนต่าง ๆ แต่ถ้าเคลื่อนได้จะมีพลังมหาศาล

กลุ่มที่ 4 ศูนย์การแพทย์ทางเลือก

กลุ่มลูกค้าคือผู้ที่สนใจสุขภาพทุกคนที่สามารถเข้ามาอบรมได้

จุดแข็งคือมีความหลากหลายทางชีววิทยา และวัฒนธรรมด้วย มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีโซนภาคใต้ มีโครงการคือศูนย์การแพทย์ทางเลือกมีการสนับสนุนผลิตสมุนไพรฮาลาล และการบริการฮาลาล มีการทำงานวิจัยที่ตอบสังคมและตอบคำถามหลายอย่างมีการทำงานวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยมากขึ้น

โปรดักส์มีที่เป็นสมุนไพร ไม่มีส่วนผสมที่อันตราย มุสลิมก็สามารถใช้ได้

ด้านบริการเน้นเรื่องนวดบำบัด ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มออฟฟิศ จะพัฒนาคนให้สามารถนวดบำบัดคลายออฟฟิศซินโดรมภายในครึ่งชั่วโมง มีการพัฒนาร่วมกับหมอพื้นบ้านได้หลักสูตรโดยเฉพาะ และทำให้ไม่ต้องใช้ยา ส่วนอีกอย่างคือนวดผ่อนคลาย คล้าย ๆ กับสปา จุดแข็งถ้าสปาใช้นวดทั้งวัน แต่ถ้านวดบำบัดสามารถนวดคนไข้ได้ในเวลาครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง มีการเปิดสถานพยาบาลแห่งใหม่ มีการขอสถานที่เพิ่มเติมในการให้บริการเพิ่ม มีการให้บริการเคลื่อนที่ไปยังจุดต่าง ๆ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ครึ่งวันได้ 20 คน หมอใช้ได้แค่ 1-2 คนแค่นั้น

การประชาสัมพันธ์มีการให้ความรู้ทาง Social Media มีการคุยกับศูนย์กีฬาและสปาฮาลาล มีการนวดตามศาสตร์ของแพทย์แผนไทย และสามารถช่วยนักกีฬาได้เช่นกัน

อุปสรรคคือ คนไม่ค่อยรู้จัก แม้ว่าสปาจะเป็นที่รู้จักทั่วโลก แต่คนไทยรู้จักน้อยมาก

ด้านสมุนไพร ขมิ้นถือว่าดีที่สุดในภาคใต้โดยเฉพาะสุราษฎร์ธานีโด่งดังมาก ขมิ้น 1 กิโล หรือไพร 1 กิโล จากต้นทุน 40 บาท แต่สามารถนำมาปรับปรุงสกัดใช้ในสปาสามารถมีมูลค่าเป็น 10,000 บาท เป็นต้น และถ้าส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกจะทำให้ชาวบ้านมีรายได้ตั้งแต่ต้นน้ำ สามารถเชื่อมโยงเส้นทางการผลิตได้ทั้งหมดจึงมองว่าเป็นอะไรที่ทั่วโลกรู้จักมาก แต่คนไทยไม่เข้าใจนึกว่าเป็นแค่เรื่องนวดอย่างเดียว แต่ก่อนเป็นคณะที่เพิ่งเกิด การยอมรับยังไม่มาก และมีคำถามมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงน่าจะเป็นอุปสรรค

รายได้ มูลค่าสปาไทยจริง ๆ เป็น 10,000 ล้านบาท แต่จะขอแค่ 10 % เพราะว่าเป็นรายได้ตั้งแต่ต้นทางและทั้งกระบวนการผลิตได้ทั้งหมด เป็นการทั้งให้ความรู้ รักษาตัวเอง ผลิตภัณฑ์เหลือก็เอามาขายและสร้างมูลค่าได้เพิ่มขึ้น

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การฟังแต่ละกลุ่มเห็นถึงความมีชีวิตชีวา และพลัง เป็นการสร้างความตื่นตา ตื่นใจ แต่ไม่ใช่แบบเพ้อฝัน เป็นการทำพื้นฐานได้ Good เพียงแต่ว่าจะทำแค่นี้หรือต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่านี้ ทำอย่างไรถึงจะโดดเด่นขึ้นมา

แต่ละกลุ่มสามารถนำมาเชื่อมโยงกันได้หมด สามารถเติม Asset ซึ่งกันและกันได้ เน้นการจับมือกันไว้

งานทั้ง 5 กลุ่มที่เสนอมานี้ตอบโจทย์ Pillar of the South สิ่งที่พูดมีความหลากหลายคือเรื่อง Biology แต่การพูดอย่างเดียวไม่เกิด แต่ก่อนที่จะไปนำเสนอน่าจะมีหลักฐานทางวิชาการ ว่าเป็น PSU 2 แล้วปรับให้น่าสนใจแล้วนำเสนอไป

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Blue Ocean ของ ม.อ มีเรื่อง International และเรื่อง Aging ของคนแก่ หลักสูตรอาจทำเป็น 3 - 6 เดือนก็ได้ ต้องฝึกไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่ฝึกแค่นักศึกษาอายุ 18 ปีเข้ามาเรียนเท่านั้น อย่างไรก็ตามต้อง Upgrade ศักยภาพของอาจารย์ สิ่งที่กล่าวมาทุกคณะต้องกลับไปดูหลักสูตรเหล่านี้ คงไม่มีที่ได้ Gain อย่างเดียวโดยไม่มี Pain ต้องมี Pain ด้วย

ต้องเรียนรู้ที่จะไปหานักศึกษาจากต่างประเทศมาเรียนที่ไทยเช่น จีน อินโดนีเซีย แต่ไทยยังเจาะไม่เป็น หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรฝึกผู้นำอยู่แล้ว อะไรที่เสนอไปแล้วเป็นประโยชน์น่าจะพูดกับนายกฯ ได้

เรื่องของทั้ง 5 กลุ่มที่นำเสนอมีประโยชน์ต่อประเทศไทย เพียงแต่ว่าจะตอบโจทย์ได้มากน้อยแค่ไหน การดูแลวัฒนธรรมองค์กร การทำงานร่วมกัน การให้ Incentive ที่ดีจะทำให้มีประโยชน์อย่างมาก


สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

วันที่ 4 สิงหาคม 2559

การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ และการคิดเชิงกลยุทธ์

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ความคิดในเชิงระบบและความคิดในเชิงกลยุทธ์ (Systems and Strategic Thinking)

ความคิดในเชิงระบบ

1. ความเข้าใจสมัยก่อนคือ Input Process และ Output Process เป็นระบบ แต่ความจริงแล้วยังไม่สมบูรณ์

2. ความคิดในเชิงระบบภาษาอังกฤษมี 3 คำ ความคิดในเชิงระบบมี System Thinking (N) , Systamic Thinking (Adj.) และ Systamatic Thinking (Adj.)

ได้ยกตัวอย่างคนที่พูดภาษาซับซ้อนว่าจะเป็นคนที่คิดซับซ้อน เหมือนรายการโทรทัศน์

1. System Thinking กับ Systamic เป็นเหมือนกัน การคิดอย่างเป็นระบบคือ มีรูปแบบ มีขั้นตอน

เรียกว่าความคิดในเชิงระบบ หรือความคิดอย่างเป็นระบบ เป็นการมองอย่างเป็นทิศทางและความต่อเนื่อง

2. Systamatic Thinking เป็นการมองแบบเชื่อมโยง เห็นสิ่งต่าง ๆ แล้วสามารถเอาไปสร้างระบบ ใช้กลยุทธ์ตัวเดียวกับเคี้ยงเอ็มไพน์สุกี้ เป็นความคิดที่สร้างระบบใหม่

และมีคนที่ถามว่าทำไมระบบถึงประสบความสำเร็จ เป็นการเปลี่ยนแปลงของ Customer Behavior สามารถเห็นการเชื่อมโยงจากปัจจุบันไปสู่อนาคตได้ ลูกค้าต้องการ One stop service เช่น ปั๊มน้ำมัน ต้องการห้องน้ำสะอาด มีร้านกาแฟ เป็นที่มาของ Jett and Jeffy หรือต้องการทำโรงพยาบาลต้องเป็นมากกว่าโรงพยาบาล เช่น รพ.บำรุงราษฎร์

คนที่ Systamatic ต้อง System ก่อน แต่คนที่ System ไม่จำเป็นต้อง Systamatic

เริ่มจาก Input – Process – Output

คำตอบไม่ได้อยู่ที่ Output แต่คำตอบอยู่ที่ Outcome เช่นผลิตปากกา จะต้องสามารถขายได้ เป็นต้น ดังนั้นสิ่งที่ขาดคือต้องมี Feedback ถ้า feedback ออกมาดีต้องขายดี

1. ถ้ามี Input-Output แล้ว Process ต้องเริ่มที่ Input

2. ถ้ามี Outcome แล้ว Process ต้องเริ่มที่ Outcome คือต้องวิเคราะห์ Customer ต้อง Forward Thinking

- Thinking Forward and Speak Backward เป็นการมองเชื่อมอดีต ปัจจุบัน และอนาคต คนที่ฉลาดต้องเชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน และอนาคตให้ได้ คือต้องวิเคราะห์ SWOT ถูก ถ้าเชื่อมไม่ได้จะทำให้วิเคราะห์ SWOT ผิด

- การเชื่อมโยงเก่งจะวิเคราะห์อนาคตได้เก่ง ต้องเลือกสิ่งที่มีโอกาสและเดินเข้าได้ ดังนั้นความจริงแล้ว SWOT คือ System

Thinking Forward and Speak Backward

เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา

คำถามคือ การการไขปัญหากับการเจรจาต่อรองอันไหนใหญ่กว่ากัน

คำตอบคือ การเจรจาต่อรองใหญ่กว่า เพราะการเจรจาคือการใช้ปากเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในชีวิต สรุปคือการเจรจาต่อรองเป็นใหญ่กว่าการแก้ไขปัญหาเพราะการเจรจาต่อรองเป็นได้ทั้งการป้องกันปัญหาและแก้ไขปัญหา

คนที่เก่งต้องวางแผนก่อน แล้วค่อย Management

การบริหารที่ดีต้องมีการวางแผนดีก่อน Implement ย่อยคือการบริหารย่อย

Forward Thinking ใช้ในการเจรจาต่อรอง เปลี่ยน Think forward เป็น work Backward คือก่อนทำอะไรให้คิดก่อน เพราะมีกรรมตามมา

คนที่มี Systamatic Thinking จะสามารถเรียนอะไรได้หลายอย่าง และสามารถเป็นเกือบ Visionary

ระบบการได้ความรู้มี 2 ระบบ คือระบบทางอ้อมและระบบทางตรง

ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับ Strategy หรือไม่ เป็นคนที่มีกลยุทธ์ในเรื่อง Input และ Output สิ่งที่เกี่ยวคือสภาพแวดล้อมในการเปลี่ยนแปลงที่นำสู่พฤติกรรมผู้บริโภค

ระบบถ้าสมบูรณ์ กระบวนการจะเริ่มที่ Output คือก่อนที่จะผลิตอะไรต้องมองถึงอนาคตก่อนว่ามีกรรมตามมา

คนที่ forward จะทำ 5% ดังนั้นคนที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีระบบเชื่อมโยงไปสู่อนาคตที่ไกล 5-10 ปี ตัวอย่าง Kodak ปรับไม่ทันไม่สามารถเชื่อมโยงไปสู่อนาคตที่เปลี่ยนแปลง วิธีการคือต้อง Paradigm Shift ต้องมองอนาคตให้แม่น คนเหล่านี้จะเป็นพวก Experience ที่ไม่พบทั้งในอดีตและปัจจุบัน

Define อะไรต้อง define ได้ทุกเรื่องถึงจะประสบความสำเร็จ

สิ่งที่ยากที่สุดคือภายใต้ความแตกต่างเห็นสิ่งที่เหมือนกันภายใต้การเชื่อมโยง

คนที่เป็นระบบต้องคิดก่อนเพราะมีกรรมตามมา ต้องมีประธาน กิริยา กรรม

ข้อ 1 กับ 2 เป็นระบบเพราะมีความเชื่อมโยง เป็นการมองข้ามช้อต ยิ่งไกล ยิ่งสำคัญ

สรุประบบคือ

1. Component ทุกระบบต้องเริ่มที่วงกลม หรือ Component ทุกวงกลมมีคำตอบ

2. Function ต่างคนต่างทำจะเกิดการเชื่อมโยงหรือปฏิสัมพันธ์เรียกว่า Interaction

3. Survival ทุกระบบต้องตอบคำถามได้ว่าทำทำไม ทำเพื่อรักษาความอยู่รอดของระบบ (Survival) ให้ระบบอยู่รอดคงทนต่อไป

ทุกระบบมีองค์ประกอบบางองค์ประกอบสำคัญมาก ๆ และมีบางระบบเสียไม่เป็นไรสามารถซ่อมได้

แล้วแต่ระบบ เช่นระบบการเรียนการสอนในห้องนี้ ระบบสังคม

การมาเรียนกำลังทำ Function ในระบบการเมืองและสังคม

ระบบการเมือง ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ โครงสร้างต้องรอด แต่ละคนเป็น Individual รวมกันเพื่อกลุ่มผลประโยชน์นักการเมือง (Component) จะเป็นระบบเดียวกันเพราะมี Function และ Action

ตัวอย่าง พระจะอยู่ในระบบการเมืองหรือสังคม ขึ้นอยู่กับพระทำหน้าที่อะไร

ระบบแบ่งตามกฎหมาย และตามข้อเท็จจริง

เช่น คนอยู่ในป่าไม่มาเลือกตั้ง ไม่เป็นระบบเพราะไม่ได้ทำหน้าที่ แต่จะเป็นระบบตามกฎหมายเพราะมีชื่อแต่ตั้งใจไม่เลือกตั้งคือเจตนา

การเรียนรู้มี 5 Process

- Learning (เรียนรู้)

- Understanding (เข้าใจ)

- Realizing (ตระหนัก)

- Perceptive (ซึมซับ)

- Practice (นำไปใช้)

ถ้าระบบดีจะดีมาก และเมื่อเจออะไรจะสามารถอธิบายได้
คุณภาพระบบ

เป็นการดูผลลัพธ์ที่ออกจากระบบ

Systamatic จะสามารถปรับเปลี่ยนได้เพื่อให้เข้ากับระบบ ตัวอย่างระบบการเมือง ระบบสังคม ระบบการใช้เกียร์ล่าง เป็นระบบได้ต้องมีองค์ประกอบ มีหน้าที่ และทำให้อยู่รอด

Component

ระบบเครื่องจักรเรียก Mechanic System ไม่มี Change (เปลี่ยน)

ระบบคนเรียก Organic System / Dynamic System ผลที่ทำให้แตกต่างเนื่องจากมี Change คือ Organic Change เช่นเปลี่ยนจากทาส เป็นศักดินา เปลี่ยนจากสังคมนิยมเป็นทุนนิยม

คำถามร่วมกันคิด

1. อะไรที่ทำให้ Change ?

ตอบ เนื่องจากระบบไม่ Closed แต่ระบบ Opened ดังนั้นเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนเราต้องเปลี่ยนให้ทันกับสถานการณ์และการแข่งขัน

คนที่มองเป็นระบบ

1. ต้องคิดล่วงหน้า

2. มองเมล็ดพันธ์สามารถทำนายอนาคตได้ (Organic Tree)

3. การเชื่อมระบบ เช่น Starbuck จะไม่ขายตลาดล่าง แต่จะขายตลาดบน สร้างความรู้สึกว่าเป็นเหมือนบ้านที่3 นอกจากบ้านและที่ทำงาน

ปัญหาในโลกนี้ แบ่งเป็น 2 ประเภท

1. ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวกับคนอื่น

2. ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วเกี่ยวกับคนอื่น

1. ปัญหาที่เกิดจากตัวเอง

ปัญหาที่เกิดจากตัวเองมีเยอะมาก ทุกคนมีปัญหาหมด สรุปคือปัญหาของแต่ละคนที่เกิดขึ้นเกิดจาก Conflict of mean (แนวทาง) and end (เป้าหมาย) คือข้อขัดแย้งระหว่างเป้าหมายและแนวทาง เช่น นักเรียนอยากจะสอบเข้าวิศวะ จุฬาฯ แต่สอบไม่ได้ เป็นปัญหา อยากรวยแต่ไม่รวย อยากเป็นดาราแต่ไม่ได้เป็นดารา สรุปปัญหาคือมีเป้าหมายแต่บรรลุไม่ได้

EGO

Ego เป็นลักษณะของการแสดงออกหรือทัศนคติกับ Behavior

Behavior ถ้ามีการกระทำซ้ำแล้วซ้ำอีกเรียกว่าสันดาน ดังนั้นการวิเคราะห์คนให้ดูพฤติกรรมว่าอันไหนทำซ้ำบ่อย ๆ เช่นอาจารย์สมชาย จะชอบให้คำถามแสดงว่าต้องการความมีส่วนร่วม แต่ถามต่อว่าทำไมอาจารย์สมชายมีนิสัยแบบนั้น เป็นการศึกษาถึง Super Ego ที่อยู่ในตัวบุคคล

กฎของ Sigmund Freud บอกว่ามนุษย์ทุกคนเลวหมด เพราะคนเป็นสัตว์ประเสริฐ (สัตว์เป็นคำนาม ประเสริฐเป็นคำขยาย ดังนั้นนามต้องสำคัญกว่า) เด็กทุกคนคือสัตว์ เป็นสัญชาตญาณทำลายทุกอย่างที่ขวางหน้า แต่ระบบการสั่งสอน (Socialization) ที่หล่อหลอมให้เป็นคนดี ซึ่งแต่ละคนจะมีไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับ DNA จากพ่อและแม่ ทำให้เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไร

ตัวอย่าง สาเหตุที่คนบางคนจิตใจอ่อนไหวพอเจอความผิดหวังอาจฆ่าตัวตายได้ แต่คนที่จิตใจเข้มแข็งเมื่อไม่ได้อย่างที่เป้าหมายต้องการก็ไม่เป็นไร

ดังนั้นการแก้ไข คือ อย่าตั้งเป้าหมายสูงเกินไป ให้รู้จักตัวเราเองว่าเป็นอย่างไร

ความคิดเชิงระบบ Systems Thinking (ความคิดเกี่ยวกับระบบมีการเชื่อมโยงต่างๆ)

Strategy Thinking ต่างกับ Strategic Thinking

- Strategy หมายถึงการสอนเกี่ยวกับเรื่องกลยุทธ์เรื่องนั้น ๆ ไม่ได้บอกว่าตัวไหนสำคัญไม่สำคัญ

- Strategic คือการเลือกเรื่องที่สำคัญ และเรื่องที่ไม่สำคัญ โดยดูจากคนฟังว่าเป็นแบบไหน แล้วเลือกสัดส่วนให้สอดคล้องกัน

2. ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วเกี่ยวกับคนอื่น

เวลาเราอยากรู้ว่าปัญหาเกิดขึ้นจะเป็นอย่างไรให้มาดู (อะไรที่ดีอยู่แล้วอย่าไปเปลี่ยน)

1. End คือ เป้าหมาย

- บางคนเป้าหมายเหมือนกัน แต่ทะเลาะกันด้วยวิธีการ สามารถแก้ไขได้

- การทะเลาะกันเรื่องเป้าหมายต่างกัน เป็นสิ่งที่แก้ไขยาก

2. Mean ยุทธศาสตร์กับยุทธวิธี

3. Information

- การทะเลาะกันอาจมาจากข้อมูล (Information) ที่ไม่เหมือนกัน

4. Knowledge ความรู้แต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นการฟังของแต่ละคนทำให้ความเข้าใจต่างกัน ขึ้นอยู่กับการฝึกของแต่ละอาชีพ ซึ่งถ้า Knowledge ต่างกันสามารถทำให้ทะเลาะกันได้ และสามารถฆ่ากันตายได้ ตัวอย่างเช่น กปปส. กับเสื้อแดง เขาบอกว่าระบบประชาธิปไตยเลวร้ายน้อยกว่าเพื่อน เพราะจุดประสงค์คือสร้างระบบให้เกิด Survival ประเทศเจริญ

อริสโตเติล กล่าวว่าคนจะสมบูรณ์เมื่อเข้ามาสู่ระบบการเมืองที่มีคุณธรรม

ความดีคือความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม ประชาธิปไตยเสียงข้างมากไม่ได้เป็นระบบที่ดีเสมอไป

การหาสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่างคือการมี System คือแนวทางที่เป็นจุดเริ่มต้นภายใต้เมทาฟิสิกซ์ที่เห็นอะไรบางอย่างที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง

มีลัทธิหนึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องมุมมอง ถ้ามุมมองไม่เหมือนกันก็ฆ่ากัน ส่วนอีกลัทธิมองเรื่อง Form เป็นเรื่องการสร้างความสมดุลของตนเองและการยอมรับคนอื่นในสังคม

สรุป คือคนดีและมีจริยธรรมแท้จริงต้องเริ่มต้นด้วยความมีคุณธรรม ไม่ทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบกับคนอื่น การมีคุณธรรมจึงควรเริ่มจากตัวเองก่อนถึงจะไปสู่คุณธรรมในวงสังคม

นิยามความเพียงพอแต่ละคนไม่เหมือนกันคือความไม่มากไม่น้อย

กรีกเป็นกลุ่มคนที่ฉลาด และมีความเชื่อเรื่องมนุษย์ว่ามนุษย์ทุกคนมีความเก่งหมดเป็นอีกยุคหนึ่งในเรเนซองค์ ที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเก่งทุกคน แล้วต้องการให้มีเสรีภาพ นำมาสู่การให้มีเสรีนิยมทางศาสนาเกิดเป็นคริสตังกับคริสเตียน และความเชื่อที่ว่ามนุษย์เก่งจึงต้องการเสรีภาพในการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และเสรีภาพในการทำ เป็นที่มาของอดัม สมิทธิ์ นักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์

ประชาธิปไตยสามารถเลวได้เพราะไม่มีความชอบธรรม เป็นเผด็จการเสียงข้างมาก มีการบริหาร ตุลาการ อาจมีการโกงเลือกตั้ง หรือการบริหารไม่เก่งและโกงภายหลัง เป็นต้น

5. Perception เรื่องเดียวกัน Fact กับ Reality ไม่เหมือนกัน การทะเลาะเบาะแว้งกันมาจาก Perception ไม่เหมือนกัน ซึ่ง Perception มาจากเรื่องความรู้ และข้อมูลที่เป็นอิสระต่อกัน

6. Attitude สิ่งที่เราทะเลาะกันเพราะทัศนคติต่างกัน อาจเกี่ยวกับเรื่องความรู้และการศึกษา ทุกอย่างไม่ใช่ Yes or No แต่ทุกอย่างผสมกัน

7. Value หรือทะเลาะกันด้วยค่านิยม อย่างในบริษัทเรียก Corporate Value ทางสังคมเรียก Social Value

8. Culture พฤติกรรมภายนอกเรียกว่า วัฒนธรรม ตัวอย่างเช่นการไหว้เป็นทั้งทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรม เป็นต้น

9. Role ทุก Status ต้องมี Role

เช่นอาจารย์สมชายมี Status เป็นอาจารย์ Role คือสอนหนังสือ อาจารย์สมชายมี Status เป็นหัวหน้าครอบครัว Role คือเลี้ยงลูกเป็นต้น

ตัวอย่างเช่ มี 2 คนเป็นเพื่อนกัน คนแรกทำหน้าที่การตลาด อีกคนทำหน้าที่การเงิน สามารถมี Conflict กันได้ ต้องการเงินเพื่อทำการตลาด อีกคนต้องการประหยัดอาจเกิด Conflict ได้

ความขัดแย้งอาจมาจาก Status หรือมาจาก Role ก็ได้

10. Status กรณี Status ไม่เกิดแต่ Role เกิด เช่น เป็นอธิการบดี ได้เสนอให้เลี้ยงอาหารที่ร้านตัวเอง บางคนคิดบางคนคิดว่าเพื่อเงินเข้าร้านตัวเอง ทั้ง ๆ ที่เขาต้องการให้เลี้ยงเพราะร้านอร่อย แสดงว่า Perception ไม่ตรงกัน

Perception แม้อะไรก็ตามที่ไม่ได้ตั้งใจแต่ป้องกันชื่อเสียงอย่าไปยุ่งเลย เช่น คนที่เป็นนักการเมืองจะไม่ยุ่งกับเรื่องธุรกิจเลย

11. อุดมการณ์ ทำให้เกิดสงครามเย็น หรือก่อการร้าย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากสำหรับคนที่มีอุดมการณ์สูง เช่น ม.ธรรมศาสตร์ เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

12. ผลประโยชน์ จัดไว้เป็นอันดับสุดท้ายเพราะทุกเรื่องใน 11 ข้อข้างต้นเป็นในเรื่องของผลประโยชน์ เช่น UNCTAC ต้องการบอกว่าความเท่าเทียมกันต้องคำนึงถึงความแตกต่าง คนรวยต้องช่วยคนจนด้วย เช่นถ้าคนรวยกินข้าวกับคนจนไม่ใช่จ่ายเท่ากัน เป็นต้น

เรื่องของผลประโยชน์มาจากสถานะ และสถานภาพต่างกัน

คนที่มีปัญหามักมีจุดเริ่มต้นของความมีจุดอ่อน คนมีความแตกต่างกันมาก แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการมี Form คือความเป็นคน มีตาเหมือนกัน มีกฎแรงโน้มถ่วง

กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ และ Social Science ต้องเป็นคนที่ขี้สงสัยถึงฉลาด คนที่ฉลาดจะไม่มองสิ่งที่แตกต่าง แต่มองสิ่งที่เหมือนกันเป็น System Thinking คือภายใต้ความแตกต่างให้หาข้อสรุป

เมืองไทยเรียนแบบ Multi Discipline แต่คนที่ฉลาดต้องเรียนแบบ Inter Discipline


สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

วันที่ 4 สิงหาคม 2559

Business Strategies for Education

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

Strategic Planning Process

Michael Porter เป็นคนที่ 2 ที่นำมาสู่การเรียน MBA เขียนเรื่อง Competitive Advantage

Business Model

เหมือนกันหมด เรียกว่า Strategic Management

1. Strategic Planning มีองค์ประกอบ 3 ส่วน

- SWOT วิเคราะห์ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง

- วิสัยทัศน์ ทิศทางองค์กร (ต้องสอดคล้องกับ SWOT)

องค์กรมี 2 ส่วนคือกำหนดเป้าหมาย อีกส่วนคือวิสัยทัศน์เรียกว่า

- Strategic Direction

- Personal Value of The future

- Capacity to foresee the changing situation in the future (Visionary Leadership, Organic Thinking) เป็นหัวใจสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์ จะสามารถทำนายได้

- กลยุทธ์ประเภทต่าง ๆ การวางแผนระยะสั้น กลาง ยาว หรือ KPI

อย่างไรก็ตามทั้ง 3 ส่วนต้องเชื่อมโยงกันให้ได้

System ต้อง Horizontal และ Vertical

ระบบสังคมมี Dynamic คือมีการเปลี่ยนแปลงได้

ตัวอย่าง การวางแผนของประเทศ มหาเธร์ โมฮัมหมัด จากมาเลเซียได้ทำแผนยุทธศาสตร์ชื่อมาม่าซัง ปี 1990 -2020 ที่บอกว่าจะเปลี่ยนทิศทางจากประเทศที่กำลังพัฒนาไม่สู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว สิ่งที่มหาเธร์มีคือเขาวิเคราะห์อนาคต

มองถึงปลาใหญ่จะกินปลาเล็ก จึงมีการรวมกลุ่มเป็น AEC AFTA ASEAN+3

แสดงถึงการวิเคราะห์โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงที่มีอันตราย โอกาสคือมีสมาชิกขึ้นมา จุดอ่อนคือมีประเทศที่กำลังพัฒนา จุดแข็งคือเรารู้ภาษาอังกฤษ จุดอ่อนคือเป็นประชากร เราจะพัฒนาประเทศที่กำลังพัฒนาไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว มีวัตถุประสงค์อย่างไร

1. ส่งเสริมการรวมกลุ่มในภูมิภาค

2. กลยุทธ์รับใช้วัตถุประสงค์

3. เขตการค้าเสรี AFTA จะทำให้ตัวมาเลเซีย กับไทยไปในที่เดียวกัน ตลาดเป้าหมายเป็น 500 ล้านคน กำแพงภาษีที่เคยปกป้องจะหายไป ต้องมีการ Zoning เลิกปลูกยางแต่หันมาปลูกน้ำมันปาล์ม

2. Implement

3. อะไรที่ใช้แรงงานให้มีการย้ายฐานไป CLMV สร้างมูลค่าเพิ่มโดยการทำเป็นอุตสาหกรรมและกำหนดกลยุทธ์ มีเรื่องเคมี อุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ พลังงาน โลกในวันนี้กำลังพัฒนาไป 3.5 จึงต้องมีเป้าประสงค์ต่อไปในการพัฒนาเทเลคอม

4. บุคลากรจะเข้าไปสู่อุตสาหกรรม เน้นวิศวะ ต้องมีอุตสาหกรรมเป้าหมาย

ประเทศไทย CLMV

ตัวอย่าง ธุรกิจโรงพยาบาล มีการทำแผนยุทธศาสตร์ มีการคิดเชิงกลยุทธ์ วิเคราะห์จาก SWOT

1. สินค้า เงินทุน คนเคลื่อนย้าย อาจได้ลูกค้าจากทั่วโลก

2. ก่อการร้ายจาก 11 ก.ย. เป็นโอกาสของโรงพยาบาล หาทางการตลาดที่จะไปสู่กลุ่มนั้น

3. ลูกค้าที่เพิ่มจากประเทศเหล่านั้น และกลุ่มลูกค้าคนไทย

มีการพูดถึงธุรกิจ Blue Ocean และ Red Ocean ต้องสามารถอธิบายเป็นรูปธรรมได้ จุดอ่อนคือ ไทยยังไม่มีชื่อเสียงเมื่อเทียบกับอเมริกา และยุโรป แต่จุดแข็งคือ บริการเราเยี่ยมมาก ต้องคิดถึงลูกค้าที่ไม่ป่วยด้วย เพราะคนที่ไม่ป่วยอาจเป็นคนตัดสินใจพาคนป่วยมา เราต้องวิเคราะห์ให้รอบด้าน

การวางทิศทางองค์กร Hospitality คือเป็นมากกว่าโรงพยาบาล ยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดคือระบบที่มีคุณภาพที่ดี ต้องมีห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain) ทุกอย่างต้องเก่งหมด ต้องมองอย่างเป็นระบบ ดังนั้น

เป้าประสงค์ที่หนึ่งคือคุณภาพการรักษาเยี่ยม เช่น หมอเก่ง พยาบาลเยี่ยม ระบบดี เครื่องมือดี ความเชี่ยวชาญดี ฯลฯ Action Plan ต้องละเอียดที่ต้องรู้ว่าควรทำอะไร

เป้าประสงค์ที่สองคือรวดเร็ว การแบ่งคนไข้เป็น 2 ประเภท ขอถามว่าคนไข้นอกหรือคนไข้ใน คนไหนสำคัญกว่า คำตอบคือ โรงพยาบาลใหม่ถ้าไม่มีนอกจะมีในหรือไม่

Emergency อุบัติเหตุ หรืออายุรกรรมอันไหนสำคัญกว่า ถ้าจะดึงหมอและคนไข้ควรดึงที่อายุรกรรม ระยะเวลารอรักษาไม่ควรเกินครึ่งชั่วโมง และสร้างทุกอย่างให้เป็นระบบทั้งหาหมอ รับยา จ่ายเงิน

KPI จำนวนประเภทของบริการที่จะให้ ถ้าจะทำไม่ให้เขาเป็นโรคปอดจะทำอย่างไร ดังนั้นกลยุทธ์ที่ช่วยได้คือการรักษา ต้องทำโรงพยาบาลให้สวยเหมือนโรงแรม หรือทำโรงแรมห้าดาวในโรงพยาบาล

2. Strategic Positioning (Differentiation and Cost)

การเลือกทิศทางต้องเลือกทิศทางที่เหมาะกับเรา การวางทิศทางจะเกี่ยวข้องกับการสร้างแบรนด์ มี Brand Awareness ,Brand Image, Brand Equity, Brand loyalty

1. Brand Image – ภาพลักษณ์เราเป็นอย่างไร ทำอย่างไรให้มาหา และทำอย่างไรให้เขาอยากมา

2. Brand Awareness – สินทรัพย์ของแบรนด์ เนื้อหาของแบรนด์ คนที่อธิบายได้คือ Michael Porter ดังนั้นต้องสร้างภาพลักษณ์ให้เขานึกถึงเราในแง่ดี

3. Brand Equity

4. Brand Loyalty

การสร้างแบรนด์คือการเข้าถึงความพึงพอใจลูกค้า ดังนั้น

1. โครงสร้าง และยุทธศาสตร์อย่าดูแยกส่วน ต้องสร้างให้ไปด้วยกัน ต้องคิดถึงตำแหน่งลูกค้า

2. สร้างความพอใจที่สอดคล้องกับความแตกต่าง ต้องให้เขารักเรามากกว่าคนอื่น จะสร้างได้ต้องมีเนื้อหา แม้ว่าจะสร้างราคาแพงแต่สามารถชดเชยด้วยความแตกต่างที่เป็นรูปธรรม

3. เราต้องวิเคราะห์เป้าหมาย เราต้องลูกค้าเป้าหมายแล้วอย่าทำซ้ำ

4. ต้องมีลูกเล่น

5. ยุทธศาสตร์ต้องสร้างความหลากหลาย

6. คุณภาพต้องเยี่ยม

ตัวอย่าง การวิเคราะห์ความพึงพอใจของลูกค้าว่าชอบ One Stop Service ปั๊มน้ำมัน Jet จึงทำห้องน้ำสะอาด ร้านอาหาร มีร้านสะดวกซื้อ Jeffy หรือโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เน้นการสร้างความรวดเร็ว มีสิ่งอำนวยความสะดวกและสวยเหมือนโรงแรม เป็นต้น

Brand Awareness

ตัวอย่าง ม.อ.ต้องสร้างคุณภาพการเรียนการสอน การศึกษาเหล่านี้ต้องดูว่าตัวไหนที่เป็น Product Champion ให้พยายามดึงการเรียนการสอน ดึง Research สร้างตัวที่ประสบความสำเร็จ สร้าง Brand เป็นต้น

สรุปคือ ม.อ.มีจุดแข็งจุดไหน ระหว่างวิทยาศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์ เป็นหน้าที่ของ ม.อ.3. อะไรที่ใช้แรงงานให้มีการย้ายฐานไป CLMV สร้างมูลค่าเพิ่มโดยการทำเป็นอุตสาหกรรมและกำหนดกลยุทธ์ มีเรื่องเคมี อุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ พลังงาน โลกในวันนี้กำลังพัฒนาไป 3.5 จึงต้องมีเป้าประสงค์ต่อไปในการพัฒนาเทเลคอม

4. บุคลากรจะเข้าไปสู่อุตสาหกรรม เน้นวิศวะ ต้องมีอุตสาหกรรมเป้าหมาย

ที่สร้างความแข็งแกร่ง ให้เรียนไปแล้วได้ประโยชน์

Business Model

จะช่วยวิเคราะห์ New Paradigm Strategy

New Paradigm Strategy

1. Customer Interface มี Customer Benefit สู่ 2. Core Strategy มี Configuration สู่ 3. Strategic Resources มี Company Boundaries สู่ 4. Value Network

New Paradigm SWOT

1. Core Competency

2. Strategic Asset

3. Core Process

Strategic Asset คืออะไร การเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เจ้าของเงินเช่น กสท. ไม่ชำนาญในการบริหารเลยไปหา Orange หรือ True

ต่อมา True ต้องการขายกาแฟไปหาคนขายกาแฟเก่ง ๆ ก็กลายเป็น True Coffee

สรุปคือ ให้ทำสิ่งที่เราเก่ง แต่ถ้าจะขยายธุรกิจ ถ้าไม่เก่งอะไรให้ไปหาพันธมิตรที่เก่งมาช่วยทำได้ จะสามารถต่อยอดเป็นธุรกิจได้

สรุป

1. มหาวิทยาลัยต้องมีแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

2. วางยุทธศาสตร์ แต่ละคณะ แต่ละสถาบันต้องวางยุทธศาสตร์

คนมีโอกาสทั้งนั้น เพียงแค่เข้าใจ วิเคราะห์ตัวเอง วิเคราะห์อนาคต

3. พัฒนาอาจารย์ พัฒนามหาวิทยาลัย ให้มีความลุ่มลึกพร้อมเข้าสู่โลกาภิวัตน์


สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

วันที่ 3 สิงหาคม 2559

Group Assignment & Presentation Lesson Learned – Share and Care : บทเรียนจากหนังสือ (เล่มที่ 3) Committed TEAMS

โดย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กลุ่ม 1 Commit : To Know the Rules , 1)You have to make them

กลุ่ม 2 4)Pay Attention : The Seven Common Mistakes , You are Probably Making

กลุ่ม 3 9)Why are we here? Engaging Committees

กลุ่ม 4 7)Who has a good idea? Insights on Innovation

กลุ่ม 5 Conclusion : The future is Teams

ดร.จีระ หงส์ดารมภ์

การคิดต้องคิดแบบ Value Creation และ Value Diversity มากขึ้น

Intelligence ในอนาคตส่วนหนึ่งมาจาก IQ และอีกหลายส่วนมาจากส่วนอื่นด้วย และต้องมีการทำงานเป็น Teamwork ใครที่เก่งต้อง Explore และ Link กับเขาให้ได้ด้วย เมื่อจบหลักสูตรนี้ไปแล้วอาจกลับไปสู่สภาพเดิม

ต้องเปลี่ยน อาจารย์สมชายภูมิปัญญามาเป็น Your Own ภูมิปัญญา ต้องสร้างคนขึ้นมา และต้องบริหารจัดการคนให้เป็น เรื่อง People Management ให้ทำตัวเป็นคนที่รู้ไม่จริงแล้วให้ต่อยอดไปเรื่อย ๆ ให้ไป Apply กับความจริง แต่ละ Session ให้เก็บไปใน DNA ของเรา แต่ขอให้เก็บเป็นระบบคือ Systematic คือดึงมาตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ได้

การให้คนของ ม.อ.เป็นเลิศ ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

กลุ่ม 1 Commit : To Know the Rules , 1)You have to make them

หัวข้อวันนี้จะช่วยสนับสนุนโครงการที่เป็น 100 – 1,000 ล้านบาทขึ้นไปต้องมีการทำงานเป็นทีม ต้องมีการ Commit ผ่านการสื่อสาร ผ่าน 3 ประเด็นคือGoal ,Role, Norm

1. Goal การตั้งเป้าหมายจะทำให้ลูกทีมตอบคำถามว่าทำแล้วจะได้อะไร และกระบวนการจะทำให้ลูกทีมตอบได้ว่า ทำไมมาอยู่ที่นี่ และให้มีการเจรจาต่อรองระหว่างเป้าหมาย

การเลือก Product เช่น อาหารฮาลาล สถานที่จะไปอยู่ที่ไหน เช่นศูนย์กีฬา การPromotion จะทำอย่างไร

Development Goal จะเน้นในส่วน HR เช่น ฝึกทักษะ Microsoft และนำมาสู่เป้าหมายของคนใช้สปาที่มากขึ้น เช่นใน 5 ปีตั้งเป้าหมายไว้ 100 ล้านบาท จะได้ถึงหรือไม่

การ Alignment Goal มีอุปสรรคหรือปัญหา จะทำการคิด วิเคราะห์ให้เป็นระบบ System Thinking ได้อย่างไร เช่นตั้งเป้าหมายสปาภายใน 6 เดือน ถ้าได้จะทำอย่างไรต่อ ไม่ได้จะทำอย่างไรต่อในเชิงพัฒนา ไม่ใช่แค่รอปัญหา แต่จะคิดล่วงหน้าว่ามีอุปสรรคเกิดขึ้นจะแก้อย่างไร

2. Role คือแต่ละคนจะมีบทบาทหน้าที่อย่างไรในทีม ให้ลูกทีมทำงานได้ตรงกับทักษะจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของทีมได้ดียิ่งขึ้น สมาชิกมีส่วนร่วมในการกำหนดบทบาทหน้าที่ของตนเองจะช่วยให้เขากระตือรือร้นและเพิ่มประสิทธิภาพทำงาน

Team Culture การเรียนรู้จะช่วยทำให้เราสามารถกำหนด บทบาท หน้าที่และขับเคลื่อนทีมไปในทิศทางที่ถูกต้อง

แกน Y จะบอกถึงการกระจายอำนาจภายในทีม ในส่วน Hierachy เรื่อง Authority จะให้ในส่วนของ Leader ซึ่งตรงกับ Flat คือการกระจายอำนาจในทีม

แกน X จะหมายถึงความสัมพันธ์การทำงานภายในทีม มีการทำเป็นปัจเจก และประสานงานกัน

1.Team Culture ทีมี Hieracy มากกว่า Flat ลูกทีมจะทำตามคำสั่ง

2.ลูกทีมขับเคลื่อนด้วยวิสัยทัศน์ของทีม

3. ลูกทีมีความสามารถส่วนบุคคล การจัดการจะต้องอาศัยผู้นำที่ Strong มาก

4. Friend จะมีการประสานงาน และสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร

ให้วิเคราะห์ว่า Culture องค์กรแบบไหนและเลือกรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อจัดการ

3. Norm เป็นเรื่องข้อตกลง การดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย เมื่อมีอุปสรรคต่าง ๆ ต้องมีข้อตกลงแก้ไขความขัดแย้ง มีการเอาชนะอุปสรรคอย่างไร ต้องมีการตกลงในกลุ่มขององค์กร

การร่วมแสดงความคิดเห็น

กลุ่ม 2

สิ่งที่เห็นชัดคือพูดถึงทีมที่มากกว่าการมาทำงานร่วมกัน สิ่งสำคัญคือ 1. Goal ต้องมีการทำงานร่วมกันก่อนถึงเป็นทีมได้ และ 2. Role การมารวมกลุ่มกันต้องมีการกำหนดบทบาทที่ชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา การมีบทบาทชัดเจนจะช่วยให้เกิด Synergy 3. ต้องมีกฎระเบียบหรือบรรทัดฐานที่มีการทำงานร่วมกันเพื่อทำให้เป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่กลุ่ม 1 พูดในวันนี้ได้ไปต่อยอดการทำงานกลุ่มเมื่อวานดีมาก ทีมมาจากคนซึ่งเป็น Basic จาก Human Capital ต้องให้ทีมมีความคิดถึง We มากกว่านึกถึง I และอยากฝากไว้คือ สมาชิกของทีมนอกจาก Role ชัดเจนแล้ว ในอนาคตถ้ามี Project ไหนขึ้นมาอยากให้ต่อเนื่อง ตัวละครที่ขึ้นมาอย่าให้เป็นตัวแทน เพราะถ้าเป็นคนที่ไม่รู้เรื่องมาทำแต่ถ้าเป็นงานต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง จะไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร

ตัวอย่างเช่น ชุมชนถ้ามีความต่อเนื่องจะมีความมั่นใจในการทำงานเพื่อชุมชนได้

ทีมต้องกล้าที่แสดงความคิดเห็นที่ทุกคนต้องให้เกียรติเขา สิ่งสำคัญคือต้องมีผู้นำแบบ Hillary Clinton ที่ต้องรับฟังเพื่อให้เขาพูด การที่คนเงียบอาจเพราะไม่อยากออกความเห็น เพราะออกมาแล้วไม่ได้ประโยชน์

Norm น่าจะเป็นอะไรที่ Intangible เป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันแล้วทำสำเร็จคือ Norm ซึ่งแต่ละองค์กรไม่เหมือนกัน

บริบทของ ม.อ. บางครั้งติดความเป็นเจ้านายและติด Culture ข้างบนด้วย การทำทีมให้สำเร็จต้องหลุดจากวัฒนธรรมที่อันตราย เน้นการรวมตัวกันเพื่อให้เกิดชนะ เป็น Stronger together

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

เรื่องทีมจะตามมาด้วย Conflict แต่องค์กรที่เป็น OB แม้สร้างให้มีบทบาทที่ชัดเจนอย่างไร เราต้องทะลายกำแพงหรือ Group Think ให้ได้ แม้มีเป้าหมายเดียวกันแต่คนอาจไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ ต้องมองทำงานเป็น Team at work

เรื่อง Collaboration เป็นคำที่มีความสำคัญที่จะปรับเปลี่ยน Mindset ของคนในองค์กรให้คำนึงถึง Diversity ที่มีความหลากหลายอยู่ ต้องเน้นการปรับ Mindset ไม่อย่างนั้นจะมีปัญหาในอนาคต ดังนั้นการ Honor ผู้นำต้องเก่งและยอมรับความหลากหลาย บางเรื่องให้แยกออกมาเป็น Case เล็ก ๆ แล้วจะทำได้ ประเด็นสำคัญอยู่ที่การ Overcome Difficulty ให้มีการ Share Benefit กับ Cost และต่อยอดกับงานกลุ่มที่นำเสนอเมื่อวานนี้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เรื่อง Strategy ตั้งอย่างไรก็ได้ทางยุทธศาสตร์ แต่ถ้าทีมไม่ไปก็ไม่รอด หนังสือเล่มนี้ Simplify มากได้สอนเรื่องการบริหารทีม ให้เราปรับตามนั้น เพราะมีหลายทีมที่เราเลือกไม่ได้ สิ่งที่กลุ่ม 1 นำเสนอเขาแยกประเภท บทบาทและวิธีการให้ ก่อนไปถึงการบริหารคนได้พูดถึง Goal ,Role, Norm มีการตั้งชัดเจน และกำหนดบทบาท ผู้นำสามารถจัดบทบาทให้ในกลุ่มได้ หนังสือเล่มนี้ทำให้เราเห็นชัดขึ้นว่าทำอะไรอยู่ และถ้าเราพลาดจะพลาดเพราะอะไร และเมื่อ Goal เปลี่ยนแล้วเราจะปรับตามอย่างไร เป็นเรื่อง People Management

หนังสือเล่มนี้เป็นทีมที่ต้องยืนยัน และทุกเรื่องเป็นเรื่องที่ต้อง Commit

กลุ่ม 2 4)Pay Attention : The Seven Common Mistakes , You are Probably Making

ประเด็นในบทที่ 4 ต่อเนื่องมาจากบทที่ 1,2,3 เป็นการพูดว่าทำไมทีมหลายทีมถึงเป็นทีมที่มีศักยภาพต่ำ การทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีความซับซ้อนสูง และการเปลี่ยนแปลงมากต้องใช้ทีมที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จต้องเป็นทีมที่มีสมรรถนะสูงคือ High Performance Team

การนำสิ่งที่รู้ ที่คิดว่าควรทำไปทำแล้วให้เกิดขึ้นจริงเป็นเรื่องที่ยาก ในบทนี้ได้เขียนเรื่องข้อผิดพลาดที่ทำให้ทีมไม่เป็นทีมที่มีสมรรถนะสูงคือ

1. Goal ให้ความสำคัญกับเป้าหมายที่เป็นนามธรรม (Abstract) มากเกินไปคือ Inspiring Vision เพราะเป้าหมายใหญ่ ๆ ของผู้บริหารทีมไม่เข้าใจ ไม่ทราบบทบาท ทีมไม่รู้สึกทุ่มเทแรงกายแรงใจทำงานไม่มี Commitment เป็นแค่รวมกลุ่มการทำงาน ดังนั้น

2. Role หลายทีมคิดว่าเน้นแค่สมาชิกในทีมเก่งก็พอ และเมื่อเรา Assume แบบนี้แล้วจะทำให้ทีมขาดสมรรถนะ หลายคนบอกว่ากำหนดบทบาทชัดเจนจะทำให้ทีมมีสมรรถนะมากยิ่งขึ้น ได้ยกตัวอย่างบาสเก็ตบอล ทีมที่มีผู้เล่นเก่งเฉพาะตัว แต่แพ้ทีมทีมีระบบการบริหารที่ดี

3. Norm การสร้าง Norm สร้างได้ถ้าสมาชิกในทีมมีความสัมพันธ์อันดีซึ่งกันและกัน การสร้าง Normให้ง่ายที่สุดต้องให้ความสัมพันธ์กับสมาชิกในทีม

4. มีกฎระเบียบมากเกินไป มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เน้นการสร้างระเบียบร่วมกันและหลายกฎระเบียบมาบีบรัด ทีมที่มีประสิทธิภาพจะวางแนวทางเฉพาะสิ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลัก ๆ ของทีมเท่านั้น การวางกฎระเบียบทุกเรื่องจะเสียเวลา

5. ไม่ให้ความสำคัญกับการทบทวน (Feedback) ผลงานที่ผ่านมา เราไม่เคยมีการให้ feedback กับสิ่งที่สำเร็จ แต่ไปให้กับสิ่งที่ไมใช่ การที่เราทำดีอยู่แล้วถ้าเพื่อนทำดีกว่า สิ่งที่เราทำอยู่แล้วจะแย่ทันที เราต้องทำ feedback ว่าเราจะทำให้ดียิ่งขึ้นอย่างไร ในหนังสือบอกว่าเราควรทำให้เป็นประจำ เป็น Informal

6. ทีมไหนที่ต้องการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่สามารถชักจูงให้ทีมรู้จักการเปลี่ยนแปลงได้ เช่นผู้บริหาร ABC ทำ Series เรื่อง Ross แต่ผู้บริหารสถานีไม่มีความเชื่อมั่นว่าทำได้ และถูกออกก่อน ต่อให้มีความเชื่อมั่นและเป็นแนวคิดที่ถูกจะทำให้ไม่สำเร็จ

7. Process คือการทำอะไรที่มองเฉพาะเจาะจง โดยขาดการมองภาพใหญ่ ทำให้ที่รู้เป็นเรื่องผิวเผินและไม่สามารถมองภาพใหญ่ได้

การทดลองให้อาสาสมัครนับว่าการตีลูกปิงปองได้กี่ครั้ง ให้ลิงนับเฉพาะลูกปิงปอง การที่เรา Focus จุดใดจุดหนึ่งมากเกินไป จะทำให้ลืมมองบรรยากาศรอบ ๆ ของทีมและเกิดปัญหา

ทีมที่ไม่มีสมรรถนะสูงจะไม่สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ส่วนที่ต้องการได้

การร่วมแสดงความคิดเห็น

กลุ่ม 3

ในมุมมองเรื่องความผิดพลาดของม.อ.คิดว่า Mistake ไหนสำคัญที่สุดและควรแก้อย่างไร

กลุ่ม 1 ตอบ คิดว่าเรื่อง Making too many rules

กลุ่ม 3 ตอบว่าเป็นเรื่อง Abstract goal

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

โอกาสที่จะทำอะไรของมหาวิทยาลัยเมื่อออกนอกระบบมหาศาล

ลูกศิษย์ของดร.จีระ ต้อง Micro และ Macro Perspective แต่คนที่ทำงานใน ม.อ.รู้แต่ภาพเล็ก ๆ เลยลืมไปว่า ม.อ.มีทางเลือก หรือทางออกอื่น คนที่ทำงาน ม.อ. ควรเป็นคนที่มองอนาคตออก มี Sense of Entrepreneurship และเป็น Network Partner

การ Return on Investment เป็นเท่าไหร่ ระวังการ Return ออกมาแล้วจะขาดทุน คนที่เป็นมันสมองของมนุษย์แล้วไม่ต้องโกงมาคือ ม.อ. ต้องทำแบบ Pay for Performance ระบบข้าราชการหรือ ม.อ.ในอดีตไม่ใช่การบริหารแบบคอมมิวนิสต์ เรื่องกฎระเบียบสำคัญ

ให้แปลง Vision เป็น Achievable Goal

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ควรตั้ง Smart Goal อย่าพูดอย่างทำอย่างแล้วคนในองค์กรขาดศรัทธา และเรามักจะละเลยและเพิกเฉยต่อ feedback เราต้อง Receiving feedback อย่างไร สิ่งที่เป็น Informal ที่ทำได้ดีที่สุดควรทำเรื่อง One on one conversation จะมีการคุยกับคนที่เป็น Indirect Report จะคุยกันมากขึ้นและ Trust มากขึ้น บางครั้งถ้าเราคิดอยากทำแต่ไม่เอาม้าไปหน้าเกวียนจะไปอย่างไร เราสร้างกระบวนการที่ดีแต่เราไม่มีวิธีการ ไม่มีวิธีการที่จะมา Simplify

ถ้าจะเริ่มทำตรงนี้ให้ได้ต้องกลับมาที่ Learning ให้มีการเรียนรู้รูปแบบใหม่

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ทำโครงการฯให้ชนะเล็ก ๆ ค่อยไปชนะใหญ่ ๆ มุ่งเป้าแต่ไปไม่ถึง ในทีมใหญ่ จะมีทีมเล็กด้วย ถ้าทำ Halal Consult อะไรที่สังคมต้องการ แล้วเราเก่งตรงไหน คืออยากให้ Focus และชนะเล็ก ๆ จะไม่เป็น Abstract ละการเป็น Smart Goal ก็ยังทำอยู่

กลุ่มในห้องเรียนนี้จะมีเป็น Gap อยู่คือการถ่ายทอดจากบนลงล่าง ให้ชนะเล็ก ๆ แล้วให้กำหนดบทบาท ในทุกทีมมี 3 ตัวนี้หมด

เรื่องบาสเก็ตบอล กีฬายุคใหม่ไม่เหมือนเดิมแล้ว ทีมยุคใหม่แทงได้ตลอด สุขภาพต้องดี กำลังแข็งแรง กำลังใจเข้มแข็ง

เหตุที่โครงการฯ ดีเพราะทำเป็นทีม ไม่ใช่ทำคนเดียว อีกเรื่องที่สำคัญคือกฎระเบียบ ขึ้นอยู่กับบทบาทของคนหรือไม่ กฎระเบียบขึ้นอยู่กับบทบาท ซึ่งเป็นเรื่องที่ Simplify บทบาทได้

กลุ่ม 3 9)Why are we here? Engaging Committees

สิ่งนี้เป็น subset ของทีม ประเด็นคืออยากรู้ว่าการมี Committees ที่ทำงานร่วมกัน บางที่ประชุมเน้นที่ Prosier แต่ไม่ได้ไปดูที่ Process หรือผลผลิต เน้นกระบวนการขั้นตอนมากกว่าความสร้างสรรค์ในที่ประชุม Goal ก็ไม่ชัดเจน Committee ไมมีโอกาสแสดงเห็นตอนเข้าที่ประชุม ถ้าที่ประชุมใครเสียงดังอาจทำให้ทิศทางเปลี่ยนไปเลยเนื่องจากความเกรงใจต่าง ๆ จึงไม่นำไปสู่การประชุมที่ประสบความสำเร็จแต่ล้มเหลว

1. การตั้งกรรมการมีทำไม ได้ยกตัวอย่างในหนังสือ มีการประชุม 300,000 ชั่วโมง อย่างแย่ที่สุดได้ใช้ Committee ช่วยในการตัดสินใจ บางอย่างไม่ใช่กระบวนการพิจารณาแบบอื่น ก่อนอื่นควรถามตัวเองก่อน 3 ข้อก่อนตั้งกรรมการ

- การตัดสินใจสะท้อนความสามารถและสะท้อนวัตถุประสงค์การทำงานหรือไม่

- มีกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่อยู่แล้ว แต่ไปตั้งอีกชุดนึงทำไม

- บางประเด็นควรให้ประชาคมช่วยออกความคิดเห็น แทนที่จะเป็นชนะมติของกรรมการหรือไม่

- สรุปคือต้องตั้ง แต่จะดึงคนที่ใช่ร่วมเป็นกรรมการได้อย่างไร

1. Size คือกรรมการควรมีกี่คน ให้ตั้งไปเลย

2. Schedule ต้องดูว่ากรรมการแต่ละท่านยุ่งหรือไม่ หลายท่านมีแผนประชุมมากอยู่แล้วจะส่งผู้แทนมาก็ไม่ควร

3. Skill ประเด็นที่หารือในกรรมการควรมี Skill ครบถ้วน

4. ดึงคนที่น่าเกรงใจจะดีต่อความน่าเชื่อถือ

5. เลือกสไตล์การทำงานที่ถูกต้อง

สรุปคือ ที่กรรมการเลือกมา ที่ประชาจะสะท้อนตัวเขาอย่างไร วิธีก็คือจะส่งผลดีไปสู่ Organization และสะท้อนไปที่บุคคลได้อย่างไร Goal ต้องชัดและให้ Specific ส่วน Role ถ้าไม่ชัดเจนอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด เถียงในที่ประชุม และควรเปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นได้เท่ากันทั้งหมด ทุกคนมีสิทธิมีเสียงแสดงความคิดเห็น

สรุปคือ จะสร้าง Committee ได้อย่างมีประสิทธิผล ต้องแน่ใจว่า Committee จำเป็นจริง ๆ และต้องเลือกคนที่ถูกต้อง และต้องทำให้คนในที่ประชุมเข้าใจตรงกัน ต้องมองเป้าประสงค์ที่ส่งไปถึงคนคืออะไร

สามารถไปใช้สร้างบรรยากาศการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

การร่วมแสดงความคิดเห็น

กลุ่ม 4

การตั้งกรรมการต้องดูความเหมาะสมว่าควรตั้งหรือไม่ มีความซ้ำซ้อนหรือไม่ คนที่เข้าร่วมไม่เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนเองอาจทำให้การประชุมล้มเหลวได้ บทบาทถ้ามีผลสืบเนื่องต่อคณะกรรมการจะมีผล การนำมาใช้กับ ม.อ. ก็น่าจะเป็นประโยชน์ดี คณะกรรมการถ้าจะนำตัวแทนมาได้ขอให้นำคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องตรงนั้นมา

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรื่อง Committee กับทีมสามารถใช้ร่วมกันได้ แนะนำว่าให้มีการทำ Survey ว่า committee ที่มีอยู่อันไหนจำเป็น อันไหนไม่จำเป็นให้แยกออกให้ดี ดร.จีระได้ยกตัวอย่างเรื่องถ้ามีการประชุมกรรมการการเงิน กรรมการบุคลากรจะขอไม่เข้า เลยมีเวลาคิด Project ใหม่ ๆ และการทำอะไรก็ตามต้องมี energy ที่พร้อม ฝากเรื่องการดูบทบาทของ committee เสนอที่ประชุมคณบดี และถ้าส่งใครไป Opportunities Cost สูง เพราะถ้าไปเพราะนายสั่งไปแต่อาจไม่รู้เรื่อง

หลักสูตรนี้เกี่ยวกับความบ้าคลั่ง ไม่ใช่เรียนหรือไม่เรียน อยากให้มหาวิทยาลัยไปสำรวจ committee ที่จำเป็น ในยุคต่อไปต้อง Inclusive ทุกคนที่มาประชุมมีคุณค่าทั้งนั้น

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

1. จำเป็นต้องมี Committee หรือไม่ ตั้งเพื่ออะไรสามารถทำในทีมตัวเองได้หรือไม่

2. ตั้งแล้วต้องมาดูว่าคนนี้มีบทบาทหรือมีส่วนเกี่ยวข้องจริง ๆ หรือไม่ วันแรกที่นั่งประชุมกันจะเริ่มลุย ทีมผู้บริหารที่มาจากที่ต่างกันต้องทำ Management ในทีมก่อนเพื่อให้เข้าใจซึ่งกันและกัน ต้องอาศัย HR เข้ามาช่วย มีการนั่งคุยกันว่าเราเข้ามาอยู่ในทีมเพื่ออะไร

3. การไปอยู่ในทีมเรื่องคน แม้เราไม่มี Background ถ้ามีบทบาทหรือโปรเจคที่เข้าไปนั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องดูให้ดี

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

คิดว่าการตั้ง Committee จำเป็น การมีประสิทธิภาพสูงถึงเชิญเป็น Committee แต่สิ่งที่สำคัญคือจะ Engage Committee อย่างไร คือทำให้กรรมการมีความสุข มีความพึงพอใจ มีความต้องการที่อยากมาช่วย ถ้าไปประชุมถามว่าต้องไปทำไม ถ้าทีมใดต้องมีกรรมการ แต่อย่าคาดหวังถ้าเราไม่ Engaging ต้องมีการใส่ความรู้คือมี Learn –Share –Care ในเรื่อง Engaging คือวิธีการที่จะทำจะทำอย่างไรที่ Engaging ให้ได้

กลุ่ม 4 7)Who has a good idea? Insights on Innovation

1. ใครมี Good Idea และในเรื่องจะบอกว่าเมื่อมี Good Idea เกิดขึ้นแล้วจะทำอย่างไร Good Idea ที่เกิดขึ้นเป็นงานที่ต้องทำ มีอยู่ 3 Key คือ Define Discipline

1. Innovation เกิดขึ้นได้ต้อง Try and error สิ่งที่ดีต้องรักษาไว้ ไม่ดีต้องทิ้งไป ต้องฝึกฝนเยอะ ๆ

2. เมื่อมี Social Interaction หรือท่ามกลางคนหลายคน

3. Innovation can be learn ต้องเกิดจากรอบคอบ และเรียนรู้ ต้อง ทำงานหนักเท่านั้นหรือมี Innovation และเกิดขึ้นได้ต้องมีการจัดการที่ดี

2. Kick Starter เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดInnovation

1. ต้อง Require Value ให้ชัดเจน เพราะเป็นเหมือนตัวประคองไม่ให้ตกทางเพื่อเดินไปสู่เป้าหมายข้างหน้า มีทิศทางที่ชัดเจน ได้ยกตัวอย่าง IKEA ที่ทำเฟอร์นิเจอร์สำหรับทุกกลุ่มและราคาไม่แพง ถูกกว่าคนอื่นจึงผลิตเพื่อลดต้นทุน ดีไซน์เรียบสุด และมีฟังก์ชั่นเต็มที่ กำหนดราคาก่อนเพื่อให้ไม่แพง ให้ดีไซน์แพ็คเกจเป็น Flat เพื่อลดการขนส่งให้ขนส่งเองได้

2. Multiply perspective ต้องขยายมุมมองตัวเองหลายมุมมอง ขยายได้จากการอ่าน

3. Talking with Customer ต้องศึกษาพฤติกรรมและพูดคุยกับลูกค้าด้วย ยกตัวอย่าง IKEA ไปพูดคุยที่เซิ่นเจิ่น พบว่าคนนั่งพื้นแล้วหลังพิงโซฟา ก็หันมาออกแบบที่ตอบสนองลูกค้าได้

สรุปคือให้เลือกทำในสิ่งที่เหมาะสมกับทีมเรา

3. Thinker คือการนำไอเดียมากประกอบกันเพื่อตอบสนองในสิ่งที่เราต้องการ

4. Respect Tradition คือการเคารพอดีต เป็นการพูดว่าทุก Innovation ต้องมี Theme อันหนึ่งและต้องให้ความสำคัญกับอดีตและอนาคต ยกตัวอย่าง Iphone Ipad เอาของเก่ามาปรับใหม่เป็น Innovation

การมี Theme จะช่วยทำให้เรา Focus แล้วกระตุ้น Innovative ได้ง่าย

Innovation มี 2 แบบคือทั้งมุมกว้างและลึก และมาออกแบบให้สอดคล้องกับที่เราจะไป

5. ต้อง Create Third Place คือที่ไม่ใช่บ้านและที่ทำงานแต่เป็นที่ทุกคนผ่อนคลายและอยากไปอยู่ ได้ยกตัวอย่างว่า Starbucks ได้ตั้งเป็น Third Place ที่แบบนี้จะทำให้เกิด Social Interaction ระหว่างกลุ่มคน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิด Innovation

มีการวิจัยใช้กล้องในการทำงานของทีม จะพบว่า ทีมรีเสิร์ทจะเกิดขึ้นตอนทีมไม่เป็นทางการ เป็นการเปิดโอกาสให้มีการปะทะกันทางปัญญา

ในมุมมองของมหาวิทยาลัยอยากถามว่าพอหรือยังกับ Value ที่มีอยู่ สิ่งหนึ่งที่มหาวิทยาลัยยังขาดอยู่คือ Third Place น่าจะมีที่ที่อยากให้ทุกคนมาเจอกัน มีการคุยกันและปะทะกันทางปัญญา ถ้า ม.อ.มี Learning organization มีบรรยากาศ Third Place จะดีมาก

การร่วมแสดงความคิดเห็น

กลุ่ม 5

ทำอย่างไรให้ความรู้แต่ละศาสตร์ได้มาปะทะกัน จะเจอเฉพาะบางที่บางคนบางกลุ่ม แต่ละศาสตร์จะทำอย่างไรได้บ้างเป็นสิ่งที่หารือ

การทำอะไรเมื่อเจอข้อผิดพลาดจะไม่เดินซ้ำรอยเดิมเพราะกลัวการผิดพลาดจึงไม่อยากทำซ้ำ

เรื่อง Innovation กับ Kick Starter ที่บอกว่าทำอะไรก็ตามราคาถูกหรือแพงไม่สำคัญของให้ชดเชยด้วยความแตกต่าง ได้ยกตัวอย่าง IKEA

จะมาสู่ Customer Behavior โยงอดีต ปัจจุบันอนาคตอย่างไร การสร้าง Mall ที่เป็นส่วนรวมจะสร้างได้จริง และก่อให้เกิดรายได้จริงหรือไม่ หรือเสียเปล่า ในเรื่อง third place มองว่า Idea สามารถเกิดตรงไหนก็ได้ ไม่ใช่คิดแล้วนิ่ง คิดแล้ววาง แต่ต้องคิดแล้วเกิดการขับเคลื่อนได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรื่อง Concept Innovation ไม่ใช่เรื่องแข็ง เรื่อง Innovation ในม.อ.มีตั้งแต่หลักสูตร การเรียนรู้ และหลายอย่าง การเกิดขึ้นต้องขอให้เกิดจากสิ่งที่เล็ก ๆ ก่อน

เรื่อง Sequence ต้องมีของใหม่ ๆ ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ ต้องมี Body of Knowledge ม.อ.มีหมด ใน Stage ที่ 2 มีปัญหาคือไม่ได้ Turn idea into action สรุปคือต้องมีตัวละคร บางครั้งอาจไปยืมตัวละครจากข้างนอกมา ให้ Base on your success เรื่อง Innovation ต้องตอบโจทย์ Customer ได้ และถ้าทำสำเร็จจะมีลูกค้า และลูกค้าจะกระเด้งเพราะปากต่อปาก แต่ม.อ.ขาดที่ Turn idea into action และไม่จำเป็นต้องเป็นผู้บริหารระดับสูง แต่สามารถเกิดกับใครก็ได้ ระบบการศึกษาไทยยังไม่ได้สนับสนุนให้คิดเป็นส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะ copy copy copy

Concept ดร.จีระ เป็นต้นไม้ใหม่ที่เกิดขึ้นทุกวัน มีความสามารถทำ Proposal ได้หรือไม่ จึงอยากให้มี Networking มากขึ้น และให้มีConnection ในต่างประเทศด้วย คนที่มีประสบการณ์ในไทยต้องมีหลายระดับ

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

มีประสบการณ์ที่ญี่ปุ่นคือศูนย์หนึ่งจะนำผู้บริหารไปอยู่ในห้องหนึ่งซึ่งเป็น Product ที่สรรหาไม่เจอ นำผู้บริหารไปนั่งดู ให้ผู้บริหาร Visualize ว่าเวลาสร้างรถแล้วทำแบบใหม่จะทำอย่างไร เป็นการกระตุ้นผู้บริหารอย่างหนึ่ง

ทำอย่างไรให้ทำที่ 20 แล้วให้ได้ 80

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

นวัตกรรมเริ่มจาก Inspire แล้วเกิดImagination แล้วเกิด Innovative แต่จะทำไม่ได้ถ้าไม่มี Deep Dive ในทีมหนึ่งถ้าจะสร้างนวัตกรรมจะทำอะไรได้บ้าง ให้เริ่มจากค้นหาสิ่งที่เราเก่งที่เราดี การต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่เช่น คณะทรัพยากรธรรมชาติจะทำร่วมกับการท่องเที่ยว มีเรื่องการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ หรือศูนย์สุขภาพอาจมีฮาลาลคอลซัลท์ มี SEA GAME มี IT มีแพทย์แผนไทยที่จะไปใส่ใครก็ได้เป็นต้น

ดังนั้นสิ่งที่ Define ออกมาแล้วต้องเปิดมุมมอง ต้องไปอ่านและหาความรู้ใหม่ ๆ ต้องมี Fresh Air ที่คิดได้ ต้องไปหาความจริง ให้เป็น Thinker แล้ว Innovation ก็เกิด ให้มี Engaging Committee แล้วอย่าลืมเรื่องวัฒนธรรม

เรื่อง Create a third place ควรมี เพราะบางครั้งต้องมีการ Inspire ไม่เช่นนั้นจะหายไป ต้องมีความสุขและความสนุกถึงจะเกิด Idea และสร้าง Innovation ได้ เราต้องเลือกให้ดีแล้ว Engage ให้ได้

กลุ่ม 5 Conclusion : The future is Teams

Teamwork ตัวอย่างของ Apple มี Steve Jobs ได้กล่าวถึงไอเดียเกิดได้อย่างไรและทำอย่างไรกับไอเดียนั้น ซึ่งเบอร์หนึ่งจะมาคลุกกับไอเดียของทุกคน และเชื่อว่าบางไอเดียทำได้

หนังสือนี้เป็นงานวิจัย และจากการวิจัยก็ออกมาเป็นหนังสือเล่มนี้

Summary กับ Conclusion

Conclusion คือการนำไอเดียมาแตกออก

1. Teamwork จะนำไปใช้อย่างไร ต้องทำกับ workplace คือที่ทำงานในอนาคตอย่างไร

2. Teamwork สำคัญอย่างไร

3. ทำให้ Team นั้น Workได้อย่างไร

4. ทำอย่างไรให้ Work as Team

Teamwork ในอนาคตให้มองถึงภาพรวมว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานจะเปลี่ยนหรือไม่

1. ต้องมีการ Outsourcing มากขึ้น การสร้างให้ทุกคนพร้อมไม่ได้ การ Outsource เร็วกว่า และ

2. การทำงานต่อไปนี้จะเป็น Anywhere workplace

3. Flexible workforce คืออย่าเกาะติดกับการทำงานที่เดียวเพราะอนาคตเปลี่ยน

ต้อง Define งานแท้จริงคืออะไร อะไรคือจริง อะไรคือเท็จ เราเป็นคนของใคร

Workplace ในปี 2022 เป็นอย่างจะเปลี่ยนอย่างไร มี 3 ลักษณะ

1. Blue เป็นโลกซึ่งองค์กรขนาดใหญ่คือองค์กรจะรวมกับองค์กรอื่นเพื่อให้ใหญ่ขึ้นเอาทุกอย่างไปอยู่ในองค์กรนั้น ความคาดหมายองค์กรแบบนี้คือต้องการความมั่นคงคือ Longterm และการพยายาม Shifting Network คือเพื่อให้เติบโตเร็วขึ้นในองค์กรนั้น ๆ

2. Green เนื่องจากเรามี Social Responsibility มากขึ้น ทุกคนถูกเรียกร้องเพื่อทำงานในสังคม เราจะพูดในเรื่องของ Good Growth เป็นแนวที่เราต้อง Take Balance ให้ดีคือ Work and Life คือเอาชีวิตการทำงานมาสร้างสมดุล ทุกคนมีความเป็นปัจเจกสูงขึ้น ทุกคนจะเลือก Design ว่าทำอย่างไร ประเด็นนี้จะมีความยากมากในการสร้าง Teamwork เพราะมีความเป็นปัจเจกสูง

3. Orange เน้นการทำงานที่ Align ออกหมด และมองว่าเป็นทีม เป็นการมองแบบ Cooperation คือการเสาะแสวงหา คนไหนตอบโจทย์ได้ให้ดึงมา ให้ดูผลลัพธ์จาก Project by Project เป็น Freedom of Working สูงมาก คนหนึ่งคนสามารถมี Contract ได้หลายที่ และเมื่อทำงานเป็น Project ต้องทำงานให้ได้เร็วและตอบโจทย์ให้ได้เร็ว แต่ต้องมีความเชี่ยวชาญทำทีม

ทั้งสามอย่างจะเกิดขึ้นพร้อมกัน ดังนั้นทีมในอนาคตจะมีลักษณะ คือ

1. เป็นแนวราบมากขึ้น คนที่ Assign ต้องเป็น Facilitator ต้องทำงานให้เกิด และทำหน้าที่เป็น Mentor ดูให้คนเหล่านั้นเกิดได้ และตัดเรื่อง Hierachy ออก

2. Looser คือจะหลวมขึ้น ใช้ Outsource ใครเก่งที่ไหนจะตามไปล่าคุณ การเป็น Looser คือการดึงคนหลายอาชีพทำงานร่วมกัน และทำให้เป็น Cheap on track ต้องมี Goal หรือเป้าหมายชัดเจน และต้องเป็น Wider คือทุกมุมโลก

3. ทุกคนจะเป็นดารา เป็น Hollywood Model ทุกคนรู้บทบาทตัวเองมากขึ้น มีคนส่งงานให้ก็ตชทำ

การทำหน้าที่ในทีมมี 3 อย่างคือ

1. Commitment คือทำหน้าที่อะไร

2. Alignment คือการทำงานกับคนในนั้นได้ คือต้องทำตัวเป็นจิ๊กซอว์ ต้องทำให้เกิดภาพที่สวย

3. Close the Gap คือต้องสามารถ Saying by doing

สรุปคือ Team แตกต่างจาก Committee คือ Team พูดแล้วต้องทำ

การนำไปปรับใช้กับ ม.อ.

1. ม.อ.คาดว่าเป็น More Blue and Green but less Orange

2. จะเป็นลักษณะกึ่ง Silo มากขึ้น

3. Transitional Complex พร้อมให้เราเปลี่ยนแปลง

Teamwork ใน ม.อ.จะพยายามมองทีมที่ Across กันอย่าทำ Research อย่างเดียวแต่ให้ต่อไปเรื่อย ๆ ให้ Build The High Performing Culture ประเด็นคือ 1.ต้อง Productive มีประสิทธิภาพ 2.ต้องมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลง 3. ต้องมีความอึดและสู้กับความล้มเหลว ล้มแล้วพร้อมที่จะลุกตลอดเวลา 4. ต้องพยายามพัฒนา Skill สำคัญเตรียมพร้อมสู่โลกอนาคต คือ Collaborative skill เช่น Collaborative speaking , Positive Thinking 5.การทำงานเน้น Project by Project มากขึ้นและ Performance Team

การร่วมแสดงความคิดเห็น

กลุ่ม 1

เรื่อง Future is the team และ Workplace เรื่อง Future Teamwork ของ PSU จะเป็นแบบไหน ประเด็นที่อยากแชร์ด้วยคือสุดท้ายมหาวิทยาลัยจะไปในรูปแบบไหนขึ้นกับทิศทางและแนวทางของผู้บริหารที่จะนำพาไป

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ปกติ Concept เรื่องทีม ดร.จีระ ไม่ค่อยได้ใช้ ชอบคนเขียน และอ่านหนังสือเรื่องทีมมาเยอะ เป็นเรื่องที่ให้ความสนใจแต่ไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก แต่เล่มนี้น่าสนใจจะนำเล่มนี้ออก TV เป็น Concept ของ HPO ในอนาคตคนที่เขียนเล่มนี้เขาทำ Research และมองเป็น Core ของธุรกิจในการทำงานร่วมกัน และมีอีกเรื่องคือ Align ที่คนเขียนเป็น Link in การทำงานในอนาคตจะเป็น Project Base และไม่เป็น Full time Blue 60% วิ่งไป Green 30% แต่คาดว่าในอนาคต Orange น่าจะเพิ่มมากขึ้น พยายามให้ Balance กันและ Integrate กัน ปกติ Balance Scorecard ไม่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย แต่เกิดจากการ Integrate ซึ่งกันและกัน แต่คนที่เก่งวิจัย ไม่เก่งการเรียนการสอนจะไล่ออกคงไม่ได้ ต้องทำให้ทั้งสองส่วนเอื้อซึ่งกันและกัน พบว่าคนชนบทในอนาคตจะมีพลังมหาศาล

ยิ่งเราขาดแคลนมากเท่าไหร่ เราสามารถ Network ได้คำถามคือ Knowledge ที่มีในรุ่น 1,2 จะกระจายในมหาวิทยาลัย และใน Top Management อย่างไร ให้สนใจในสิ่งที่คาดไม่ถึงและไม่อยู่ในตารางสอนมากขึ้น นอกจากเรามี Energy แล้ว เราต้องสามารถ Energize คนอื่นขึ้นมาด้วย

อยากให้มองโลกาภิวัตน์ด้วย เพราะในอนาคต Trend ในโลกจะเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วย

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

มีการมองว่างานวิจัยเรื่องนี้กำลังจะเป็นจริง ได้มีการประชุมและพูดถึงว่าองค์กรในอนาคตจะไม่มี Structure งานจะเป็นลักษณะ Project Base มากขึ้น ต้องเอาบุคลากรในแต่ละกลุ่มร่วมกันทำงาน และขึ้นกับ Customer อย่างในสหรัฐฯ กำลังมีการปรับเปลี่ยน Mindset เป็นวิธีการ แต่ประเทศไทยยังหลงอยู่กับ Structure ที่เป็น Silo และยังวังวนกับ Competency ที่มัดตัวเองไว้ ยิ่งเขียน competency มากจะยิ่งกลายเป็นองค์กร Basic ที่ไม่เป็นนวัตกรรมเลย อย่างองค์กรในอนาคต ม.อ.ต้องทำให้ Blue น้อยลงและแนวโน้มของโลกในอนาคตโลกจะเป็น Social Responsibility

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

จาก 7 Mistake ต้องกลายเป็น 7 สิ่งที่ต้องทำ อาจมีการทำเป็น Project by Project มากขึ้น ผู้นำต้องทราบบทบาท ผู้นำต้องรู้เรื่องเยอะ การเป็นผู้นำที่จะทำให้คน Trust ได้ต้องทำให้สมาชิกเชื่อมั่น และต้องกล้าหาญที่จะนำไป และนอกจากให้ Team สามารถ Work ได้ต้องมีการสนับสนุนที่ดี ให้ดูว่าทำอย่างไรที่จะช่วยผู้นำได้ และถ้าคนเก่ง ๆ อาจมีการแตกผู้นำเลย แล้วหาคนที่มาเสริมอยู่ภายใต้ทีมใหญ่ และถ้าผู้นำเก่งมาก ๆ อีกเรื่องต้องเป็นเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ ต้องรู้บทบาทว่าตัวเองเป็นใคร เพื่อให้มีคุณค่ากับความสัมพันธ์

เรื่อง Simplify the rule ต้องมีทีมแบบ Factor Wider Looser และต้องมีการสะท้อนกลับตลอดเวลาเป็น Two way communication ผู้นำต้องทำเพื่อให้ผู้อื่นตาม คือโลกเปลี่ยนแต่ผู้นำจะอยู่เหมือนเดิม ทีมก็ไม่เปลี่ยน ต้องมีการปรับ Mindset ต้องมีการวางแผนและปรับกระบวนการ

ในหนังสือตอบว่าสิ่งที่สำคัญคือเรื่อง Goal






หมายเลขบันทึก: 611683เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2016 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 สิงหาคม 2016 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
วีระพงค์ อาภารัตนคุณ

สรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการเรียนรู้
วันที่ 3 สิงหาคม 2559
แนวคิดทางการตลาดสมัยใหม่..สู่การปรับใช้กับการทำงานของ ม.อ.
- Marketing เป็นเรื่องของ Demand Focus เราต้องทำในสิ่งที่เราเก่ง มีศักยภาพ
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับมหาวิทยาลัยถือเป็นสาวนสำคัญในการอยู่รอดในอนาคตของมหาวิทยาลัย
- ถ้ามหาวิทยาลัยเข้าใจ Demand และ Stakeholder มหาวิทยาลัยจะสามารถแผนยุทธศาสตร์ที่ดีและตอบโจทย์ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย จะทำให้ได้คำตอบว่าจะทำอย่างไร
- การทำงานต้องมีการทำงานรับช่วงอย่างต่อเนื่องแบบไม่มีรอยต่อ
Threat คือภาวะคุกคาม มีหลายส่วนที่สามารถเป็นโอกาส
1. กฎ ระเบียบ คืออุปสรรค ต้องมีการ Break the rule อย่างสง่างาม
2. Mindset มองปัญหาเป็นปัญหาแต่ไม่มองเป็นโอกาส เนื่องจากอยู่ใน Comfort Zone
3. Real Threat มากเกินไป ต้องเข้าใจ Risk Management
Opportunities ถ้าเห็นโอกาสให้ทำไปก่อน ไม่ใช่ให้คนอื่นทำไปก่อน ควรเน้นการ Learn Together และ Set the object อย่าทำให้ Opportunities เป็น Threat หรือ Strong กลายเป็น Weakness
- ให้นำสิ่งที่ทำอยู่แล้วมาต่อยอด มหาวิทยาลัยในอนาคตจะไม่ใช่ Faculty Base หรือ Curriculum Base แต่จะเป็น Project Base

วันที่ 4 สิงหาคม 2559
ความคิดในเชิงระบบและความคิดในเชิงกลยุทธ์ (Systems and Strategic Thinking)
- System Thinking & Systemic Thinking มีความหมายเดียวกัน คือเป็นการคิดอย่างเป็นระบบ มีรูปแบบ ขั้นตอน
- Systematic Thinking เป็นการคิดอย่างเป็นระบบ มีรูปแบบ ขั้นตอน และสามารถเชื่อมโยงไปสู่อนาคตได้
- Thinking Forward/Speak Backward
- Thinking Forward/Work Backward
- ทุกระบบ (system) จะต้องประกอบด้วย
1. องค์ประกอบ (Components) ซึ่งบางองค์ประกอบไม่สามารถขาดได้ ถ้าขาดจะทำให้ระบบไม่สามารถดำเนินการต่อได้
2. บทบาทหน้าที่ (Functions)
3. การเชื่อมโยง/การมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction)
4. การอยู่รอด (Survival)
- การเรียนรู้มี 5 Process
1. Learning (เรียนรู้)
2. Understanding (เข้าใจ)
3. Realizing (ตระหนัก)
4. Perceptive (ซึมซับ)
5. Practice (นำไปใช้)
บทสุปจากงานกลุ่ม (จากหนังสือ)
- Teams หมายถึง Teames that work ทีมที่พร้อมจะทำงานร่วมกัน ไม่ใช่คนที่มาทำงานในที่เดียวกัน และจำเป็นต้องมี Goal Rules Norms ร่วมกัน
- 7 factors ที่ทำให้ทีมไม่เป็น High Performance team
1. Overemphasizing abstract goal
2. Underemphasizing roles
3. undervaluing Relationship
4. Making too many rules
5. Ignoring Reflection
6. Falling to sell the change
7. Putting Procedure before process
- การตั้ง Committee ต้องพิจารณาว่า Committee เดิมที่มีอยู่สามารถทำงานได้หรือไม่ บางอย่างอาจให้ประชาคมพิจารณาแทนจะดีกว่า แต่หากจำเป็นต้องตั้ง ควรจะ
1. ไม่ควรเกิน 15 คน
2. ตั้งผู้ที่มีความรู้ครบถ้วน
3. ต้องคำนึงถึงสไตร์การทำงาน
- Innovation อาจจะต้องคำนึงถึง Third Place (สถานที่ที่เหมาะสมในการพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยน และปะทะกันทางปัญญา)
- Future teamwork at PSU
1. teaming across
2. develope teamwork habbit
3. built high performance
- workplace in the future
1. outsourcing (networking)
2. anywhere workplace
3. flexible workplace
- Workplace ในปี 2022 เป็นอย่างจะเปลี่ยนอย่างไร มี 3 ลักษณะ
1. Blue เป็นโลกซึ่งองค์กรขนาดใหญ่คือองค์กรจะรวมกับองค์กรอื่นเพื่อให้ใหญ่ขึ้นเอาทุกอย่างไปอยู่ในองค์กรนั้น ความคาดหมายองค์กรแบบนี้คือต้องการความมั่นคงคือ Longterm และการพยายาม Shifting Network คือเพื่อให้เติบโตเร็วขึ้นในองค์กรนั้น ๆ
2. Green เนื่องจากเรามี Social Responsibility มากขึ้น ทุกคนถูกเรียกร้องเพื่อทำงานในสังคม เราจะพูดในเรื่องของ Good Growth เป็นแนวที่เราต้อง Take Balance ให้ดีคือ Work and Life คือเอาชีวิตการทำงานมาสร้างสมดุล ทุกคนมีความเป็นปัจเจกสูงขึ้น ทุกคนจะเลือก Design ว่าทำอย่างไร ประเด็นนี้จะมีความยากมากในการสร้าง Teamwork เพราะมีความเป็นปัจเจกสูง
3. Orange เน้นการทำงานที่ Align ออกหมด และมองว่าเป็นทีม เป็นการมองแบบ Cooperation คือการเสาะแสวงหา คนไหนตอบโจทย์ได้ให้ดึงมา ให้ดูผลลัพธ์จาก Project by Project เป็น Freedom of Working สูงมาก คนหนึ่งคนสามารถมี Contract ได้หลายที่ และเมื่อทำงานเป็น Project ต้องทำงานให้ได้เร็วและตอบโจทย์ให้ได้เร็ว แต่ต้องมีความเชี่ยวชาญทำทีม

สุริยงค์ ลิ้มสังกาศ

วันที่ 3 สิงหาคม 2559

  1. จากแนวคิดทางการตลาดสมัยใหม่..สู่การปรับใช้กับการทำงานของ ม.อ.
  • ตลาดสมัยใหม่ตามแนวคิดที่ดร.สมคิดจะให้ประเทศไทย 4.0 คือ การทำในสิ่งที่เราเก่ง และการทำให้เหนื่อยน้อยลง
  • การจะทำให้มหาวิทยาลัยเป็นที่รู้จัก แต่ละคณะควรทำ portfolio เพื่อเข้าใจตนเอง และพื้นที่ว่าอยู่ใน stage ใด
  1. Case Studies and Intensive Management: Workshop :PSU Positioning in Thailand and ASEAN+6
  • การวาง Position ของมหาสิทยาลัย มี 4P’s ที่ต้องคำนึงถึงคือ Product (มีหลักสูตรที่จะนำไปสู่การสร้างงานวิจัยและบัณฑิต) Price (กำหนดแหล่งรายรับ และตั้งเป้าหมายในการใช้จ่าย) Place (ศึกษาพื้นที่เพื่อหาพันธมิตรในประเทศและต่างประเทศ) Promotion (ทำให้องค์กรเป็นที่สนใจ)


วันที่ 4 สิงหาคม 2559

  1. การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ และการคิดเชิงกลยุทธ์
  • บนโลกนี้มีปัญหาอยู่ 2 ประเภท

1) ปัญหาที่เกิดจากเรา – เป็นข้อขัดแย้งระหว่างเป้าหมายและแนวทาง ดังนั้น เราจึงควรรู้จักตัวเอง และไม่ตั้งเป้าให้สูงมากจนเกินไป

2) ปัญหาที่เกิดขึ้นจากคนอื่น – ซึ่งเกิดจากการที่แต่ละคนเป้าหมาย วิธี ข้อมูล การรับรู้ ความคิด ทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรม หรือบทบาทที่ไม่เหมือนกัน

2. Business Strategies for Education

  • เริ่มด้วย ทำ- SWOT วิเคราะห์ เศรษฐกิจ สังคม การเมืองก่อน จากนั้น วิสัยทัศน์ ทิศทางองค์กรให้ต้องสอดคล้องกับ SWOT

3. Group Assignment & Presentation Lesson Learned – Share and Care : บทเรียนจากหนังสือ (เล่มที่ 3) Committed TEAMS

  • Workplace ในปี 2022 จะเปลี่ยนใน 3 ลักษณะ

1) Blue เป็นโลกซึ่งองค์กรขนาดใหญ่ ที่เกิดจากการรวมกับองค์กรอื่นเพื่อให้ใหญ่ขึ้น เพื่อหวังความมั่นคงระยะยาว

2) Green เกี่ยวพันกับ Social Responsibility เราจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการสร้างสมดุลให้กับทั้งชีวิต และหน้าที่การงาน

3) Orange เป็นการมองแบบ Cooperation คือการเสาะแสวงหาคนที่เหมาะสม สามารถตอบโจทย์ได้ โดยดูผลลัพธ์จาก Project by Project ทำให้มีอิสระในการทำงานมากขึ้น

ส่งงาน สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานของทุกรายวิชา ช่วงที่ 4 : 3-4 August 2016

Homework 3 August 2016

จากแนวคิดทางการตลาดสมัยใหม่.. สู่การปรับใช้กับการทำงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

- ทุกคนในม.อ. ต้องปรับเปลี่ยน mind set สำหรับการทำงาน ต้องเปลี่ยนจาก supply focus ไปเป็น demand focus ซึ่งต้องรู้ว่า stakeholders ของเราเป็นใครบ้าง มีความต้องการอะไรบ้าง ที่ม.อ.จะเข้าไป serve ได้

- ในการบริหารคนต้องพิจารณาว่า product และ คนในองค์กรว่าอยู่ใน stage ใดของ life cycle ก่อนจึงจะวางแผนจัดการได้ถูกต้อง จากนั้นต้องดูว่า customer แต่ละกลุ่มว่าเป็นอย่างไร (segmentation) ตั้งเป้าหมาย แล้วร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างคณะ/หน่วยงานทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

Case Studies and Intensive Management Workshop : PSU Positioning in Thailand and ASEAN+6

- ม.อ. จะมีจุดยืนที่สามารถแข่งขันกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้ต้องพิจารณา 4 Ps คือต้องมี 1) product - หลักสูตร และงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง 2) Price - กำหนดสัดส่วนของงบประมาณจากแหล่งต่างๆ ที่ชัดเจน ทั้งจากงบประมาณแผ่นดิน ค่าธรรมเนียมการศึกษาของนักศึกษา รายได้จากผลงานวิจัย และจากรายได้อื่นๆ 3) Place - ตรวจสอบว่ามีสินทรัพย์ของม.อ.อะไรบ้างที่สามารถนำมาทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้ และ 4) Promotion - การประชาสัมพันธ์ในหลายช่องทางเพื่อ promote ม.อ. ให้คนภายนอกได้รู้จัก

- นอกจากนี้ต้องมีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ 4 ประเด็น (PEST Analysis) และการทำ SWOT Analysis ของม.อ. ร่วมกัน เพื่อหาจุดแข็งแล้วสร้าง Brand awareness โดยใช้หลายช่องทางรวมถึง social medias ต่าง ๆ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก เพื่อให้ม.อ. เป็นที่รู้จักและสามารถแข่งขันกับสถาบันการศึกษาอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศใน ASEAN ได้

Homework 4 August 2016

การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ และการคิดเชิงกลยุทธ์

- Systemic thinking เป็นการมองอย่างเป็นทิศทาง มีขั้นตอนและต่อเนื่อง ในขณะที่ Systematic thinking เป็นการมองแบบเชื่อมโยง มีการสร้างระบบใหม่ขึ้นมา

- เราจะต้องคิดก่อนพูด (Thinking forward and speak backward) ต้องมีระบบเชื่อมโยงไปสู่อนาคต มองอนาคตให้ได้ จึงจะสามารถแก้ไขปํญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้

- ระบบประกอบด้วยองค์ประกอบ (component) แต่ละองค์ประกอบอาจทำหน้าที่ (function) ที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันแต่เชื่อมโยงอยู่ด้วยกัน (interaction) เพื่อให้อยู่รอด (survival) ระบบอาจมีบางองค์ประกอบที่สำคัญที่ยังทำงานอยู่ได้ จึงยังสามารถอยู่รอดได้

- ปัญหาในปัจจุบันเป็นปัญหาที่อาจเกิดจากตัวเราเองหรือเกิดขึ้นจากที่เกี่ยวข้องกับคนอื่น โดยปัญหาของแต่ละคนที่เกิดขึ้นเกิดจากแนวทาง (means) หรือ เป้าหมาย (end) ที่ไม่เป็นไปตามปรารถนาเพราะตัวเองมี Ego ดังนั้นการที่เราจะประสบความสำเร็จในการดำเนินงานโดยไม่มีปัญหา จะต้องรู้จักตนเอง ไม่สร้างเป้าหมายที่สูงเกินไป

- ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วเกี่ยวข้องกับคนอื่น เกิดจากความแตกต่างของเป้าหมาย วิธีการ ข้อมูล (information) ความรู้ (knowledge) การรับรู้ (perception ทัศนคติ (attitude) คุณค่า (value) วัฒนธรรม (culture) บทบาท (role) สถานะ (status) อุดมการณ์ และผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน

Business Strategies for Education

- Strategic Management เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงานองค์กร ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

1) Strategic planning มี 3 องค์ประกอบ คือ SWOT, Vision and Mission และ กลยุทธ์ (Strategies) ต่างๆ ซึ่งต้องเชื่อมโยงกันทั้ง 3 ส่วน โดยลักษณะของ Vision ต้องเป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรขับเคลื่อนไปตามเป้าหมายที่เรียกว่า strategic direction สามารถคาดการณ์ในอนาคต (personal view of the future) และที่สำคัญต้องทำนายการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่าง ๆ ในอนาคต (capacity to foresee the changing situation) ได้

2) Strategic implementation การดำเนินการเชิงกลยุทธ์

- Strategic Positioning ประกอบด้วย Cost (ต้นทุนการบริหารจัดการหรือราคาความพึงพอใจ) และ Differentiation (การสร้างความแตกต่าง) เป็นการสร้างจุดขายของผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่างจากคู่แข่งอื่นๆ ซึ่งม.อ. ต้องมีการสร้างภาพลักษณ์ (Brand image) ที่ดีทั้งด้านเนื้อหาและสินทรัพย์ ต้องรู้เป้าหมายของ customers เพื่อสร้างคุณค่าของตราม.อ. (Brand equity) ให้เป็นที่รู้จักสำหรับ customer (Brand awareness) และให้มีทัศนคติที่ดี (Brand loyalty) ต่อม.อ. โดยจะต้องเน้นคุณภาพการเรียนการสอนของหลักสูตรเด่นของม.อ. สำหรับสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและสามารถแข่งขันกับสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ได้

Group Assignment & Presentation Lesson learned-Share and Care (เลื่อนมาจากวันที่ 3 สค.)

การทำงานเป็นทีมในม.อ. ต้องมีการสื่อสารของผู้นำไปยังลูกทีมโดยมีการกำหนดเป้าหมาย (Goal) ที่ชัดเจน มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ (Role) ของแต่ละคนในทีม (put the right man to the right job) ซึ่งเราต้องรู้ถึง team culture จะช่วยให้สามารถกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนได้และขับเคลื่อนไปในทิศทางที่กำหนดได้ ที่สำคัญต้องปรับ mindset ของคนในทีม และต้องมีการกำหนดถึงข้อตกลง ระเบียบแนวปฏิบัติ (Norm) ต่าง ๆ เพื่อแก้ไขความขัดแย้งในทีมให้มีการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้


สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้วันที่ 3-4 สิงหาคม 2559

การตลาดเป็นเรื่องของ marketing focus มหาวิทยาลัยจะต้องมองว่าสินค้าของมหาวิทยาลัยคืออะไร เราอาจจะมองได้ว่าสินค้าของมหาวิทยาลัย ส่วนที่เป็น immediate product คือ หลักสูตร ส่วน end products คือ บัณฑิตและงานวิจัย สิ่งสำคัญคือจะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างงานวิจัย กับงานสอน และจะต้องจัด products และ people โดยอาจจะใช้ STP S= Segmentation: customer segment, T= Targeting และ P= positioning ดังนั้นก่อนที่มหาวิทยาลัยจะ go international มหาวิทยาลัยควรจะทำ PEST Control ก่อนคือ

P: Politics จะต้องวิเคราะห์การเมืองระดับประเทศ และนานาชาติว่ามหาวิทยาลัยแข่งขันอยู่กับมหาวิทยาลัยอะไร ระดับการแข่งขันเป็นอย่างไร

Economics: วิเคราะห์ สภาพเศรษฐกิจ เช่นสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจ การเงิน สภาพคล่อง asset and non finance asset

Social:สังคม CSR ต้องทำทุกวัน ทำกับทุกๆ คนรวมทั้งคนในองค์กร ที่ทำงานควรจะเป็น Happy Workplace เนื่องจากคนจะอยู่ที่ทำงานมากกว่าที่บ้าน

Technology: ดูว่าคู่แข่งใช้เทคโนโลยีอะไรที่ดีกว่าเรา cost saving, new knowledge, and time saving ลดต้นทุน ลดเวลา และ generate อะไรใหม่ๆ

และเมื่อมหาวิทยาลัยทำ PEST แล้วต้องทำ SWOT ต้องดูว่าเรื่องไหนเป็น โอกาส และอะไรบ้างเป็นปัจจัยคุกคาม หรือ ภาวะคุกคาม จะต้องปลดล๊อคกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค และมองปัญหาให้เป็นโอกาส

มหาวิทยาลัยต้องเห็นการเชื่อมโยงจากปัจจุบัน ไปสู่อนาคต ต้องเข้าใจ customer behavior ลูกค้าต้องการ service แบบไหน ต้องให้การบริการตรงกับความต้องการของลูกค้า

หากเรา focus ที่ outcome การผลิตต้องเริ่มที่ outcome มองลูกค้าก่อนถึงจะใส่ input

สิ่งสำคัญคือ Think forward แต่ speak backward และ Think forward and work backward.

การเจรจาต่อรองสำคัญกว่าการแก้ไขปัญหา

ระบบ (systems) ประกอบด้วย องค์ประกอบ (components), function, interactions (ปฎิสัมพันธ์) and survival การอยู่รอดเพื่อรักษกความอยู่รอดของระบบ

Strategic planning การวางแผนระยะยาว ต้องใช้ 1) SWOT 2) วิสัยทัศน์ และพันธกิจ 3) กลยุทธ์ต่างๆ

การวางแผนวิสัยทัศน์ พันธกิจและกลยุทธให้สอดคล้องกับ SWOT

SWOTจะต้องทำก่อน ระบบที่นำองค์กรไปสู่อนาคตต้องเป็นระบบที่เป็น Vertical system

สิ่งที่มหาวิทยาลัยควรทำคือ รู้จักตัวเอง วิเคราะห์ตนเอง มีแผนในการพัฒนาคน ปรับ mindsetและ พฤติกรรมของคนในองค์กร ต้องทำงานเป็น TEAM จะต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง ผู้นำสามารถจัดบทบาทให้กับทีมได้ สิ่งสำคัญคือ เมื่อ เป้าหมายเปลี่ยน คนในองค์ต้องปรับตาม สิ่งสำคัญคือ learn-share-care

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้วันที่ 3-4 สิงหาคม 2559

วันที่ 3 สิงหาคม 2559

มหาวิทยาลับต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อการอยู่รอดและมีคุณภาพที่ดี กับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จึงต้องให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งจะต้องเป็นอีกหนึ่งกำลังหลักในการขับเคลื่อนองค์การ ดังนี้

1. รัฐบาล (Government)

2. ประชาชน (General Public)

3. สื่อใหม่ (New Media)

4. แหล่งเงินนอกงบประมาณ (Finance not budget)

5.NGOs

6. Peer หรือ Partner

7. ผู้แทนสภาคณาจารย์และพนักงาน (Internal Public)

และหากในอนาคต trend ของการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัย จะไม่ใช่ Faculty Base หรือ Curriculum Base แต่เป็น Project Base การกหนดนโยบายหรือกิจกรรมต่างๆ ต้องชัดเจน รวมถึงการเตรียมพร้อมด้านขีดความสามารถของบุคลากร อีกทั้ง การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจำเป็นต้องมีการหารายได้ด้วยตนเองมากขึ้น ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลกิจการด้านนี้โดยตรง

วันที่ 4 สิงหาคม 2559

ชอบแนวคิดที่ว่า "คนที่ Systematic ต้อง System ก่อน แต่คนที่ System ไม่จำเป็นต้อง Systematic" คิดอย่างเป็นระบบ และ "Thinking Forward and Speak Backward" ซึ่งอาจจจะทำได้ค่อนข้างยาก เพราะโดยส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นด้วยระบบโครงสรา้ง ภาระงาน ....อาจทำให้คนคิดแบบแยกส่วนกันมากเกินไป ดังนั้น การปรับเปลี่ยนรูปแบบการคิดของเราเองแล้ว โครงสร้างองค์กร หรือ ภาระงาน ...มหาวิทยาลัยคงต้องมาทบทวนให้ดีอีกครั้ง

3สิงหาคม

จากแนวคิดทางการตลาดสมัยใหม่.สู่การปรับใช้กับการทำงานของ ม.อ

ม.อ. จะต้องมีการปรับตัว เพื่อรองรับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ เมื่อก่อนไม่สนใจเรื่องการตลาดแต่ตอนนี้จะต้องปรับตัวใครคือผู้มีส่วนได้เสียกับมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยจะต้องเข้าใจความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียต้องจัดทำแผนกลยุทธ์ที่ดี ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย Product ของ ม.อ. คือหลักสูตรลูกค้าคือนักเรียนมหาวิทยาลัยต้องกล้าลงทุน ต้องพัฒนาหลักสูตรที่ทำรายได้เข้ามหาวิทยาลัยหลักสูตรที่ต้องสนองความต้องการของลูกค้าต้องกล้าที่จะจักการกับหลุกสูตรที่ล้าสมัยหลักสูตรที่มีลูกค้าสนใจน้อย ต้องกล้าคิดโครงการใหม่ ๆต้องทำการตลาด เพื่อหารายได้เพิ่ม

4สิงหาคม

การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ และการคิดเชิงกลยุทธ์

  • Systamatic Thinking เป็นการมองแบบเชื่อมโยง เห็นสิ่งต่างๆที่สามารถนำไปสร้างเป็นระบบ
  • การเจรจาต่อรองใช้ได้ทั้งการป้องกันปัญหา และ การแก้ปัญหา
  • การบริหารที่ดีต้องมีการวางแผนดีก่อน Implement และอาจจะใช้การบริหารเป็นส่วน ๆ หรือ กลุ่ม ๆ ก่อนก็ได้
  • Forward Thinking ใช้ในการเจรจาต่อรอง เปลี่ยน Think forward เป็น work Backward ก่อนทำอะไรให้คิด เพราะจะมีผลตามมาเสมอ
  • คุณภาพของระบบจะดูที่ผลลัพธ์คนที่คิดเป็นระบบจะเป็นคนคิดล่วงหน้ามองเห็นอนาคตหรือผลลัพธ์และจะมีการเชื่อมโยงระบบ
  • ปัญหาที่จะเกิดขึ้นมากจาก ตนเอง และ ผู้อื่นปัญาที่เกิดจากตนเอง เกิดจากความขัดแย้งระหว่างแนวทางและเป้าหมาย ส่วนปัญหาเกิดจากคนอื่นมาจากเป้าหมายไม่ตรงกันยุทธศาสตร์หรือยุทธวิธีไม่เหมือนกันสารสนเทศที่ได้ไม่ตรงกันKnowledge ไม่เท่ากัน, Perception มุมมองไม่เหมือนกัน, Attitude ทัศนคติต่างกัน, value ค่านิยมต่างกัน, Culture , Role ต่างกัน,สถานะอุดมการณ์ และ ผลประโยชน์

Business Strategies for Education

มหาวิทยาลัยต้องมีแผนยุทธศาสตร์ทุกระดับวิเคราะห์ตัวเองวิเคราะห์อนาคตวิเคราะห์โอกาสพัฒนามหาวิทยาลัย และบุคลากรให้พร้อมสู่โลกาภิวัฒน์

มหาวิทยาลัยทำสิ่งที่เราเก่ง ถ้าไม่เก่งอะไรให้ไปหาพันธมิตรที่เก่งมาช่วยทำได้ จะสามารถต่อยอดเป็นธุรกิจได้

มนทิรา ลีลาเกรียงศักดิ์

3 สิงหาคม 2559

จากแนวคิดทางการตลาดสมัยใหม่ สู่การปรับใช้กับการทำงานของ มอ. โดยศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ถ้ามหาวิทยาลัยเข้าใจ demand ของ stakeholder จะสามารถทำแผนยุทธศาสตร์ที่ดี และตอบโจทย์ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย จะทำให้ได้คำตอบว่าจะทำอย่างไร

Marketing tools 5 อย่าง

  • Business life cycle คณะจะมี 4 วัย 1.introduction stage วัยทารก 2. growth stage ต้องเสียเงินเพื่อคอยดูแล 3. maturity stage คือคณะที่โตเต็มที่ หรืออิ่มตัวแล้ว เช่นคณะแพทย์ 4. decline stage เช่นหลักสูตรบางหลักสูรที่จบไปแล้วไม่มีงานทำ แต่ละ stage ใช้เครื่องมือในการ develop ต่างกัน
  • Target marketing
  • value chain ห่วงโซ่แห่งคุณค่า การทำงานต้องมีการรับช่วงอย่างต่อเนื่องแบบไม่มีรอยต่อ input—process---output
  • international market
  • SWOT analysis

มหาวิทยาลัย serve

– customer perspective

  • financial perspective
  • internal business system
  • good governance

4 สิงหาคม 2559

การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ และการคิดเชิงกลยุทธ์ โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

การเชื่อมโยงเก่งจะวิเคราะห์อนาคตได้แก่ง ต้องเลือกสิ่งที่มีโอกาสและเดินเข้าได้ คือ SWOT system

Input ---- process ---- output ----- outcome (มาจาก feedback)

ทุกระบบะจะมี

  • component
  • function
  • interaction
  • survival

ทำในสิ่งที่เราเก่ง แต่ถ้าขยายธุรกิจ ถ้าไม่เก่งอะไรให้ไปหาพันธมิตรที่เก่งมาช่วยทำ จะเป็นการต่อยอดธุรกิจ ดังนั้ มหาวิทยาลัยต้องมีแผนยุทศาสตร์ วางยุทธศาสตรื แต่ละคณะ แต่ละสถาบัน เพียงแค่เข้าใจ วิเคราะห์ตัวเอง วิเคราะห์อนาคต พัฒนาอาจารย์ พัฒนามหาวิทยาลัย ให้มีความลุ่มลึกพร้อมเข้าสู่โลกาภิวัตน์

วันที่ 3 สิงหาคม 2559

จากแนวคิดทางการตลาดสมัยใหม่..สู่การปรับใช้กับการทำงานของ ม.อ.

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

Modern marketing จะทำให้เราเหนื่อยลดลง ยกตัวอย่างประเทศสิงคโปร์ เป็นประเทศที่กำหนดราคายางพารากับน้ำมัน ทั้งที่ประเทศไม่มีต้นทุนเอง

ม.อ. ต้องปรับเปลี่ยน mind set สำหรับการทำงาน ต้องเปลี่ยนจาก supply focus ไปเป็น demand focus ซึ่งต้องรู้ว่า stakeholders ของเราเป็นใครบ้าง มีความต้องการอะไรบ้าง ที่ม.อ.จะเข้าไปตอบสนองความต้องการนั้นได้ โดยใช้หลักการ 7 ข้อ ดังนี้ 1. Government 2. General public 3. Media 4. Finance non budget 5. NGOs 6. Peer 7. Internal public นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือทางการตลาด 7 ชิ้น คือ 1. Business life cycle / Marketing life cycle 2. Target /Market ต้องทำ 3 Process (Segmentation, Targeting, Positioning) 3. Value chain 4. PEST analysis 5. SWOT analysis

Position ของ มอ. ต้องใช้ทฤษฎีจุดยืน - 4P’s คือ Product, Pricing, Place, Promotion

วันที่ 4 สิงหาคม 2559

การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ และการคิดเชิงกลยุทธ์

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ความคิดในเชิงระบบภาษาอังกฤษมี 3 คำ ความคิดในเชิงระบบมี 1. System Thinking 2. Systemic Thinking และ 3. Systematic Thinking ซึ่งภายใต้ความแตกต่าง ต้องเห็นในเรื่องเดียวกัน ต้องเห็นความเชื่อมโยงจากปัจจุบันถึงอนาคตได้ เช่น ปัจจุบันลูกค้าต้องการ One stop service เริ่มจาก Input – Process – Output

1. ถ้ามี Input-Output แล้ว Process ต้องเริ่มที่ Input

2. ถ้ามี Outcome แล้ว Process ต้องเริ่มที่ Outcome คือต้องวิเคราะห์ Customer ต้อง Forward Thinking

- Thinking Forward and Speak Backward เป็นการมองเชื่อมอดีต ปัจจุบัน และอนาคต คนที่ฉลาดต้องเชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน และอนาคตให้ได้ คือ ต้องวิเคราะห์ SWOT ถูก ถ้าเชื่อมไม่ได้จะทำให้วิเคราะห์ SWOT ผิด

- การเชื่อมโยงเก่งจะวิเคราะห์อนาคตได้เก่ง ต้องเลือกสิ่งที่มีโอกาสและเดินเข้าได้

ทุกระบบต้องมีองค์ประกอบ คือ Component, Function, Interaction, Survival

สำหรับการวางทิศทางเกี่ยวกับการสร้าง Brand มีดังนี้ Brand awareness, Brand image, Brand equity, Brand royalty

สรุป คุณภาพของอาจารย์และการเรียนการสอนจะช่วยสร้าง Branding ให้กับ มอ. ซึ่งมอง ต้องมีแผนยุทธศาสตร์ รวมทั้งแต่ละคณะแต่ละสถาบันต้องวางยุทธศาสตร์ ซึ่งเกิดจากการทำ SWOT analysis โดยต้องคิดถึงนักศึกษาให้มากขึ้น

กิจกรรม 3-4 สิงหาคม 2559

  • การจัดการศึกษายุคใหม่ ต้องคิดทั้งในด้านของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ การคิดเชิงการตลาด การบริหารจัดการทางการศึกษายุคใหม่มองหาโอกาส และความแตกต่าง เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับการจัดการศึกษา
  • ระบบ คือกระบวนการทำงานอย่างมีขั้นตอน เพราะการทำงานที่ดีนั้น จะต้องมีการวิเคราะห์ วางแผน และกำหนดทรัพยากรต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงาน (Input) ... ต้องมีกระบวนการทำงานที่ดี มีขั้นตอน มีการควบคุม และตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน (Procress) ... มีการกำหนดเป้าหมายและผลที่จะได้รับ (Output) ... เมื่อสิ้นสุดการทำงาน จำเป็นต้องีการประเมินและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน เพื่อการปับปรุงการทำงานในครั้งหรือเรื่องต่อ ๆ ไป Feddback)

วิชาที่ 18: จากแนวคิดทางการตลาดสมัยใหม่..สู่การปรับใช้กับการทำงานของ ม.อ.

วันที่ 3 สิงหาคม 2559

(นายสุรชาติ เพชรแก้ว)

ม.อ. ต้องปฏิรูปมหาวิทยาลัยให้มากกว่านี้เพื่อก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ สิ่งสำคัญประการหนึ่ง คือ แหล่งเงินนอกงบประมาณ (Finance not budget) เช่น จากศิษย์เก่า จากงานวิจัยที่สามารถเปลี่ยนเป็นนวัตกรรมใหม่ๆที่สามารถต่อยอด/สร้างชื่อเสียง/สร้างรายได้ในเชิงการค้าให้กับมหาวิทยาลัยได้ ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยต้องปรับปรุงหลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการเรียนรู้ของนักศึกษา/นักวิจัย เพื่อเป้นสิ่งดึงดูดให้นักศึกษา/นักวิจัยเข้ามาเรียน/ทำงานวิจัยกับมหาวิทยาลัยมากขึ้น

วิชาที่ 19: Case Studies and Intensive Management Workshop:

PSU Positioning in Thailand and ASEAN+6

วันที่ 3 สิงหาคม 2559

(นายสุรชาติ เพชรแก้ว)

มหาวิทยาลัย (ม.อ.) มีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงหรือยังกับการเป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบ มหาวิทยาลัยในอนาคตจะไม่ใช่ faculty base หรือ curriculum base แต่เป็น project base สิ่งที่ทำในวันนี้/ตอนนี้แสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับกับสถานการณ์นี้แล้วหรือไม่? อย่างไร?

วิชาที่ 20: การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ และการคิดเชิงกลยุทธ์

วันที่ 4 สิงหาคม 2559

(นายสุรชาติ เพชรแก้ว)

ปัญหาในโลกนี้ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ (1) ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวกับคนอื่น และ (2) ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วเกี่ยวกับคนอื่น ดังนั้น แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ อย่าตั้งเป้าหมายสูงเกินไป ให้รู้จักตัวเราเองว่าเป็นอย่างไร แล้วพยายามแก้ปัญหาเหล่านั้นให้ดีที่สุด จนประสบผลสำเร็จ

วิชาที่ 21: Business Strategies for Education

วันที่ 4 สิงหาคม 2559

(นายสุรชาติ เพชรแก้ว)

แนวทางของมหาวิทยาลัยที่ต้องเดินต่อไปในอนาคต คือ

1. มหาวิทยาลัยต้องมีแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน-อนาคต

2. มหาวิทยาลัยต้องวางยุทธศาสตร์สำหรับแต่ละคณะ แต่ละสถาบันให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันทั้งระบบ เน้นที่ให้ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกัน มหาวิทยาลัยต้องเข้าใจตัวเอง วิเคราะห์ตัวเอง และวิเคราะห์อนาคตได้อย่างถูกต้อง

3. มหาวิทยาลัยต้องพัฒนาอาจารย์ พัฒนามหาวิทยาลัย ให้มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ

บุุษบา บุญเสริมสุขเจริญ

สรุปสาระสำคัญการอบรมช่วงที่ 4 วันที่ 3-4 ส.ค.59

วันที่ 3 ส.ค.59

วิธีการบริหารคนคือ list รายชื่อลูกน้องนำมาเรียง ทำเป็น Portfolio ของคน และพิจารณาได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้

1. Maturity stage ใครเป็นคนที่ใช้งานได้ตลอด คนนั้นจะอยู่ใน

2. Future stage แต่คนไหนที่เถียงตลอดเวลาหรือต้องอธิบายจะเป็น เป็น

3. Star เป็น Problem Server ทำงานได้ดีแต่พูดจาไม่เข้าหู ต้องขายไอเดีย ให้เข้าใจเป้าหมายก่อน แต่ไม่ต้องสอน เพราะสามารถไปทำได้เอง

4. Superstar เป็นพวกยอมรับมาทำงาน 10 โมงเช้ากลับบ่าย 3 โมงเย็น แต่ผลงานมากกว่าทั่วไป

วันที่ 4 ส.ค.59

ให้มหาวิทยาลัยทำสิ่งที่เราเก่ง วิเคราะห์ตัวเอง วิเคราะห์อนาคต โดยสรุปคือ

1. มหาวิทยาลัยต้องมีแผนยุทธศาสตร์ มีวิสัยทัศน์และพันธกิจ

2. วางยุทธศาสตร์ แต่ละคณะ แต่ละสถาบันต้องวางยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับข้อ 1

3. พัฒนาอาจารย์ พัฒนามหาวิทยาลัย ให้มีความรู้ใหม่เสมอ ขยายความรู้ ลุ่มลึกพร้อมเข้าสู่โลกาภิวัตน์

4. ถ้าไม่เก่งอะไรให้ไปหาพันธมิตรที่เก่งมาช่วย เป็นยุทธศาสตร์การแก้ปัญหา

วันที่ 3 สิงหาคม 2559

มอ.ควรปรับยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตสำหรับประเทศ 4.0 โดยดูว่า demand focus คืออะไร โดย market tools ได้แก่ business life cycle, targeting market, value chain, market share แล้วทำ SWOT

วันที่ 4 สิงหาคม 2559

Systematic thinking ต้องคิด think forward and work backward โดยระบบประกอบด้วย component, function, interaction, survival

การจัดการความขัดแย้งต้องวิเคราะห์ว่าเกิดจากอะไร เช่น เป้าหมายอาจต่างกัน ข้อมูลที่ได้รับต่างกัน ความรู้ต่างกัน วัฒนธรรมต่างกัน ทัศนคติต่างกัน บทบาทต่างกัน ทัศนคติต่างกัน หรือ ความสนใจต่างกัน

การนำเสนอหนังสือ เรียนรู้ development goals และกำหนดบทบามหรือการตั้งกฏ การเรียนรู้จากความผิดพลาด เช่น เป้าหมายนามธรรมไปไหม การกำหนดบทบาทดีหรือไม่ ไม่ใช่ว่ามีคนเก่งแล้วจะได้ทีมที่เก่ง เป็นต้น การตั้งกรรมการในคณะทำงานเหมาะสมหรือไม่

การบริหารมหาวิทยาลัยยุคใหม่ต้องมีการบริหารเชิงกลยุทธ์ ปรับองค์กรให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป เน้นการบริหารเน้นด้าน demand ไม่ใช่ด้าน supply เหมือนในอดีต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท