ย้ายจิตคิดมาสู่จิตใจ


ขอบพระคุณกรณีศึกษาวัย 32 ปี ที่เกิดภาวะย้ำคิดจนเครียดกลายเป็นกังวลและรู้สึกไม่มีความสุขขณะเตรียมสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาพร้อมๆกับการเรียนป.โทและการทำงานประจำ...นับเป็นเคสแรกที่ดร.ป๊อปได้ปรับกระบวนการอย่างฉับไวและได้ผลเกินความคาดหมาย

"ผมตั้งใจจะใช้กระบวนการฝึกจิตใต้สำนึกด้วย SCORE บูรณาการการจัดการความล้าทางจิต (ย้ำคิดวิตกกังวล) ด้วยกิจกรรมบำบัดจิตสังคม แต่กว่า 1 ชม.ก็เชื่อมโยงได้ Symptoms กับ Causes พร้อม State Management ก็ปรับไปใช้ Re-imprinting & Logical Levels of Change เริ่มต้นที่ใช้มือสัมผัสหัวใจในทุกๆครั้งที่เคสย้ำคิด สุดท้ายใช้ SOAR Model [Citation with Acknowledgement at http://nlpuniversitypress.com/]"

โค้ช: ให้น้องหลับตาแล้วสำรวจอารมณ์ตึงเครียดว่าอยู่ที่ใดของร่างกาย

เคส: ที่หัว ตึงที่กระบอกตา 3/10 [เคสรู้ตัวว่าตากระพริบถี่ โค้ชรู้สึกมีความร้อนสัมผัสได้ตรงหน้าผากพร้อมสังเกตเห็นเคสตัวเอนไปข้างหลัง แต่เคสรู้ตัวว่าใจลอยๆ]

โค้ช: มีคำถามในหัวอะไรบ้างที่อยากเปลี่ยนแปลงตนเอง

เคส: อยากลดความคาดหวังความกังวลเพื่อแก้ไขสิ่งที่บกพร่อง ที่สอบไม่ได้ ต้องคิดก่อนทำ ทำให้ได้ 100/100 ข้อ อ่านให้ละเอียดกว่าเดิม เดิมอ่าน ข้อ 1-ข้อ 10 ต้องอ่านข้อ 1.1.1.2...10.1...อ่านภาพรวมแล้วค่อยไปภาพย่อย ตอนนี้อ่านสะเปะสะปะ เนื้อหาคาดไว้อ่าน 1-10 อ่านไปได้ถึง 5 ก็สงสัย คิดเยอะ ไม่ปล่อยให้หลุด โลภจนเครียด ต้องฝึกลายมือให้สมองกับมือทำงานคล้องกัน 10/10 คนบอกว่าอ่านไม่ออก ลายมือดีคนตรวจข้อสอบจะได้อารมณ์ดี

โค้ช: ให้น้องเห็นภาพที่อยากให้หายเครียด แล้วเล่าให้พี่ฟัง

เคส: ภาพมองตัวเองที่ห้องนอน ยืนยิ้มหลับตา อยากเริ่มต้นสิ่งที่ดีๆทุกด้าน เปิดรับความคิดเห็น ให้คนอื่นตรวจสอบจุดบกพร่องเพื่อจะได้แก้ไขตนเอง

โค้ช: น้องใช้หัวคิดเยอะเกินไป ค่อยๆปล่อยวางความคิด แล้วเปิดใจ นำมือวางไว้ที่หัวใจแล้วค่อยๆฟังเสียงหัวใจเต้น ค่อยๆถามใจตัวเองว่าจะตอบคำถามอย่างไร...น้องอยากทำอะไร

เคส: อยากออกกำลังกายให้โล่งๆ ไม่อยากอ่าน อยากอยู่เฉยๆ ทบทวนตนเอง [สังเกตกระพริบตาลดลง ตัวเอนไปข้างหลังน้อยลง นิ่งขึ้น มีรอยยิ้มมุมปาก เมื่อโค้ชสอบถามความตึงเครียดที่ตาลดลงเหลือ 1/10]

โค้ชนำเคสมาที่จุดสีเขียวคือ ค้นหาปัญหาให้ชัดเจน คือ ไม่อดทน อดทนเพียง 10% ของสิ่งที่อยากทำ

โค้ชนำเคสมาที่จุดสีฟ้า คือ ค้นหาเหตุแห่งปัญหา คือ เพราะร่างกายไม่แข็งแรง [เคสใช้หัวย้ำคิด ไม่ออกำลังกายเพราะไม่มีเวลา มัวทุ่มเทสอบ ออกกำลังกายทำให้เสียเวลา ต้องการสำเร็จมุ่งเป้าหมาย กังวลไม่รู้สถานการณ์ในห้องสอบจริง พอเข้าห้องสอบ สติก็หาย ดึงความรู้มาใช้ไม่ได้...เมื่อใช้มือจับหัวใจ ก็ได้คำตอบชัดเจนว่า พยายามอ่านเยอะแต่ข้อมูลไม่เข้าหัว คาดหวังต้องสอบให้ได้ ไม่ค่อยหวังผู้ช่วยฯ หวังอัยการ และล้าจากงานประจำ จริงๆ ต้องทำงานให้ร่างกายสดชื่นด้วย]

สังเกตการบันทึกข้อมูลของโค้ชที่มีแต่ความคิดวุ่นวาย (สีน้ำเงิน) มากกว่าความในใจของเคส (สีแดง) แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นข้อมูลที่ตกผลึกจากใจขึ้นเรื่อยๆ


ปรับกระบวนการให้เดินถอยหลังย้อนอดีตที่สติหายสุดๆจนกลัวและย้ำคิดมากๆ ก็พบภาพดันทุรังอ่านเตรียมสอบเมื่อ 2-3 เดือนก่อนนี้ เคสรู้สึกว่า "สิ่งที่อ่านไม่เข้าหัว อยากจะนอน รู้สึกเพลียจากสิ่งที่ฝืนใจ"

เมื่อให้เคสยกความสำเร็จของต้นแบบ ก็ให้สวมร่างเป็นรุ่นน้องที่ทำงานตี 1-2 สอบไม่ผ่าน 2 รอบ ก็มุ่งมั่นจนสอบสำเร็จ เคสก็ได้เรียนรู้เคล็ดลับแต่มีคำพูดปนกันระหว่างฐานหัวคิดตามจริตของตนเองกับฐานใจตามจริตของต้นแบบ คือ "ต้องอดทน ไม่ต้องอ่านเพื่อสอบ ต้องอ่านเพื่อวินิจฉัยคดีบนบังลังค์ อ่านสิ่งที่อยากอ่านก่อนแล้วต่อยอดสิ่งที่ชอบและไม่ชอบจะเชื่อมวนกันเอง ต้องนอนพอสมควร 2 ชม. ตั้งนาฬิกาปลุก อ่านต่อเนื่อง 2 ชม. นอนตื่นชอบมาทบทวน...[เริ่มปนความคิดของเคสอีกมากมาย เช่น ฝึกเขียนตัวใหญ่ มีหัว คิดให้เสร็จกระบวนการ 1-10 ก่อนเขียน ช้าๆ สังเกตตากระพริบถี่และตัวเอนไปข้างหลังมากขึ้น] โค้ชใช้โทนเสียงกระตุ้นให้มีสติเป็นต้นแบบ...เคสก็พูดเป็นต้นแบบว่า อดทน อย่ามั่นใจเกินไป ต้องลดระดับความมุ่งมั่น" [โค้ชให้ตรวจสอบผ่านการเดินถอยหลังไปอีก ก็สังเกตกระพริบตาลดลง ตัวเอนไปข้างหลังน้อยลง นิ่งขึ้น มีรอยยิ้มมุมปาก เมื่อโค้ชสอบถามความตึงเครียดที่ตาลดลงเหลือ 0/10 เคสเห็นภาพฟ้าสว่าง มองไปข้างนอก ทำสมาธิ แล้วบอกว่า "รู้สึกโล่งๆ ควรมีสติก่อนเมื้อกี้"]

ปรับกระบวนการให้เดินไปข้างหน้าเพื่อนำภาพบวกขณะเคลื่อนไหวมาสร้างกรอบภาพนิ่ง ก็พบภาพความสุขเมื่ออยู่ปี 1-2 มหาลัย กำลังสอนเพื่อนๆ เป็นกลุ่ม เป็นตัวของตัวเอง ไม่เหนื่อยที่ได้เตรียมมาติวเพื่อน ทำให้ทุกคนสอบผ่านไปพร้อมกัน การทำให้คนอื่นๆรู้ทิศทางที่ถูกคือความสุขของเคส" จากนั้นเคสมองเห็นภาพเคลื่อนไหวมาที่เมื่อวานคือ สอนรุ่นน้องนศ.ฝึกงาน 4 คน ก็ใช้มือจับหัวใจแล้วรู้สึกว่า "เราต้องรู้เพิ่มเติม มีบางจุดเราไม่รู้ เราจะสร้างประโยชน์เพื่อคนอื่นๆ พัฒนาคนหมู่มากเพื่อปรับตัวเองและสังคมให้ดีขึ้น [เดินต่อไปแบบ Logical Levels of Change จาก Belief - Self-Identity - Vision]

ขั้นต่อไปนี้น่าสนใจ เคสได้เห็นภาพตนเองเป็นผู้พิพากษาบนบังลังก์ โค้ชจึงให้สวมร่างเป็นตัวเคสเองในอนาคต ที่รับรู้จิตใต้สำนึกในวัย 35 ปี (อีก 3 ปีข้างหน้า) สังเกตน้ำเสียงจากดังเป็นนุ่มนวล สีหน้ากังวลเป็นยิ้มสดชื่น ร่างกายที่ยืนตึงเครียดเป็นก้มเล็กน้อยคล้ายนั่งบนบังลังค์จริงๆ โค้ชอังมือตรงหน้าผากเคสพบความเย็นและรู้สึกพลังเมตตาอย่างน่าสนใจ และคำพูดตอบโจทย์ลื่นไหลอย่างใส่ใจและมั่นใจ ดังนี้

  • ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงก่อน อย่าคิดว่า ต้องอ่านอย่างเดียว คุณต้องสดชื่นตลอดเวลา ร่างกายพร้อม สมองก็พร้อม ถ้าเหนื่อยก็พัก แต่อย่านาน รู้ให้ครบรายละเอียดค่อยใส่ไปในเวลาที่จำกัด
  • ถ้าชอบจริง แม้จะล้าก็มีความสุข ความสุขจากความรู้แล้วอยากรู้ต่อยอด ไม่เหนื่อยที่จะรู้ ถ้าเหนื่อยไม่ใช่ตัวเรา ความสุขของท่านคือ เห็นคู่ความไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบกัน พอเราให้ความรู้กับคนที่ไม่รู้
  • ย้ำคิดย้ำทำได้ ย้ำคิดเกิดจากความกังวล คือ ไม่อ่านด้วยหัวใจ แต่กลัวที่จะอ่าน ถ้าอ่านแบบเปิดใจ รอบเดียวก็รู้
  • อ่อนล้าจากเรื่องอื่นคือ ความกังวลที่จะต้องอ่านตามกำหนด เมื่อมีสิ่งใหม่ๆเข้ามา เราจะ Active การเรียนรู้ใหม่ๆ ทำให้เรานอนยาก ควรจัดการองค์ความรู้ที่กระจัดกระจาย สิ่งที่อ่านมามากพอแล้ว ไม่ต้องโลภเกินที่จะอ่านหนังสือเล่มไหนๆ

สุดท้าย เคสเริ่มตึงขาสองข้าง หลังกลับมาสวมร่างตนเองในปัจจุบัน จากรู้สึกใจลอยๆ ก็ขอเปลี่ยนภาพใหม่เป็น รูปตนเองในอีก 3 ปีข้างหน้านั่งบนบังลังค์ ยิ้มสุขใจในความสำเร็จของชีวิต อยากเขียนคำว่า สู้ แล้วให้พูดดังๆ สู้ๆๆๆ จากนั้นให้สรุปความเข้าใจในสิ่งที่ต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 21 วัน ดังภาพข้างล่างนี้





หมายเลขบันทึก: 610011เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2016 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2016 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบพระคุณมากครับพี่ดร.โอ๋ และคุณแก้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท