​หลักสูตร ผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 2 (PSU EXECUTIVE LEADERSHIP DEVELOPMENT PROGRAM FOR THE FUTURE) (ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 14-16 กรกฎาคม 2559)


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ห้องเรียนผู้นำ

ขอต้อนรับลูกศิษย์หลักสูตร ผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 2 (PSU EXECUTIVE LEADERSHIP DEVELOPMENT PROGRAM FOR THE FUTURE) ทุกท่านอย่างเป็นทางการ

ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเป็นผู้จัดหลักสูตรเพื่อการพัฒนาผู้นำ ผู้บริหาร และคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

และขอใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ที่เราจะเรียนร่วมกันสำหรับช่วงที่ 2 ครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

สรุปการบรรยาย โดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

โครงการ ผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 2

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม 2559

ณ ห้อง S103 คณะวิศวกรรมศาสตร์


Morning Brief โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รุ่น 2 ต้องไม่น้อยหน้ารุ่น 1 เพราะรุ่น 1 วางแผนไปสิงคโปร์แล้ว คาดว่าจะไปเดือนตุลาคม รุ่น 2 ศักยภาพไม่ด้อยกว่ารุ่น 1

จะเรียนตามหลัก Chira Way เน้น Reality และ Relevance จะรวบรวมบทความต่างๆมาให้อ่าน

จะมีการปะทะกันทางปัญญาในเรื่องวัฒนธรรมองค์กร ควรคิดว่า ถ้าจะเป็นองค์กรการเรียนรู้ ควรค้นหาขั้นตอนในการร่วมมือ

จะมีการวิจารณ์หนังสือของ Peter Senge และหนังสือที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน เมื่อเรียนแล้วต้องมีการวัดผล

รุ่น 2 มีความหมายมาก เพราะจะเป็นผู้นำในอนาคต เมื่อขึ้นสู่ตำแหน่งระดับสูงต้องมีภาวะผู้นำ นอกจากนี้มีผู้เข้าร่วมเป็นผู้อำนวยการกองหลายคน ควรจะรู้จักกัน จะทำให้เชื่อมโยงการทำงานกันได้ การรู้จักกันทำให้สามารถหารือกันได้

หลักสูตรนี้ไม่ได้ตามตารางอย่างเดียว ถ้าบรรยากาศดี อาจจะเสริมได้ เช่น ด้วยการอ่านหนังสือที่ดี และไม่ซ้ำกัน ทำให้เกิด Value Diversity เมื่ออ่านแล้ว ควรประยุกต์ใช้กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Group Assignment & Presentation Lesson learned– Share and Care: บทเรียนจากหนังสือ (เล่มที่ 1) เรื่อง Harvard Business Review - HBR'S 10 Must Reads on Leadership

ให้ข้อเสนอแนะโดย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

และ

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

กลุ่ม 1 นำเสนอ What Leaders Really Do

บทนี้นำเสนอความแตกต่างระหว่างภาวะผู้นำกับการจัดการ

ต้องมีการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนเพื่อทำให้งานและสำเร็จ

ภาวะผู้นำกับการจัดการไปด้วยกัน แต่มีความแตกต่างกัน

ภาวะผู้นำเป็นการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในด้านต่างๆ

การจัดการเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารความยุ่งยากในองค์กร

ภาวะผู้นำ

ต้องมีการกำหนดทิศทาง

ทำให้คนไปตามทิศทาง

สร้างแรงบันดาลใจ


การจัดการ

เน้นการวางแผน

จัดคนเข้าสู่ตำแหน่งงาน

ควบคุมกิจกรรมให้ลุล่วงตามแผน

แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

ภาวะผู้นำ ในเรื่องการกำหนดทิศทาง เน้น Inductive มีการบริหารวิสัยทัศน์ เน้นระยะยาว

แต่การจัดการ พยายามบริหารระบบ ต้องเน้นเป้าหมายในอนาคตอันสั้น จะสำเร็จได้ต้องมีการบริหารทรัพยากรต่างๆ

สิ่งสำคัญคือต้องตอบสนองต่อผลประโยชน์ของแต่ละกลุ่ม และสามารถถ่ายทอดเป็นกลยุทธ์แข่งขันที่สามารถปฏิบัติได้จริง


กรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ

American Express ตอนนั้นประสบปัญหาการแข่งขันจากมาสเตอร์การ์ด มีการกำหนดวิสัยทัศน์ มีบัตรสีเขียวอย่างเดียว ไม่มีอย่างให้ลุกค้า ทำให้เกิดการสร้างบริการใหม่ ขยายไปสู่การเปิดโรงเรียนฝึกคน ให้รางวัลลูกค้า การมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดใหม่ทำให้แผนระยะยาวไม่ตอบโจทย์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าจะทำแผนระยะยาว ต้องคิดถึงการเปลี่ยนแปลงมากมาย

เมื่อกำหนดเป้าหมาย ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้จากความผิดพลาด แล้วไม่หยุดการเรียนรู้

นำมาประยุกต์ใช้กับสภาพความเป็นจริงของมอ.

ถ้าคนมีภาวะผู้นำมากแต่ขาดการจัดการก็ล้มเหลว

ถ้ามีวิสัยทัศน์ ก็ต้องทำให้สำเร็จและเอาชนะอุปสรรคให้ได้

กลุ่ม 1

ในด้านภาวะผู้นำ ต้องมีการสื่อสารกับคนทุกระดับและทุกฝ่าย คนเหล่านี้ต้องเข้าใจและสามารถทำให้สำเร็จได้

ความท้าทายคือ ความเชื่อถือไว้วางใจ ต้องทำให้คนเชื่อได้ แล้วจะนำไปสู่การมีอำนาจที่เพิ่มขึ้น

แต่การจัดการ เน้นแค่จัดโครงสร้างตามแผนที่กำหนด วางคนให้เหมาะกับงาน มีการฝึกอบรม การติดตามแผน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ระดับกลาง มอ. ยังไม่ empower ต้อง empower แล้วคนมอบอำนาจก็ยังมีอำนาจเหมือนเดิม

ควรมีการ raise fund มากขึ้น รายได้มหาวิทยาลัยต่างประเทศส่วนมากมาจากวิจัย ควรไปดูงาน Nottingham University มี Innovation Center นำภาคเอกชนมาช่วยบริหาร

กลุ่ม 1

กรณีศึกษา

Eastman Kodak ทำเรื่องถ่ายเอกสาร มีปัญหาค่าใช้จ่ายสูงขึ้น แก้โดยสื่อสารกับพนักงานมากขึ้น มี Dialogue letter ทำให้กำไรดีขึ้น และทำให้พนักงานมีส่วนร่วมมากขึ้น

เรื่องนี้ช่วยกระตุ้นคนให้ทำตามวิสัยทัศน์ มอ.เริ่มมีการยอมรับ การให้รางวัล มอ.กำลังปรับอยู่

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผู้นำในยุคต่อไปต้องเน้น people skill มากขึ้นซึ่งต้องใช้เวลา

กลุ่ม 2 นำเสนอ Level 5 Leadership (จาก From Good to Great)

Level 5 Leader (ผู้นำระดับ 5) คือผู้นำที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนและทำให้บริษัทยอดเยี่ยมได้

แต่ผู้นำระดับ 4 ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จแต่ยังไม่สามารถทำให้บริษัทยอดเยี่ยมได้

ระดับผู้นำ แบ่งได้ดังนี้

ระดับ 1 เป็นคนมีทักษะทำงาน มีประสิทธิภาพ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องสำรวจความรู้ความสามารถและคุณธรรมของตนเอง

พื้นฐานต้องดีก่อนจึงจะช่วยคนอื่นได้

กลุ่ม 2

ระดับ 2 ทำงานเป็นทีม

ระดับ 3 จัดการคนและเงิน

ระดับ 4 ประสิทธิภาพสูงแต่ยังไม่สามารถนำองค์กรจาก Good to Great ได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผู้นำระดับสูงมีความเรียบง่าย เช่น ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

หนังสือนี้ผสมผสานผู้นำกับผู้จัดการ

กลุ่ม 2

บริษัทที่สำเร็จต้องการผู้นำระดับ 5 มักพบในช่วงเปลี่ยนผ่าน

ผู้นำระดับ 5 เป็นแบบหยินหยาง มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ต้องยกย่องความดีของคนอื่นเหมือนมองออกไปนอกหน้าต่าง (มองไปนอกตนเอง)

ผู้นำมอ.ควรสร้างคนเป็นอันดับแรก ควรมีบุคลิกสุขุมถ่อมตน เข้าใจการเปลี่ยนแปลง ต้องใช้เวลา ต้องพยามทำให้คนมีระเบียบวินัยด้วยตนเอง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรื่องคนเป็นเรื่องระยะยาว ถ้าลงทุนเรื่องคนต่อเนื่องและมีคุณภาพ จะทำให้เกิดความสำเร็จ

ควรมีการ networking กับบุคคลภายนอกด้วย

กลุ่ม 3 นำเสนอ Seven Transformations of Leadership

ผู้นำที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงองค์กร

ผู้นำที่ดีต้องอยู่ที่ action logic ซึ่งเป็นการตีความการกระทำของคนรอบข้างแล้วตนจะโต้ตอบอย่างไร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผู้นำต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการโอกาสและภัยคุกคามได้ ไม่จำเป็นที่ต้องมีรูปแบบที่ตายตัว

กลุ่ม 3

บทความเกิดจากการสำรวจผู้บริหาร

มีผู้นำไม่กี่คนที่เข้าใจ action logic ของตน และเข้าใจว่า action logic พัฒนาได้

ถ้าได้พัฒนา action logic จะนำไปสู่การพัฒนาตนและองค์กร

action logic แบ่งเป็น 7 ประเภท

1.นักฉกฉวยโอกาส สนใจตนเองเป็นหลัก และประโยชน์ที่ตนจะได้รับ จึงพยายามควบคุมคนอื่น อาจเหมาะกับองค์กรเฉพาะช่วงวิกฤติ

2.นักการทูต หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กร ชอบทำงานเป็นทีม เหมาะที่จะทำงานในระดับต้น ยากที่จะขึ้นระดับสูง แต่ประเภทนี้ไม่กล้าตัดสินใจและวิพากษ์วิจารณ์

3.ผู้เชี่ยวชาญ ทำตามข้อมูลที่มี คิดว่าตนถูกต้องคนเดียว คิดว่าการทำงานเป็นทีมไม่มีประโยชน์ มักดูถูกคนที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ขาดความใส่ใจด้านอารมณ์

4.ผู้มุ่งผลสำเร็จ สนับสนุนการทำงานเป็นทีม จัดแบ่งงานดี ตอบสนองความต้องการตลาด แต่ไม่คิดนอกกรอบ เหมาะทำงานบริหารจัดการ อาจจะยังเป็นผู้นำไม่ได้

5.ฉายเดี่ยว เป็นคนเก่ง แต่พร้อมฝ่าฝืนกฎเพื่อทำให้งานสำเร็จได้ อาจสร้างความขัดแย้งกับคนอื่นได้

6.นักยุทธศาสตร์และยุทธวิธี สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กร พร้อมจัดการความขัดแย้ง บริหารความสัมพันธ์ได้ดี เชื่อมโยงเป้าหมายมาสู่การปฏิบัติได้ ให้ความสำคัญต่อความรับผิดชอบต่อสังคม

7.นักเล่นแร่แปรธาตุ เปลี่ยนแปลงทั้งสังคมได้ เช่น เนลสัน แมนเดลา เป็นคนมีบารมี มาตรฐานศีลธรรมสูง เลือกโอกาสที่เหมาะสมสร้างแรงบันดาลใจให้คน

จากผลวิจัย 70% เป็น ผู้เชี่ยวชาญ (expert) และ ผู้มุ่งผลสำเร็จ (achiever)

มอ.ก็เป็นแบบนี้

Action logic พัฒนาได้

Expert ต้องมองว่าสมมติฐานอาจไม่ถูกเสมอไป การนำไปสู่ผลไม่ได้มีวิธีเดียว

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Transformation leadership เปลี่ยนไปสู่การออกนอกระบบ

กลุ่ม 3

ในการทำงานเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ต้องตั้งคำถามกับเป้าหมาย เป้าหมายส่วนตัวประสบความสำเร็จแล้วส่งผลถึงมอ.

นอกจากนี้ต้องเน้นการคิดนอกกรอบ เปลี่ยนไปเน้น Demand

ต้องสร้าง leadership culture ในมอ.

เปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาส

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

กลุ่ม 1 สนใจเรื่องการเลือกคนให้ได้เหมาะกับวิสัยทัศน์ ตรงกับ Steve Jobs นำคนเก่งที่เป็นคนดีมาปะทะกันทางปัญญาทำให้เกิดนวัตกรรม และความสำเร็จ

กลุ่ม 2 น่าสนใจเรื่อง Level 5 Leader ในมอ.มีประเภทนี้มาก เพราะคัดเลือกมันสมองของชาติมาเป็นผู้นำ ต้องค้นหาตัวเอง จะไปอย่างไร

กลุ่ม 3 action logic เป็นเรื่องเข้าใจยาก ต้องคิดลึก ขอชมเชยที่อ่านแล้วนำมาแบ่งปันความรู้ได้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

วิชาวิจารณ์หนังสือสุดยอดที่สุด ต่างจากวิชาอื่นที่รับจากวิทยากร เพราะการอ่านหนังสือทำให้มีจินตนาการแล้วคิดต่อ นำเข้ามาเติมเต็มในชีวิต เป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

เมื่อนำความรู้ไปใช้ ควรคำนึงถึงลูกค้า อาจจะให้ลูกศิษย์อ่านแล้ววิเคราะห์

กลุ่ม 1 มาในพื้นฐาน ชี้ความแตกต่างผู้นำและผู้จัดการ ผู้นำเป็นนามธรรม มีวิสัยทัศน์แล้วกำหนดยุทธศาสตร์ คนที่จะเป็นผู้นำ ต้องผ่านกระบวนการเป็นผู้จัดการมาก่อน ทำให้เกิดความเข้าใจ เมื่อไปถึงระดับผู้นำ ต้องมีเรื่อง mindset และ inspiration

กลุ่ม 2 ดีมาก นำเสนอระดับผู้นำ มีผู้จัดการเข้ามาสู่ระดับผู้นำด้วย แต่อยู่ในระดับแรก ผู้นำต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง เพราะคนมีทางเลือกมากขึ้น อาจจะอยู่หรือไม่อยู่มอ.ได้ มอ.ต้องรู้จักบริหารเรื่องนี้

กลุ่ม 3 การวิเคราะห์คน 7 กลุ่ม ทำให้ทราบช่องว่างที่จำเป็นต้องเติมเต็ม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าเป็น Transformation ต้องการ diverse skills

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งสำคัญ แต่ละคนเรียนรู้ แล้วรู้จักทำงานเป็นทีม ทำในสิ่งที่เห็นชอบร่วมกัน ทุกฝ่ายได้ประโยชน์

Networking เป็นหัวใจ

กลุ่ม 4 นำเสนอ Discover Your Authentic Leader

เกิดจากการค้นพบว่าตนเองเป็นคนแบบใด ไม่ใช่ลอกเลียนความสำเร็จคนอื่น

Authentic Leader ต้องสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวที่มีความหมาย และวินัยในตนเอง

จากการสัมภาษณ์ผู้นำประสบความสำเร็จ 125 คน พบว่า คนเราสามารถพัฒนาเป็นผู้นำได้ทันทีและต้องมีพันธสัญญาของตนเอง

การค้นพบ Authentic Leader มีหลัก 7 ประการ

1.การเรียนรู้จากชีวิตของเราเอง ทำสิ่งสำคัญต่อชีวิตเราอย่างต่อเนื่อง ค้นหาที่ที่เหมาะสมกับเรา นำประสบการณ์มาพัฒนาตนเอง ต้องค้นพบจุดแข็งที่มาจากประสบการณ์

กรณีศึกษาบริษัทยา Novartis มี CEO ที่ประสบปัญหาในชีวิตมาตลอดจึงมาเรียนแพทย์ เพื่อช่วยเหลือผู้คน

2.การตระหนักรู้ตนเองอย่างแท้จริง ต้องเปิดใจยอมรับตนเอง ทดสอบตนเองในประสบการณ์ที่ผ่านมา ผู้นำ Authentic Leader ต้องพร้อมรับ Feedback แล้วปรับพฤติกรรมตนเอง

3.การปฏิบัติตามคุณค่าและหลักการขอบคุณ คุณค่ามาจากความเชื่อและความศรัทธาอันแรงกล้า นำคุณค่าที่ตนอยากได้มาเปลี่ยนเป็นการกระทำ

4.รักษาแรงจูงใจภายในและภายนอกให้สมดุล แรงจูงใจภายนอกกำหนดโดยสังคม แต่แรงจูงใจภายในคือ การความต้องการภายในตนเอง เช่น มีวุฒิภาวะเพิ่มขึ้น ช่วยให้คนอื่นพัฒนาตนเอง

5.สร้างทีมสนับสนุน ได้แก่ คู่สมรส ครอบครัว ที่ปรึกษา เพื่อน เพื่อนร่วมงาน

6.บูรณาการชีวิตโดยการใช้ชีวิตอย่างสามัญ ทำตัวเป็นคนเดียวกันภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป คือสามารถอยู่ได้ในทุกสถานการณ์

7.ให้พลังแก่ผู้อื่นในการเป็นผู้นำ ไม่แค่สร้างบันดาลใจ แต่ช่วยให้คนพัฒนาเป็นผู้นำ

Authentic leader คือผู้นำของผู้นำ

มอ.ควรจะมีความชัดเจนในการบริหารงานบุคคล ผู้นำต้องกระจายอำนาจ เรียนรู้จากอดีตแล้วนำมาเป็นประสบการณ์ในการพัฒนา

สรุปแล้ว Authentic leader ต้องอยู่ได้กับทุกสถานการณ์

ความสำเร็จของผู้นำดึงดูดคนมีความสามารถมาอยู่และทำงานร่วมกัน

Authentic leader ทำให้องค์กรอยู่ได้ในระยะยาว

สิ่งสำคัญคือทุกคนประสบความสำเร็จไปด้วยกัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าจะสร้างผู้นำในมอ. ต้องทำให้ผู้นำเหล่านี้มีตัวตน

ผู้นำรู้จักถ่อมตัวแต่ก็ต้องรู้จักใช้โอกาสสร้างประโยชน์ ต้องรู้จักทำงานที่ยากขึ้น

ผู้นำระดับสูงควรโน้มตัวเองมาหาลูกน้อง รู้จักโอภาปราศรัย

Authentic leader อาจจะเกิดจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง แต่ก็รักษาพื้นฐานเดิมที่ดีไว้

ผู้นำมีความจริงใจแล้วต้องมีประสิทธิภาพด้วย

แม้จะมีอดีตที่ล้มเหลว แต่ก็ควรจะใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อชีวิต เพื่อทำให้ชีวิตแข็งแกร่งขึ้น

กลุ่ม 5 นำเสนอ What Makes an Effective Executive

องค์ประกอบที่หลอมรวมเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพมี 8 ข้อ

1.ถามตนเองว่า จำเป็นต้องทำอะไร แต่สภาพปัจจุบันของมอ. ก็ทำไปเรื่อยๆ คล้ายกับทำสิ่งที่อยากทำ

ควรจะวิเคราะห์ว่า มีจุดแข็งอะไร แล้วจัดลำดับในการทำ

2.ถามตนเองว่า อะไรที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับองค์กร (ซึ่งรวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกราย)

3.จัดทำแผนปฏิบัติการ ควรนำความรู้มาปฏิบัติ ต้องทราบผลที่ต้องการ และการเอาชนะอุปสรรค ต้องมีระบบการตรวจสอบ ต้องมีการกำหนดเวลา

4.ผู้รับผิดชอบตัดสินหาคนรับผิดชอบ กำหนดเวลา ใครเป็นผู้รับผลกระทบ และต้องให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ 1

ต้องมีการทบทวนข้อผิดพลาดในการตัดสินใจ การตัดสินใจต้องให้ทุกคนมีส่วนร่วม

5.สื่อสารแผนปฏิบัติการ

6.มุ่งที่โอกาสไม่ใช่ปัญหา ไม่ควรแก้ปัญหารายวัน โอกาสมาจากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

7.บริหารการประชุมให้มีประสิทธิภาพ โดยมีการเตรียมการข้อมูลที่จำเป็น ต้องมีการติดตามการดำเนินการตามมติ

8.ต้องมองส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว

ประสิทธิภาพเรียนรู้ได้และต้องเรียนรู้ด้วย ทุกคนต้องมีคุณสมบัตินี้

มอ.ต้องพัฒนา

1.จัดความสำคัญ

2.แผนปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ

3.การตัดสินใจที่ดี

4.การสื่อสารให้เป็นสองทาง

5.มุ่งเน้นโอกาส

6.ทำให้การประชุมมีประสิทธิภาพ

7.ให้ทุกคนมีส่วนร่วม สอดคล้องกับกิจที่ 1

สิ่งสำคัญต้องพัฒนาคนก่อนแล้วสิ่งอื่นก็จะพัฒนาด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

มอ.ควรให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ แต้ต้องพิจารณาผลกระทบให้รอบคอบ

มอ.มีการประชุมมากเกินไป ควรจะเน้นแต่เรื่องที่สำคัญและจำเป็น มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อกันจะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และโอกาสมากขึ้น

เมื่อปะทะกันทางปัญญาแล้วต้องแบ่งปันไปยังทุกระดับด้วย

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

ข้อ 1 และ 2 ตรงกับ 2R’s

ข้อ 3 คือ 2I’s

ข้อ 4 และ 5 ตรงกับ passion กับ 3ต.

Focus on opportunity ตรงกับ 5K’s เมื่อพัฒนาแล้วทำให้เกิดความรู้ใหม่

Networking เรากำลังไป Global Digital เป็นสิ่งที่ดร.จีระคือ Digital Capital

We not I คือ เวลาที่ทำอะไรก็คิดว่าตนเองเป็นเจ้าของเป็นการรักษาผลประโยชน์ให้องค์กร

เวลาทำงานต้องมี HRDS ต้องมีความสมดุล

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กลุ่ม 4 นำเสนอเรื่องค่อนข้างเป็นปรัชญา แต่สุดท้ายคือให้ทุกคนเป็นผู้นำอย่างเป็นธรรมชาติ ก็สามารถนำคุณสมบัติด้านใดขึ้นมาใช้ก็ได้

ผู้นำเนื้อแท้ มาจากการค้นพบตัวเองเจอ มีความกระหายใคร่รู้เพื่อทราบถึง passion ไปกำหนดเป้าหมายในเส้นทางที่เป็นตัวเราเอง ใน Transformative experience ต้องผ่านการล้มเหลวก่อน แล้วนำไปสู่ประโยชน์สุข พระบิดา เคยเป็นนายทหารเรือ จบจากเยอรมนี แต่เยอรมนีแพ้สงครามโลก ท่านไม่ได้รับการยอมรับ แต่ก็เคยล้มเหลว จึงทรงศึกษาด้านการแพทย์แม้จะทรงพระประชวร

ผู้นำเนื้อแท้ต้องสร้างทีมสนับสนุน แต่ควรออกไปช่วยชุมชนด้วยแล้วชุมชนจะช่วยมหาวิทยาลัย ต้องมองโอกาสจากอุปสรรค แม้จะไม่มีนักศึกษาไทย ก็จะได้นักศึกษาต่างประเทศมา

ผู้นำเนื้อแท้ต้องเลือกคุณธรรม มีแรงจูงใจภายนอกและภายในมาจาก HRDS แรงจูงใจเช่น ความสุขจะทำให้อยากทำทั้งๆที่ไม่มีตำแหน่ง

ผู้นำเนื้อแท้ต้องให้พลังแก่ผู้อื่น นำผู้นำสู่ความยอดเยี่ยมด้วย และสร้างผู้นำรุ่นต่อไป

กลุ่ม 5 นำเสนอเกี่ยวกับการบริหารจัดการภายนอก มาจากแนวคิด Peter Druckers

การทำให้เป็นผู้นำที่แตกต่างและมีประสิทธิภาพ ต้องเลือกสำหรับตนเอง ต้องเลือกว่าสิ่งใดสำคัญต่อองค์กร ต้องเน้นโอกาสไม่ใช่ปัญหา เลือกการประชุมกระชับ ให้ได้คำตอบในการปฏิบัติ คิดถึงส่วนร่วมก่อนส่วนตัว

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทุกเรื่องเชื่อมโยงกัน

Creative Leadership by Coaching & Business Games

โดย อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

CLO (Chief Learning Officer)

บริษัท กบเหลาดินสอ จำกัด

กิจกรรมที่ 1 ถามคำถามเพื่อรู้จักวิทยากรมากขึ้น เลือกผู้แทนกลุ่มถาม

1.ทำไมตั้งชื่อกบเหลาดินสอ

ตอบ คนเหมือนดินสอ ทำงานไปก็ทู่ ต้องเหลาความคิดและ Mindset ให้แหลม

2.มีความคาดหวังอะไรจากผู้เข้าร่วมอบรม

ตอบ อยากให้คิดเยอะแบบไม่ยั้ง แล้วเล่าสู่กันฟัง อาจเปลี่ยนเนื้อหาเป็นแนวปฏิบัติต่างจากรุ่น 1

3.ทำไมวิทยากรใส่เสื้อสีส้ม

ตอบ สอนตอนบ่าย ใส่เสื้อสีส้มดึงดูดความสนใจในการเรียน

4.อะไรเป็นแรงบันดาลใจในการทำงานและเป็นวิทยากร

ตอบ เคยทำงานโฆษณาแล้วมีคนเชิญไปเป็นวิทยากรด้านการตลาดและโฆษณา ค้นพบตนเองว่าชอบความคิดสร้างสรรค์ไปเรียนต่อแล้วนำมาสอน

5.ทำอย่างไรจึงดูเด็ก ร่าเริงสดใส

ตอบ ชอบออกกำลังกาย หาโอกาสออกกำลังกายทุกที่

บทเรียนจากกิจกรรม

ใช้วิธีแปลกในการทำความรู้จักกัน เพราะ ไอน์สไตน์ กล่าวว่า การทำอะไรเดิมๆแล้วคาดหวังผลที่แตกต่างไปจากเดิมถือเป็นความฟั่นเฟือน

การทำสิ่งเดิมๆทำให้อยู่ในกรอบก็จะได้สิ่งเดิม

กิจกรรมที่ 2 จับคู่กับคนที่มีอะไรเหมือนกับเราแต่อยู่ต่างกลุ่ม

ตอบ

ต่างวิทยาเขตเหมือนกัน

ใส่รองเท้าสีดำเหมือนกัน

ใส่เสื้อลายดอกเหมือนกัน

ใส่แว่นตาเหมือนกัน

ใส่นาฬิกาด้านซ้ายเหมือนกัน

สวยเหมือนกัน

กิจกรรมที่ 3 บอกคู่ว่า คาดหวังผลที่ต่างไปจากเดิมอย่างไร

ตอบ

คนที่ 1 อยากให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีเวลาว่างมากขึ้น

คนที่ 2 อยากเห็นคนมอ.รักองค์กร อยากให้องค์กรไปสู่เป้าหมายได้เร็ว

เนื้อหา (ต่อ)

การคิดนอกกรอบอาจจะนำมาปฏิบัติจริงไม่ได้ จึงเปลี่ยนเป็นคิดคร่อมกรอบซึ่งเป็นการค้นพบความคิดใหม่ที่นำไปปฏิบัติได้จริง

86% ของคนที่ประสบความสำเร็จในการทำงานทุกระดับขึ้นอยู่กับความสามารถ 2 อย่างคือ มนุษยสัมพันธ์และความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์เป็นจุดกำเนิดเพื่อพัฒนาและปรับปรุง บางคนไม่มีมนุษยสัมพันธ์ เวลาที่นำความคิดไปปฏิบัติ ก็ไม่ได้รับความร่วมมือจึงไม่เกิดนวัตกรรม

นวัตกรรมคือนำความคิดสร้างสรรค์ไปปฏิบัติให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อสังคม

คนไทยมีมนุษยสัมพันธ์อยู่แล้ว อาจจะเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน

ในการบริหารความคิดสร้างสรรค์ ใช้ 4M คือ

1.Mechanics ขั้นตอนวิธีคิด

2.Mindset ความรู้ ความเข้าใจ ความคิด

3.Mood อารมณ์

4.Momentum ทำให้ความคิดสร้างสรรค์เกิดความยั่งยืน

ทำไมองค์กรไม่มีความคิดสร้างสรรค์

1.ไม่มีเมล็ดพันธุ์ความคิด

2.มีความคิดถูกปล่อยให้ตาย

3.ความคิดได้รับการดูแล แต่ไม่เกิดผล

วิธีการสร้าง Creative Organization

  • Creative Thinking พนักงานแต่ละคนมีความคิดสร้างสรรค์
  • Creative Leadership ผู้นำสนับสนุน
  • Creative System ระบบนำความคิดไปสู่การปฏิบัติ

คนเรามีความคิดดีแต่ออกมาไม่ได้เพราะติดกรอบความคิด จึงกลับไปคิดเหมือนเดิม บางคนไม่คิด

กรอบความคิด แต่คิดกรอบองค์กร แม้ว่าไม่ติด 2 กรอบ แต่ติดกรอบสังคม การคิดแบบนี้ผิดธรรมชาติสำหรับการคิดสร้างสรรค์

ธรรมชาติความคิดสร้างสรรค์ ต้องนอกกรอบความคิดเดิม นอกกรอบองค์กร นอกกรอบสังคม

การคิดนอกกรอบเป็นครึ่งแรกของการคิด แต่ครึ่งหลังต้องมองความคิดนอกกรอบเหมือนผลไม้ดิบที่กินไม่ได้ แต่สามารถบ่มให้สุกเพื่อกินได้ การบ่มความคิดให้สุก แต่ดึงให้เข้ามาในกรอบองค์กรและกรอบสังคม กลายเป็น “ความคิดคร่อมกรอบ”

ต้องมีการสลายกรอบ เพื่อให้ความคิดลอดออกมาได้ ปัญหาคนมีความกลัวในการคิด

ขั้นตอนการคิดคร่อมกรอบ (PPCO)

1.หาข้อดีของความคิดนอกกรอบ (Pluses) เช่น เคยไปอบรมเป็นวิทยากรให้โครงการหนึ่ง ผู้เข้าร่วมโครงการขอให้แวะที่ห้อง จึงพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการเล่นไพ่กัน แต่เห็นคนหนึ่งที่คึกคักแต่เวลาเล่น แต่ง่วงเวลาเรียน จึงคิดจะนำการเล่นไพ่ไปดึงดูดให้ผู้เข้าร่วมโครงการสนใจ

2.หาข้อดีในอนาคต (Potentials) ถ้าทำได้จะทำให้ผู้เรียนสนใจ

3.ติด แต่ว่า กังวล (Concerns) ค้นหาสิ่งที่ติดกรอบ การเล่นไพ่ติดกรอบว่า ผิดกฎหมาย และผิดระเบียบบริษัท และไม่มีไพ่ และเป็นกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับที่สอน

4.หลบ เลี่ยง ทะลุ (Opportunities) หาโอกาสให้สามารถนำความคิดไปใช้ได้อย่างเหมาะสม เช่น ไม่มีไพ่ก็ใช้กระดาษแทน

กิจกรรมที่ 4 คิดนอกกรอบที่ไม่เคยทำและนอกองค์กรและสังคม

กลุ่มนำเสนอเป็นอันดับที่ 1

แก้ปัญหานักศึกษามาสาย

ความคิดนอกกรอบ

1.ให้นอนในห้องเรียน

2.ฝังชิพติดตามนักศึกษา

3.ไล่ออก

อาจารย์ศรัณย์

เป็นความคิดนอกกรอบ สมบูรณ์แบบ

กลุ่มนำเสนอเป็นอันดับที่ 2

แก้ปัญหาการพัฒนาภาษาอังกฤษนักศึกษา

ความคิดนอกกรอบ

1.กำหนดเป็นวิชาบังคับจบหลักสูตร

2.มหาวิทยาลัยทำจดหมายส่งตัวนักศึกษาไปต่างประเทศ โดยให้นักศึกษาทำเองทุกอย่าง รวมทั้งหาเงินไปเอง

การพิจารณาความคิดก่อนนำไปใช้ (Check Points)

1.ทุกโอกาส (O) แก้ทุกความกังวล (C) ได้หรือไม่ ถ้าไม่สามารถแก้กังวลได้ทั้งหมด ก็หาคนที่แตกต่างจากเรามาช่วยคิด

2.ทุกโอกาส (O) ปฏิบัติจริงได้หรือไม่

3.ยังมีความกังวล (C) อื่นซ่อนอยู่หรือไม่ พยายามค้นหาโอกาส (O) จากความกังวลนั้น

4.หาโอกาส (O) เพิ่มเติม ความคิดดิบๆอาจจะทำให้สามารถหาโอกาส (O) เพิ่มได้

ปัญหาในการนำเสนอความคิด คือ เพชฌฆาตความคิด

กิจกรรม จำลองสถานการณ์นำเสนอความคิดต่ออธิการบดี

ผลการนำเสนอ

ปัญหาที่เสนอคือนักศึกษาชอบไปสังสรรค์นอกมหาวิทยาลัย หรือมาสังสรรค์ในมหาวิทยาลัยทำให้ผิดระเบียบ

ความคิดที่เสนอ จะเปิดเป็น Learning Center ไร้แอลกอฮอล์ ขายเครื่องดื่มกระตุ้นเอ็นโดรฟิน สนุกสนาน จะมีคณะกรรมการควบคุมไม่ให้เกินขอบเขต สถานที่ศูนย์กีฬามีที่ว่างและยินยอมร่วมมือด้วย มีการระดมทุนจากนักศึกษา และสปอนเซอร์ นำอาจารย์มาเป็นที่ปรึกษา ขอจะทำเป็นโครงการนำร่องทดลองก่อน

ประโยชน์ เป็นโอกาสทางอาชีพ และการระดมทุน นักศึกษาอาจจะบริหารจัดการเพื่อเรียนรู้เป็นผู้ประกอบการ

ขั้นตอนเสนอความคิดใหม่ (เป็นการทำ PPCO กับหัวหน้า)

1.ทำให้หัวหน้าสั่งให้เราคิด

2.เสนอความคิดตามที่หัวหน้าสั่ง (ถ่อมตน) เพื่อเปิดโอกาสให้หัวหน้าช่วยพัฒนาความคิด

3.ถามหัวหน้าถึงข้อดี

4.ขอให้หัวหน้าสอนเพิ่มเติม ยังไม่ต้องแสดงคำตอบออกไป

5.เสนอความคิดตามที่หัวหน้าสั่งและสอน

การนำเสนอแบบนี้ทำให้หัวหน้าได้มีส่วนร่วม และได้สอนเรา เป็นการผสมผสานประสบการณ์ของหัวหน้าและความคิดใหม่ของเรา

เมื่อมีลูกน้องมาเสนอความคิด หัวหน้าควรทำดังนี้

1.ชื่นชม

2.เชิงบวก

3.ชวนคิดต่อ (อาจจะแสดงความคิดที่ไม่เห็นด้วยออกมาได้)

7 Habits for Highly Effective People

โดย อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

CLO (Chief Learning Officer)

บริษัท กบเหลาดินสอ จำกัด

นิสัยของคนที่มีประสิทธิภาพตามแนวทาง Stephen Covey

1.Be proactive เชิงรุก มีลักษณะควบคุมสถานการณ์ได้สูงและคิดว่าตนเป็นผู้รับผิดชอบแก้ปัญหา บุคคลที่มีคุณสมบัตินี้ได้แก่ ในหลวง

2.Begin with the end in mind มุ่งผลสำเร็จ บุคคลที่มีคุณสมบัตินี้ได้แก่ เมย์ รัชนก คานธี แมนเดล่า อองซานซูจี

3.Put first thing first รู้ก่อน-หลัง บุคคลที่มีคุณสมบัตินี้ได้แก่ ธนินทร์ เจียรวนนท์ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

4.Think Win-Win คิดแบบชนะๆบุคคลที่มีคุณสมบัตินี้ได้แก่ บรรหาร ศิลปอาชา แมนเดล่า

5.Seek first to understand, then to be understood รู้เขา รู้เรา เอาใจเขามาใส่ใจเรา ทำให้กระจายงานให้เหมาะสม เกิดความร่วมมือและสัมพันธภาพที่ดี บุคคลที่มีคุณสมบัตินี้ได้แก่ ซุนวู พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ

6.Synergize ร่วมแรงร่วมใจกัน บุคคลที่มีคุณสมบัตินี้ได้แก่ กำนันสุเทพ ธัมมชโย พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน ทีมวอลเลย์บอลหญิงไทย

7.Sharpen the saw ลับคมเลื่อย พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ เรียนรู้ตลอดชีวิต บุคคลที่มีคุณสมบัตินี้ได้แก่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

3 นิสัยแรกเป็นนิสัยชัยชนะส่วนบุคคล

นิสัย 4-6 เป็นนิสัยชัยชนะที่มีต่อคนอื่น

นิสัยที่ 7 ช่วยเกื้อหนุนทุกนิสัย

การวิเคราะห์ Human Performance Improvement (HPI) จาก ASTD

นิสัย

ความปรารถนา

(คะแนนจากคะแนนเต็ม 10)

ความเป็นจริง

(คะแนนจากคะแนนเต็ม 10)

ช่องว่าง

(ความปรารถนา-

ความเป็นจริง)

ลำดับ

Be proactive

Begin with the end in mind

Put first thing first

Think Win-Win

Seek first to understand, then to be understood

Synergize

Sharpen the saw

การพัฒนาไปสู่ Be proactive

ต้องดูว่า มีความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ (Control) และคิดว่าทุกอย่างเป็นธุระของตน (Ownership)

ยกตัวอย่าง

เพลง

หนัง

บุคคลตัวอย่างเพิ่ม Control

บูมเมอแรง

ซูสีไทเฮา

Gravity

มหาธีร์

เพลง

หนัง

บุคคลตัวอย่างเพิ่ม Ownership

เจ้าตาก

รักเธอประเทศไทย

สุริโยไท

ID4

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

ความหมาย Proactive คือรับผิดชอบต่อชีวิตตนเอง ไม่โทษปัจจัยภายนอก

ชาลส์ โนเบล กล่าวว่า เราต้องมีเป้าหมายระยะยาวเพื่อป้องกันไม่ให้เราท้อแท้เมื่อพลาดเป้าหมายระยะสั้น

ควรตั้งเป้าหมายระยะยาวและค่อนข้างสูง แม้พลาดก็ไม่เป็นไรเพราะเป็นความท้าทาย

Stephen Covey กล่าวว่า ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้ว ไม่จูงใจคน แต่ความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองจูงใจคน

ตัวอย่างเช่น นักกีฬาที่ต้องการทำลายสถิติ

เมื่อตั้งเป้าหมาย ต้องดูว่าเป็นความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองหรือไม่

เวลาตั้งเป้าหมาย ต้องเป็นเชิงบวกว่า จะมุ่งมั่น ต้องเป็นเป้าหมายที่ฉลาด สำเร็จได้ไม่ว่าคนอื่นจะทำอย่างไร มีสิ่งที่วัดได้ชัดเจน มีเป้าหมายย่อยๆที่จะนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ต้องระบุกำหนดเวลาไปสู่เป้าหมาย ต้องปรับผลลบที่อาจกระทบคนอื่นให้เป็นโอกาส

นำสิ่งเหล่านี้มาฉายเป็นภาพยนตร์ในใจ ปรับ Sub modality ให้เห็นเป้าชัดเจน

ใช้วิธี NLP (Neuro-Linguistic Programming) การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การกระทำที่มีเป้าหมายซึ่งสามารถเรียนรู้ได้

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม 2559

ณ ศูนย์กีฬาและสุขภาพ

เรียนรู้เรื่องการจัดการการเงินสำหรับนักบริหารการบริหารงบประมาณและการวัดความคุ้มค่าของการลงทุน

โดย ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์

วิทยากรและที่ปรึกษาอิสระอาวุโส

ด้านการบริหารจัดการการเงินและการลงทุน

ตอนที่มหาวิทยาลัยอยู่ในระบบ มหาวิทยาลัยทำหน้าที่เบิกงบจากรัฐบาล รัฐบาลทำหน้าที่หางบให้

แต่มหาวิทยาลัยออกจากระบบแล้วจะมีอิสระในการทำงาน ในด้านการใช้เงินก็มีอิสระมากขึ้น

บางคณะร่วมมือกับคณะอื่นหางบสร้างตึกอยู่ร่วมกัน แม้ไม่ใช้เงินของมหาวิทยาลัย แต่มหาวิทยาลัยไม่อนุมัติให้ตั้งตึกดังกล่าวเพราะไม่สามารถอนุญาตให้ใช้พื้นที่รัฐสร้างได้ จนนักศึกษาประท้วง เมื่อมหาวิทยาลัยแห่งนั้นออกนอกระบบ ก็สร้างตึกได้ทันที

ปัญหาก็คือแม้มหาวิทยาลัยหาเงินได้ แต่อาจจะไม่ได้ใช้ เพราะไม่สามารถตอบคำถามเพื่อขออนุมัติงบนั้นได้

ในการบริหารการเงินในปัจจุบัน มีฟินเท็กซ์ (FIN TECH) คือ Financial Technology เช่น Any ID และ พร้อมเพย์ ต่อไปนี้ ระบบการเงินจะไม่ใช้เงินสด ในอนาคต ไปธนาคาร ก็อาจจะใช้ตู้ทำธุรกรรมก็ได้

ถ้าอยากรวยเร็ว ต้องเป็นหนี้ มีทั้งจริงและไม่จริง ปัญหาคือเงินที่นำมาสามารถก่อให้เกิดรายได้ที่สูงกว่าที่ไปกู้มาได้หรือไม่ บางทฤษฎีกล่าวว่า การก่อหนี้สามารถทำให้รวยได้ เพราะดอกเบี้ยกู้สามารถนำมาหักภาษีได้ นำไปสู่มูลค่ากิจการเพิ่มขึ้น แต่ถ้าการก่อหนี้มีมูลค่ามากขึ้นเลยจุด Optimal ที่เกินประเมินได้ มูลค่ากิจการก็จะลดลง

การจดทะเบียนคณะบุคคลได้ หรือตั้งบริษัทเองได้ จะทำให้ใช้ประโยชน์ลดหย่อนภาษี เป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฎหมาย

เมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบต้องให้ความสนใจทั้งรายรับและรายจ่าย ต้องมีรายละเอียดงบประมาณมากกว่าเดิม เวลาเขียนโครงการ ต้องดู Feasibility (ความเป็นไปได้) ด้วย

การเงินในระบบมีกฎหมายรองรับ ห้ามประจานลูกหนี้ ห้ามโทรมาทวงหนี้นอกเวลา สามารถทวงหนี้ได้กับเจ้าตัวแต่ไม่สามารถฝากคนอื่นทวงได้

ในปัจจุบัน มีแหล่งเงินใหม่ๆ มากขึ้น เช่น Venture Capital เป็นคนมีเงินอยากลงทุนแต่ไม่มีความรู้ และจะเป็นผู้ร่วมถือหุ้น อาจารย์สามารถนำงานวิจัยไปยื่นของบ โดยให้ความรู้แก่ Venture Capital แล้ว Venture Capital จะนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ได้ผลตอบแทนมากขึ้น โครงการที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาทไม่มีปัญหา Venture Capital จะไม่ขายคืนให้อาจารย์เพราะขายในตลาดหลักทรัพย์ไม่เสียภาษี แต่ถ้าขายโดยตรงให้อาจารย์ เสียภาษีเต็มอัตรา

ถ้าคณะจะไปกู้เงินธนาคาร ต้องได้รับมติจากสภามหาวิทยาลัย ควรจะร่วมมือกับคณะนิติศาสตร์ในการไปเจรจากับธนาคาร

ควรจะส่งเสริมอาจารย์รุ่นใหม่ไปนำเสนอโครงการต่อธนาคาร โดยมีผู้บริหารคณะเป็นหัวหน้าทีมนำไป จะมีโอกาสได้รับการอนุมัติมากกว่า

ตลาดการเงิน แบ่งเป็น

1.ตลาดส่งมอบทันที ได้ของทันที แม้ผ่อนจ่ายก็ตาม

2.ตลาดซื้อขายล่วงหน้า เช่น จะไปต่างประเทศเดือนหน้า จะใช้เงิน 10,000 ดอลล่าร์ อาจจะจองดอลล่าร์ล่วงหน้า โดยขอซื้อในอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน เพื่อป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน แต่ต้องจ่ายพรีเมี่ยมขึ้นกับความเสี่ยงที่ธนาคารมอง ในกรณีนี้ จะทำให้ซื้อได้ในอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันเท่านั้นแม้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม จะยกเลิกการซื้อไม่ได้ แต่ตลาดซื้อขายล่วงหน้าที่สามารถยกเลิกได้เรียกว่า Option หรือที่ระบุว่า จะซื้อ จะขาย

ธนาคารแห่งประเทศไทย แบ่งตลาดการเงินเป็น 4 แบบ ดังนี้

1.ตลาดเงิน เป็นการให้กู้ยืมสภาพคล่องระยะสั้น ไม่เกิน 1-3 ปีแก่สถาบันการเงินผ่านตลาดกู้ยืมระหว่างธนาคารและตลาดซื้อคืนพันธบัตร

2.ตลาดทุน เป็นการระดมทุนระยะปานกลางและระยะยาว (เกิน 3 ปีขึ้นไป) ที่ดำเนินการผ่านตลาดตราสารหนี้และตราสารทุน

3.ตลาดเงินตราต่างประเทศ เช่น อาจจะจองซื้อดอลล่าร์ล่วงหน้าในราคาปัจจุบันได้

4.ตลาดตราสารอนุพันธ์ มูลค่าขึ้นกับตราสารที่ไปอิงราคาด้วย ประเมินมูลค่ายาก

สถาบันการเงินตามระบบบัญชีประชาชาติแบ่งเป็น 3 ประเภท

1.ธนาคารแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นธนาคารของธนาคาร และดูแลนโยบายการเงิน เช่น ดอกเบี้ย

2.สถาบันรับฝากเงิน เช่น มหาวิทยาลัยมีสหกรณ์ออกทรัพย์ เครดิตยูเนี่ยน

3.สถาบันการเงินที่ไม่รับฝากเงิน เช่น กองทุนรวม ประกันภัย กองทุนเลี้ยงชีพ เงินที่นำไปให้สถาบันเหล่านี้เป็นเงินลงทุน จะมีความเสี่ยงสูงกว่า มีโอกาสที่จะได้เงินกลับมาไม่ครบ

ตลาดการเงิน

1.ตลาดเงิน ระยะสั้น ไม่เกิน 1-3 ปี

2.ตลาดทุน ระยะกลางและระยะยาว

ตลาดแรก หมายถึง บริษัทออกหุ้นกู้แล้วให้นักลงทุนซื้ออาจผ่านนายหน้าก็ได้ ในรูปแบบต่อไปนี้

PP Private Placement เจาะจงบุคคล

PO Public Offering เสนอขายครั้งต่อไป

IPO Initial Public Offering เสนอขายให้ประชาชนครั้งแรกในตลาด

บางมหาวิทยาลัยตั้งบริษัทลูกเพื่อทำธุรกิจ ในอนาคต มหาวิทยาลัยอาจมีบริษัทลูก

สหกรณ์ก็เป็นตลาดแรก เพราะสมาชิกนำเงินไปให้สหกรณ์ แล้วได้สิทธิเป็นเจ้าของ ได้เงินปันผลสิ้นปี

บางบริษัทจ่ายปันผลเป็นหุ้น ทำให้เงินกลับมายังบริษัท

ตลาดรองคือ ผู้ถือหุ้นขายหุ้นแต่ไม่ต้องขายคืนบริษัทเดิมแล้ว อาจจะขายให้นักลงทุนรายอื่นก็ได้

ในปัจจุบัน ถ้านำเงินไปฝากธนาคารอย่างเดียว เงินมีสิทธิหาย ถ้าฝากโดยไม่เลือกธนาคาร วันที่ 11 สิงหาคม พระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝากจะคุ้มครองเงินฝากที่เป็นสกุลเงินบาทของคนไทยที่อยู่ในประเทศไทยไม่เกิน 1 ล้านบาท ต่อ 1 บัญชี ต่อ 1 ธนาคารเท่านั้น

การที่บริษัทเชิญอาจารย์มหาวิทยาลัยไปเป็นเกียรติร่วมเป็นกรรมการ แม้ไม่เคยประชุม ก็ต้องรับผิดชอบสิ่งที่กรรมการชุดนั้นอนุมัติไป

การเงินเป็นหัวใจของทุกเรื่อง

ถ้ามหาวิทยาลัยมีเงิน เช่น เปิดเทอมรับเงินลงทะเบียนมาจากนักศึกษา เวลาฝากเงินธนาคาร ไม่ควรฝากธนาคารเดียว ถ้าเป็นบัญชีที่รับเงิน ควรเปิดทุกธนาคารให้ลูกค้าสะดวกโอนโดยไม่มีค่าธรรมเนียม แต่ถ้าเป็นบัญชีจ่ายออกควรมีแค่ 1-2 ธนาคาร จะป้องกันความผิดพลาดได้และรักษาความเชื่อมั่นได้ เวลารับเงินจากภายนอก ควรเปิดบัญชีแยกจากบัญชีเงินเดือน ในการเลือกธนาคาร ต้องดูธนาคารที่มั่นคงซึ่งต้องเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝาก

การใช้บัตรเครดิตไม่ควรใช้ไม่เกิน 2 ใบเพื่อป้องกันการผิดนัดชำระที่จะนำไปสู่ค่าปรับและดอกเบี้ยทบต้น ต้องใช้บัตรเครดิตแทนเงินสด ไม่ใช่เบิกเงินสด (ซึ่งเป็นเงินในอนาคต) จากบัตรเครดิต

ในการขออนุมัติงบลงทุน ต้องมีการทำ Feasibility Study ต้องมีการทำงบประมาณด้วย เช่น ลงทุนสร้างตึกเพื่อใช้ในการเรียน ถือเป็นการลงทุนทางตรง เมื่อเกิดเหตุร้าย ก็จะส่งผลกระทบโดยตรง

การลงทุนทางอ้อม เช่น ฝากธนาคาร ซื้อหุ้น

ความเสี่ยงขึ้นกับประเภทการลงทุน

ถ้ามหาวิทยาลัยมีที่ดินมาก อาจจะเปิดให้เช่า 30 ปีแต่ผู้เช่าต้องขออนุญาตในการดำเนินกิจกรรมใดๆ ต่อมหาวิทยาลัย เมื่อครบ 30 ปี ทรัพย์สินบนที่ดินนั้นจะเป็นของมหาวิทยาลัย อาจจะชวนภาคเอกชนมาร่วมลงทุน

ในการอนุมัติให้ลงทุน ต้องดูผลตอบแทนที่จะได้รับ เพื่อดูว่าธุรกิจนั้นมีเงินจ่ายให้หรือไม่ นอกจากนี้ธุรกิจดังกล่าวต้องไม่สร้างความเสื่อมเสียด้วย

ต้นทุนของที่ดินคือ Opportunity Cost คือถ้าไม่ให้รายนี้เช่า แล้วให้รายอื่นเช่าได้เท่าไร

การบริหารเงินสด ต้องทำให้เงินนั้นเกิดประโยชน์สูงสุด แต่ต้องสามารถทำให้ใช้จ่ายสะดวกด้วย และเผื่อฉุกเฉินด้วย

ลูกหนี้การค้า เช่น นักศึกษาที่ค้างค่าลงทะเบียน บางมหาวิทยาลัยให้นักศึกษาปริญญาโทผ่อนจ่ายรายเดือน แต่ถ้าจ่ายยอดเต็ม จะได้รับส่วนลด

เรื่องการบริหารสภาพคล่องเป็นเรื่องยาก ต้องทำให้มีเงินใช้ได้ตลอดเดือน

การจัดสรรงบประมาณ ต้องพิจารณาว่าจะได้ผลตอบแทนอะไรจากการอนุมัติงบนั้น การทำ Project Feasibility จะช่วยให้ได้รับการพิจารณาอนุมัติงบ ครอบคลุม ความต้องการของตลาด ความคุ้มค่าในการทำโครงการ

มหาวิทยาลัยมีทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนแต่ไม่ใช่ เช่น ชื่อ Prince of Songkla University ได้ใช้ประโยชน์พอหรือไม่ อาจจะจัดสัมมนา

ต้นทุนประกอบด้วย

1.Opportunity Cost

2.ค่าแรง ถ้ากรณีมีการใช้บุคลากรของมหาวิทยาลัย

การประเมินความสำเร็จของโครงการ

1.หลักเงินสด ดูรายรับ-รายจ่าย รายวัน เช่น ทำงานแล้วได้เงินทันทีในวันนั้นทันที สนใจเฉพาะที่มีการจ่ายเงินแล้ว

2.หลักค้างรับ ค้างจ่าย แม้ว่ายังไม่ได้จ่ายเงินสด แต่ค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแล้ว เช่น ใช้ไฟฟ้าวันนั้นแต่จ่ายสิ้นเดือน

งบแสดงฐานะการเงิน (Balance Sheet) ยอดรวมสินทรัพย์ต้องเท่ากับหนี้สิน ฝั่งหนี้สินแสดงแหล่งที่มาของสินทรัพย์ว่า เป็นของมหาวิทยาลัยทั้งหมด และฝั่งหนี้สินจะเป็นสิ่งระบุฐานะ (ความมั่งคั่งหรือส่วนของเจ้าของ)

งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (Income Statement) มียอดขายสุทธิหักด้วยต้นทุน แล้วจะเหลือกำไร (ในภาคเอกชน) หรือรายได้มากกว่าใช้จ่าย (ในภาครัฐ) นอกจากนี้ยังมีรายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ถ้าเกิดขึ้นแล้วเกิดกำไร จะนำมาบวกเป็นกำไร

งบกระแสเงินสด ต้องให้ความสำคัญกระแสเงินสดจากกิจกรรมการดำเนินงาน ถ้าส่วนนี้เหลือมากก็ลงทุนได้มากขึ้น แต่ถ้าเหลือไม่มาก ต้องกู้หรือ หาเงินทุนเพิ่ม

ในด้านความเสี่ยง ต้องศึกษาความเสี่ยงก่อนการลงทุน เพราะเงินอาจเพิ่มหรือลดได้ ความเสี่ยงทางธุรกิจ เช่น คู่แข่งแย่งนักศึกษา ทำอย่างไรจะแย่งนักศึกษาจากที่อื่นมา

Case Studies and Intensive Management Workshop: การสร้างวัฒนธรรมองค์กรสู่ความเป็นเลิศ

และการบริหารการเปลี่ยนแปลง

คุณจันทนา สุขุมานนท์

ที่ปรึกษา อดีต CEO

บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

วิทยากรและที่ปรึกษาอิสระอาวุโส

ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

วิทยากรทั้งสองท่านเป็นผู้หญิงเก่งและมีประสบการณ์การทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์ และการบริการการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

แม้ท่านวิทยากรจะเป็น CEO ท่านก็มีประสบการณ์เรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงซึ่งเหมาะกับมอ. โดยจะเน้นด้านวัฒนธรรมองค์กร

วัฒนธรรมองค์กรเกิดจากสถานการณ์ที่เป็นมอ. มอ.เคยเป็น Science-based รับใช้อุตสาหกรรม แต่แนวโน้มในอนาคต เป็นเรื่อง service sector ต้องมีการปรับตัว นอกจากนี้ มอ.ยังต้องออกนอกระบบ คนก็ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน ควรจะส่งเสริมให้คนเป็นผู้นำได้โดยไม่มีตำแหน่ง วัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งที่กำหนดการปฏิบัติ ทำไม่ต้องมาก แต่ต้องทำจริงและต่อเนื่อง

คุณจันทนา สุขุมานนท์

เป็นผู้หญิงที่ทำงานในองค์กรที่มีผู้ชายเป็นส่วนมาก และเป็นวิศวกร แม้ไม่ได้เป็น HR แต่ชอบเรื่องคน คนเป็นหัวใจของทุกเรื่อง แต่ปัญหาคือคนสอนเด็กคุณภาพไม่ดี

บริษัทมีสาขาที่กัมพูชา ซึ่งชาวกัมพูชามีทักษะภาษาอังกฤษดีกว่าคนไทย

การสั่งปูนส่วนมากมาจากทางเว็บไซต์ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงของบริษัทต้องปรับตัวตาม

สมัยก่อนทางบริษัทเรียนภาษาจีนเพื่อสื่อสารกับผู้บริหารเพียงคนเดียว แต่ปัจจุบันนี้ต้องพัฒนาภาษาอังกฤษเพราะโลกเปลี่ยนไปเป็นใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลในการสื่อสาร

เวลากล่าวถึงการเปลี่ยนแปลง ถ้าใช้ Change จะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่กลับมาสู่สภาพเดิมได้ แต่ Transformation จะต้องไม่กลับมาสู่สภาพเดิม

การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทุกวัน

สมัยยังเด็ก ก็เรียนดี เลือกสอบเข้ามหาวิทยาลัยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แต่เข้าไม่ได้ เมื่อวิเคราะห์ตนเองว่า ไม่เก่งภาษาอังกฤษแต่เก่งเลข จึงตั้งใจไปต่างประเทศพัฒนาภาษาอังกฤษ ทำแผน Action Planพัฒนาไม่ให้ตนเองเป็นคนใจร้อน พ่อสอนให้ถือใบไม้ ดูข้างนอกเหมือนกัน แต่ข้างในไม่เหมือนกัน ทำให้คิดไว้ว่า คนไม่เหมือนกัน

มาตรฐานต่างๆเปลี่ยน ทำให้คนต้องเปลี่ยนแปลงด้านความสามารถ สมัยที่มีเลขา ก็บอกให้เลขาทำทุกอย่าง แต่ตอนหลังบริษัทไม่ให้มีเลขา ต้องพัฒนาให้ทำเองได้

เคยส่งคนไปรับการประเมิน Competency ที่สิงคโปร์ คนต้องผ่าน Strategy ทุกคน แต่ตกด้าน Energize ทำให้ทราบว่า ตนเองเป็น Passion Killer ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงองค์กร

มหาวิทยาลัยออกนอกระบบก็ต้องหารายได้เลี้ยงตัวเอง แต่มหาวิทยาลัยสามารถเลี้ยงตัวเองได้ การแข่งขันรุนแรงมากขึ้น มหาวิทยาลัยมหิดลมีนักศึกษามาเรียนน้อยลง เพราะคนมีลูกน้อยลง แต่มีมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้คนเรียนด้วยตนเองผ่านอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ตอนนี้ลูกค้าก็มีความต้องการมากขึ้น ต้องฟังความต้องการลูกค้า มหาวิทยาลัยต้องทราบว่านักศึกษาต้องการเรียนอะไร

มหาวิทยาลัยโฆษณาไม่ได้ แต่ถูกประเมินคุณภาพมาจากศิษย์เก่า

ทางบริษัทให้คนเขียน Job Profile จะได้ทราบว่า งานใดที่ควรทำและไม่ควรทำ คนไทยยังขาดโค้ชที่ช่วยให้คนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม เกิด Culture Shock ก่อน สมัยก่อนบริษัทขายหลายอย่าง ทำให้ขาดทุน แต่ต่อมาก็ตัดบางธุรกิจออกทำให้มีกำไรมาก

ความคิดดีต้องเริ่มจากทัศนคติที่ดี

พระพุทธเจ้าบอกว่า เราเป็นสิ่งที่เราเชื่อ

ทุกพฤติกรรมมาจากความคิด ถ้าคิดว่าตนเองไม่เก่ง ก็เปิดใจเรียนรู้ ต้องค้นหาตนเองว่า อยากเปลี่ยนแปลงอะไร

ควรทำทุกอย่างด้วยใจแล้วจะมีความผิดพลาดน้อย

ทัศนคติทำให้คนต่างกัน

เวลาฮาร์วาร์ดรับคนเข้าทำงานเน้นด้านความสามารถ 15% และด้านทัศนคติ 85%

ขั้นตอนในการพัฒนาไปสู่ทัศนคติที่ดีขึ้น

1.มองไปข้างหน้า

2.คิดวิเคราะห์เพื่อหาทางออก

3.มุ่งมั่นเพื่อฝ่าฟันความสำเร็จ

4.เรียนรู้จากความผิดพลาด

ปัญหาคือ ทำดีกับคนไกลตัว แต่ทำร้ายคนใกล้ชิด

ต้องตั้งใจเปลี่ยนตัวเองก่อนแล้วจะเปลี่ยนได้ ต้องรู้ว่าองค์กรไปที่ใด จะได้เปลี่ยนองค์กรได้เหมาะสม

ต้องมี Fact, Figure และ Feeling จึงจะเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จ

ในการค้นหาสิ่งที่เปลี่ยน เขียนสิ่งที่ตนเองต้องการเปลี่ยน แล้วขอให้คนอื่นให้คะแนนว่า ควรเปลี่ยนสิ่งนั้นมากน้อยแค่ไหน

คนที่สนใจใฝ่เรียนรู้ ก็จะเปลี่ยนแปลงได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอให้นำตัวอย่างเอกชนไปปรับใช้กับราชการ

ปัจจัยภายนอกก็เหมือนจุดเร่งให้เปลี่ยนแปลง ก็ต้องจัดการให้ได้ มอ.ประสบปัจจัยมากน่าจะเร่งให้เปลี่ยนมาก

วัฒนธรรมองค์กรเปลี่ยน คนก็ต้องเปลี่ยนด้วย

มอ.มี Hard Skill มาก แต่ควรเพิ่ม Soft Skill

ในการเปลี่ยนแปลง ต้องเริ่มที่ชนะเล็กๆ ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงทันที

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่คุณจันทนากล่าวสอดคล้องกับดร.จีระ คือโลกเปลี่ยนแปลงมอ.ออกนอกระบบ

เริ่มด้วยการให้แนวโน้มว่าโลกเปลี่ยนไปสู่สากล จะเปลี่ยนได้ต้องทำให้เร็ว

ดร.จีระให้นำความรู้และวิเคราะห์ไปปะทะกับความจริง

คุณจันทนาเน้นมาตรฐานสากล บริษัทต้องปรับไปสู่สากล

เมื่อปะทะความจริง มอ.ต้องเลี้ยงตนเองให้ดี

ก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลง ต้องมี Culture Shock คือการออกนอกระบบ

เมื่อความรู้ประทะความจริง เกิดความคิดใหม่ มหาวิทยาลัยเปลี่ยนวิสัยทัศน์

ก็ไปสู่ดร.จีระกล่าวว่า ต้องเปลี่ยนความคิดเป็นการกระทำ

ไม่ต้องรอให้เกิดวิกฤติก่อนเปลี่ยนแปลง

ผู้นำต้องมองเข้าไปในใจลูกน้อง

ใบไม้ไม่เหมือนกัน แต่ดร.จีระบอกว่าต้องมาร้อยให้เป็น Value Diversity

คุณจันทนากล่าวว่า Transformation ต้องเขียน ค้นหาสิ่งที่ดี แล้วต้องใช้หัวใจเลือกเพื่อองค์กร ใช้หัวคิดวางแผน

ถ้ามีเครื่องมือ ก็นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ และต้องปรับสมรรถนะ

ปรับ Action Plan นำมาสู่ Execution

ต้องก้าวข้ามอุปสรรค

กรณีศึกษาผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ก็เหมือนกัน แต่เอกชนต้องมีศิลปะมากกว่า

เอกชนก็มีตัดบางธุรกิจทิ้ง

ผู้นำต้องสร้างแรงบันดาลใจให้คน

จาก Change ไปสู่ Transformation (We see, we feel, we change)

คุณจันทนา สุขุมานนท์

ถ้าต้องการเปลี่ยนเป็น world class ต้องรู้จักเปลี่ยนแปลงองค์กรให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงภายนอก

ในการวางยุทธศาสตร์ ปูนซีเมนต์นครหลวงเพิ่งทำ core value ใหม่ คือ ทำงานเป็นทีม ทำสิ่งที่ถูกต้อง คิดโดยไม่มีกรอบ ใส่ใจทุกคน ทำให้คนจำได้ เป็นรากฐานให้องค์กรเข้มแข็ง ที่บริษัทก็มีการติดโมบาย core value ในบริษัททำให้คนจำได้เร็ว

Core value ของ PSU ดีอยู่แล้ว แต่ต้องอธิบายให้คนเข้าใจ

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

การเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มที่ตนเองก่อน

ที่บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ใช้ Peer Coaching พัฒนาผู้นำ ทุกคนกรอกแบบสอบถามแล้วส่งกลับบริษัทแม่โดยตรง แบบสอบถามห้ามมั่วตอบ ต้องมีหลักฐานอธิบายประกอบการตอบแต่ละข้อ มีการประชุม Peer Coaching นำเสนอผล Feedback คนไทยประเมินดร.ศิริลักษณ์ว่า Aggressive เพราะกล้าพูด แต่ฝรั่งประเมินว่า Assertive ยอมรับพฤติกรรมนี้ได้ จึงเกิดความสับสน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บริบทสังคมแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน แต่ต้องผสม East-West Energy เพื่อพัฒนาให้เติบโตจึงจะดี

ควรนำบริบทมอ.ออกมาทำ workshop มอ.ควรผสม hard และ soft skill

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ไม่ควรอิงตำราฝรั่งมากเกินไป เพราะไม่เข้ากับบริบทเอเชีย เคยถูกเพื่อนให้ feedback พูดตรงมาก แล้วแนะนำว่า ควรเรียบเรียงคำพูดก่อนให้สละสลวย จึงหยุดคิด 2-3 นาทีก่อนพูด

ก่อนจะเป็นโค้ช ต้องโค้ชตัวเองก่อน

เคยให้ลูกน้องในทีมบอกความคาดหวังในการทำงาน ลูกน้องประชุมกันแล้วบอกว่า ให้ช้าลงแล้วลดความคาดหวังด้วย

ปรัชญาไทย เช่น เกรงใจ รักษาหน้า ฝังอยู่ในวัฒนธรรมองค์กรที่ต้องเปลี่ยน

คนไทยปรับตัวทันสมัยด้านวัตถุ เช่นใช้แบรนด์เนม แต่ไม่พัฒนาด้านจิตใจ

การเปลี่ยนแปลงในองค์กรมักเปลี่ยนทุกอย่างยกเว้นวัฒนธรรม

ควรทำให้คนเข้าใจค่านิยมและวัฒนธรรมขององค์กรอย่างแท้จริง

แอสตร้าเซนเนก้า เกิดจาก 2 บริษัทรวมกัน โดยทำ Focus Group มีคนต่างแผนก ต่างอายุกัน ให้ตอบคำถามว่า พฤติกรรมแบบใดไม่อยากเห็น อยากเห็นแบบใด สิ่งใดสำคัญที่สุด พบว่า คนในองค์กรคิดไม่ต่างกัน คือ ไม่อยากเห็นการทำร้ายลับหลังกัน

การกำหนดค่านิยม ต้องอธิบายความหมายโดยใช้ภาษาง่าย ค้นหาความสำคัญของค่านิยมนั้น พฤติกรรมเชิงบวก พฤติกรรมเชิงลบ

บางองค์กรเน้นรวดเร็วและแม่นยำ หมายถึง ริเริ่ม ทำก่อนคนอื่น และทำอย่างมีคุณภาพ แม้ว่า จะขัดแย้งกัน ถ้าตั้งใจก็จะทำได้

ปัญหาคือ คนนำค่านิยมไปถ่ายทอดไม่เหมือนกัน ต้องมีการสื่อสารโดยใช้สัญลักษณ์จะทำให้จดจำได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรื่องสำคัญคือ crucial conversation คือเทคนิคการนำเสนอเรื่องตรงประเด็นให้คนฟังไม่เสียหน้า

อยากให้หาข้อมูลเกี่ยวกับผู้นำในเอเชีย เช่น มหาตมะคานธี ลีกวนยู หรือดาไล ลามะ

ในอนาคต น่าจะมีรางวัลโนเบลสาขาทรัพยากรมนุษย์ เพราะโลกหันมาเน้นในด้าน Intangible

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ตอนนี้โลกตะวันตกหันกลับมายังโลกตะวันออก

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์เป็นนักปฏิบัติ การ empower สำคัญ คุณสมบัติที่สำคัญยิ่งของผู้นำคือ Trust นำไปสู่ empowerment ควรนำตะวันตกมาผสมผสานกับตะวันออก

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ถ่ายทอดประสบการณ์ว่า ต้องรับฟังความคิดเห็น แต่ยอมรับเพราะผู้ให้ Feedback บอกว่า จะดีกว่าถ้าคุณ...

Workshop

กลุ่ม 1

1.วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันและระบุสิ่งที่มอ.จะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน 3 เรื่อง

สถานการณ์ปัจจุบัน

นักศึกษาน้อยลง มหาวิทยาลัยมากจึงแข่งขันกันสูง

มหาวิทยาลัยต้องออกนอกระบบและต้องพึ่งตนเอง

สิ่งที่มอ.จะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน

(1)การสื่อสารในองค์กร หลังจากกำหนดทิศทาง ต้องมีการสื่อสาร

(2)Rebranding ทำงานเชิงรุกดึงดูดลูกค้า

(3)ปรับเปลี่ยนกฎระเบียบให้หางบเพิ่มโดยเน้นความโปร่งใส

กลุ่ม 5

2.ปัจจุบันมีค่านิยม/วัฒนธรรมองค์กรใดที่เป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุดในการนำไปสู่ความเป็นเลิศของมอ. 3 เรื่อง และจะแก้ไขอย่างไร

ค่านิยม/วัฒนธรรมองค์กร

(1) Comfort Zone เช่น ไม่กล้าคิดนอกกรอบ ชอบความสบาย ไม่กล้ารับผิดชอบ

(2) Passion Killer ขาดภาวะผู้นำ ทั้งผู้บริหารและพนักงาน

(3) ระบบอุปถัมภ์บนความหลอกลวง คือ เอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น

การแก้ไข

(1) ตัดเนื้อร้ายทิ้ง

(2) ธรรมาภิบาล

ดร.จีระ

คนดีมีมาก แต่ควรมีความกล้า

กลุ่ม 3

3.ค่านิยม/วัฒนธรรมองค์กรใดที่ดีที่สุดที่จะทำให้มอ.วิ่งไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว

ค่านิยม/วัฒนธรรมองค์กร

Unity-Teamwork มี network ไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

ควรเปิดใจ เรียนรู้

พฤติกรรมเชิงลบ คือเล่นพวก

Paradox คือมีความขัดแย้ง

ดร.จีระ

ควรทำงานข้ามสายงาน มี stakeholder ภายนอกมากขึ้น ดึงศักยภาพผู้อื่นมาเสริม เช่น ภาคธุรกิจ แต่ต้องให้เกียรติยกย่อง มีบทบาท

กลุ่ม 4

4.หากจะพัฒนามอ.ให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับ World-class จะต้องทำอะไรบ้าง 2 เรื่องให้สำเร็จ

(1) พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เริ่มที่ทัศนคติ competency

(2) หลักสูตร ปิดหลักสูตรที่ไม่มีศักยภาพในการแข่งขันระดับโลก บูรณาการศาสตร์สร้างหลักสูตรให้สอดคล้องกับโลก

กลุ่ม 2

5.ท่านคิดว่าวิธีที่ดีที่สุดในการสื่อสารค่านิยม/วัฒนธรรมที่ดีให้ทุกคนเห็นความสำคัญปฏิบัติตาม ควรทำอย่างไรบ้าง (Communication Plan)

(1) ประกาศให้ทราบและเข้าใจร่วมกัน

(2) สร้างความจดจำให้เกิดขึ้นผ่านเพลง สัญลักษณ์

(3) สร้างการตอกย้ำและยืนยัน

(4) ผู้นำต้องให้การสนับสนุนและเป็นแบบอย่าง

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

What is in it for me? ถ้ามหาวิทยาลัยเป็น world-class ความหมายคืออะไร ต้องเป็นสิ่งที่มอ.มีความสามารถอยู่

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

มอ.มีปัญหาเรื่อง Ranking แม้ความสามารถไม่ได้เป็นรอง

ต้องใส่ใจ International approach

รุ่น 1 จะไปตั้งวิทยาเขตต่างประเทศ

ควรนำเสนอโครงการกลุ่มไปในทิศทางเดียวกันและเป็นไปได้

เมื่อมีอุปสรรคต้องร่วมมือกัน

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ผู้นำสนับสนุนและควรค้นหาแนวร่วม คือ คนที่พูดแล้วคนอื่นอยากฟัง และสามารถเป็นต้นแบบได้

เห็นด้วยที่สร้างความจดจำและตอกย้ำ

ถ้าสื่อสาร ต้องร่วมมือกับกลุ่ม 3 ที่เน้น Unity

ต้องแก้ปัญหา self-center

ถ้า rebranding สร้างวัฒนธรรมที่เหมาะสมแล้วคนทำตามถือเป็น brand ทุกค่านิยมเป็นแบรนด์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ในระยะสั้น ทุกท่านทำ workshop กระชับ ตรงใจ

เครื่องมือที่ดร.ศิริลักษณ์ให้เป็นการช่วยระบายออกมา ก็ขอให้กำลังใจ

วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม 2559

การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

โดย

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การเป็นสังคมการเรียนรู้ต้องเริ่มจากครอบครัว บิดาของศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ชอบอ่านหนังสือ และถามคำถามบุตร ทำให้บุตรสนใจหาความรู้

เมื่อศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ไปเรียนต่อที่นิวซีแลนด์เขียนภาษาอังกฤษก็ถูกแก้มากมาย ตอนที่เรียน English I เรียนวรรณกรรม ให้วิจารณ์วรรณกรรม ในระยะแรก ก็เรียนโดยการท่องจำข้อมูล ต่อมาไปอ่าน Journal เกี่ยวกับการวิจารณ์งานเชคสเปียร์นำมาเป็นภูมิปัญญาของตนทำให้การเรียนดีขึ้น ทำให้เห็นประโยชน์ของการอ่าน

ปัญหาคืออาจารย์ไทยไม่อ่านหนังสือ และมักจะยัดเยียดความรู้ให้นักศึกษา ควรจะให้นักศึกษาหาข้อมูลเองด้วย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์กล่าวว่า วัฒนธรรมการเรียนรู้มาก่อนองค์กรการเรียนรู้

การที่มอ.เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่คุ้นเคย และเป็นอนาคตที่ไม่มีใคร สิ่งสำคัญคือ Unity ทุกวิทยาเขตร่วมมือกันทำงาน โดยต้องมีคนกลางเชื่อมโยง ต้องมีการหาเครือข่ายมาช่วยเสริมด้วย

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ตอนไปเรียนที่ญี่ปุ่น ไปปีนเขา ทำให้ทราบว่า ต้องมีความมุ่งมั่น วิสัยทัศน์ ต้องมีการทำงานร่วมกันช่วยเหลือกัน จากการประชุมนานาชาติ ทำให้ทราบว่า องค์กรอาจไม่มีโครงสร้างแต่ต้องมุ่งเน้นลูกค้า ต้องดึงศักยภาพบุคลากรแล้วนำมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ต้องเพิ่ม Dialogue และ Reflective listening ฟังแล้วเข้าใจ

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เป้าหมายมอ.อาจเป็นนามธรรม ควรนำกรณีศึกษาภายนอกมาศึกษาด้วย

KM ไม่ใช่ LO เพราะ KM คือการเก็บข้อมูลซึ่งเป็นเรื่องอดีต ส่วน LO คือ สถานการณ์อนาคต ถ้าพร้อมเรียนรู้อนาคตด้วยกัน มอ.รอด

องค์กรเป็นอุปสรรคต่อการเป็นองค์กรการเรียนรู้เพราะนโยบายและโครงสร้าง LO ทำให้ทราบทิศทางอนาคตได้

ถ้ามีวัฒนธรรมการเรียนรู้ก็จะมีโอกาสเป็นองค์กรการเรียนรู้ได้

การใฝ่รู้ การหาความรู้รูปแบบต่างๆ ได้แก่ อ่านหนังสือ ปะทะกันทางปัญญา แบ่งปันข้อมูลทางไลน์ นอกจากนี้ควรประชุมข้าม sector หลายๆ sector

ถ้ามีวัฒนธรรมการเรียนรู้ และ Learn, Share and Care จะนำไปสู่ Good to Great คนไทยไม่อ่านหนังสือจึงทำให้พลาดโอกาสสำคัญที่มาจากแหล่งต่างๆของโลก

เมื่อนำความรู้ไปใช้ ก็ไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้ไปจัด Workshop สร้างองค์กรการเรียนรู้ทั่วประเทศให้กฟภ. หลังจากทำไปแล้ว 3 เดือน ได้ส่งแบบสอบถามเพื่อรับทราบพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป มีคน 20% นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้ไปจัด Workshop สร้างองค์กรการเรียนรู้ให้การรถไฟ ไทยซัมมิท สสว.

องค์กรส่วนใหญ่มีการฝึกอบรมมาก แต่ไม่มีการเรียนรู้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง การสร้างมูลค่าเพิ่ม การกระจายทุกกลุ่ม

มอ.ควรสร้างองค์กรการเรียนรู้แต่ละคณะและทำอย่างต่อเนื่อง

การเป็นองค์กรการเรียนรู้ตามหลักในหลวงคือ ต้องมองภาพใหญ่ด้วยนอกจากภาพเล็ก เพราะเป็นโอกาส ต้องทำเป็นขั้นตอน ทำเรื่องยากให้ง่าย ทำให้เหมาะกับภูมิสังคม ต้องมี Passion รู้ รัก สามัคคี

กฎ Peter Senge

1.Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง

2.Mental Models มีแบบอย่างทางความคิด

3.Shared Vision มีเป้าหมายร่วมกัน

4.Team Learning เรียนรู้เป็นทีม ช่วยเหลือกัน

5.Systems Thinking มีระบบการคิด มีเหตุมีผล

ทุกข้อต้องนำมาบูรณาการเป็นข้อ 5 คือ Systems Thinking

Edwards De Bono กล่าวถึง Lateral Thinking คือ มองในมุมกว้างแล้วผนึกกำลังร่วมกัน

ถ้าผู้บริหารมีข้อมูลต้องแบ่งปันให้ทุกคนเท่าเทียมกัน

มอ.ต้องเน้นความจริง รู้สถานการณ์มอ. ต้องเลือกประเด็นตัดสินใจให้ Relevance ที่สุด

Becker พบว่า คนเรียนมากทำให้รายได้สูงขึ้น แต่ตอนนี้ คนเรียนมากขาดศิลปะการทำงาน ขาดการทำงานเป็นทีม ทำงานแล้วรายได้ก็ไม่สูงขึ้น ยุคต่อไป ทุนมนุษย์ขึ้นกับ Intangible Qualities เช่น จริยธรรม ปัญญา ความสุข

แนวโน้มที่กำลังมาแรงคือ Happiness at Work คนชอบงานที่ทำ

มอ.อาจจะมีทุนทางความคิดสร้างสรรค์และทุนทางนวัตกรรมน้อย

มอ.ควรลงไปหาชุมชนนำเทคโนโลยีใหม่ๆไปให้ชุมชน Digital Capital จึงสำคัญ

การเป็นสังคมการเรียนรู้ ต้องมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ส่วนบุคคล มีการคิดและวิเคราะห์เป็น ทำให้เกิดความใฝ่รู้ เมื่ออยู่ในองค์กรสามารถแก้ปัญหาโดยใช้องค์กรการเรียนรู้

ผู้นำต้องเป็นองค์กรการเรียนรู้ ปัญหาคือทำงานมากแต่เรียนรู้น้อย ไม่มีเวลาคิดถึงแนวโน้มโลก นอกจากนี้ต้องมีการสร้างบรรยากาศ ต้องได้ประโยชน์จากองค์กรเรียนรู้ ต้องมีระบบสนับสนุนต่างๆ มีผู้บริหารจัดการเรื่องนี้ให้ทันสมัย

บริษัทปูนซิเมนต์ไทยฝากให้คนอ่านหนังสือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ในโลกปัจจุบัน เป็น Learning Development Model 10% คือเรียนรู้จากห้องเรียน เป็น Individual Learning 20% คือเรียนรู้จากคนอื่น เป็น Team Learning 70% เป็น On the job Training แสดงว่า 90% เป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียน

ต้องสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ที่อย่าปิดโอกาสการคิด แต่ควรมีโอกาสให้พูดแบบปลอดภัย (Safe to speak)

โลกกำลังจะเปลี่ยนไปเป็น New Learning Dynamics ยุคดิจิตอล 20% คือการอ่านและดาวน์โหลด คนต้องอ่านมากขึ้น 30% คือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนอื่น เรียนรู้กับสิ่งที่คนอื่นเคยทำมาแล้ว 50% เป็น On the job Training

รุ่น 2 ควรมีโครงการสร้างองค์กรการเรียนรู้อย่างจริงจัง

นักศึกษายังไม่มีการคิดเป็นระบบ

KM ควรปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย

พนักงานในองค์กรต้องทำแผนว่า จะไปเรียนรู้เรื่องอะไรในแต่ละวิธี รวมถึงไปเรียนรู้เรื่องที่อยู่นอกสายงานของตน

การที่ไม่เป็นองค์กรการเรียนรู้เพราะ ลูกน้องทำตามสั่ง เจ้านายไม่รับฟังความคิดเห็น

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เรื่องนี้กว้างและเป็นนามธรรมมาก

การสร้างองค์กรการเรียนรู้ ต้องมีคนต้องมุ่งมั่นพัฒนาตน มีทีมที่เรียนรู้ไปด้วยกัน มี Network นำความรู้นอกองค์กรเข้ามา ความรู้มาจากความสำเร็จและความล้มเหลว การสร้างองค์กรการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาองค์กร

KM เป็นทางลัดในการเรียนรู้ นำมาปรับใช้ ถ้าระดับบุคคล อยู่ในตัวผู้นำและทีม แต่ยังไม่เชื่อมโยงกัน ถ้าเป็นเรื่องใหม่ ต้อง Share Value ให้คนในองค์กร

มอ.ยังไม่มีการประสาน Learning Culture แต่ยังไม่ช่วยยกระดับมอ.ให้มีชื่อเสียงด้วย

ต้องพัฒนาไปสู่ Value Diversity ต้องได้ความรู้หลายๆอย่างเข้ามา

ทั้งหมดนี้เป็นการดึง KM มาใช้ แต่ต้องมีบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้ ตอนนี้การออกนอกระบบมากดดันให้ทำ การมาเรียนโครงการนี้จะพาคณะไปได้เร็วมาก

เมื่อคิดแล้ว ควรนำมาทำจริงแล้วส่งกลับไปเป็น KM แล้วจะเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ไปสร้างเป็นของใหม่

เมื่อมีการแบ่งปันความรู้กัน ทำให้ได้ความรู้จาก Diversity ควรจะฟังคนอื่นๆแล้วจะเกิดความคิดใหม่นำไปปฏิบัติ

วีดิโอสัมภาษณ์ Peter Senge

Prof. Dr. Chira Hongladarom: Mr. Peter Senge, welcome to my program!

Peter Senge: Thank you!

Prof. Dr. Chira Hongladarom: Is this your first time in Thailand?

Peter Senge: No. This is not my first time. I have been here many years ago.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: People in Thailand are excited about your coming here.

Peter Senge: It has been a lot of fun a couple of days. I really enjoy a lot.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: PMAT is celebrating its 50th anniversary.

Peter Senge: Yes. It is a big deal for them.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: As a human resource old person, I support this organization. But let’s come to the point: the fifth discipline that you have. Personal mastery and all that. Recommend to them how people from your own point of view can apply to first individual and perhaps to organization so that take the opportunity you are here reading a book and get some ideas from you.

Peter Senge: Well, first of all, there is no rule. It is not like doing one thing, doing two things doing three things. When I came here, we did a day long workshop for two and a half day. I tried to do extra things by giving people very intuitive understanding. For example, the very first thing people did at the workshop. They spent time on serious conversation about what is important in our lives. You say a minute ago, in some ways, do and apply as a part of work. You did not apply things to yourself. You know you are not the boy to stick something. You do things and you learn for doing. The first question “what is the first thing I would start to do?” It was the very first practice that we have on workshop yesterday. We talked in small groups about things that are important in your life.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: In life, not in work yet?

Peter Senge: In life. It could include work. I will say “take whatever aspects you focus on”. It was very natural. In the setting of professional, we talk about in their work aspect. That is really up to them but getting a kind of connected with what it is really matter to me. We start in the workshop in different ways same thing because all learning is ultimately real learning is motivated by the aspiration of learner that some points you want to walk. Somebody did not convince you to walk. You decide some points. I think walking may be a good idea or whatever so real learning class always has this inner root.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: We come to the same conclusion. When I do workshop, usually I ask them to discover themselves because sometimes, they talk about theories so much.

Peter Senge: Exactly and they talk about all the problems.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: My idea about learning. First, you have to realistic. Second, you have to select the one that is relevant to your life and work. My idea is called 2R’s: Reality and Relevance. For you is discover like yourself, personal mastery to understand when you read. Reading is a part of your learning culture, right?

Peter Senge: It is not by individual. Some people learn a lot through reading. Other people.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: What percent did you give to reading in term of learning?

Peter Senge: I would say for most people 10-20%. You know, when you read literally, or technically, all you have, you get information. Maybe that information sparks some thinking.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: OK

Peter Senge: Maybe the thinking, you discover something that matters to you. That is important.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: That is right.

Peter Senge: That could be the beginning of the learning process. First thing about all learning technically is doing. You do not learn anything except through doing. Look how we learn anything. That is matter. It is something like walking, riding a bicycle or learning advanced mathematics. That is really matter. Some points, you learn from doing. Reading can spark.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: Yes.

Peter Senge: Or candlelight to learning.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: Give your passion to knowledge.

Peter Senge: I can give you orientation. Well, now it is the tricky thing. They can give you information you can get out from the book. Technically, you get information. That is not knowledge. We use knowledge as big information. You know that. You know about that but what you really know is inside you and it always shows up on how you do things. For example, I really know about working with people. When you watch people working with people, you say that person has competency. They know a lot about working with people but they may not actually know how to work with people. There are many facts of learning, taking an information, being stimulated having ideas.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: OK. Reading, doing, anything else considered as a part of learning?

Peter Senge: Well. For most of us are human beings, learning are both personal and social. For example, we learn to walk in the community. We learn to speak to interact with other human beings. Learning always has social component and the nature of relationship. Work is for example, if people do not find themselves in a situation where they are safe and they trust people, their learning will be very much reduced because they do not want to take risk and you cannot learn much with risk.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: I remember one of the books you want to ask organization to set up an environment where people can learn, right?

Peter Senge: We often say that as a manager, one of your jobs is to create spaces or setting or environment where people are both motivated and feel safe enough to learn. To learn, you have to take risk. To take risk, you have to feel like the consequences of failure are not demonstrated. If it is demonstrated, you will be afraid.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: Take risk in the way you learn, right?

Peter Senge: Yes. You cannot learn without it. One point is very risky.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: Today, I am really honored that you are here with me. I know that you have a lot of energy. I want to be brief. Since the book “The Fifth Discipline” came, already 20 years, right?

Peter Senge:25

Prof. Dr. Chira Hongladarom: OK. Any progress or additional new ideas coming up from The Fifth Discipline?

Peter Senge: As process never stops, you know, when you write a book like that, it is a snapshot. It continues to flow. All of the works have been secured in the community of practitioners. If you look at the history and who influenced what? I will say that three quarters are the most influence. We call practitioners: managers, teachers, people in the real setting who are accountable for producing results. There are other influences of different academic courses to be sure but the work is always about practitioners. The world changes. The challenges of practice change. The works change a lot.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: The concept us the same?

Peter Senge: Well, concept in that work is absolutely the same. The importance is vision, personal vision, shared vision. The importance is mental model. We do not see the world. We see the world through our own lenses. The importance is mental model. The importance is learning together as team. It is obviously important for larger systems. Those are core ideas. If they remain the core it is like the core of the tree. Outside are the rings.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: I can share my experience. Having many customers attending my workshop repeatedly in the different sectors, sometimes networking among themselves, you learn a lot from them, right?

Peter Senge: Absolutely.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: Your concept becomes clearer when they exercise your ideas. If it continues process, it will benefit more.

Peter Senge: Yes.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: The problem in Thailand I think training come in pieces. Sometimes, they do not continue because people change very slowly. I think that my contribution to Thailand whenever I read your concept, I try make them understand slowly. Finally, in the five disciplines, do you want them to be related or be separated?

Peter Senge: Both. They are different things and different tools but they are very connected. You cannot really effectively practice system thinking without practicing mental model because you are not just studying the system out there and the result is reflected in here. They are very connected.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: In your study of learning organization, are there any professors or consultants who follow your ideas and come up with new ideas especially young generation.

Peter Senge: A lot of evolutions in the last ten years were to work with multiple organizations. When we look at the original fifth with this one, it is not individual organization. In fact, that time was in your individual business. Today, a lot of kinds of projects that people want to see happen involve collaboration among many organizations.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: OK. Networking.

Peter Senge: That is a big shift.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: You combine those people together or do it separately?

Peter Senge: They have to learn to work together depend on nature of the problem, of course. If you deal with the big, complex, sustainable issues like food, water, energy and all big issues in the world requires many different organizations to work together.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: I hope your stay in Thailand will be very fruitful.

Peter Senge: Thank you.

Prof. Dr. Chira Hongladarom: Thank you very much.

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สัมภาษณ์ช่วงสุดท้าย ทั้งศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์กับ Peter Senge เดินเส้นทางเดียวกันคือใช้กับหลาย Sector เวลาที่จะให้คนทำอะไร ต้องมีบรรยากาศสบาย

Workshop

กลุ่ม 2

1.ถ้าจะให้คะแนน 0-10

1.1 วัฒนธรรมการเรียนรู้ของท่านได้เท่าไร อธิบายจุดอ่อนและจุดแข็งเป็นข้อๆ

4 คะแนน

จุดแข็ง

จุดอ่อน

รู้ลึก

โง่กว้าง

สนใจบางเรื่อง

ไม่ค่อยพยามเรียนเรื่องคนอื่น

เรียนจากประสบการณ์เรา

ไม่ค่อยอ่านเรื่องของคนอื่น

เชื่อมั่นในศาสตร์ตนมากไป

ทำงานตามรัฐบาลสั่ง

ไม่รับฟังคนนอกศาสตร์

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ให้ 4 คะแนนถือว่าน้อยเกินไป แต่ก็ดีกว่าการรถไฟ อาจจะพัฒนาเพิ่มขึ้น แสดงว่ารู้ แต่ยังไม่ได้ทำ

เวลาวัดผล ควรใช้ Learning Organization ไป Good to Great

1.2 วัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กรอยู่ที่เท่าไร อธิบายจุดอ่อนและจุดแข็งเป็นข้อๆ

4 คะแนน

จุดแข็ง

จุดอ่อน

เป็นบุคลากรคุณภาพสูง

ไม่สนองค์กรอื่น

มีนโยบายพัฒนา

ไม่สนใจพัฒนาตามนโยบาย

เป็นแหล่งผลิตความรู้

ไม่มีการนำความรู้ที่ผลิตไปใช้

มีเครือข่ายมากมาย

ไม่ค่อยนำเครือข่ายทำให้เกิดประโยชน์มอ.มากนัก

บุคคลในองค์กรรู้ปัญหา

ไม่ทราบจุดยืน ไม่กล้าแก้ปัญหา

ทางออก

เลือกคนให้ถูกกับงาน

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กลุ่มนี้ผิดคาด มอ.ได้ 4 คะแนน คือมีความรู้เฉพาะทางแต่ยังไม่ได้แบ่งปัน ถ้าแบ่งปัน วัฒนธรรมการเรียนรู้จะพัฒนาขึ้น ต้องมีการทำอย่างต่อเนื่อง ต้องมีคนประสานในกลุ่มให้ดี ดึงความเป็นเลิศของแต่ละคนออกมา

กลุ่ม 5

2.ถ้าจะพัฒนาตัวเองและมอ.ให้มี LC ต้องทำอะไรเพิ่มขึ้น (ในระดับบุคคลและระดับองค์การ)

การพัฒนาระดับบุคคล

1.Aspiration สร้างความกระหายที่จะเรียนรู้

2.ผู้นำต้องชี้ให้เห็นว่าแต่ละคนมีความสำคัญในการขับเคลื่อน ต้องมี Shared Vision แล้วจะขับเคลื่อนได้

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องจุดประกายแล้วสร้างความหวัง เรื่องนี้ดีมาก

กลุ่ม 5

การพัฒนาระดับองค์การ

1.ทีมสำคัญ ต้องมีการแลกเปลี่ยนความรู้กัน ต้องมีเครือข่ายภายนอกมาช่วยกระตุ้น จะทำให้คนพัฒนา

2.ต้องนำคนนอกมาเป็นต้นแบบมากระตุ้นว่า แต่ละคนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระดับองค์กร

กลุ่ม 4

3.อุปสรรคที่สำคัญของการสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้มีอะไร 3 เรื่อง ควรมีทางออกอย่างไร เสนอโครงการที่เป็นรูปธรรม

อุปสรรค

โครงการ

ผู้นำองค์กรระดับไม่เข้าใจ LO จริงแล้วไม่มีการอธิบาย

สร้าง LOC (Learning Organization Center)

ต้องใช้ผู้นำที่มีความรู้เรื่องนี้ มีการขับเคลื่อน

มีหน่วยงานกลางเก็บความรู้มาแบ่งปัน

สร้างเวที share and learn ,การให้รางวัลกระตุ้น สร้างบรรยากาศการเรียนรู้

ปรับนิสัย

ทำเรืองนี้ให้เป็นเรื่องง่าย

สมาชิกองค์กรมีทัศนคติไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ไม่เก็บความรู้ ขาดการทำงานต่อเนื่อง

ขาดผู้รับผิดชอบ ไม่มีการแบ่งปันกัน

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Workshop นี้ยาก ต้องมีแรงบันดาลใจทำให้ดี ขอชมเชยการนำเสนอ จะไปสู่ world-class ต้องรู้เหตุผล

ที่สแตนฟอร์ดมี Innovation center ควรมี Center of Excellence อาจตั้งแบบไม่เป็นทางการ นำบรรยากาศแบบนี้ไปสร้าง ต้องมีการวัดผลด้วย ดร.ศิริลักษณ์และ PMAT จะช่วยวัดผล

KM เป็นส่วนหนึ่งที่ไปสู่ LO แต่จะเป็นได้ต้องมีวัฒนธรรมการเรียนรู้

กลุ่ม 3

4.เสนอแนะโครงการที่ปฏิบัติได้ 2 โครงการ สร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ของมอ. และ Outcome ที่เป็นรูปธรรมวัดได้คืออะไร

1.โครงการ อ่าน 50 สรุป 10 ส่งไปแชร์

ให้คนมอ.อ่านหนังสือเรื่องที่ตนสนใจนอกเหนือความรู้ทุกวันวันละ 50 นาที สรุป 10 นาทีทุกวัน เป็นเวลา 4 วันทุกสัปดาห์แล้วมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

Outcome

เป็นการปรับพื้นฐานเป็นองค์กรการเรียนรู้

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ชอบโครงการนี้

กลุ่ม 3

โครงการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหา

ใช้หลักการอ่านค้นคว้าแล้วปฏิบัติ

Outcome

เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เกิดความร่วมมือ

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าจะวัดสิ่งที่เป็นรูปธรรมคืออะไร

กลุ่ม 3

1.ด้านการปรับพฤติกรรม มีคนรักการอ่านและเรียนรู้มากขึ้น

2.เน้นแก้ไขปัญหา

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทั้งกลุ่ม 3 และ 4 นำไปปฏิบัติได้ทันที

กลุ่มอื่น

ในองค์กรมีอีกหลายกลุ่มที่ต้องให้ความสนใจ เช่น นักศึกษา ต้องทำให้นักศึกษามาช่วยขับเคลื่อนสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วย

ดร.จีระ

Peter Senge บอกว่า คนจะทำได้ต้องมีความคิดที่อยากทำ

ผู้ปกครองก็ควรมีส่วนร่วมด้วย ควรมีโรงเรียนผู้ปกครองด้วย

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

กลุ่มเล็กสามารถกระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น ใช้วิธีการ Stop Reflect Write Report (SRWR) ให้นักศึกษาฟัง หยุด คิด แล้วเขียนในสมุดของตนเอง ในช่วง Report ก็ให้แต่ละคนนำเสนอ

การหยุดทำให้เกิดสติ การคิดทำให้เกิดปัญญา

การมีเวทีให้ปะทะกันทางปัญญา มีการให้รางวัล ควรให้รางวัลควรผูกกับความสำเร็จในการงาน

กลุ่ม 1

5.วิเคราะห์แนวคิด Peter Senge กับ Chira’s Way เรื่อง LO มีอะไรที่เหมือนกัน เรื่องอะไรที่ต่างกัน เสนอสิ่งที่จะปรับใช้กับมอ. เพื่อช่วยให้เกิด LO ได้อย่างไร

สิ่งที่เหมือน

Peter Senge

Chira’s Way

LO เริ่มจากตัวคน

Personal Mastery

Learning Culture

ต่อมาขยายไปภาพใหญ่ขึ้นคือ ด้านทีมงาน

Team Learning

Learning Environment

สิ่งที่ต่าง

Peter Senge

Chira’s Way

รูปแบบแนวคิด

มอง global issues

มีแนวคิดเชิงปฏิบัติมากกว่า

สิ่งที่จะปรับใช้กับมอ. เพื่อช่วยให้เกิด LO

1.เริ่มด้วยตนเอง

2.Learn เรียนรู้ รู้จักตนเองและองค์กร

3.Share โดยใช้โครงการ Learning Organization Center (LOC)

4.Care

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วิเคราะห์ได้ดี

เวลาที่รับฟังความคิดเห็น ต้องมีความอดทน อย่างไรก็ตามยังไม่มีใครฝึกการสื่อสารภายในมอ.

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

จากการนำเสนอ ได้โครงสำหรับทำ LO แล้ว มี center และกิจกรรม คนต้องรู้ว่าตนมีความสำคัญในฐานะสมาชิก ในกระบวนการเรียนรู้ ต้อง Explore แต่ต้องเป็นสิ่งที่มีความหมาย และต้องมีเวทีให้ Exploit คือใช้ เมื่อ Learn แล้วต้อง Unlearn ทิ้งความรู้เก่าๆ ถ้าทำให้คนสนุกแล้วจะเกิดการเรียนรู้

คนไทยมักไม่ค่อยพูดในที่ประชุมนานาชาติ วิทยากรต้องให้คนมาถามโดยใช้ไมโครโฟนจะทำให้เกิดความกล้ามากขึ้น

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

ดีมากที่ได้รับฟังความเห็นเป็นรูปธรรม เปล่งประกายความเป็นเลิศ

องค์ความรู้แต่ละคนมารวมทีมแล้วตกผลึกเป็นโครงการแล้วปฏิบัติ ควรทำอย่างต่อเนื่องแล้วนำไปใช้

เวลาทำแล้ว ต้องมี Value

ขอเชื่อมโยงการเรียนรู้และค่านิยม ค่านิยมต้องเน้นวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วย

มอ.มีความรู้ เป็นสถาบันการศึกษาอยู่แล้ว แต่ประเมินตนต่ำเกินไป ขอให้กำลังใจ

ชอบที่สร้างบุคคลแห่งการเรียนรู้และการยอมรับ

กรณีศึกษาธนาคารแห่งประเทศไทย ดร.ป๋วยคัดนักเรียนทุนมาทำงาน เป็นการให้ความสำคัญเรื่องบุคคลแห่งการเรียนรู้

ควรทำเรื่องที่ยากเป็นเรื่องที่เรียนง่าย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

วันนี้สะท้อน Chira Way ชัด

Peter Senge เน้น Spark

Workshop นี้รวมชุดความคิดที่มาจากประสบความจริงคือ Reality เรื่องอื่นเสริมสร้างแรงบันดาลใจ

ต้องมาจากผู้นำรุ่นใหม่

สมาชิกองค์กรต้องตอบสนองการเรียนรู้ใหม่ๆ

เมื่อปะทะกันทางปัญญา มาสู่การแก้อุปสรรค มีแนวคิดปฏิบัติ

วิเคราะห์ Peter Senge กับดร.จีระได้กระชับ

เรียนรู้ LO ต้องนำไปปฏิบัติจริง ต้องคิดโครงการจริง เน้นชนะเล็กๆก่อน

ต้องทำอย่างต่อเนื่องให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ

Perspectives on Management Effectiveness for Future University:

การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในอนาคต

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มีการศึกษาเรื่อง Formation นกเป็ดน้ำ พบว่า บินได้ไกลมาก เพราะตัวแรกแหวกลม ตัวอื่นบินใช้พลังน้อยลง มหาวิทยาลัยมีปัญหาอย่างสลับซับซ้อน แต่คนทำงานไปคนละทาง ควรจะรวมพลังไปสู่ความสำเร็จแบบนกเป็ดน้ำ

ความหลากหลายของมหาวิทยาลัย มอ.กำลังเปลี่ยนผ่านอย่างรุนแรง สภามหาวิทยาลัยเปลี่ยนเป็นรูปแบบใหม่ ต้องใช้การบริหารจัดการแบบใหม่ การศึกษาต้องสอนคนให้เป็นนักวิชาชีพใหม่ และก็ให้บริการทางวิชาการด้วย ความรู้เป็นพื้นฐานทางวัฒนธรรม ตอนนี้มีวัฒนธรรมการศึกษา คนเริ่มสับสน รัฐบาลไม่เข้าใจเรื่องปฏิรูปการศึกษา ในเรื่องการเป็นที่พึ่งของสังคม สังคมยังต้องใช้มหาวิทยาลัยเป็นที่พึ่ง ตอนที่ประเมินมอ. ก็ถามคนนอก เช่น ผู้ว่าและหอการค้า มีความคาดหวังมากในการที่มหาวิทยาลัยให้คำตอบ ตอนนี้สังคมไม่เข้าใจประชาธิปไตย แต่มหาวิทยาลัยไม่ให้คำตอบเรื่องนี้ มหาวิทยาลัยต้องเป็นแหล่งปัญญา สันติ คุณธรรม

ระบบต่างๆ ในมหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งเดียว มุ่งบรรลุเป้าใหญ่ ปัญหาของมหาวิทยาลัยคือความเป็นไซโล ในเรื่องลูกค้าหมายถึงการให้ความสำคัญผู้รับบริการ ได้แก่นักศึกษา การศึกษาเป็นบุพการีให้ความช่วยเหลือก่อน แล้วต้องดูที่ผลลัพธ์ด้วย สภามหาวิทยาลัยควรดูเรื่อง Output

ในเรื่องธรรมาภิบาล ยังไม่เคยใช้องค์คณะบุคคลเหนือผู้บริหาร ทำให้บทบาทสภามหาวิทยาลัยเป็นปัญหา ต้องมีการวางบทบาทให้เหมาะสม

ธรรมาภิบาลเป็นการบริหารจัดการองค์กรให้ประสบความสำเร็จอย่างถูกต้อง ความสำเร็จคือการบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดตรงตามพันธกิจ (ทำไมจึงเกิดมหาวิทยาลัยและทำไมจึงทำให้มหาวิทยาลัยอยู่)

การบริหารสมัยใหม่กำหนดเป้าหมายชัดเจน และเป็นผลสัมฤทธิ์

ในเรื่องความถูกต้อง คือธรรมาภิบาลหลักคือ

  • Accountability ความถูกต้อง
  • Morality คุณธรรม
  • Integrity มหาวิทยาลัยต้องยืนด้วยศักดิ์ศรีของมหาวิทยาลัย
  • Contribution ทำประโยชน์ ควรทำวิจัยกุ้ง (การส่งออก) ปลานิล (เป็นอาหารโปรตีนสำหรับคนจน) ควรทำวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

ธรรมาภิบาล ประกอบด้วย

1.มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้

2.มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ ไม่เอาเปรียบ

3.มีพลังสู่ความสำเร็จแบบยั่งยืน

4.มีวิสัยทัศน์ เอกภาพ

5.ตรงเป้าปัญหา (Relevance) ในโลกอุดมศึกษามีปัญหานี้มาก

ในด้านความซื่อสัตย์ เป็นเรื่องประสิทธิผลและประสิทธิภาพ มีกรรมการตรวจสอบ การประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งต่อไปจะดูเรื่องข้อบังคับ เรื่องหน้าที่อนุมัติ ก็เกี่ยวกับเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต

ข้อบังคับเป็นการควบคุมภายใน ต้องมีคณะกรรมการตัดสินแล้วมีผู้รับผิดชอบ การควบคุมภายในเป็นเครื่องป้องกันของความซื่อสัตย์สุจริต

เอกสาร อุดมศึกษาเพื่ออนาคต เตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตและบทบาทในการปรับอนาคต

ในโลกมีการเปลี่ยนแปลงที่กระทบมหาวิทยาลัย

1.การระเบิดขององค์ความรู้ แต่ก็เกิดแล้วดับ บางความรู้ก็ใช้ไม่ได้แล้ว เช่นความรู้แพทยศาสตร์เปลี่ยนใน 1-2 ปี ความรู้มาจากคนขายยา คุณสมบัติบัณฑิตก็ต้องเปลี่ยน ปัญหาคือ ยังยึดองค์ความรู้เดิม

สิ่งเป็นปัญหาคือความเฉื่อย ขยับไม่ได้ เปลี่ยนทิศทางไม่ได้

2.มวลความรู้ในโลก มีความรู้นอกเหนือ Tacit Knowledge ในสังคมยุคที่ 2 ความรู้มาจากการใช้งานแล้วกลับไปยังทฤษฎีได้ ความรู้มีพลังมากสามารถขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยเปลี่ยนช้าสุด

3.การหาความรู้สำคัญกว่าสะสมความรู้

4.ความเป็นอกาลิโกของความรู้ลดลง

5.ต้องใช้ความรู้สาขาอื่นมาประกอบ ความรู้บางเรื่องจับต้องไม่ได้

Cognitive Science สุตมยปัญญา

การตีค่าความรู้ จิตตมยปัญญา

โลกกล่าวถึงมากเรื่อง Internalization คือ ความรู้เข้าร่างกายแล้วย่อย เป็น Reflection ภาวนามยปัญญา สังเกตจากความกระหายในการเรียนรู้ของนักเรียน แต่นักเรียนรู้สึกอิ่มความรู้

แมคคินสันกล่าวว่า ตลาดอุดมศึกษามีเรื่องสถานะ ชื่อเสียง เชื่อมโยงกับอาจารย์ ทรัพยากร และนักเรียน นักเรียนก็เป็นแหล่งรายได้ แต่มหาวิทยาลัยชั้นนำมีทุนเข้ามา สามารถสร้างอาจารย์และสิ่งความสะดวกได้ นักเรียนก็นำสมองเข้ามาทำให้คุณภาพมหาวิทยาลัยขึ้น กลายเป็นสภาพดารา (Stardom) จะดึงดูดรายได้เข้ามามากขึ้น ทำให้คู่แข่งแข่งได้ยาก

มอ.มีแบรนด์อยู่แล้ว แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากแบรนด์เท่าไร

Prof. Lee Yoon Wu กล่าวว่า คนด้อยกว่าจะชนะได้ต้องรู้จุดอ่อน จุดแข็ง รู้จักสถานการณ์การแข่งขัน และกล้าทำ กล้าเสี่ยง มหาวิทยาลัยต้องรู้ตัวเอง

Lincoln University ที่อังกฤษ แมรี่ สจ๊วตเข้ามาเป็นอธิการบดี บริหารมหาวิทยาลัยโดยเปลี่ยนนักเรียนเป็นผู้ร่วมสร้าง (Students as producers) ผลิตความรู้และสิ่งต่างๆด้วย

เพื่อไปสู่อนาคตที่สดใส มอ.ต้องพิจารณาด้านทรัพยากรมนุษย์ วิจัยและนวัตกรรม แล้วนำการศึกษา การวิจัยและการบริการวิชาการมารวมกันเป็นหนึ่งเดียว ความไม่แน่นอน อนาคตที่ยั่งยืน ความท้าทายในการอยู่รอด ความไม่พอดี (ความไม่เสมอภาค) การบริหารจัดการ

ปัญหาคือ มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งความไม่เสมอภาค ทั้งๆที่ควรอยู่เพื่อความยุติธรรมของสังคม

Champy กล่าวว่า การปฏิรูปคือการเปลี่ยนโครงสร้างใหญ่ไม่ใช่ทางแก้ปัญหา แต่จะต้องไปแก้ที่อิฐแต่ละก้อน ทั้งหมดนี้อยู่ในหน้าที่ของบุคลากรทุกคนช่วยกันแก้ปัญหาแล้วจะเกิดเป็น Re-engineering และน่าจะสำคัญกว่า Reform

จากการไปนำเสนอที่มาเลเซียเรื่อง การบริหารอุดมศึกษาโดยที่มีทรัพยากรจำกัด

ทุกคนต้องเปลี่ยนความคิดเป็น จะต้องเจริญก้าวหน้าแม้ทรัพยากรจะมีจำกัดก็ตาม ผู้บริหารจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบการทราบแหล่งรายได้ของมหาวิทยาลัย

สภาพทั้งหลายที่มากระทบมหาวิทยาลัยจะมีทั้ง Diversity และ Complexity ที่จะต้องดำเนินการเพื่อรองรับการมีทรัพยากรจำกัด

ต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพของงานด้วยการทรัพยากรที่มีอยู่ ต้องมีการสร้างทรัพยากรจากแหล่งภายในมหาวิทยาลัย มีการขยายแหล่งรายได้ต่างๆให้เกิดขึ้น

ไม่ควรเพิ่มค่าธรรมเนียมการศึกษา เพราะจะเพิ่มความเหลื่อมล้ำระหว่างนักเรียน ในการเพิ่มค่าธรรมเนียมการศึกษา ควรจัดหลักสูตรนานาชาติ

บทสัมภาษณ์พิเศษ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

มหาวิทยาลัยต้องเข้าใจโจทย์ประเทศ การศึกษาต้องช่วยให้คนมีงานทำ วุฒิตอนนี้ยังไม่ช่วยให้มีคนมีงานทำ คนวัยเรียน 18-22 ปี มีน้อยลงเพราะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้มหาวิทยาลัยมีที่ว่างมาก โจทย์ประเทศ คือ ต้องยกระดับคนทำงาน มหาวิทยาลัยยังให้การศึกษาแก่คนที่ยังไม่ได้ทำงาน คนสูงวัยต้องมีอาชีพใหม่ได้ ต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่เพราะกลุ่มเป้าหมายเปลี่ยน

มหาวิทยาลัยต้องสร้างความสามารถแข่งขัน โดยสร้างคนเก่งและผู้นำที่แท้จริง ที่สามารถแก้วิกฤติได้

การที่จะไปสู่ระดับโลก ต้องรู้จักเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จะทำให้ไกล

มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายจากกลุ่มคนอายุ18-22 ซึ่งปีหนึ่งมีประมาณ 3 แสนคนที่เข้ามาเรียน มาเป็นกลุ่มคนทำงานประมาณ 40-45 ล้านคนที่ต้องการการศึกษา เพราะคนเหล่านี้จะกลับมาเรียน มหาวิทยาลัยต้องพัฒนากลุ่มนี้ เปลี่ยนเป็นการจัดการสอนผู้ใหญ่ เรียนได้ด้วยตนเอง

ปัญหาคือการแย่งนักเรียน คนมาเรียนไม่มีรายได้และไม่มีวุฒิภาวะ ควรฝึกอาชีพคนวัยทำงาน จะได้มีรายได้ และไม่กู้กยศ.

ผู้ใหญ่ไทยตีกรอบเด็กมากไปทำให้เด็กคิดไม่ได้ ไม่สามารถจัดการตัวเองได้

ปัญหาคือมหาวิทยาลัยถูกรายล้อมด้วยที่อโคจร เด็กจึงใช้เงินและเวลาไม่เป็นประโยชน์ ต้องสอนให้รู้จักตัวเอง

กรณีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ออกนอกระบบ 18 ปีที่แล้ว ทำให้เห็นปัญหาเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว คนเก่าออกไปแล้ว แต่คนรุ่นใหม่ไม่ทราบว่าคนรุ่นเก่าต่อสู้อะไรบ้าง เขาไม่ทราบว่า ความคล่องตัวเป็นสินทรัพย์ คนรุ่นใหม่ก็อยู่ใน Comfort zone

สังคมไทยไม่กล้าริเริ่ม คิดไม่ออกก็ลอกระบบราชการ

มหาวิทยาลัยในกำกับ อาจจะนำคนมีประสบการณ์มาทำงานได้ แต่ยังบรรจุคนจบใหม่ตามวุฒิ ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชนนำคนที่เกษียณมาสอน

ปี 2520 กว่าๆ มีวิกฤติเศรษฐกิจ ทุกมหาวิทยาลัยมีปัญหาในการหาคนเก่งมาเป็นอาจารย์ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เพราะใช้กติกาเหมือนกับระบบราชการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีออกนอกระบบไปตั้งแต่ปี 2534 ทำให้รับคนเก่งจากที่ไหนก็ได้มาทำงาน ตัวยากมีทั้งข้างในและนอก คนที่เป็นราชการไม่มั่นใจในมหาวิทยาลัยในกำกับ มหาวิทยาลัยในกำกับต้องทำให้คนมั่นใจว่าไม่ถูกรังแก

ระบบการประเมิน ถ้ามั่นใจว่ายุติธรรม ต้องให้คนมีส่วนร่วมประเมิน ถ้าอยากออกนอกระบบแล้วได้เงินมาก ถือว่าผิด ควรคิดว่าช่วยกันกับรัฐทำงานแล้ว หารายได้เพิ่มจะดีกว่า

ปัญหาคือราชการไม่รู้จักมหาวิทยาลัยในกำกับ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ถ้าเป็นราชการ ซื้อของต่างประเทศได้รับยกเว้นภาษีนำเข้า สามารถนำตำแหน่งไปประกัน แต่ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐก็จะเสียสิทธิ์เหล่านี้ ยังไม่มีการแก้ไขการตีความ

การมีองค์กรมหาชน คล้ายมหาวิทยาลัยในกำกับ องค์กรมหาชนอยู่ด้วยพระราชบัญญัติ

มอ.ใหญ่มาก มี 5-6 วิทยาเขต แต่ละพื้นที่ต้องตอบโจทย์ท้องถิ่น มอ.มีสภาตามวิทยาเขต กระจายอำนาจการตัดสินใจ ต้องทำให้ทุกแห่งช่วยกันได้ต้องอาศัยการเป็นผู้นำ spirit

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มี 4-5 วิทยาเขต ต้องดูว่ากระจายอย่างไร

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มี 5 วิทยาเขต มีความที่ท้าทายในการกระจาย แต่ก็ยืดหยุ่น ต้องคิดโจทย์ใหญ่ร่วมกัน

ศ.นพ.ประเวศ วะสี กล่าวว่า คนเราใช้สมองวิชาการมากกว่าสมองสังคม จึงทำให้การศึกษาเป็นเทคนิค คิดเป็นเหตุผลลืมส่วนของความเป็นมนุษย์ ควรให้ความสำคัญสมองส่วนนี้มากขึ้นเพราะช่วยในการอยู่ร่วมกัน ส่วนที่ช่วยให้อยู่ได้ในโลกที่เปลี่ยนคือ ปัญญาแบบ (Non-cognitive intelligence) ที่เชื่อมกับสมองสังคม ได้แก่ความสามารถต่อรอง จัดการคน คิดนอกกรอบ

การศึกษาต้องให้มากกว่าความรู้ทางเทคนิค แต่ต้องสร้างคุณสมบัติที่ดีให้คนไทย เช่น ต้องกำหนด learning outcome อย่างการรู้ผิดชอบชั่วดีด้วย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ครั้งนี้เป็นการฉายภาพนายกสภา เรื่องการบริหารจัดการ ส่วนดร.กฤษณพงศ์ได้กล่าวถึงกรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

แก่นของ 2 แห่งเหมือนกัน อาจารย์จรัสเน้นผู้นำภายใน ธรรมาภิบาลซึ่งเป็นการบริหารให้องค์กรให้ประสบความสำเร็จอย่างถูกต้องมีหลายระดับ เช่น กฎเกณฑ์ จริยธรรม

ในเรื่องความสำเร็จ ต้องให้ตรงตามพันธกิจ ต้องระวังไม่ตรงเป้า บางครั้งเป้าอาจไม่ตรงตามพันธกิจ เนื่องมาจากนักศึกษาเปลี่ยนไป ทำให้การสอนต้องเปลี่ยน และความรู้ในโลกก็เปลี่ยนไป

ระหว่างการบรรลุเป้าหมาย ก็มีเรื่องยุทธศาสตร์และแผนงาน เป็นกรอบโค้ง ต้องพัฒนาแผนเสมอตามการเปลี่ยนแปลงของโลก มีการบริหารจัดการแบบใหม่ มีการหาเงินจากมูลนิธิ

ในการจัดการการศึกษา คือสอนคนให้เป็นนักวิชาชีพ หรือให้บริการทางวิชาการ

ทำให้ได้แนวความคิดคิดต่อมาก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Kotter กล่าวว่า จะเปลี่ยนอะไรให้ประสบความสำเร็จต้องเป็นช่วงที่ถูกกดดันมาก มอ.ต้องค้นหาตัวเองและรู้จักตนเองมากขึ้น และมีต้องการอยากจะทำ

ควรจะคิดทำโครงการที่สามารถสร้างผลกระทบและความยั่งยืน

ควรสนใจผู้มีส่วนได้เสีย คณะหรือสถาบันควรได้รับการ Empower ให้มีบทบาทมากขึ้น และมีการพัฒนาผู้นำทุกระดับ

ควรใช้ Diversity ของวิทยาเขตทั้ง 5 แห่ง

ต้องทำงานแบบต่อเนื่องจริงจัง และทำงานเป็นทีม

ในอนาคต ควรพัฒนา young Ph.D. และฝ่ายสนับสนุน

ควรใช้ Informal network แทนที่จะเปลี่ยนโครงสร้าง

ปัจจัยสำคัญไปสู่ความสำคัญคือ happiness at work

ต้องเน้นแรงจูงใจภายใน

มีความร่วมมือภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

ช่วงถาม-ตอบ

1.ในการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ปัญหาอะไรสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่ต้องม.อ.ทำก่อน

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา

การเปลี่ยนแปลงมีทั้งดีขึ้นและแย่ลง จากหนังสือ ความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัย คำตอบคือ การออกนอกระบบไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่สิ่งสำคัญคือจะใช้ประโยชน์อย่างไรจากการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

อย่างไรก็ตามสิทธิของการเป็นบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐน้อยกว่าข้าราชการ ต้องมีการประกันว่า สิทธิการเป็นบุคลากรต่อไปควรจะต้องดีกว่าเป็นข้าราชการ แต่เป็นเรื่องยากในปฏิบัติ

การที่ข้าราชการมหาวิทยาลัยต้องกลายเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยต้องเป็นไปด้วยการไม่ถูกบังคับ ถ้ามีการขึ้นเงินเดือน ความท้าทายคือมีเงินจ่ายหรือไม่ นำไปสู่เรื่องการหาทรัพยากรมาสนับสนุน

ประโยชน์จากการออกนอกระบบคือทำให้เกิดความคล่องตัวในการหารายได้ แต่ไม่ใช่หารายได้ด้วยการสร้างความไม่เสมอภาค

มีหลายสิ่งที่สำคัญ แต่ปรัชญาที่แท้จริงคือ ต้องเปลี่ยนให้ดีขึ้น

2.การบริหารมหาวิทยาลัย อธิการบดีมีบทบาทสำคัญ แต่ถ้าสภามหาวิทยาลัยควรมีบทบาทมากขึ้น ควรเป็นด้านใด ทางมหาวิทยาลัยมีนโยบายพาออกนอกระบบ สภามหาวิทยาลัยจะช่วยให้หารายได้ให้มากขึ้นได้อย่างไร

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา

ไม่เป็นความจริงที่สภามหาวิทยาลัยจะมีอำนาจมากขึ้นเพราะสภามหาวิทยาลัยเป็นของใหม่สำหรับประเทศไทย ตอนที่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยก็ได้พยายามศึกษาเรื่องนี้ และได้เขียนหนังสือเรื่อง จุดบอดบนทางสู่ธรรมาภิบาล: บทบาทของบอร์ดองค์การมหาชน บอร์ดของมหาวิทยาลัยไม่เหมือนธุรกิจ เพราะบอร์ดธุรกิจวัดด้วยกำไร บอร์ดของมหาวิทยาลัยวัดด้วยผลประโยชน์สาธารณะที่เกิดขึ้น การที่สภามหาวิทยาลัยมีบทบาทเพิ่มขึ้นก็อาจจะทำให้เลวลงก็ได้ ในหนังสือเล่มนี้ได้ระบุเกี่ยวกับการกระทำผิด Etiquettes ของสภามหาวิทยาลัย Etiquettes ที่ชัดเจนคือไม่ใช่การล้วงลูกหรือจัดการสิ่งต่างๆ สภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่พิจารณาทิศทาง นโยบาย ตอนหลังมีบุคคลภายนอกมาเป็นกรรมการในจำนวนที่มากกว่าบุคคลภายใน ทำให้ได้มุมมองจากคนนอกด้วย ทิศทางของมหาวิทยาลัยควรผสมระหว่างมุมมองภายในและภายนอก ต้องมีการกำหนดอนาคตด้วย มหาวิทยาลัยมีอธิการบดีเป็นผู้บริหารสูงสุด สภามหาวิทยาลัยต้องให้อำนาจการตัดสินใจให้การบริหารสามารถบุกเบิกต่างๆได้ สภามหาวิทยาลัยกำกับเชิงธรรมาภิบาลและดูเรื่องผลลัพธ์และมีทรัพยากรเพียงพอต่อการทำให้สำเร็จหรือไม่ แล้วให้ข้อเสนอแนะ แม้อธิการบดีจะมีอำนาจแต่จะใช้อำนาจสั่งใครให้ทำอะไรได้ยาก ควรจะใช้สิ่งต่างๆช่วยให้คนดีขึ้น ถ้าอธิการบดีใช้อำนาจ จะเกิดปัญหาทันที อธิการบดีต้องใช้พระคุณ แต่เมื่อใดใช้อำนาจ ก็ต้องเป็นอำนาจที่สั่งมาโดยสภามหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยต้องอาศัยความหลากหลาย ยอมรับความเห็นที่หลากหลายได้ สร้างความเป็นหนึ่งเดียวจากความหลากหลาย จะทำให้เกิดความคิดที่ดี

กลไกขององค์คณะบุคคลเป็นเรื่องยากเพราะเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์

3.ภาพในอนาคตในการบริหารจะเป็นอย่างไร

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา

การแบ่งโครงสร้างเป็นคณะ สถาบันและภาควิชามาจากอดีตเพราะศาสตร์จำเป็นต้องขยายตัว ลักษณะของ Discipline คือมีภาษาพิเศษที่เข้าใจกันในสาขาวิชานั้น ศาสตร์ต่างๆก็ดำเนินการด้วย Discipline ต่อมาวิชาแตกแขนงทำให้เกิดโครงสร้างหลากหลาย เช่น คณะแพทยศาสตร์มี 22 ภาควิชา เวลาที่นักศึกษาเข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็เรียนพื้นฐาน 1 ปี แล้วหลังจากนั้นจึงแยกสาขา

การแบ่งโครงสร้างเกิดขึ้นเมื่อตอนที่เกิดมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเมื่อ 100 ปีที่แล้วซึ่งลอกแบบมหาวิทยาลัยในประเทศฝรั่งเศสจึงเน้นผลิตนักวิชาชีพ ต่างจากแบบอังกฤษซึ่งสอนให้คนเป็นผู้ดี ส่วนมหาวิทยาลัยเยอรมนีสอนเรื่องวิจัยเป็นหลัก มหาวิทยาลัยอเมริกันเน้นทำประโยชน์ให้กับสังคม มหาวิทยาลัยญี่ปุ่นเน้นการค้นคว้า

ในเชิง Discipline การแบ่งคณะเป็นเชิงสมมุติ ตอนนี้มีความเปลี่ยนแปลงในองค์ความรู้ ทำให้ต้องรู้ศาสตร์อื่นนอกเหนือจากศาสตร์ของตน ปัญหาในปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยสอนให้นักศึกษาโดยเฉพาะคณะแพทยศาสตร์มีความเย่อหยิ่งในตัวเองและไม่มีความพอดี จึงไม่เคารพใคร จึงทำงานเป็นทีมไม่เป็น การดูแลสุขภาพไม่ใช่มีแค่การใช้เทคโนโลยีเท่านั้น แต่จำเป็นต้องเข้าใจมนุษย์ มีความเข้าใจด้านเศรษฐศาสตร์ สังคม ไม่ใช่แค่ความรู้ทางการแพทย์เท่านั้นแต่รวมความรู้ทั้งหมดที่สามารถใช้ประโยชน์ได้

ต้องรู้เท่าทันโครงสร้าง อาจจะต้องยังมีคณะแล้วใช้ให้เป็นประโยชน์ ที่ม.อ. มีข้อเสนอที่จะไม่ให้มีภาควิชา แต่ให้ทุกหน่วยงานช่วยกันทำงาน บางคณะทำงานด้วยกันอยู่ บางคณะมีหลักสูตรเฉพาะ การไม่มีภาควิชาไม่สามารถใช้ได้ทั่วไป สิ่งที่สำคัญคือต้องมีการบริหารความหลากหลาย

ถ้าได้รับความเป็นอิสระจากรัฐ ควรยอมให้มีความหลากหลาย ทำได้โดยกระจายอำนาจไปแต่ละสาขาวิชา ต้องใช้ Re-engineering คือต้องแก้ที่วิธีคิดของแต่ละคน

4. ถ้าในคณะมีเสียงส่วนใหญ่ไม่ได้ไปในทางที่ถูก ต้องสร้างสมดุลด้านธรรมาภิบาล โดยมีกลไกอย่างไรบ้าง

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา

ธรรมาภิบาลไม่ใช่ประชาธิปไตยและไม่ใช่ระบบอำนาจ

5.สภามหาวิทยาลัยคิดอย่างไรกับการทำงานซ้ำซ้อนของ 5 วิทยาเขต แทนที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกันและเป็นเครือข่ายกัน แต่กลับแย่งทรัพยากรกัน เช่น ในอดีต ถ้าไปเรียนเรื่องยางพารา ต้องไปที่วิทยาเขตปัตตานี ในตอนหลัง วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีก็เปิดหลักสูตรเรื่องยางพารา วิทยาเขตภูเก็ตเน้นด้านการท่องเที่ยว วิทยาเขตตรังเน้นธุรกิจอิเลคทรอนิกส์ ตอนนี้ทั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานีและตรังมีหลักสูตรด้านการท่องเที่ยว มีการแย่งอาจารย์และการแย่งนักศึกษา ปัญหาคือที่วิทยาเขตปัตตานีไม่มีการเรียนในหลักสูตรยางพารา สมัยก่อนทั้ง 5 วิทยาเขตจะเน้นทำงานในด้านที่ต่างกัน ตอนนี้เวลาที่จะซื้อเครื่องวิเคราะห์ยาง แทนที่จะซื้อให้วิทยาเขตปัตตานีได้ 2 เครื่อง ก็ต้องซื้อให้วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีด้วย ทำให้แย่งทรัพยากร สภามหาวิทยาลัยมีบทบาทมากเท่าไรในการจัดการให้เป็นระบบ

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา

การที่แต่ละวิทยาเขตต้องไม่ซ้ำกัน ก็มีปัญหาในตัวเองอยู่ ความเหลื่อมล้ำระหว่างวิทยาเขตทำให้เกิดคอนโดมีเนียมหรูขึ้นกลางสลัม การที่จะไม่ให้แต่ละวิทยาเขตทำงานซ้ำซ้อนกันคงเป็นเรื่องยาก เพราะเศรษฐี

ทำอะไรก็ได้ แต่คนจนทำไม่ได้ นี่คือปัญหา

ตอนที่เกิดคณะเศรษฐศาสตร์ขึ้น มีข้อกำหนดข้อหนึ่งที่ถูกฉีกทิ้งไปคือ คณะทางด้านสังคมศาสตร์ต้องไปอยู่ที่วิทยาเขตปัตตานี ส่วนที่วิทยาเขตหาดใหญ่เน้นคณะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่เมื่อเกิดคณะเศรษฐศาสตร์ คณะนิติศาสตร์และคณะอื่นๆทางด้านสังคมศาสตร์อีก 2-3 คณะ ก็ควรจะเกิดที่วิทยาเขตปัตตานี เพราะว่าเศรษฐศาสตร์เชิงอิสลาม เศรษฐศาสตร์เชิงพหุวัฒนธรรมไม่มีมหาวิทยาลัยใดเปิดได้เลย กลายเป็นว่า เกิดคณะเศรษฐศาสตร์ที่วิทยาเขตหาดใหญ่ ส่วนคณะนิติศาสตร์นั้น โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับอิสลาม คนไทยไม่รู้เรื่องเลย ถือเป็นโอกาสสำหรับม.อ.ที่จะได้ศึกษากฎหมายอิสลาม แต่ก็ทำให้เกิดคณะนิติศาสตร์ที่วิทยาเขตหาดใหญ่โดยไม่ทราบเหตุผล

ในความเป็นจริงแล้วมีสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะนี้ยังมีข้อกำหนดว่า ทุกวิทยาเขตจะเปิดคณะซ้ำกันไม่ได้ จะทำให้วิทยาเขตทั้งหลายเติบโตไม่ได้

สิ่งที่กำลังพิจารณาและน่าจะมีความหมายคือเรื่องการท่องเที่ยว เมื่อม.อ.เกิดการท่องเที่ยว หลักสูตรแต่ละวิทยาเขตมีจุดแข็งในด้านที่แตกต่างกัน วิทยาเขตภูเก็ตมีจุดแข็งเรื่องธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโรงแรมและการบิน วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีมีจุดแข็งเรื่องสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มที่แตกต่างออกไปและมีเกาะสมุยกับเกาะพะงันมาเกี่ยวข้อง วิทยาเขตหาดใหญ่เน้นการท่องเที่ยวเชิงสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วิทยาเขตตรังเน้นเรื่องวัฒนธรรม เห็นได้ชัดว่า ถ้าแต่ละวิทยาเขตแยกกันทำงานจะเกิดความอ่อนแอ แต่ถ้า 5 วิทยาเขตทำงานร่วมกันประสานให้ดี เป็นหลักสูตรเดียวกันโดยที่นักศึกษามีสิทธิ์ที่จะเรียนที่ใดก็ได้หรือ หรือขยับไปก็ได้ ก็จะเป็นหลักสูตรการท่องเที่ยวที่มหาวิทยาลัยอื่นๆ ไม่สามารถแข่งขันได้ เกณฑ์เดิมที่ใช้เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป ก็ไม่ควรไปกล่าวโทษอดีตที่ผ่านมา ปัจจุบันนี้ ต้องคิดแล้วดูว่าจะจัดการอย่างไร

ปัญหาสำคัญในปัจจุบันคือ ม.อ.มี 5 วิทยาเขตแต่ไม่ช่วยกันเลย เรื่องนี้จำเป็นต้องแก้ไข

เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ตอนที่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยได้ทราบงบประมาณที่ตั้งซึ่งมีการตัด 5% ของทุกวิทยาเขตมาเข้างบกลาง ไม่ว่าจะเป็นวิทยาเขตที่มีรายได้มากหรือน้อยก็ต้องจ่ายอัตราเดียวกัน จึงมีมติสภามหาวิทยาลัยให้เลิกกฎเกณฑ์ที่บังคับให้วิทยาเขตที่ยากจนต้องจ่ายงบเข้ากองกลาง วิทยาเขตที่ร่ำรวยก็ควรจะช่วยวิทยาเขตที่อ่อนแอ เมื่อผ่านไป 5 ปีแล้ว ก็มีการไปตีความในสภามหาวิทยาลัยให้ยกเว้นการบังคับกฎนี้ไป 5 ปี แล้วให้ทำเรื่องเข้าสภามหาวิทยาลัยอีกครั้ง

วิทยาเขตหาดใหญ่ควรมีบทบาทปกป้องทั้ง 5 วิทยาเขต บุคลากรทั้ง 5 วิทยาเขตต้องมองเป็นหนึ่งเดียวและช่วยเหลือกัน

6.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเคยทำแผนแยกกันระหว่างการสอนและวิจัย ตอนหลังมีการรวมกิจกรรมนักศึกษาเข้าไปด้วย ในความคิดเห็นส่วนตัว การผลิตบัณฑิตจะสมบูรณ์ได้ต้องมีกิจการนักศึกษาด้วย ม.อ.ควรมาจะบูรณาการวิชาการและกิจการนักศึกษาด้วยกันหรือไม่

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา

หัวใจการผลิตบัณฑิตอยู่ที่กิจการนักศึกษา ต้องค้นหาว่าสังคมต้องการอะไรจากบัณฑิตมอ. พบว่า สังคมต้องการคุณธรรมจากบัณฑิต เพราะฉะนั้นต้องผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม จะต้องทำผ่านกิจการนักศึกษาให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างบัณฑิต ต้องปรับลักษณะการศึกษาทั่วไปให้เกิดคุณสมบัติพึงประสงค์ของบัณฑิต ทำโดยใช้สังคมโดยรอบสร้างคน ต้องทำให้กิจการนักศึกษามีความสำคัญเท่าเทียมกับการวิจัยและการเรียนการสอน เรื่องคุณธรรม สอนโดยการบรรยายไม่ได้ ต้องมีการปฏิบัติ ต้องปรับวัฒนธรรมให้กิจการนักศึกษามาเป็นใจกลางของการศึกษา นักศึกษามีความสามารถวิจัยอยู่แล้วแต่อาจารย์ไปดักโดยเน้นเรื่องวิชาการ ควรฟื้นฟูกิจการนักศึกษาให้มีความสำคัญอย่างแท้จริง

หมายเลขบันทึก: 610208เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2016 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2016 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

ยินดีที่มีโอกาสรับความรู้บทความทั้ง5 ที่นำเสนอ

ผลการสำรวจภาวะผู้นำเป็นแนวคิดที่มีประโยชน์

และนำมาบูรณาการกับ มอ.ในเชิงสร้างสรรค์ ที่ผู้นำอนาคตของ มอ.จะนำไปขยายความคิด และใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อทำจริง

Global Citizen ในศตวรรษ 21 ในด้านการศึกษา

มอ.จะเป็นผู้นำวิขาการและสร้างนักวิชาด้วยคุณภาพลูกศิษย์ ที่มีวิสัยทัศน์ก้าวหน้าในโลก ทันโลกยุคDigital เห็นด้วยมุ่งdemand side ทั้งภายใน ภายนอก มอ. และคำนึงประโยชน์สังคม

เชิญชุมชนเข้ามามีบทบาท มีส่วนร่วม เพื่อสร้างความเข้าใจที่สังคมต้องการ มูลค่าเพิ่มคือสังคมศรัทธาและเชื่อถือ

สวัสดีคะ

เช้านี้พบกับ ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์ เรื่องการจัดการกาเงินสำหรับนักบริหาร

ตลาดเงินกับตลาดทุน

งานวิจัยเรื่องประสิทธิผลในการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษาธนาคารแห่งประเทศไทย

ค้นพบว่า เทคโนโลยี่ในธปท.เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลดังกล่าวมากที่สุด ในสายตาของการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง ในมิติการลงทุนเพื่อสื่อสารทั้งภายในภายนอก intranet และ internet ความรู้ในและนอกธปท. ถูกขยายผลอย่างมีนัยสำคัญต่อประสิทธิผลในการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ของธปท.เช่น Financial Literacy ธปท.สั่งสมความรู้ รุ่นต่อรุ่น หน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านความเสี่ยงทางการเงินระดับประเทศ ระดับโลก ระดับรากแก้วคือประชาชน การให้สัณญาณเตือนล่วงหน้า

การบอกทิศทางอนาคตในGLOBAL Trend

การรักษาสถาบันแห่งการเรียนรู้ คือ การเก็บรักษาความรู้ การถ่ายทอดความรู้ การสร้างความรู้ใหม่

เป็นจุดแข็งของการสร้างพลังสมองในบุคคลากรทุกฝ่ายงาน วิเคราะห์ได้ถึง 8k5k คือความต่อเนื่องในการสร้างพลังสมอง ทุนทางปัญญา ตั้งแต่นโยบายของ ดร.ป๋วย อึ้งภากร ให้ทุนสร้างพลังสมองจากนักเรียนที่มีคะแนนสูงสุดเป็บลำดับต้นของประเทศ

งานวิจัยดังกล่าวเมื่อนำข้อมูลผลสำรวจทั้งคุณภาพและปริมาณมาวิเคราะห์ พบว่า ภาวะผู้นำในธปท.เป็นปัจจัยสูงสุดที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของธปท.

ดังนั้น การลงทุน 8k5k มนุษย์มีบทบาทสร้างนวัตกรรม จากประสิทธิผลในการเป็น Learning Organization (LO)

มอ.โดยบทบาทหน้าที่เป็น LO การพัฒนาประสิทธิผลในการเป็น LO จึงเป็นภาระกิจสำคัญ

ต้องค้นพบให้ได้ว่าปัจจัยใดที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อการพัฒนา LO ของ มอ.

ส่งงาน Homework ของช่วงที่ 2 : 14-15-16 July 2016

Homework 14 July 2016

Lesson learned – Share and Care : บทเรียนจากหนังสือ(เล่มที่ 1) - HBR’s 10 Must Reads on Leadership

- การได้อ่านหนังสือ และวิเคราะห์ในเรื่องที่อ่าน รวมถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนร่วมทีม และฟังการนำเสนอของกลุ่มอื่น ๆ เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะได้เปิดโลกทัศน์เกี่ยวกับ Leadership ทำให้มีมุมมองที่กว้างขึ้น สิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือและข้อคิดเห็นจากวิทยากรทุกท่าน สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานในภาวะการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัย

- บทบาทของ leadership แตกต่างจาก Management การจะเป็นผู้นำได้ต้องผ่านการเป็นผู้จัดการที่ดีก่อน ผู้นำจะต้องกำหนดทิศทางขององค์กรที่ชัดเจนโดยการวางวิสัยทัศน์ขององค์กร มีการจัดวางคนอย่างมีประสิทธิภาพโดยต้องสื่อสารกับคนในระดับต่าง ๆ ปรับ mind set คนในองค์กรให้นึกถึงส่วนรวมไม่ใช่ตนเอง และทำงานเป็น teamwork เพื่อขับเคลื่อนไปในทิศทางที่กำหนด อีกทั้งต้องมีการกระตุ้นและเสริมแรงบันดาลใจโดยการให้รางวัล การรักษาแรงจูงใจทั้งภายนอกและภายใน การ empowerment และการสร้างโอกาสเชิงท้าทายให้กับผู้มีความสามารถจะเป็นผู้นำในอนาคต ซึ่งอาจเป็นการอบรม การ Coaching, Role modeling และ Feedback เหล่านี้จะทำให้บุคลากรมีการพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อก้าวสู่ผู้นำในอนาคต

Creative Leadership by Coaching & Business Games, and 7 Habits for Highly Effective People

- มนุษยสัมพันธ์ ทำให้เราประสบผลสำเร็จในการทำงาน และความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เกิดนวัตกรรม (value added) ทั้งสองสิ่งนี้เป็นสิ่งที่จะต้องนำไปใช้ในการเป็นผู้นำของม.อ. ในภาวการณ์เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ

- แนวการคิดคร่อมกรอบ 4 ขั้นตอน (PPCO) ได้จุดประกายการคิดและเปิดโลกทัศน์ที่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำไปใช้ในการบริหารองค์กรและการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษา

- นิสัยของผู้มีประสิทธิภาพสูง 7 ประการ ที่จะต้องนำไปปฏิบัติเพิ่มในการบริหารคือ Be proactive, Begin with the end, Put first things first และ Think win-win ส่วนที่เหลือนั้นมีอยู่แล้ว (seek first to understand then to be understood, Synergize และ Sharpen the saw)


Homework 15 July 2016

การจัดการการเงินสำหรับนักบริหาร การบริหารงบประมาณและการวัดความคุ้มค่าของการลงทุน

ในระบบมหาวิทยาลัยในกำกับ การบริหารเงินมีความคล่องตัวขึ้นแต่ต้องมีการบริหารจัดการด้านการเงินที่ปลอดภัยสำหรับหน่วยงาน รวมถึงต้องมีการ raise fund เพื่อให้อยู่รอด และสามารถดำเนินโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Case studies and Intensive Management Workshop : การสร้างวัฒนธรรมองค์กรสู่ความเป็นเลิศ และ Change management

- ม.อ. จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งวัฒนธรรมองค์กร (core value) การทำงานเชิงรุกและสร้างกลยุทธ์ใหม่โดยการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพของม.อ.ทั้งระบบ การเพิ่มทุนและหารายได้นอกเหนือจากงบประมาณจากรัฐ โดยต้องมีการทำ assessment, team coaching, networking ทั้งภายในและภายนอก ซึ่งจะต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิด value creation และการเปลี่ยนแปลงที่สามารถอยู่รอดและแข่งขันกับสถาบันการศึกษาอื่นๆ ระดับประเทศและระดับสากลได้

Homework 16 July 2016

Problem-based Learning Workshop: Learning Organization Development

- การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ต้องมี Learning culture ก่อนโดยการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและสร้างความตระหนักเกี่ยวกับวัฒนธรรมการเรียนรู้ การคิดเป็นระบบ (critical thinking) จากนั้นมีการแลกเปลี่ยน/แบ่งปันประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ สร้างความกระหาย (aspiration) ให้อยากเรียนรู้ (curiosity) และสร้างโอกาสการเรียนรู้ร่วมกัน (learn-share-care) อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการปลูกเพาะคนตั้งแต่เริ่มเข้ามาในมหาวิทยาลัย เพื่อนำไปสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของม.อ. สิ่งสำคัญคือผู้นำองค์กรต้องเป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้

- แนวความคิดที่สามารถนำไปใช้ได้คือ หลักคิดและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง แนวคิดของท่านอาจารย์จิระ (4L’s, 3V, 2R) และหลักคิดของ Peter Senge ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับแนวคิดของท่านอาจารย์จิระ แต่ของท่านอาจารย์จิระเน้นในทาง practical และมีมุมมองกว้างมากกว่า โดยเฉพาะในเรื่องของ emotional capital ผู้นำที่ดีจะต้องควบคุมอารมณ์ได้ดี

Perspectives on Management Effectiveness for Future University

การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในอนาคต เมื่อเข้าสู่ระบบมหาวิทยาลัยในกำกับ ผู้บริหารต้องมีธรรมาภิบาล มีการบริหารจัดการองค์ให้ประสบความสำเร็จอย่างถูกต้อง มีการวางเป้าหมายที่ชัดเจน มีกลไกกำกับดูแลการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ มีความซื่อสัตย์สุจริต ต้อง empower ผู้บริหารในทุกระดับ พัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพ ลดความขัดแย้งภายในมหาวิทยาลัย ทำงานข้ามคณะ/วิทยาเขต ปรับ mind set และทำอย่างต่อเนื่อง มี Flagship projects ที่เน้นจุดแข็งของ ม.อ. อย่างชัดเจน ตลอดจนมีการจัดหารายได้จากแหล่งทุนต่าง ๆ ในหลายช่องทาง และการบริหารจัดการเงินอย่างเป็นระบบ ในด้านการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษา ต้องเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความรู้ยุคที่ 2 ซึ่งเป็นความรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นไปตามเป้าหมาย

สรุปสาระสำคัญจากการอบรมช่วงที่ 2 วันที่ 14-16 กรกฎาคม 2559

วันที่ 14 กรกฎาคม 2559

จากการนำเสนอของทั้ง 5 กลุ่มจะพบว่าการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพจะต้องอาศัยคุณสมบัติต่างๆมากมาย ซึ่งต้องมีการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม ในการทำงานนั้นเราจะต้องเรียนรู้อย่างไม่รู้จบ และไม่ละเลยสมดุลแห่งชีวิต เพราะทุกคนรอบตัวเราคือผู้มีส่วนร่วมสำคัญในการผลักดัน ส่งเสริมและสนับสนุนให้เราทำงานไปถึงเป้าหมายได้ แรงผลักดันมีทั้งจากภายในและภายนอก นั่นคือ Happiness, Respect, Dignity และ Sustainability นอกจากนี้ ผู้นำเองจะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำงาน ไม่มุ่งประโยชน์ส่วนตัวหรือสำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จ โดยที่ทุกคนในองค์กรร่วมแรงร่วมใจกัน มองไปยังเป้าหมายเดียวกัน อย่างไรก็ตาม คำว่า “ประสิทธิภาพ” มิได้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับผู้บริหารเท่านั้น แต่นี่คือคุณสมบัติสำคัญที่ทุกคนในองค์กรจะต้องทำให้ได้ แนวคิดเรื่อง 7 Habits of Highly Effective People จึงเป็นแนวคิดที่น่าสนใจและควรให้ทุกคนได้นำไปปฏิบัติตาม เพราะหากทุกคนมีประสิทธิภาพ องค์กรก็ย่อมมีประสิทธิภาพ

ในยุคที่การแข่งขันและปัจจัยคุกคามต่างๆมีมากขึ้น ความท้าทายคือจะทำอย่างไรให้เกิดการคิดสิ่งใหม่ๆหรือการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ เมื่อมองไปที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดสร้างสรรค์คือกรอบความคิด กรอบองค์กร และกรอบสังคม จะเห็นว่าทุกกรอบล้วนเป็นตัวสกัดความคิดทั้งสิ้น ดังนั้น ผู้บริหารจะต้องเปิดใจและสื่อสารให้คนในองค์กรรับรู้ว่าการคิดนอกกรอบไม่ใช่เรื่องผิด ไม่ใช่สิ่งที่ทำไม่ได้ แต่ทั้งนี้ความคิดนั้นจะต้องสร้างสรรค์ ทำได้จริงและสร้างมูลค่า ไม่ว่าจะในรูปของตัวเงินหรือคุณค่าแก่สังคม

วันที่ 15 กรกฎาคม 2559

สำหรับผู้บริหาร ความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารงบประมาณและการประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนเป็นสิ่งสำคัญมาก ความท้าทายหลังจากการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับคือจะจัดการอย่างไรให้มีงบประมาณเข้ามาเพื่อใช้ในการดำเนินพันธกิจต่างๆของมหาวิทยาลัย การวิเคราะห์และมองหารูปแบบหรือช่องทางที่จะสร้างรายได้จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน ปัญหาสำคัญขององค์กรคือขณะนี้ความตระหนักถึงเรื่องนี้ยังไม่เข้มข้น จริงจัง รวมไปถึงการขาดการวางแผนการดำเนินงาน เพราะลักษณะการดำเนินการในปัจจุบันคือต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างหารายได้ มหาวิทยาลัยไม่เคยวางแผนการทำงานที่เป็นลักษณะของการบูรณาการและระดมสมองร่วมกัน เพื่อใช้องค์ความรู้ของแต่ละคณะ/หน่วยงานมาเป็นตัวขับเคลื่อน

สำหรับหัวข้อ Change Management ก็เป็นอีกหัวข้อที่น่าสนใจและเป็นโจทย์ท้าทายสำหรับผู้นำองค์กร จะทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรได้ จากการนำเสนอของกลุ่มต่างๆจะเห็นว่ามีวัฒนธรรมองค์กรหลายประการที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ การกำหนด Core Values ของมหาวิทยาลัยก็ยังไม่มีความชัดเจนและไม่มีการสื่อสารให้รับทราบทั้งภายในและภายนอกองค์กร เหมือนเป็นเพียงแค่ตัวหนังสือ แต่ยังไม่นำไปสู่การลงมือทำให้เป็นไปได้จริง

วันที่ 16 กรกฎาคม 2559

หากเราตั้งธงจะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ คำถามคือคนขับเคลื่อนคือใคร จะขับเคลื่อนอย่างไร และจะใช้เวลานานเพียงใด ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นคำถามที่ท้าทายทั้งสิ้น ถ้ามองที่ตัวคน คำตอบคือทุกคนในองค์กรคือตัวขับเคลื่อน ต้องมีการสื่อสาร ประสานงาน ร่วมคิด ร่วมทำ และทำอย่างต่อเนื่อง

Model ของการเรียนรู้ยุคปัจจุบันเป็นรูปแบบที่น่าสนใจอย่างยิ่ง และควรนำมาเป็นแนวทางในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทำอย่างไรให้ทุกคนเรียนรู้ที่จะไม่รู้ เพื่อจะได้เรียนรู้ตลอดเวลา ทุกคนในที่นี้ไม่ใช่เพียงแค่อาจารย์ บุคลากร หรือนักศึกษา หากแต่ทุกคนที่อยู่ในมหาวิทยาลัยคือผู้ที่จะต้องเรียนรู้และพัฒนาตัวเองตลอดเวลา

สำหรับการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในอนาคต ความท้าทายคือทำอย่างไรให้มหาวิทยาลัยเข้มแข็ง ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พึ่งพาอาศัยกัน ไม่ใช่แข่งขันกันเอง เพราะวิทยาเขตใหญ่ย่อมได้เปรียบวิทยาเขตเล็กอยู่แล้ว ดังนั้น ควรต้องวิเคราะห์และวางแผนการทำงานที่จะช่วยผลักดันให้แต่ละวิทยาเขตเติบโต เข้มแข็ง และมีจุดเด่นที่ชัดเจน

งานวันที่ 14-16 กรกฎาคม

14 กรกฎาคม 2559 Group Assignment/Creative leadership

สิ่งสำคัญสำหรับผู้บริหารคือ ค้นหาตัวเองให้เจอ Who are you? How do you go? การเรียนรู้อย่าเดียวไม่เพียงพอ แต่สิ่งที่จะทำคือ ต้องไป ปะทะกับความจริง สิ่งที่ต้องมีคือ mindset + motivating + inspiring

Steps of leadership

  • ปัจเจก เรียนรู้เดี่ยวๆ
  • Team work
  • Networking ผลัดกันนำ

What makes an effective leader?

  • Ask what needs to be done: identify tasks you’re best at and reset priorities after completing a task
  • Ask what’s right for the company.
  • Develop action plans
  • Take responsibility for decisions: decisions are made at every level of the organization
  • Take responsibility for communicating
  • Focus on opportunities, not problems.
  • Run productive meetings, and turn ideas into actions.
  • Think and say “We”, not “I”.

การบริหารควรเป็นแบบ HRDS: Happiness, Respect, Dignity and Sustainability ผู้นำควรมี 8K เป็นพื้นฐาน และ เสริมด้วย 5K เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศ

การเป็นผู้นำแบบ authenticity คือ ค้นพบตัวเองให้เจอ กระหายใคร่เรียนรู้ กำหนดเป้าหมาย การลงมือกระทำ และสร้างทีมสนับสนุน

ผู้นำต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม มีแรงจูงใจภายนอกและแรงจูงใจภายใน ให้พลังกับผู้อื่น และสร้างผู้นำ

การคิดนอกกรอบ

แก่นของความสามารถที่ทำให้คนประสบความสำเร็จคือ มนุษยสัมพันธ์ และความคิดสร้างสรรค์

สิ่งที่ทำให้องค์กรไม่มีความคิดสร้างสรรค์ คือ

1.ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ในองค์กรนั้น

2.มีความคิดสร้างสรรค์แต่ความคิดนั้นถูกปล่อยให้แห้งเหือดไป

3.มีความคิดสร้างสรรค์แต่ไม่ทำความคิดนั้นให้เกิดผล

3 causes need 3 levels of alignment

1.ว่านเม็ดพันธ์แต่งวิธีคิดสร้างสรรค์ > creative thinking

2.creative leadership

3. creative system ระบบที่นำความคิดไปปฎิบัติ

การคิดนอกกรอบมากไปจะขัดกับระเบียบขององค์กรและสังคม สิ่งที่ควรทำคือ คิดคร่อมกรอบ

สิ่งที่ควรทำในการคิดคร่อมกรอบ

1.พยายามเข้าใจผู้อื่นก่อน ก่อนที่จะให้ผู้อื่นเข้าใจเรา Seek first to understand others. Then to be understood.

2.จะทำอะไรให้เริ่มจากจุดสุดท้ายในใจ Begin with the End in Mind

3. Put first things First จัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ทำ

4. Think win-win คิดแบบชนะทั้งคู่ วิน วิน ทั้งสองฝ่าย

วันที่ 15 กรกฎาคม 2559

การจัดการการเงินสำหรับนักบริหาร/การสร้าววัฒนธรรมองค์กรสู่ความเป็นเลิศ

ควรนำ technology มาใช้กับการเงิน ผู้บริหารควรมีความรู้เรื่องบัญชี เพื่อตรวจสอบสถานะภาพทางการเงินขององค์กรที่ทำงาน สิ่งที่สำคัญของ การเปลี่ยนแปลงคือต้องเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร และเปลี่ยนแปลงตัวเรา สิ่งที่ทำให้เราเปลี่ยนได้คือ มีเป้าหมาย แล้วมอง heart คือองค์กร แล้ววางแผน และปรับแผนการทำงาน ดึงทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างมีประโยชน์สูงสุด

WE SEE WE FEEL WE CHANGE

Communication, Coordination, Integration

การสร้างองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ต้องใน 4 L’s : Learning Methodology, Learning Environment, Learning Opportunities and Learning Community

16 กรกฎาคม 2559: การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้/ Perspectives on Management Effectiveness for Future University

New learning dynamics คือ 50 (learning on the job training): 30 (talking to others เปิดใจในการเรียนรู้): 20 (reading and downloading)

Learn-Care-Share

ผู้นำควรสร้าง inspiration (สร้างความกระหายในการเรียนรู้) และ aspiration (ความอยากที่จะเรียนรู้)

มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทางวิชาการและสติปัญญา สิ่งที่มหาวิทยาลัยควรทำคือ การลดอัตตา สร้างให้เกิดธรรมาภิบาลในการบริหาร (การบริหารจัดการองค์กรให้ประสบความสำเร็จอย่างถูกต้อง) ความสำเร็จคือการบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนด (ตรงตามพันธกิจ) การบริหารสมัยใหม่ ผู้บริหารต้องวางเป้าหมายชัดเจน และจะต้องบริหารภายใต้งบประมาณที่จำกัด ความท้าทายของมหาวิทยาลัยคือ การสร้างผู้นำ ซึ่งไม่ใช่ผู้นำทางวิชาการ แต่เป็นผู้นำที่สามารถนำไปสู่ competitiveness ของประเทศ

ข้อคิดที่ได้จากการอบรมช่วงวันที่ 14-16 กรกฎาคม 2559

ผู้นำควรบริหารโดยยึดหลัก 2 Rs: Reality and Relevance โดยใช้ 8K’s เป็นพื้นฐาน และ 5K เป็นเครื่องมือนำไปสู่ความสำเร็จ โดยจะต้องพัฒนาให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO) ทำให้เกิด inspiration และ aspiration

สุริยงค์ ลิ้มสังกาศ

14 กรกฎาคม 2016

Lesson learned – Share and Care : บทเรียนจากหนังสือ (เล่มที่ 1) - HBR’s 10 Must Reads on Leadership

  • ผู้ที่มีภาวะผู้นำ ต้องมีการกำหนดทิศทาง ทำให้คนไปตามทิศทาง และสร้างแรงบันดาลใจได้
  • แผนระยะยาว อาจจะไม่ตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงมากที่มีอยู่มากมาย เราจึงควรให้ความสำคัญไปที่ทิศทางทีกำหนดร่วมกันโดยคนในองค์กร
  • ผู้นำระดับ 5 จะต้องเป็นผู้ที่ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน

Creative Leadership by Coaching & Business Games, and 7 Habits for Highly Effective People

  • การคิดนอกกรอบอาจจะนำมาปฏิบัติจริงไม่ได้ จึงเปลี่ยนเป็นคิดคร่อมกรอบซึ่งเป็นการค้นพบความคิดใหม่ที่นำไปปฏิบัติได้จริง โดยไม่ขัดกับกรอบองค์กร และกรอบวัฒนธรรม
  • 86% ของคนที่ประสบความสำเร็จในการทำงานทุกระดับขึ้นอยู่กับความสามารถ 2 อย่างคือ มนุษยสัมพันธ์และความคิดสร้างสรรค์
  • Stephen Covey กล่าวว่า ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้ว ไม่จูงใจคน แต่ความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองจูงใจคนองค์กรจึงควรมีทิศทางกำหนดร่วมกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่งอกงาม

15 กรกฎาคม 2016

การจัดการการเงินสำหรับนักบริหาร การบริหารงบประมาณและการวัดความคุ้มค่าของการลงทุน

  • เมื่อมหาวิทยาลัยออกจากระบบแล้ว จะมีอิสระในการทำงาน ในด้านการใช้เงินก็มีอิสระมากขึ้น และจะต้องให้ความสนใจในรายรับรายจ่ายมากขึ้นด้วย
  • มหาวิทยาลัยมีทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนแต่ยังไม่ใช้อย่างเต็มที่ เช่น ชื่อเสียงของสถาบัน ซึ่งเราสามารถใช้ประโยชน์จากการเป็นที่รู้จัก เปลี่ยนให้เป็นองค์กรให้บริการความรู้สู่ชุมชนและสังคมได้

Case studies and Intensive Management Workshop : การสร้างวัฒนธรรมองค์กรสู่ความเป็นเลิศ และ Change management

  • มหาวิทยาลัยมีบุคคลากรที่มีความรู้ทาง Hard หkill มาก เช่นการแพทย์ วิศวะ แต่ควรเพิ่ม Soft skill ให้กับบุคคลากรมากขึ้น
  • ผู้นำต้องสร้างแรงบันดาลใจให้คน (We see, we feel, we change)
  • การเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มที่ตนเองก่อน


16 กรกฎาคม 201

Problem-based Learning Workshop: Learning Organization Development

  • -Learning Organization – คือองค์กรที่รนำความรู้มาแบ่งปันกันและเรียนรู้ไปด้วยกัน (Learn, Share and Care ) แตกต่างกับ Knowledge management ซึ่งเป็นความรู้ที่อาจไม่ได้นำมาใช้
  • -ถ้ามีวัฒนธรรมการเรียนรู้ของแต่ละคนจะนำไปสู่ Learning Organization

Perspectives on Management Effectiveness for Future University

  • -ธรรมาภิบาลเป็นการบริหารจัดการองค์กรให้ประสบความสำเร็จอย่างถูกต้อง ความสำเร็จคือการบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดตรงตามพันธกิจ
  • -มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายจากกลุ่มคนอายุ18-22 ซึ่งปีหนึ่งมีประมาณ 3 แสนคนที่เข้ามาเรียน มาเป็นกลุ่มคนทำงานประมาณ 40-45 ล้านคนที่ต้องการการศึกษา เพราะคนเหล่านี้จะกลับมาเรียน มหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาตนเอง
  • -มหาวิทยาลัยควรใช้จุดแข็งด้านความหลากหลายของวิทยาเขตทั้ง 5 แห่ง โดยจะต้องทำงานแบบต่อเนื่องจริงจัง และทำงานเป็นทีม
ดร.น.สพ. ณรงค์ ทิพธนวัฒนะ

14 กรกฏาคม 2559

Group assignment&creative leadership

Level 5 Leadership

ถือเป็นระดับของนักบริหารที่จะประสบความสำเร็จได้ ซึ่งจะต้องมีบุคลิกภาพที่ถ่อมตนและทำแบบอย่างที่มืออาชีพแบบสมดุลย์กันทั้งสองส่วน ซึ่งจะแตกต่างจาก Level 4 ที่จะเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ โดยหลักการคือ สามารถกระตุ้นความสามารถขององค์กรให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้นเท่านั้น ผู้นำนักบริหาร ในระดับนี้ จะให้เครดิตของการประสบความสำเร็จต่อผู้อื่น ปัจจัยภายนอก แต่เมื่อประสบปัญหาจะมองกลับมาที่ตัวเองแล้วแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เป็นองค์กรที่ good to great

โดยเราจะต้องมองถึง บุคลากร เป็นอันดับแรก และ กลยุทธ์เป็นลำดับสอง ซึ่งเป็นคุณสมบัติของ Level 5 Leadership แต่อย่างไรก็ตาม ทักษะนี้อย่างเดียวคงไม่พอ 1. disciplined people ซึ่งจะช่วยให้เรารู้ว่าอะไรที่เราควรเลือกทำ เลือกที่จะรู้มากกว่า เราอยากจะทำอันนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ ประสบความสำเร็จในเป้าหมายที่แท้จริง สามารถผลักดันขีดความสามารถของตัวเองได้ ได้รับการยกย่องจากผู้อื่นรวมถึงสามารถพลักดันความสามารถของผู้อื่นได้ด้วย เราจะพึงพอใจกับความสำเร็จและก้าวสู่ความสำเร็จใหม่ๆ 2. disciplined thought ประกอบด้วย Buid self confidence, Positive thinking, Critical thinking, Creative thinking 3. disciplined action: เช่น Conselling letter, Oral reprimand,Written reprimand, Suspension, Demotion, Dismissal

ผู้นำนักบริหารของ มอ.

1. มองเรื่องการสร้างคน ทรัพยากรมนุษย์เป็นอันดับแรก โดยมองเรื่องการให้คนพัฒนาตนเพื่อมุ่งหวังผลในอนาคต

2. มีบุคลิกภาพที่สุขุม ถ่อมตน และสงบ

3. เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง รู้ว่าจะเกิดขึ้นได้ยาก ใช้เวลา

4. สร้างองค์กร แบบ Culture of discipline เพื่อให้ระบบและองค์กรมีการบังคับด้วยตัวเอง ทำให้ ผู้นำไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้อำนาจหรือลงโทษมากนัก ร่วมกับ Ethic of entrepreneurship

ความสำเร็จนั้นเกิดขึ้นได้จากสองส่วนคือ ความคิดนอกกรอบ ที่ควรอยู่ในกรอบขององค์กรและวัฒนธรรม และมนุษยสัมพันธ์เพื่อให้เกิด connection และความคิดสร้างสรรค์ที่มากขึ้น

15 กรกฎาคม 2559

การบริหารด้านการเงินกับการบริหารความเสี่ยงด้านการลงทุนเป็นเรื่องที่ผู้นำจะต้องให้ความสำคัญซึ่งสามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการ โดบที่การเปลี่ยนแปลงคือต้องเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรและปลี่ยนแปลงตัวเราเองด้วย ทั้งนี้การจะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จจะต้องมีเป้าหมายและการวางแผนที่ชัดเจน

การสร้างองค์กรสู่ความเป็นเลิศจะต้องใช้หลักการ 4L’s รวมถึง communication, coordination, integration ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการสำคัญเรียกว่า change management

16 กรกฎาคม 2559

Learning organization development

การมี KM เป็นรากฐานของคลังข้อมูล โดยจะต้องเสริมเรื่องของ learning culture and sharing ให้ต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการนำไปใช้และตระหนักถึงคุณค่า ปัจจุบันการ training เยอะมากเกิดไป แต่ขาด learning โดยปฏิบัติตามแนวทางของในหลวง 1. คิดแบบ macro ทำแบบ micro 2. ทำเป็นขั้นตอน 3. ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย 4. ให้นึกถึงภูมิสังคมของพื้นที่ 5. communication, coordination, integration 6. ต้องมีเจ้าของ

Model ของ learning organization คือ 50 (on the job training): 30 (talk to other): 20 (Reading and download)

Perspectives on Management Effectiveness for future university

Modern management คือ ลูกค้า ซึ่งเป็นความท้าทายใหม่ของมหาวิทยาลัย

การบริหารแบบธรรมาภิบาลคือ ประสบความสำเร็จ โดยที่ต้องบรรลุตามพันธกิจอย่างถูกต้อง กล่าวคือต้องมีทั้ง คุณธรรม ศักดิ์ศรี/ความยั่งยืน การทำประโยชน์ และพื้นฐานสุดคือมีหลักฐานตรวจสอบได้

โดยที่ถ้าต้องแข่งกับคนที่มีโอกาสชนะมากกว่า ต้องมี 1. รู้จักตัวเอง 2. รู้ว่าแข่งที่ไหน 3. มีความกล้าหาญที่จะพลิกตัวเองไปแข่ง

มนทิรา ลีลาเกรียงศักดิ์

14 กรกฎาคม 2559

Group assignment and presentation lesson learned

ความแตกต่างระหว่าง ผู้นำ และผู้จัดการ เป็นผู้นำต้องมี vision creation และ execution

ผู้นำแตกต่างกัน 5 ระดับ ผู้นำระดับ 5 เป็นนักบริหารที่มีบุคลิกอ่อนน้อมถ่อนตน ผสมผสานกับความตั้งใจ การวิเคราะห์คน 7 กลุ่ม 7 transformations of leadership ต้องมีการ transformation leadership เพื่อเปลี่ยนไปสู่การออกนอกระบบ มีการค้นหา authentic leader ในตัวเอง แสดงให้เห็นถึงความกระหายใคร่รู มีวัตถุประสงค์ set เป้าหมาย และพร้อมจะรับฟัง feedback การตัดสินใจควรให้มีการมีส่วนร่วมขององค์กร

Creative leadership โดย อ.ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์ พูดถึงการสร้าง creative organization ขั้นตอนการคิดคร่อมกรอบ (PPCO) กิจกรรมฝึกคิดเกี่ยวกับการคิดคร่อมกรอบ เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง

15 กรกฎาคม 2559

เรียนรู้เรื่องการจัดการการเงินสำหรับนักบริหาร โดย ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์

เมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ต้องให้ความสนใจรายรับ รายจ่าย มีรายละเอียดงบประมาณมากกว่าเดิม ดูความเป็นไปได้ของโครงการด้วย มหาวิทยาลัยสามารถใช้ชื่อมหาวิทยาลัยในการใช้ประโยชน์

คุณจันทนา สุขุมานนท์ เล่าประสบการณ์การทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์กร โดยต้องรู้จักเปลี่ยนแปลงองค์กรให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงภายนอก โดยการเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มที่ตนเองก่อน

16 กรกฎาคม 2559

การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้

สร้างความเข้าในที่ถูกต้องเรื่อการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ หลักคิดของพระเจ้าอยู่หัว 6 หลักคิดในการทำงาน เช่น คิด macro ทำ micro ทำเป็นขั้นเป็นตอน ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้น ๆ การสื่อความ การประสานงาน และบูรณาการ

กฎของ Peter Senga

  • Persional mastery รู้อะไร รู้ให้จริง
  • Mental Models มีแบบอย่างทางความคิด
  • Shared vision มีเป้าหมายร่วมกัน
  • Team learning เรียนรู้เป็นทีม ช่วยเหลือกัน
  • System Thinking มีระบบความคิด มีเหตุมีผล

จิระ way 4L’s and 2R’s

มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง กัดไม่ปล่อย ทำโครงการที่เป็น flagship 2-3 เรื่อง พัฒนาทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่อง สร้างหรือ re-brand มอ ในอนาคต ทำงานยุคใหม่

สิ่งที่ปิ้งแว๊ป ปัง จากการเรียรู้ในช่วงวันที่ 14-16 กรกฎาคม 2559 ดังนี้

- วันที่ 14 กค 59

การทำงานที่ดีและมีประสิทธิภาพต้องเน้นและใช้ทฤษฎี 2R’s อย่างแท้จริง การทำงานไม่สามารถทำงานเพียงลำพังได้ต้องอาศัยพลังของทีม (Teamwork) และต้องมีพลังสนับสนุน (Back up) ที่ดีด้วยเช่นกัน การสื่อสารที่ดี การตัดสินใจร่วมกัน (ความเป็นเจ้าของ) เป็นการช่วยในการบริหารงานขององค์การที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง และต้อง overcome difficulty

ดังนั้น ผู้บริหารของ ม.อ. ควรจะเป็นอย่างไร ทำอะไร ที่สำคัญคือการสรา้งคน พัฒนาคน และมีบุคลิกภาพที่สุขุม และถ่อมตน (humility) ซึ่งต้องใช้เวลาในการสรา้ง หรือสั่งสม แต่ต้องมี และสามารถสร้างได้ และอีกประการคือ ต้องค้นพบตัวเองให้ได้อย่างแท้จริง Leadership or Management

- วันที่ 15 กค 59

การจัดการเรื่องการเงินการคลังเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้บริหารในทุกระดับ และเป็นเรื่องที่ไม่ยากอย่างที่คิด เพราะปัจจุบันข้อมูลข่าวสารสามารถสืบค้นและส่งถึง ค้นหาได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงยังมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนอีกด้วย Fin Tech - Financial Technology

Change to Transformation ต้องมีเป้าหมายชัดเจน เริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเอง สู่การเปลี่ยนแปลงองค์กร Change is for the Better และการเปลี่ยนที่สำคัญ คือ การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร

วลีเด็ด "ต้องทำดีกับคนใกล้ตัวให้มากๆ เยอะๆ" และคิดให้ถี่ถ้วนก่อนลงมือทำ เพราะหากทำแล้วเกิดผลลัพธ์ที่ไม่ดีก็ไม่สามารถย้อนกลับได้ เช่นดั่ง สายน้ำ เวลา และคำพูด จึงต้องคิดดีๆ ก่อนลงมือทำทุกครั้ง

ประเด็นที่สำคัญในการทำงานในองค์กร

- Working as a team

- Doing what is right

- Challenging convention

- Caring about the future

- วันที่ 16 กค 59

การทำใหสำเร็จได้ ต้องรักงานที่ทำและสนุกกับมันด้วย (รักตัวเอง รักองค์กร) Happy at Work และจะเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าในองค์กรนั้นๆ มี Happy Workplace ด้วย

การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization Development) เริ่มจาก Individual Learning to Learning Culture to Learning Organization

ผู้บริหารของ ม.อ. จึงต้องให้ความสำคัญกับการจัดการองค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยมีหน่วยงานกลางในการรับผิดชอบดูแล เช่น สร้าง LOC (Learning Organization Center) มีการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง มีการจัดเวที share and learn ให้รางวัลเพื่อสร้งแรงจูงใจ (แต่ต้องระวังนิดนึง คือไม่ได้ทำงานเพื่อรางวัล) แต่เพื่อการพัฒนาองค์กรอย่างแท้จริงและสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญอีกประการ คือ ต้องทำเรือง KM/LO ให้เป็นเรื่องง่าย


สรุปวันที่ 14-16 ก.ค. 59

  • ภาวะผู้นำและการจัดการมีความแตกต่างกัน คือ ภาวะผู้นำต้องมีการกำหนดทิศทางทำให้คนไปตามทิศทาง สร้างแรงบันดาลใจ ต้องมีการสื่อสารกับคนทุกระดับและทุกฝ่าย ส่วนการจัดการเน้นการวางแผน การจัดคนเข้าสู่งาน ควบคุมกิจการให้สามารถบรรลุตามแผน การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เน้นโครงสร้างตามแผนที่ได้กำหนดไว้ วางคนให้เหมาะสมกับงาน
  • ผู้นำแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ คือ ระดับ 1 เป็นคนมีทักษะในการทำงาน ทำงานมีประสิทธิภาพ ระดับ 2 ทำงานเป็นทีม ระดับ 3 จัดการคนและเงิน ระดับ 4 ประสิทธิภาพสูงแต่ยังไม่สามารถนำองค์กรจาก good to great ได้ ระดับ 5 คือ ผู้ที่ทำให้บริษัทยอดเยี่ยมได้และมีความอ่อนน้อมถ่อมตน
  • ในการบริหารความคิดสร้างสรรค์ ต้องใช้ 4M คือ Mechanics ขั้นตอนวิธีคิด Mindset ความรู้ ความเข้าใจ ความคิด Mood อารมณ์ และMomentum ทำให้ความคิดสร้างสรรค์เกิดความยั่งยืน
  • องค์กรไม่มีความคิดสร้างสรรค์ เนื่องจาก ไม่มีเมล็ดพันธุ์ความคิด มีความคิดถูกปล่อยให้ตาย และความคิดได้รับการดูแล แต่ไม่เกิดผล
  • วิธีการสร้าง Creative Organization คือ Creative Thinking พนักงานแต่ละคนมีความคิดสร้างสรรค์ Creative Leadership ผู้นำสนับสนุน และ Creative System ระบบนำความคิดไปสู่การปฏิบัติ
  • ขั้นตอนการคิดแบบคร่อมกรอบ คือ หาข้อดีของความคิดนอกกรอบ (Pluses) หาข้อดีในอนาคต (Potentials) ค้นหาสิ่งที่ติดกรอบ (Concerns) และหลบ เลี่ยง ทะลุ หาโอกาส(Opportunities) ให้สามารถนำความคิดไปใช้ได้อย่างเหมาะสม
  • เมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบต้องให้ความสนใจทั้งรายรับและรายจ่าย ต้องมีรายละเอียดงบประมาณมากกว่าเดิม
  • ควรส่งเสริมให้อาจารย์รุ่นใหม่ไปนำเสนอโครงการต่อธนาคาร โดยมีผู้บริหารเป็นหัวหน้าทีม
  • การบริหารเงินสด ต้องทำให้เงินเกิดประโยชน์สูงสุด แต่ต้องสามารถใช้จ่ายได้สะดวก
  • ขั้นตอนการพัฒนาไปสู่ทัศนคนิที่ดี คือ มองไปข้างหน้า คิดวิเคราะห์เพื่อหาทางออก มุ่งมั่นเพื่อฝ่าฟันความสำเร็จ และเรียนรู้จากความผิดพลาด
  • การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ต้องมีวัฒนธรรมเรียนรู้ส่วนบุคคล มีการคิดและวิเคราะห์เป็น ทำให้เกิดความใฝ่รู้
  • ธรรมาภิบาลเป็นการบริหารจัดการองค์กรให้ประสบความสำเร็จอย่างถูกต้อง ความสำเร็จ คือ การบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดตามพันธกิจ

ประเด็นสำคัญที่ได้เรียนรู้

วันที่ 15 กรกฎาคม 2559

การจัดการการเงินสำหรับนักบริหาร โดยดร.กุศยา

การบริหารการเงินเมื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับจะมีความคล่องตัวมากขึ้น แต่มีความท้าทายในการหางบประมาณที่เพิ่มขึ้นเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงานตามพันธกิจต่างๆ ผู้บริหารต้องวิเคราะห์และมองหาช่องทางในการหารายได้ ต้องระดมความคิดวางแผนการทำงาน การใช้องค์ความรู้และบูรณาการจุดเด่นที่มีความหลากหลายในแต่ละวิทยาเขตเพื่อสร้างมูลค่าให้กับมหาวิทยาลัย มองว่าจุดแข็งของมหาวิทยาลัยคือมีองค์ความรู้ มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถหลายศาสตร์ ซึ่งสามารถเขียน project เพื่อขอรับทุนจาก Venture capital ที่สามารถให้ทุนไม่ต่ำกว่า 10 ล้าน อีกทั้งการบริหารจัดการด้านการเงินต้องนำ Financial technology เข้ามาเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Case studies and Intensive management

การเปลี่ยนแปลงองค์กรมักจะมีการเปลี่ยนโครงสร้างและกลยุทธ์ ขณะเดียวกันไม่เปลี่ยนวัฒนธรรมส่งผลให้องค์กรไม่สามารถพัฒนาสู่ความเป็นเลิศได้ โดยวัฒนธรรมของไทยที่เป็นปัญหาสำคัญ คือ เกรงใจ รักษาหน้า และหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ซึ่งผู้นำและคนในองค์กรต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดสร้างวิสัยทัศน์และค่านิยมใหม่ในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กร ซึ่งผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดีและมีบทบาทในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในองค์กร

วันที่ 16 กรกฎาคม 2559

Learning organization

การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในอนาคตต้องสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งอุปสรรคของการเรียนรู้ คือ องค์กร เนื่องจากมีแต่ Knowledge แต่ไม่มี Learning culture จึงไม่มี Learning organization ข้อดีของการมี Learning organization คือ จะอยู่ในโลกที่มีการแข่งขันสูงอย่างไร High performance และจาก Good อาจจะนำไปสู่ Great การใช้หลักในการทำงาน 6 ข้อเพื่อให้องค์กรมีประสิทธิภาพ ดังนี้ 1) คิดแบบ Macro แต่ทำแบบ Micro 2) ทำเป็นขั้นตอน 3) ทำให้เป็นเรื่องง่าย 4) ทำอย่างรู้ภูมิสภาพนั้นๆ 5) การสื่อสารและการประสานงาน 6) ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ นอกจากนี้ยังสามารถใช้แนวคิด 4L’s, 8K’s, 5K’s

Perspectives on Management Effectiveness for Future University

การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในอนาคตประกอบด้วย ระบบบริหารผู้นำ ระบบบริหารบุคคล ระบบบริหารวิชาการ และระบบบริหารการเงิน ซึ่งการบริหารสมัยใหม่ต้องมีการวางเป้าหมายที่ชัดเจน ทำเป็น PDCA การเป็น Good governance ต้องมี Morality, Integrity sustainability, Contribution relevance, Accountability การที่จะผลักดันให้มหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ คือ การทำงานข้ามคณะ ทลาย Silo การปรับ Mind set ทำตามปณิธานของพระบิดา เมื่อมีอุปสรรคต้องเอาชนะและทำอย่างต่อเนื่อง หาความเป็นหนึงเดียวที่เกิดจากความหลากหลาย

รศ.ดร.ภก.ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ 14-16 ก.ค. 59

- Get things done, overcome difficulty

- ผู้นำในยุกต์ปัจจุบัน ต้องมี people skill มากขึ้น

- From Good to Great ผู้นำที่มีบุคลิคอ่อนน้อมถ่อมตน ผสมผสานกับความตั้งใจแบบมืออาชีพ " Level 5 leadership"

- ความแตกต่างของ leadership กับ management

- "Leaders are made, not born, and how they develop is critical for organization change.

- ความสามารถที่สำคัญของผู้นำในการพัฒนาตนเองคือ การตระหนักรู้ในตนเอง (self awareness)

- 8 principle ruleห นำไปสู่ effective leaders

- time management: ทำเรื่องที่สำคัญก่อน

- 86% ของคนที่ประสบความสำเร็จในการทำงานในทุกระดับขึ้นอยู่กับ มนุษย์สัมพันธ์ และ ความคิดสร้างสรรค์

- หลักของความคิดสร้างสรรค์ 4 M (Mechanics, Mind set, Mood, Momentum)


วันที่ 14-16 กรกฎาคม 2559

Ø การนำเสนอบทเรียนจากหนังสือ ทำให้ได้เรียนรู้

-Leadership management สิ่่งสำคัญคือ long-term planning และ change mind set and inspire

- Level 5 leader สิ่งสำคัญคือ humility and professional will เพื่อเปลี่ยนองค์กรจาก good to great

- Seven Transformations of Leadership คน 7 ประเภท เปลี่ยนคนในแต่ละกลุ่มยาก แต่การใช้จุดเด่นของแต่ละกลุ่มในการทำงานจะง่ายกว่า และมีโอกาสให้งานในองค์รวมสำเร็จได้

- Authentic leadership การรักษาแรงจูงใจทั้งภายในและภายนอกให้สมดุล

- What makes an effective executive สิ่งที่ต้องทำเพื่อให้มีประสิทธิภาพ อะไรควรทำก่อนหลัง ใครควรเป็นผู้รับผิดชอบ การติดตามผล

Ø Creative thinking ทำให้ได้เทคนิค PPCO การได้มาซึ่งกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นไปได้ “การคิดคร่อมกรอบ”

Ø 7 habits เพื่อให้การทำงานประสบผลสัมฤทธิ์ จะต้องทำงานเชิงรุก มุ่งผลสัมฤทธิ์ รู้ลำดับก่อนหลัง คิดแบบ win-win เอาใจเค้ามาใส่ใจเรา ร่วมแรงร่วมใจ และใฝ่รู้

Ø มหาวิทยาลัยในกำกับจำเป็นต้องมีการจัดการการเงิน สามารถบริหารงบประมาณและวักความคุ้มค่าได้ เพื่อช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินกิจการเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับมหาวิทยาลัย

Ø วัฒนธรรมองค์กรและการบริหารการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต้องเปลี่ยนทั้งองค์กร สื่อสารทุกคน โดยเฉพาะ core value การใช้สัญลักษณ์ทำให้ทุกคนจดจำง่าย การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือการเปลี่ยนทัศนคติ

Ø Learning culture and learning organization 70:20:10 (OJT: team learning: individual learning) new learning dynamic 50:30:20 (OJT: team learning: reading&download)

Ø Workshop: โครงการอ่าน 50 นาที นำเสนอ 10 นาที, Inspire&Aspire

Ø Good governance (accountability, morality, integrity sustainability, contribution relevance)

Ø นักศึกษามัธยมน้อยลง การเรียนการสอนควรเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนเป็นคนทำงานมากขึ้น

Ø การออกนอกระบบ ไม่ควรทำแบบเดินอิงระเบียบราชการเหมือนเดิม

“เราแก้อดีตไม่ได้ คำถามคือ เราจะทำอย่างไรกับปัจจุบันและอนาคต”

Day 4 (14 July 2016)

Today’s talk highlighted the importance of creative leadership in which creative thinking forms an integral part. A leader should always look for the following:

  1. Good points/ideas
  2. Ideas for future
  3. Concerns and how to manage them effectively
  4. Lots of opportunities out there

As a good leader, one should always praise ideas of subordinates, highlight good/positive points of the ideas, and should always trigger the subordinate to find weaknesses of the ideas and identify the ways to improve them.

Day 5 (15 July 2016)

The lecture on financial management examine the importance of finance in management of a university/faculty. University leaders should now be able to understand various financial reports and identify financial strengths and weaknesses of the university, especially when PSU granted autonomy. We should be able to identify tools to manage university’s or faculty’s finance more effectively. In fact, university/faculty may need to access to financial market to enable them to undertake their investment projects in future.

Day 6 (16 July 2016)

On medical leave

นางนิษณา เหมกุล ( กลุ่ม 3 )

ส่งงานประเด็นโดนใจ ระหว่างวันที่ 14 – 16 กรกฎาคม 2559

การทำอะไรเดิม ๆ ทำซ้ำ ๆ วิธีการเดิม ๆ แล้วคิดว่าจะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่าง เรียกว่า เป็นคนบ้าคลั่ง

รู้หรือไม่ว่า ....86 % ของคนที่ประสบความสำเร็จในการทำงานในทุก ๆ ระดับ ขึ้นอยู่กับมนุษย์สัมพันธ์ และ ความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการอย่างไม่ฟั่นเฟือน มนุษย์สัมพันธ์จะช่วยให้นำไปสู่ความสำเร็จ

ความคิดที่ดี มาจากทัศนคติที่ดี

Transformation

  1. ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน เริ่มจากต้องมีความรู้ แล้วนำมาวิเคราะห์ ไปปะทะกับความจริง ต้องเลี้ยงตัวเองให้ดี
  2. ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยความรวดเร็ว
  3. ต้องมองให้ทะลุปรุโปร่ง ต้องอ่านคนให้เข้าใจ ต้องใช้ศิลปะในการบริหารคน

Thai Philosophy

  • -เกรงใจ
  • -รักษาหน้า
  • -หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง
  • -Change
  • -Value added
  • -กระจายไม่ทุกกลุ่ม
  • -ผู้บริหารระดับสูงยังไม่ได้ทำอย่างจริงจัง

การเปลี่ยนแปลงของไทย มักจะเปลี่ยนโครงสร้าง แต่ไม่เปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรหรือค่านิยมองค์กร

องค์กรส่วนใหญ่มี Training แต่ไม่ค่อยมี Learning ถ้ามี Training เราไม่ได้สร้าง

การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในอนาคต ปัญหาของมหาวิทยาลัยก็คือ แต่ละคนมีเป้าของตัวเอง และไปคนละทิศ และมหาวิทยาลัยมี

ความหลากหลาย จะต้องทำอย่างไรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำอย่างไรจึงจะลดความมีอัตตา

นายสุรชาติ เพชรแก้ว

ส่งงาน วิชาที่ 7: Creative Leadership by Coaching & Business Games

วันที่ 14 กรกฎาคม 2559 (บ่าย)

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต้องนำการนำความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากรในองค์กรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด ต้องทำให้

1. ความคิดสร้างสรรค์ (คิดนอกกรอบ-คิดคร่อมกรอบ) เกิดเป็นกระบวนการหรือขั้นตอนที่สามารถจับต้องได้จริง

2. นำความคิดสร้างสรรค์นี้ไปแปลงเป็นแนวทางปฏิบัติได้จริง

ทั้งนี้ต้องอาศัยการมีมนุษย์สัมพันธ์หรือความสามารถในการสื่อสารที่ดีและความร่วมมือกันของบุคลากรในองค์กร (มหาวิทยาลัย) ความคิดสร้างสรรค์เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความคิด/แนวทางปฏิบัติ/นวัตกรรมใหม่ๆที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในอนาคตของมหาวิทยาลัยได้


ส่งงาน วิชาที่ 8: Applied Session on 7 Habits for Highly Effective People

วันที่ 14 กรกฎาคม 2559 (บ่าย)

7 นิสัยของคนที่มีประสิทธิภาพตามแนวทาง Stephen Covey

1. Be proactive (เชิงรุก สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดี และคิดว่าตนต้องเป็นผู้รับผิดชอบ/แก้ปัญหา)

2. Begin with the end in mind (มุ่งผลสำเร็จ)

3. Put first thing first (รู้จักก่อน-หลัง)

4. Think Win-Win (คิดแบบชนะๆ)

5. Seek first to understand, then to be understood (รู้เขา รู้เรา เอาใจเขามาใส่ใจเรา ทำให้กระจายงานให้เหมาะสม เกิดความร่วมมือและสัมพันธภาพที่ดี)

6. Synergize (ร่วมแรงร่วมใจกัน)

7. Sharpen the saw (ลับคมเลื่อยให้คมเสมอ ต้องพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต)

มหาวิทยาลัยต้องค้นหาและเลือกใช้คนเหล่านี้ที่มีอยู่ในองค์กรมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดในช่วงจังหวะ เวลา และโอกาสที่เหมาะสม จึงจะทำให้มหาวิทยาลัยสามารถสร้างผลงาน/ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้อย่างแท้จริง


ส่งงาน วิชาที่ 9: การจัดการการเงินสำหรับนักบริหารการบริหารงบประมาณและการวัดความคุ้มค่าของการลงทุน

วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 (เช้า)

เมื่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ออกนอกระบบต้องให้ความสนใจการบริหารจัดการทางการเงินทั้งรายรับและรายจ่าย ต้องมีรายละเอียดงบประมาณมากกว่าเดิม การเขียนโครงการ/แผนการทำงานต่างๆต้องดูความเป็นไปได้ด้วย การเงินจึงเป็นหัวใจของการบริหารจัดการงบประมาณของมหาวิทยาลัย เพื่อให้มหาวิทยาลัยดำเนินกิจกรรมต่างๆตามโครงการ/แผนงานที่กำหนดไว้ได้โดยสะดวกและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งต้องหาแนวทางการเพิ่มรายได้ให้กับมหาวิทยาลัยจากการพัฒนาสินทรัพย์ต่างๆที่มหาวิทยาลัยมีอยู่ให้เกิดดอกผลให้มากที่สุด


ส่งงาน วิชาที่ 10: Case Studies and Intensive Management Workshop:

การสร้างวัฒนธรรมองค์กรสู่ความเป็นเลิศและการบริหารการเปลี่ยนแปลง

วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 (บ่าย)

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต้องพัฒนาคน/สร้างคนให้มีความพร้อมในการพัฒนา โดยต้องมีขั้นตอนในการพัฒนาแนวความของคนในองค์กรให้ไปสู่ทัศนคติที่ดีขึ้น ด้วยการ

1. มองไปข้างหน้า

2. คิดวิเคราะห์เพื่อหาทางออก

3. มุ่งมั่นเพื่อฝ่าฟันความสำเร็จ

4. เรียนรู้จากความผิดพลาด

แนวทางปฏิบัติที่มหาวิทยาลัยสามารถนำมาใช้ในการสื่อสารค่านิยม/วัฒนธรรมที่ดีให้ทุกคนในองค์กรเห็นความสำคัญปฏิบัติตาม คือ

1. ประกาศให้ทราบและเข้าใจร่วมกัน

2. สร้างความจดจำให้เกิดขึ้นผ่านเพลง สัญลักษณ์

3. สร้างการตอกย้ำและยืนยัน

4. ผู้นำต้องให้การสนับสนุนและเป็นแบบอย่าง


ส่งงาน วิชาที่ 11: การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

วันที่ 16 กรกฎาคม 2559 (เช้า)

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีการฝึกอบรมมาก แต่ไม่มีการเรียนรู้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง การสร้างมูลค่าเพิ่ม การกระจายความรู้ไปสู่ทุกกลุ่ม มหาวิทยาลัยควรสร้างองค์กรการเรียนรู้แต่ละคณะและกระทำอย่างต่อเนื่อง ต้องทำเป็นขั้นตอน ทำเรื่องยากให้ง่าย ทำให้เหมาะกับภูมิสังคม ต้องมีความรู้ รัก สามัคคี ควบคู่กัน โดยอาศัย กฎ Peter Senge เป็นแนวคิด คือ

1. Personal Mastery (รู้อะไร รู้ให้จริง)

2. Mental Models (มีแบบอย่างทางความคิด)

3. Shared Vision (มีเป้าหมายร่วมกัน)

4. Team Learning (เรียนรู้เป็นทีม ช่วยเหลือกัน)

5. Systems Thinking (มีระบบการคิด มีเหตุมีผล)

ต้องนำข้อ 1-4 นำมาบูรณาการเป็นข้อ 5 (Systems Thinking) มหาวิทยาลัยต้องเน้นความจริง รู้สถานการณ์มหาวิทยาลัย ต้องเลือกประเด็นตัดสินใจให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากที่สุด

มหาวิทยาลัยต้องสร้าง/ส่งเสริมให้องค์กรเป็นสังคมการเรียนรู้ มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ส่วนบุคคล มีการคิดและวิเคราะห์เป็นระบบ ทำให้คนเกิดความใฝ่รู้ เมื่ออยู่ในองค์กรสามารถแก้ปัญหาโดยใช้องค์กรการเรียนรู้ ผู้นำจึงต้องเป็นองค์กรการเรียนรู้


ส่งงาน วิชาที่ 12: Perspectives on Management Effectiveness for Future University

การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในอนาคต

วันที่ 16 กรกฎาคม 2559 (บ่าย)

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต้องยึดหลัก “ธรรมาภิบาล” ในการบริหารจัดการ/การขับเคลื่อนองค์กร (มหาวิทยาลัย) ให้ก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

การนำธรรมาภิบาลใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หมายถึง การที่บุคคลต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความไม่เอารัดเอาเปรียบ ต้องมีความยุติธรรม ความสุขสันติ การปฏิบัติต้องกระทำให้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม จึงจะทำให้มีพลังนำสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนและมั่นคง

วรรณโน สนธิพิพัฒน์

สรุป ช่วง ที่ /2 วรรณโน สนธิพิพัฒน์

วันที่ 14 กรกฎาคม 2559

ผู้นำในองค์กร จะต้องมีลักษณะของการ มองภาพขององค์รวมขององค์กรและมีความเข้าใจที่จะพัฒนาองค์กรให้มีความเข็มในทุกมิติและมีความสามารถในการแก้ปัญหา รวมถึงการจัดการกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ และที่สำคัญในตัวของผู้นำจะต้องมีคุณธรรม จริยธรรม มุ่งประโยชน์ของส่วนรวม เป็นตัวตั้ง มากกว่าประโยชน์ส่วนตน โดยอาศัยหลักทฤษฏี มาเป็นตัวยึดในการบริหารจัดการ พร้อมเน้นการสร้างความพร้อมของบุคลกรในทุกระดับให้มีความพร้อมในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้หลักธรรมมาภิบาล และหลักการมีส่วนรวม ตลอดจนการไว้วางใจในการทำงานกับผู้บริหารและบุคลากรในระดับต่างๆสร้างความเชื่อมั่น และส่งเสริมการเรียนรู้แลกเปลี่ยนให้กับบุคลากร ได้นำปัญหามาร่วมหารือแก้ปัญหาร่วมกัน เพื่อนำพาองค์กรไปสู้ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

วันที่ 15 กรกฎาคม 2559

การบริหารการเงิน ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายและไม่ก่อให้เกิดความผิดพลาด การบริหารการเงินเป็นสิ่งสำคัญในทุกองค์กร การที่องค์กรจะอยู่รอดได้ต้องมีระบบบริหารการเงินที่ชัดเจน มีระบบการตรวจสอบ มีความโปร่งใส ผู้บริหารจะต้องสร้างระบบการตรวจสอบการบริหารด้านการเงินในทุกมิติ มีระบบการบริหารความเสี่ยง มาเป็นตัวช่วยในการบริหาร ผู้บริหารจะต้องมองช่องทางในการหาแหล่งเงินจากภายนอกมาสร้างความมั่นคงให้กับองค์กร ในรูปแบบต่างต่าง เช่น การส่งเสริมหาแหล่งวิจัยที่ในลักษณะรวมกับองค์กรภายนอก หรือสร้างระบบและการใช้งบประมาณทางด้านการวิจัยที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับองค์กร รวมทั้งการใช้กลยุทธ์ในการหารายได้เข้าสู้องค์อย่างหลากหลายช่องทาง

วันที่ 16 กรกฎาคม 2559

ด้านการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัย ผู้บริการจะต้องเน้นหลักธรรมาภิบาล มีการวางเป้าหมายที่ชัดเจนในการนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายมีความซื่อสัตย์สุจริต และมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรทุกระดับ มีโอกาส ในการพัฒนาตนเองมากยิ่งขึ้น เน้นการสร้างนวัตกรรมใหม่และมองสังคมรอบตัว ว่าสังคมคาดหวังอะไรกับ มหาวิทยาลัย เพื่อที่จะได้ตอบสนองต่อความต้องการของสังคมได้อย่างเต็มรูปแบบ และเน้นการทำงานเป็นทีม ไม่แบ่งแยกสามรถทำงานข้ามวิทยาเขต สร้างแรงจูงใจ ในการรักองค์กร และก่อให้เกิดความมั่งคงในทุกด้านให้กับมหาวิทยาลัย

ความรู้ทีได้รับจากการอบรมในช่วงที่2 ที่สามารถนำไปประยุกต์กับการทำงานขับเคลื่อนม.อ. คือ การที่เราเป็นส่วนหนึ่งของม.อ. จำเป็นต้องสร้างนักศึกษาซึ่งเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคตให้รู้รอบและเท่าทันกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น โดยสามารถนำไปประยุกต์กับการกำหนดELO ของบัณฑิต สร้างคนที่มีวุฒิภาวะและสร้างทีมที่มีวุฒิภาวะ และขยายการรับรู้ให้กับทุกฝ่ายถึงทิศทางที่ควรเดินไปเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน

วีระพงค์ อาภารัตนคุณ

สรุปประเด็นสำคัญที่ได้เรียนรู้
วันที่ 14 กรกฎาคม 2559
- การทำแผนระยะยาว จำเป็นต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่จะเกิดขึ้น
- เมื่อกำหหนดเป้าหมายในการทำสิ่งใด ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง เรียนรู้จากความล้มเหลว และต้องไม่หยุดการเรียนรู้
- ภาวะผู้นำต้องควบคู่กับการจัดการ จึงจะทำให้การดำเนินงานขององค์กรประสบผลสำเร็จ
- การทำสิ่งเดิมๆ ทำให้อยู่ในกรอบก็จะได้สิ่งเดิมๆ
- ความคิดคร่อมกรอบสามารถค้นพบความคิดใหม่ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง (PPCO)
- นิสัยของคนที่มีประสิทธิภาพตามแนวทางของ Stephen Covey
1. Be proactive 2. Begin with the end in mind 3. Put first thing first 4. Think Win-Win 5. Seek first to understand, then to be understood 6. Synergize 7. Sharpen the saw

วันที่ 15 กรกฎาคม 2559
- ประเด็นสำคัญในการทำงานในองค์กร
1. working as a team
2. doing what is right
3. challenging convention
4. caring about the future
- transformation ต้องมีเป้าหมายชัดเจน เริ่มต้นจากมีความรู้ สู่การวิเคราะห์ ปะทะกับความจริง ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยความรวดเร็ว และต้องมองให้ทะลุต้องใช้ศิลปะในการบริหารคน
- Thai Philosophy เกรงใจ/รักษาหน้า/หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง/change/value added/กระจายไม่ทุกกลุ่ม และผู้บริหารระดับสูงยังไม่ทำอย่างจริงจัง

วันที่ 16 กรกฎาคม 2559
- วัฒนธรรมการเรียนรู้มาก่อนองค์กรการเรียนรู้ เพราะหากมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ก็จะมีโอกาสเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
- KM คือการเก็บข้อมูลในอดีต ส่วน LO คือสถานการณ์ในอนาคต
- การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ต้องมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ส่วนบุคคล มีการคิดและวิเคราะห์เป็น ทำให้เกิดความใฝ่รู้
- ธรรมาภิบาลเป็นการบริหารจัดการองค์กรให้ประสบผลสำเร็จอย่างถูกต้อง (ความสำเร็จ คือ การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดตามพันธกิจ) ประกอบด้วย
1. มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
2. มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ ไม่เอาเปรียบ
3. มีพลังสู่ความสำเร็จแบบยั่งยืน
4. มีวิสัยทัศน์ เอกภาพ
5. ตรงเป้าปัญหา (Relevance)
- ผู้นำควรสร้างความกระหายในการเรียนรู้ (inspiration) และความอยากที่จะเรียนรู้ (aspiration)

14กค

Creative Leadership by Coaching & Business Games

  • การคิดนอกกรอบอาจจะนำมาปฏิบัติจริงไม่ได้ จึงเปลี่ยนเป็นคิดคร่อมกรอบซึ่งเป็นการค้นพบความคิดใหม่ที่นำไปปฏิบัติได้จริง
  • ความคิดสร้างสรรค์เป็นจุดกำเนิดเพื่อพัฒนาและปรับปรุง
  • นวัตกรรมคือนำความคิดสร้างสรรค์ไปปฏิบัติให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อสังคม
  • ม.อ.กำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
  • ม.อ. ยังเป็นไซโลจะต้องเปลี่ยนแปลง
  • มหาวิทยาลัยต้องตอบโจทย์ของประเทศ
  • มีความสามารถแข่งขัน
  • มุ่งสู่ระดับโลก
  • จะมีการแย่งนักเรียน
  • ปัญหาหาอาจารย์สอนยาก
  • ความยุติธรรมของระบบการประเมิน
  • ระบบราชการไม่รู้จักมหาวิทยาลัยนอกระบบ

การบริหารความคิดสร้างสรรค์ด้วย 4 M

ารบริหารความคิดสร้างสรรค์ ใช้ 4M คือ

1.Mechanics ขั้นตอนวิธีคิด

2.Mindset ความรู้ ความเข้าใจ ความคิด

3.Mood อารมณ์

4.Momentum ทำให้ความคิดสร้างสรรค์เกิดความยั่งยืน

วิธีการสร้าง Creative Organization

  • Creative Thinking พนักงานแต่ละคนมีความคิดสร้างสรรค์
  • Creative Leadership ผู้นำสนับสนุน
  • Creative System ระบบนำความคิดไปสู่การปฏิบัติ

ขั้นตอนการคิดคร่อมกรอบ (PPCO)

1. หาข้อดีของความคิดนอกกรอบ (Pluses)

2.หาข้อดีในอนาคต (Potentials)

3.ติด แต่ว่า กังวล (Concerns) ค้นหาสิ่งที่ติดกรอบ

4.หลบ เลี่ยง ทะลุ (Opportunities) หาโอกาสให้สามารถนำความคิดไปใช้ได้อย่างเหมาะสม

ขั้นตอนเสนอความคิดใหม่ (เป็นการทำ PPCO กับหัวหน้า)

1.ทำให้หัวหน้าสั่งให้เราคิด

2.เสนอความคิดตามที่หัวหน้าสั่ง

3.ถามหัวหน้าถึงข้อดี

4.ขอให้หัวหน้าสอนเพิ่มเติม ยังไม่ต้องแสดงคำตอบออกไป

5.เสนอความคิดตามที่หัวหน้าสั่งและสอน

7 Habits for Highly Effective People

นิสัยของคนที่มีประสิทธิภาพตามแนวทาง Stephen Covey

1.Be proactive เชิงรุก มีลักษณะควบคุมสถานการณ์ได้สูงและคิดว่าตนเป็นผู้รับผิดชอบแก้ปัญหา บุคคลที่มีคุณสมบัตินี้ได้แก่ ในหลวง

2.Begin with the end in mind มุ่งผลสำเร็จ บุคคลที่มีคุณสมบัตินี้ได้แก่ เมย์ รัชนก คานธี แมนเดล่า อองซานซูจี

3.Put first thing first รู้ก่อน-หลัง บุคคลที่มีคุณสมบัตินี้ได้แก่ ธนินทร์ เจียรวนนท์ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

4.Think Win-Win คิดแบบชนะๆบุคคลที่มีคุณสมบัตินี้ได้แก่ บรรหาร ศิลปอาชา แมนเดล่า

5.Seek first to understand, then to be understood รู้เขา รู้เรา เอาใจเขามาใส่ใจเรา ทำให้กระจายงานให้เหมาะสม เกิดความร่วมมือและสัมพันธภาพที่ดี บุคคลที่มีคุณสมบัตินี้ได้แก่ ซุนวู พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ

6.Synergize ร่วมแรงร่วมใจกัน บุคคลที่มีคุณสมบัตินี้ได้แก่ กำนันสุเทพ ธัมมชโย พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน ทีมวอลเลย์บอลหญิงไทย

7.Sharpen the saw ลับคมเลื่อย พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ เรียนรู้ตลอดชีวิต บุคคลที่มีคุณสมบัตินี้ได้แก่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

15 กค

เรียนรู้เรื่องการจัดการการเงินสำหรับนักบริหารการบริหารงบประมาณและการวัดความคุ้มค่าของการลงทุน

ตลาดการเงิน แบ่งเป็น

1.ตลาดส่งมอบทันที ได้ของทันที แม้ผ่อนจ่ายก็ตาม

2.ตลาดซื้อขายล่วงหน้า

ธนาคารแห่งประเทศไทย แบ่งตลาดการเงินเป็น 4 แบบ ดังนี้

1.ตลาดเงิน เป็นการให้กู้ยืมสภาพคล่องระยะสั้น ไม่เกิน 1-3 ปีแก่สถาบันการเงินผ่านตลาดกู้ยืมระหว่างธนาคารและตลาดซื้อคืนพันธบัตร

2.ตลาดทุน เป็นการระดมทุนระยะปานกลางและระยะยาว (เกิน 3 ปีขึ้นไป) ที่ดำเนินการผ่านตลาดตราสารหนี้และตราสารทุน

3.ตลาดเงินตราต่างประเทศ เช่น อาจจะจองซื้อดอลล่าร์ล่วงหน้าในราคาปัจจุบันได้

4.ตลาดตราสารอนุพันธ์ มูลค่าขึ้นกับตราสารที่ไปอิงราคาด้วย ประเมินมูลค่ายาก

สถาบันการเงินตามระบบบัญชีประชาชาติแบ่งเป็น 3 ประเภท

1.ธนาคารแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นธนาคารของธนาคาร และดูแลนโยบายการเงิน เช่น ดอกเบี้ย

2.สถาบันรับฝากเงิน เช่น มหาวิทยาลัยมีสหกรณ์ออกทรัพย์ เครดิตยูเนี่ยน

3.สถาบันการเงินที่ไม่รับฝากเงิน เช่น กองทุนรวม ประกันภัย กองทุนเลี้ยงชีพ เงินที่นำไปให้สถาบันเหล่านี้เป็นเงินลงทุน จะมีความเสี่ยงสูงกว่า มีโอกาสที่จะได้เงินกลับมาไม่ครบ

ตลาดการเงิน

1.ตลาดเงิน ระยะสั้น ไม่เกิน 1-3 ปี

2.ตลาดทุน ระยะกลางและระยะยาว

ต้นทุนประกอบด้วย

1.Opportunity Cost

2.ค่าแรง ถ้ากรณีมีการใช้บุคลากรของมหาวิทยาลัย

- งบแสดงฐานะการเงิน (Balance Sheet) ยอดรวมสินทรัพย์ต้องเท่ากับหนี้สิน ฝั่งหนี้สินแสดงแหล่งที่มาของสินทรัพย์ว่า เป็นของมหาวิทยาลัยทั้งหมด และฝั่งหนี้สินจะเป็นสิ่งระบุฐานะ

- งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (Income Statement) มียอดขายสุทธิหักด้วยต้นทุน แล้วจะเหลือกำไร (ในภาคเอกชน) หรือรายได้มากกว่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังมีรายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ถ้าเกิดขึ้นแล้วเกิดกำไร จะนำมาบวกเป็นกำไร

- งบกระแสเงินสด ต้องให้ความสำคัญกระแสเงินสดจากกิจกรรมการดำเนินงาน ถ้าส่วนนี้เหลือมากก็ลงทุนได้มากขึ้น แต่ถ้าเหลือไม่มาก ต้องกู้หรือ หาเงินทุนเพิ่ม

- ความเสี่ยง ต้องศึกษาความเสี่ยงก่อนการลงทุน เพราะเงินอาจเพิ่มหรือลดได้ ความเสี่ยงทางธุรกิจ เช่น คู่แข่งแย่งนักศึกษา ทำอย่างไรจะแย่งนักศึกษาจากที่อื่นมา

Perspectives on Management Effectiveness for Future University:

การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในอนาคต

ธรรมาภิบาล ประกอบด้วย

1.มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้

2.มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ ไม่เอาเปรียบ

3.มีพลังสู่ความสำเร็จแบบยั่งยืน

4.มีวิสัยทัศน์ เอกภาพ

5.ตรงเป้าปัญหา (Relevance)

การเปลี่ยนแปลงของโลกที่กระทบมหาวิทยาลัย

1.การระเบิดขององค์ความรู้ใหม่

2.มวลความรู้ในโลก มีความรู้นอกเหนือ Tacit Knowledge ในสังคมยุคที่ 2 ความรู้มาจากการใช้งานแล้วกลับไปยังทฤษฎีได้ ความรู้มีพลังมากสามารถขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจ

3.การหาความรู้สำคัญกว่าสะสมความรู้

4.ความเป็นอกาลิโกของความรู้ลดลง

5.ต้องใช้ความรู้สาขาอื่นมาประกอบ ความรู้บางเรื่องจับต้องไม่ได้

บทสัมภาษณ์พิเศษ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

กิจกรรม 14-16 กรกฎาคม 2559

  • การคิดในกรอบ จะทำให้เกิดการติดขัดในข้อระเบียบต่าง ๆ มากมาย ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ... ในขณะเดียวกัน การคิดนอกกรอบ ก็เป็นทางเสียงต่อกฎระเบียบ คณุธรรม จริยธรรม และค่านิยมร่วมของสังคม ... ดังนั้น การคิดข้ามกรอบคือทางออกในการคิดอย่างสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรในการทำงานในศตวรรษที่ 21
  • การบริหารการเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องสร้างให้เกิดความเห็นต่าง แล้วดำเนินการเพื่อหลวมรวมความเห็นต่างสู่แนวทางสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุดอย่างยั่งยืน
  • การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้จำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ของบุคลากรก่อน
บุุษบา บุญเสริมสุขเจริญ

สรุปสาระสำคัญการอบรมช่วงที่ 2 วันที่ 14-16 ก.ค.59

7 Habits for Highly Effective People

1. Be proactive เชิงรุก มีลักษณะควบคุมสถานการณ์ได้สูงและคิดว่าสิ่งต่าง ๆ ตนควบคุมได้ระดับหนึ่ง มีความเป็น Ownership สูง

2. Begin with the end in mind มุ่งผลสัมฤทธิ์ มีเป้าหมายในใจ ไม่ฟุ้งกระจาย

3. Put first thing first รู้ก่อน-หลัง

4. Think Win-Win คิดแบบชนะๆ

5. Seek first to understand, then to be understood รู้เขา รู้เรา เอาใจเขามาใส่ใจเรา เอาใจเรามาใส่ใจเขา

6. Synergize ร่วมแรงร่วมพลัง สานสะพรั่ง สามัคคี

7. Sharpen the saw เหลาความคิด พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ เรียนรู้ตลอดชีวิต

การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ จำเป็นต้องมีระบบการบริหารจัดการการเงินที่มีความคล่องตัว มีระบบความปลอดภัย รายรับ-รายจ่ายต้องมีการแจงรายละเอียด การเสนอโครงการต่าง ๆ ต้องมีความเป็นไปได้เพื่อใช้เงินให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท