๔๑๑. อ่านออก...เขียนได้


ด้วยจำนวนครูในแต่ละโรงเรียน...มีจำกัด..และการทำงานในลักษณะบูรณาการ..เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ผมจึงอดเป็นห่วงครูไทยไม่ได้...ว่า...อาจจะถูกลดทอนเวลาสอนอ่าน สอนเขียน ให้แก่นักเรียนในห้อง..ที่จ้องมองครูของเขาอยู่ว่า..จะสอน..หรือจะทำอะไรกันแน่....

        “วิธีที่จะทำให้คนเป็นคนดีนั้นก็มีเช่นกัน การศึกษา เมื่อก่อนนี้ ด้านการศึกษา คนในเมืองไทยนี่มีความรู้ การอ่านหนังสือ เขียนหนังสือมีมาก เปรียบเทียบกับประเทศอื่นค่อนข้างจะสูง คือ มีการอ่าน การเขียน ได้เปอร์เซ็นต์สูง แต่มาปัจจุบันนี้น้อยลง เพราะว่าคนเพิ่ม โรงเรียน หรือผู้มีหน้าที่สอนน้อยลง เปรียบเทียบกัน...”

        พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (๔ ธันวาคม ๒๕๓๙)

        “..มีความคาดหวังว่า นักเรียนพวกนี้ น่าจะอ่านออกเขียนได้ ทำเลขได้ ให้มีความรู้ พอใช้ในชีวิตประจำวัน...”

        “..หลายคนที่มาบอกว่า เขาอ่านตำราแล้วประสบความสำเร็จในชีวิต สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ท่านทรงสอนเสมอว่า ให้พยายามสอนให้คนอ่านออกเขียนได้ ถึงเราจะไปเยี่ยมราษฎรไม่ได้ทั่วถึง เพราะว่าประเทศเรานี้กว้างใหญ่ แต่ถ้าเราส่งหนังสือไปให้หรือจัดตั้งห้องสมุดให้ เขาก็จะได้อ่านความรู้..”

        พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙)

        ผมอ่านข้อความนี้..จบลง..ใจก็ให้นึกถึง..การประชุมสัญจร..ในวันนี้ ที่เขตพื้นที่การศึกษาฯมอบนโยบาย..ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ ให้รับทราบและปฏิบัติโดยทั่วกัน..ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงาน/โครงการที่สั่งตรงลงมาจาก สพฐ. ศธ.

        จริงอยู่..ประธานในที่ประชุม พยายามจะบอกผู้ฟังที่เป็นครูว่า...เป็นเรื่องเก่าๆที่เคยทำมาแล้ว ไม่มีอะไร ที่จะเป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อน..อันนี้พอมองออกว่าเป็นเช่นนั้น..แต่ด้วยปริมาณงานโครงการพิเศษที่มอบให้ทำ ค่อนข้างมากและมีเงื่อนไขของเวลา ตลอดจนมีงบประมาณและการรายงานผลเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่สำคัญ..มักจะได้ยินบ่อยๆคือ ให้โรงเรียนดำเนินการในลักษณะบูรณาการ.....

       ด้วยจำนวนครูในแต่ละโรงเรียน...มีจำกัด..และการทำงานในลักษณะบูรณาการ..เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ผมจึงอดเป็นห่วงครูไทยไม่ได้...ว่า...อาจจะถูกลดทอนเวลาสอนอ่าน สอนเขียน ให้แก่นักเรียนในห้อง..ที่จ้องมองครูของเขาอยู่ว่า..จะสอน..หรือจะทำอะไรกันแน่....

       ผมเอง..สอนภาษาไทยด้วยเพลง พยายามสืบสานเพลงไทย การละเล่นของไทย ด้วยการฝึกซ้อมเพลงฉ่อยให้นักเรียนมาเกือบ ๓ ปี ในปีนี้ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ จึงทำกิจกรรมนี้อย่างจริงจัง

        ขณะที่ทำก็ยังเกรงว่า ...เด็กจะไม่รู้ภาษา เสียเวลาไปกับความสนุกสนานครื้นเครง จึงปรับรูปแบบให้ร้องเล่นเป็นกลุ่ม ไม่ต้องรอออกงานการแสดง ให้แต่งเนื้อร้องกันเอง ร้องเอง ตั้งชื่อเรื่องและแต่งไม่ต้องยาว เอาพอรู้เรื่องและร้องถูกทำนอง ผมต้องการดูการใช้ภาษา....

        อันนี้..ผมเรียกบูรณาการ สอดแทรกเสริมเข้าไปในสาระภาษาไทย เพื่อให้นักเรียนซาบซึ้ง และมีทักษะทางภาษาเพิ่มเติม ในลักษณะ ทักษะสัมพันธ์ ฟัง พูด อ่าน และเขียน

       ตอนนี้..นักเรียนชั้น ป.๕ – ๖ ของผม ยังแต่งเพลงฉ่อยไม่เก่งหรอกครับ แต่เชื่อว่า ถ้าผ่านไปสักเทอมหนึ่ง เขาจะแต่งได้เอง แบบไหลลื่น...อย่างเป็นธรรมชาติ ก็ต้องลองติดตามตอนต่อไป

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๙









หมายเลขบันทึก: 608726เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2016 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2019 11:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท