การพัฒนา "หลักสูตรเกษตรสำหรับพื้นที่สูง"



คำอธิบายรายวิชา

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำการเกษตรสำหรับพื้นที่สูง บริบทด้านกายภาพของพื้นที่สูง ชนิดของพืชที่เหมาะสม การทำแปลงเกษตร การผลิตชีวภัณฑ์สำหรับการเกษตรที่สูง


เป้าหมาย

1. ให้ผู้เข้ารับการอบรมออกแบบแผนผังพื้นที่เกษตรของตนเอง

2. วางแผนพัฒนาระยะสั้น กลาง และยาว ได้ เช่น กรณีศึกษาของคุณเจริญ หยกนิติพรลาภ

ระยะที่ 1 (1-2 ปี) ปลูกบุก อะโวคาโด้ แตงกวา(พื้นเมือง) ไผ่ ซาโยเต้ ผักกาด พริก ผักพื้นบ้าน ต้นสาคู (ต้องการพัฒนาระบบน้ำ แนวกันไฟ ปลูกปอเทือง บำรุงดิน การตำข้าวปาเกอญอด้วยครกกระเดื่อง การเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นบ้านและพันธุ์ผักพื้นบ้าน)

ระยะที่ 2 (3-4 ปี) ทำร้านค้า พัฒนาบรรจุภัณฑ์ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ผักพื้นบ้าน (ต้องการพัฒนาองค์ความรู้ การสร้างแบรนด์ วิธีการบรรจุภัณฑ์ การตลาด และประชาสัมพันธ์)

ระยะที่ 3 (5 ปีขึ้นไป) จัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนเรื่องการเกษตรที่สูง การตั้งกลุ่ม


สำหรับในช่วงแรก พบว่า คุณเจริญมีรายได้รายเดือน 5,000 บาท (จากค่ารับจ้าง เบี้ยประชุม การสำรวจข้อมูล อพม. ) รายปีประมาณ 120,000 จากการจำหน่ายกล้าไม้อะโวคาโด กาแฟ ลูกเนียง



โดยระบบการเกษตรที่พบในพื้นที่สูงของแม่ฮ่องสอนพบว่ามี 2 รูปแบบคือ

1. วิถีดั้งเดิม มีการทำแปลงข้าวไร่+ผักพื้นบ้าน

2. วิถีใหม่ มีการทำการเกษตร 2 แบบคือ วนเกษตร และการปลูกพืชเชิงเดี่ยว

คำสำคัญ (Tags): #พื้นที่สูง
หมายเลขบันทึก: 610607เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2016 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2016 13:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท