เขียนบอกเล่าการเข้าร่วมกิจกรรมด้านจิตอาสาของตนเอง


วันนี้ ดิฉันจะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์การเข้าร่วมจิตอาสาของดิฉันครั้งหนึ่งเมื่อดิฉันเป็นเด็กวัยมัธยมตอนปลายและตอนนั้นดิฉันได้รู้จักรุ่นพี่แถวบ้านของดิฉันคนหนึ่ง ซึ่งทุกๆปีของการปิดภาคเรียนพี่เขาจะไปโรงพยาบาลด้วยความสงสัยจึงถามพี่เขาว่าพี่ไปทำอะไรพี่เขาบอกไปทำงานเป็นจิตอาสาที่โรงพยาบาลเราด้วยความอยากรู้ว่างานจิตอาสาที่โรงพยาบาลต้องทำอะไรบ้าง

ในช่วงใกล้ปิดภาคเรียนของโรงเรียนดิฉันได้ยินประกาศหน้าเสาธง ตอนเข้าแถวว่านักเรียนคนใดต้องการไปทำงานจิตอาสาที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ให้ไปลงชื่อที่ห้องพยาบาลหลังเข้าแถวพอลงชื่อเสร็จแล้วก็ถึงเวลาปิดภาคเรียนวันแรกที่ดิฉันไปเป็นจิตอาสาดิฉันตื่นเต้นมากกลัวทำอะไรไม่ถูกแต่เค้าให้เลือกว่าเราจะไปแผนกไหนดิฉันเลือกไปแผนกผู้ป่วยนอกและทำหน้าที่ช่วยเหลือพยาบาลเช่นเรียกคนไข้เข้าพบแพทย์ และมีหน้าที่ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงวัดความดันคนไข้และช่วยบอกทางผู้มาใช้บริการของโรงพยาบาลว่าหากจะไปที่นั้นนั้นต้องเดินตามเส้นสีอะไร

ถึงแม้ว่าการทำงานด้านจิตอาสาของดิฉันจะไม่มากนักแต่ภาพหรือสิ่งที่ดิฉันได้เห็นในช่วงที่ฉันไปเป็นจิตอาสาที่โรงพยาบาลคือเห็นผู้ป่วยเต็มโรงพยาบาลทุกวัน มันทำให้ดิฉันคิดได้ว่าสิ่งที่ฉันมีอยู่ของร่างกายดิฉันแม้ว่าเราจะไม่ชอบมันแค่ไหนมันดีแค่ไหนกันที่เรามีโอกาสได้ใช้ชีวิตแบบคนทั่วไปมีร่างกายหรืออวัยวะที่ครบสมบูรณ์

มันทำให้ฉันต้องใส่ใจกับสุขภาพตัวเองมากขึ้นและดิฉันคิดว่าการดูแลรักษาสุขภาพของตนเองนั้นถูกและดีกว่าการรักษาสุขภาพในโรงพยาบาล

แต่เมื่อเราป่วยแล้วหากเราจะไปใช้บริการที่โรงพยาบาลสิ่งที่เราต้องรู้คือ สิทธิหลักประกันสุขภาพ


อ้างอิงรูปภาพ http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=56...

ใครคือผู้มีสิทธิ หลักประกันสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 5 กำหนดให้ บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุข ที่มีมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพตามที่กำหนด ในพระราชบัญญัติ ซึ่งบุคคลในที่นี้ หมายถึง บุคคลที่มีสัญชาติไทย ดังนั้น ผู้มีสิทธิหลักประกันสุข ภาพ คือ บุคคลที่มีสัญชาติไทย มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้ ตัวอย่างบุคคลที่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลจากรัฐ เช่น ผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เช่น ลูกจ้างที่ทำงานในกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คน ขึ้นไปยกเว้น ลูกจ้างทำงานบ้าน หาบเร่ แผงลอย หรือลูกจ้างของบุคคลธรรมดา ที่ไม่มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย ผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เช่น ข้าราชการ ลูกจ้าง ประจำของส่วนราชการ และครอบครัว ผู้อยู่ในความคุ้มครองของหลักประกันสุขภาพอื่นที่รัฐจัดให้ เช่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระ ครูโรงเรียนเอกชนในระบบ

ทำอย่างไรถึงได้สิทธิหลักประกันสุขภาพ ต่างจังหวัด ติดต่อลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพได้ที่ สถานีอนามัย (วัน - เวลาราชการ) โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน (วัน - เวลาราชการ) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (วัน - เวลาราชการ) กรุงเทพมหานคร ติดต่อลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพได้ที่ สำนักงานเขตที่อยู่ใกล้บ้าน เปิดให้บริการในวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.00 น.

ใช้หลักฐานอะไรบ้าง สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า15ปี ใช้สำเนาสูติบัตร (ใบเกิด) สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่ แบบคำร้องลงทะเบียนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ/ขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ (>>ดาวน์โหลด<<) กรณีพักอาศัยไม่ตรงตามทะเบียนบ้าน ให้แสดงหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ สำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่ตนไปพักอาศัยอยู่ พร้อมหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน ซึ่งรับรองว่าผู้ขอลงทะเบียนได้พักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ หนังสือรับรองของผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง เอกสารหรือหลักฐานอื่น เช่น สัญญาเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำ ใบเสร็จรับเงินค่าโทรศัพท์บ้าน ฯลฯ ที่แสดงว่าผู้ขอลงทะเบียนได้พักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ จริง


http://www.nhso.go.th/FrontEnd/Index.aspx

http://www.nhso.go.th/files/userfiles/file/PR/10%2...

หมายเลขบันทึก: 610612เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2016 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2016 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท